"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

ผู้ประกันตนมาตรา 40

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประกันตนเอง มาตรา 40

ผู้ประกันตนมาตรา 40 หมายถึง บุคคลทั่วไปที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ และ

ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33, มาตรา 39

คุณสมบัติผู้สมัคร
  1. อายุ 15-60 ปีบริบูรณ์  ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33  มาตรา 39  ไม่เป็นข้าราชการหรือบุคคลที่ถูกยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม
  2. บุคคลพิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคม
หลักฐานการสมัคร
  1. แบบคำขอสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 (สปส.1-40)
  2. บัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
สถานที่ในการสมัคร
  1. ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา ทุกแห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
  2. หน่วยบริการเคลื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม
จ่ายเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40 มี 2 ทางเลือก ดังนี้
ทางเลือกที่ 1  จ่ายเงินสมทบ  100  บาท/เดือน  (จ่ายเอง 70  บาท  รัฐสนับสนุน 30 บาท)
ทางเลือกที่ 2  จ่ายเงินสมทบ  150  บาท/เดือน  (จ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 50 บาท)
หมายเหตุ   
  • รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
  • การจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเป็นรายเดือน ๆ ละ 1 ครั้ง และจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าได้ครั้งละไม่เกิน 12 เดือน แต่ไม่สามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้
  • ผู้ประกันตนที่ประสงค์รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้นสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาทต่อเดือน 
การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูล
  1. เมื่อเป็นผู้ประกันตนแล้วหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น เปลี่ยนคำนำหน้านาม ชื่อ - สกุล ที่อยู่ที่ติดต่อขอเปลี่ยนทางเลือกจ่ายเงินสมทบ ให้ยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงและทางเลือกการจ่ายเงินสมทบกับผู้ประกันตนมาตรา 40 (สปส.1-40/1) พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
  2. กรณีขอเปลี่ยนทางเลือกจ่ายเงินสมทบจะทำได้ปีละ 1 ครั้ง โดยเมื่อยื่นขอเปลี่ยนแปลทางเลือกแล้วจะมีผลในเดือนถัดไป
  3. หากไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ต่อไป (ลาออก) ให้ยื่นแบบแจ้งความจำนงไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40/2) และบัตรประจำตัวประชาชน
ประโยชน์ทางภาษี
  1. เงินสมทบในแต่ละปี ใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยใช้ใบเสร็จรับเงินที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเป็นหลักฐาน หรือขอหนังสือรับรองการชำระเงินสมทบจากสำนักงานประกันสังคม
สิทธิประโยชน์พื้นฐาน
กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย  
        เมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 30 วันต่อปี เงื่อนไขจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน (การรักษาพยาบาลใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
กรณีทุพพลภาพ 
       รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 - 1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลานานถึง 15 ปี เงื่อนไข เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือนขึ้นไป (ต้องเป็นผู้ทุพพลภาพหรือทุพพลภาพเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการ แพทย์)
กรณีตาย  
       รับเงินค่าทำศพจำนวน 20,000 บาทต่อราย  เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน ก่อนเสียชีวิต  ยกเว้น เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต
กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ)
        ผู้ประกันตนสามารถรับเงินก้อนเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เงื่อนไข มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
ทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับคุณ เพื่อสิทธิประโยชน์ดังกล่าวสำนักงานประกันสังคมขอเสนอทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับคุณด้วย ชุดสิทธิประโยชน์ ดังนี้
ทางเลือกที่ 1  (จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน)
  1. สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ  กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย 
ทางเลือกที่  2  (จ่ายเงินสมทบ 150 บาท/เดือน)
  1. สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ  กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ  กรณีตาย  กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ)

วิธีการนำส่งเงินสมทบ

จ่ายเงินสมทบได้ที่ 

  1. สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา
  2. หน่วยบริการเคลื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม
  3. เคาน์เตอร์เซอร์วิส
  4. เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  5. เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำักัด (มหาชน)
  6. ห้างเทสโก้โลตัส
  7. ไปรษณีย์ (ธนาณัติ)

หักผ่านบัญชีธนาคาร

  1. ธนาคารเพื่่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  2. ธนาคารออมสิน
  3. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  4. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  5. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  6. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 
  • กำหนดให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40 ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน 
หมายเหตุ
  1. การชำระเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส ผู้ประกันตนจะเสียค่าธรรมเนียมจำนวน 10 บาทต่อใบเสร็จ
  2. การชำระเงินสมทบที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และห้างเทสโก้โลตัส ผู้ประกันตนจะเสียค่าธรรมเนียมจำนวน 10 บาทต่อรายการ
  3. ในส่วนการชำระผ่านการหักธนาคารออมสิน  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารกสิกรไทย  ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา ผู้ประกันตนจะเสียค่าธรรมเนียมจำนวน 5 บาทต่อรายการ โดยหักจากบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตน
หมายเหตุ  
สำหรับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในกรณีเจ็บป่วย บุคคลที่สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 หากได้รับสิทธิเบิกจ่ายตรงจากกรมบัญชีกลาง หรือมีสิทธิได้รับจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)  ก็ยังคงได้รับสิทธินั้น ๆ ได้ตามปกติ  เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมไม่ได้ให้ความคุ้มครองในเรื่องค่ารักษาพยาบาล แต่ให้เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลประเภทผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ในอัตราวันละ 200  บาท ปีละไม่เกิน 30 วัน ต่อเมื่อภายในระยะเวลา 4 เดือน ผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

 http://www.sso.go.th/wpr/content.jsp?cat=876&id=3694