มาตรา 39 คืออะไร ประกันสังคมมาตรา 39 มีสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง
มาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจที่ยังอยากส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมหลังผันตัวออกมาประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือมีเหตุให้ต้องหลุดออกจากงานเดิม แต่ยังต้องการคงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของประกันสังคมไว้ ว่าแต่ สิทธิ ประโยชน์ประกันสังคมมาตรา 39 มีอะไรบ้าง ขึ้นทะเบียนประกันสังคม มาตรา 39 ต้องทำอย่างไร มีเอกสารอะไรประกอบ วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก
มาตรา 39 คืออะไร
มาตรา 39 ตาม พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ระบุว่า
“ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้น ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนดภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่ง ต้องส่งเข้ากองทุนตาม มาตรา 46 วรรคสอง ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย ให้ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้ง ภายในวันที่ สิบห้าของเดือนถัดไป
ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งซึ่งไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลา ที่กำหนดตามวรรคสาม ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ สำหรับเศษ ของเดือนถ้าถึงสิบห้าวัน หรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง”
เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมเท่ากับบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน เมื่อได้สิ้นสุดความเป็นลูกจ้างของบริษัทที่เราเป็นลูกจ้าง ก็ทำให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สิ้นสุดตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ หากเรายังมีความประสงค์จะรักษาสถานภาพการเป็นผู้ประกันตนต่อก็สามารถทำได้ ด้วยการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเอง เพราะทางประกันสังคมต้องการเปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิประโยชน์ใกล้เคียงกับ ตามนโยบายพื้นฐานที่ว่าด้วยการเฉลี่ยความสุขและทุกข์
ประกันสังคม มาตรา 39 ส่งครบแล้วได้อะไรบ้าง ?
ผู้ประกันสังคมมาตรา 39 ที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนครบ จะได้รับความคุ้มครอง ดังนี้
1. กรณีเจ็บป่วย
2. กรณีทุพพลภาพ
3. กรณีคลอดบุตร
4. กรณีสงเคราะห์บุตร
5. กรณีชราภาพ
6. กรณีเสียชีวิต
สิทธิประโยชน์ มาตรา 39 มีอะไรบ้าง
สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตน มาตรา 39 ได้ มี 6 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และเสียชีวิต
1. สิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วย ตามมาตรา 39
1. กรณีเจ็บป่วยทั่วไป อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน แบ่งได้ 2 กรณี
1.1 เจ็บป่วยปกติ ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
1.2 เจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุสำนักงาน ประกันสังคมจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ดังนี้
โรงพยาบาลรัฐบาล
ผู้ป่วยนอก
สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
ผู้ป่วยใน
สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ยกเว้น ค่าห้องและอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท
โรงพยาบาลเอกชน
กรณีผู้ป่วยนอก
สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินครั้งละ 1,000 บาท
สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงเกินครั้งละ 1,000 บาท ได้หากมีการตรวจรักษาตามรายการในประกาศ ดังนี้
การให้เลือดหรือส่วนประกอบของเลือด การฉีดสารต่อต้านพิษจากเชื้อบาดทะยัก
การฉีดวัคซีนหรือเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเฉพาะเข็มแรก การตรวจอัลตร้าซาวด์
กรณีที่มีภาวะฉุกเฉินเฉียบพลันในช่องท้อง การตรวจด้วย CT-SCAN หรือ MRI จ่ายตามเงื่อนไขที่กำหนด การขูดมดลูก
กรณีตกเลือดหลังคลอดหรือตกเลือดจากการแท้งบุตร ค่าฟื้นคืนชีพและกรณีที่มีการสังเกตอาการในห้องสังเกตอาการตั้งแต่ 3 ชั่วโมงขึ้นไป
กรณีผู้ป่วยใน
ค่ารักษาพยาบาล กรณีที่ไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท
ค่าห้องและค่าอาหารไม่เกินวันละ 700 บาท
ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาลกรณีที่รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท
กรณีที่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่ เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000-16,000 บาท ตามระยะเวลาการผ่าตัด
การฟื้นคืนชีพรวมค่ายาและอุปกรณ์ไม่เกิน 4,000 บาท
ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ และหรือเอกซเรย์ เบิกได้ในวงเงินไม่เกินรายละ 1,000 บาท
กรณี มีความจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยพิเศษ ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง การตรวจคลื่นสมอง การตรวจอัลตร้าซาวด์ การสวนเส้นเลือดหัวใจและเอกซเรย์ การส่องกล้อง การตรวจด้วยการฉีดสี การตรวจด้วย CT-SCAN หรือ MRI จ่ายตามเงื่อนไขที่กำหนด
เงินทดแทนกรณีเจ็บป่วยมาตรา 39
เงินทดแทนการขาดรายได้สำหรับการหยุดงาน เพื่อการรักษาพยาบาลตามคำสั่งแพทย์ในรอบปีปฏิทิน ถ้าผู้ประกันตนลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างจากนายจ้างครบ 30 วัน ตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแล้วต้องหยุดงานตามคำสั่งแพทย์ต่อไปอีก สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินเรียกว่า "เงินทดแทนการขาดรายได้" ซึ่งผู้ประกันตนได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วันในรอบปีหนึ่ง ๆ ก็จะจ่ายให้ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน ในกรณีที่ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในระหว่างหยุดงาน เพื่อการรักษาพยาบาลตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือมีสิทธิตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานสัญญาจ้างแรงงาน หรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วแต่ กรณีผู้ประกันตนไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จนกว่าสิทธิที่ได้รับเงินค่าจ้างนั้นได้สิ้นสุด จึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ดังกล่าวเท่ากับระยะเวลาที่คงเหลือ
ปัจจุบันกำหนดโรคเรื้อรังไว้ 6 รายการ ดังนี้
1. โรคมะเร็ง
2. โรคไตวายเรื้อรัง
3. โรคเอดส์
4. โรคหรือการบาดเจ็บของสมอง เส้นเลือดสมองหรือกระดูกสันหลังอันเป็นเหตุให้เป็นอัมพาต
5. ความผิดปกติของกระดูกหักที่มีภาวะแทรกซ้อน
6. โรคหรือการเจ็บป่วยอื่น ๆ ที่ต้องรักษาตัวนานติดต่อกันเกินกว่า 180 วัน ระหว่างการรักษาทำงานไม่ได้ให้ยื่นเรื่องขอมติคณะกรรมการการแพทย์
เอกสารประกอบการยื่นคำขอรับสิทธิประโยชน์
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01 )
ใบรับรองแพทย์
หนังสือรับรองจากนายจ้าง
สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
สถิติวันลาของผู้ยื่นคำขอ
หลักฐานอื่น ๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารหน้าแรกที่มีชื่อ–เลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) มี 9 ธนาคาร ดังนี้
ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) KTB
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB
ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) TBANK
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBANK
ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB เดิมคือ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)
หมายเหตุ หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
2. สิทธิประโยชน์กรณีทุพพลภาพ ตามมาตรา 39
ทุพพลภาพ คือ การสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกาย หรือสูญเสียภาวะปกติของจิตใจจนไม่สามารถทำงานได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด
และผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดให้เป็นผู้ทุพพลภาพ และเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายจนถึงขั้นทุพพลภาพเท่านั้น จึงจะสามารถใช้สิทธิประโยชน์นี้ได้
สิทธิที่ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพจะได้รับ มีดังนี้
ค่ารักษาพยาบาล
กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของรัฐ สำหรับผู้ทุพพลภาพสามารถเข้าทำการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่เลือก หรือสถานพยาบาลของรัฐ ทั้งในกรณีผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทางสถานพยาบาลจะเป็นผู้มายื่นเรื่องเบิกกับทางสำนักงานประกันสังคม
กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลเอกชน ผู้ป่วยนอกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท ผู้ป่วยใน จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท
ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ ให้เหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท
ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพและเข้ารับการฟื้นฟูในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานของสำนักงานประกันสังคมจะมีค่าฟื้นฟูอีก 40,000 บาท
เงินทดแทนการขาดรายได้
ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดชีวิต ค่าอวัยวะเทียม / อุปกรณ์ / อุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค เช่น ค่าจ้างเฉลี่ย/เดือน 10,000 บาท ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย/เดือน 5,000 บาท
ค่าทำศพ
กรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพถึงแก่ความตาย ผู้จัดการศพมีสิทธิได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท
เงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพถึงแก่ความตายผู้มีสิทธิได้รับดังนี้
ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึง 10 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยหนึ่งเดือนครึ่ง
ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยห้าเดือน
หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน (กรณียื่นคำขอฯ เพื่ออนุมัติให้เป็นทุพพลภาพ)
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)
ใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่าเป็นบุคคลทุพพลภาพ
สำเนาเวชระเบียน
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 9 ธนาคาร มีดังนี้
ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) KTB
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB
ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) TBANK
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBANK
ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB เดิมคือ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)
หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับค่าอวัยวะเทียม/อุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคกรณีทุพพลภาพ
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2 - 01)
ใบเสร็จรับเงิน
ใบรับรองแพทย์ (ให้แพทย์ระบุประเภทอวัยวะเทียม/อุปกรณ์ฯที่ใช้)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
หลักฐานอื่น ๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติม
หลักฐานที่ใช้เพื่อขอรับค่าบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ (กรณีผู้ทุพพลภาพเป็นผู้ยื่นเรือง)
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2- 01 หรือแบบคำขอรับบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพกองทุนประกันสังคม สปส. 2-01/3
ใบรับรองแพทย์
ใบเสร็จรับเงิน
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
หลักฐานอื่น ๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติม
หลักฐานที่ใช้เพื่อขอรับค่าบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ (กรณีสถานพยาบาลเป็นผู้ยื่นเรื่อง)
แบบคำขอรับค่าบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพกองทุนประกันสังคม(สำหรับสถานพยาบาล) สปส. 2-19
ใบรับรองแพทย์
ใบสรุป/ใบแสดงรายการค่ารักษาพยาบาล
หลักฐานอื่น ๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอรับเพิ่มเติม
สถานที่ยื่นเรื่อง
สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่สั่งจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ให้ผู้ทุพพลภาพ
ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน
ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมเขต พื้นที่/จังหวัด/สาขา พร้อมหลักฐาน
เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐาน นัดตรวจร่างกายผู้ประกันตนเพื่อประเมินการสูญเสียโดยแพทย์ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม และเสนอคณะกรรมการการแพทย์เพื่อพิจารณาอนุมัติ
สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาแก่ผู้ประกันตนที่ยื่นคำขอฯ
พิจารณาสั่งจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพเป็นรายเดือนตลอดชีวิต
เงินสด / เช็ค (ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน)
ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ
โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน 9 ธนาคาร มีดังนี้
ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) KTB
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB
ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) TBANK
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBANK
ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB เดิมคือ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)
3. เงินค่าคลอดบุตร มาตรา 39
กรณีคลอดบุตรผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 จะต้องนำส่งเงินสมทบครบ 7 เดือนภายใน 15 เดือน โดยคุณสามารถฝากครรภ์และคลอดบุตรที่โรงพยาบาลใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นโรงพยาบาลตามบัตรฯ เมื่อคลอดบุตรแล้วให้นำเอกสารมาเบิกเงินหมาจ่ายค่าคลอด 13,000 บาท
สำหรับผู้ประกันตนหญิงจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงาน เพื่อการคลอดร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นระยะเวลา 90 วัน โดยต้องเตรียมเอกสารการเบิก สปส.2-01 พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน สูติบัตรตัวจริงและสำเนา แล้วนำมาเบิกได้ที่ สปส. พื้นที่ที่สะดวก ยกเว้นสำนักงานใหญ่
สิทธิประโยชน์การคลอดบุตรของมาตรา 39
มาตรา 39 ได้ ค่าคลอดบุตรเท่าไร
ผู้ประกันตน ตามาตรา 39 จะได้รับเงินค่าคลอดบุตรแบบเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง และใช้สิทธิได้คนละไม่เกิน 2 ครั้ง
เงินทดแทนกรณีคลอดบุตรมาตรา 39
ผู้ประกันตน มาตรา 39 ที่ยื่นเบิกค่าคลอดบุตรแล้ว ก็สามารถยื่นขอเงินสงเคราะห์กรณีหยุดงาน เพื่อชดเชยการขาดรายได้ไปพร้อมกันด้วย โดยจะได้รับเงินจำนวน 1.5 เดือน (จะเบิกได้เฉพาะผู้ประกันตนที่ใช้สิทธิของแม่เท่านั้น) คำนวณจากเงินเดือน 3 เดือนสุดท้ายเฉลี่ยออกมาเป็นรายวัน โดยฐานเงินเดือนสูงสุดที่จะคำนวณคือ 15,000 บาท
หลักฐานที่ต้องใช้ในการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร มีดังนี้
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01) (สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม ซึ่งควรเตรียมไปก่อนเพื่อไม่เป็นการเสียเวลา)
ต้นฉบับและสำเนาสูติบัตรของบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัติของคู่แฝดด้วย)
สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีภรรยาของผู้ประกันตนคลอด) หากไม่มีทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
บัตรประชาชนและสำเนาบัตรประชาชนของผู้ประกันตน
เบิกค่าคลอดประกันสังคมมาตรา 39
ในการขอเบิกเงินค่าคลอดบุตรนั้น ผู้ประกันตนจะต้องมายื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนนั้น ซึ่งหากผู้ประกันตนไม่มารับภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน ให้เงินนั้นตกเป็นของกองทุน
4. สิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร ตามมาตรา 39
หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์
หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ จ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีสงเคราะห์บุตรมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนและเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39 สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตรหนึ่งคน (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554)
ซึ่งกรณีนี้ผู้มีสิทธิขอรับประโยชน์มีเพียงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นและบุตรมีอายุ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์
เงื่อนไขที่ได้รับกรณีสงเคราะห์บุตร
เงินสงเคราะห์บุตร สำหรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 2 คน (บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้ เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น)
ผู้ประกันตนมี สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์
จดทะเบียนสมรสกับมารดาของบุตร
จดทะเบียนรับรองบุตร
ยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลมีคำพิพากษาว่าเป็นบุตร
การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร
เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ขวบปีบริบูรณ์
บุตรเสียชีวิต
ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร (สปส. 2-01)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรส
สำเนาทะเบียนสมรส/ทะเบียนหย่าของผู้ประกันตน (กรณีจดทะเบียนหย่า) หรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร ซึ่งเกิดจากคำสั่งศาลพิพากษาให้เป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย
สำเนาสูติบัตร พร้อมสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน
ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส.2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด / สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน (กรณีผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตร 2 คน ในคราวเดียวกันสามารถใช้แบบคำขอ ฯ ชุดเดียวกันได้)
เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
พิจารณาสั่งจ่าย จ่ายเป็นรายเดือนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน
5. สิทธิกรณีชราภาพ มาตรา 39
ผู้ประกันตน มาตรา 39 ที่จ่ายเงินสมทบครบถ้วน จะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จประกันสังคม และเงินบำนาญประกันสังคม
บํานาญประกันสังคม มาตรา 39
กรณีที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
และในกรณีที่จ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบที่เพิ่มขึ้นทุก 12 เดือน
ตัวอย่าง : คุณ A เคยทำงานเป็นลูกจ้างได้รับเงินเดือน 20,000 บาท โดยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ได้จ่ายเงินสมทบเป็นเวลา 180 เดือน ต่อมาลาออกจากงาน และสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้จ่ายเงินสมทบเป็นเวลา 60 เดือน เนื่องจากคุณ A จ่ายเงินสมทบรวม 240 เดือน เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน คุณ A จะได้รับเงินบำนาญรายเดือน เดือนละ 1,320 บาท คำนวณได้ดังนี้
ส่วนที่ 1 : 180 เดือนแรก เท่ากับ 4,800 บาท x 20% = 960 บาท
ส่วนที่ 2 : 60 เดือนหลัง เท่ากับ 4,800 บาท x 1.5% x 5 ปี = 360 บาท
รวมได้รับเงินบำนาญตลอดชีพ 960 + 360 = 1,320 บาทต่อเดือน
หมายเหตุ : ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายเท่ากับ 4,800 บาทต่อเดือน
บําเหน็จประกันสังคม มาตรา 39
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพในกรณีที่จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน โดยจำนวนเงินที่ได้รับในฐานะที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 คือ เท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด
ตัวอย่าง : คุณ A เคยทำงานเป็นลูกจ้างได้รับเงินเดือน 20,000 บาท โดยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ได้จ่ายเงินสมทบเป็นเวลา 120 เดือน คิดเป็นเงินสมทบกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ 900 บาทต่อเดือน (คุณ A จ่าย 450 บาทต่อเดือน และนายจ้างจ่าย 450 บาทต่อเดือน) ต่อมาคุณ A ลาออกจากงาน และสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้จ่ายเงินสมทบเป็นเวลา 30 เดือน คิดเป็นเงินสมทบกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ 4,800 x 6% = 288 บาทต่อเดือน เนื่องจากคุณ A จ่ายเงินสมทบรวม 150 เดือน (น้อยกว่า 180 เดือน) เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน คุณ A จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ คำนวณได้ดังนี้
ส่วนที่ 1 : 120 เดือนแรก เท่ากับ 900 บาท x 120 เดือน = 108,000 บาท และผลประโยชน์ตอบแทนจากเงินสมทบ 120 เดือน
ส่วนที่ 2 : 30 เดือนหลัง เท่ากับ 288 บาท x 30 เดือน = 8,640 บาท และผลประโยชน์ตอบแทนจากเงินสมทบ 30 เดือน
สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่ส่งเงินสมทบไม่ถึง 12 เดือน เมื่อลาออกจากงาน จะไม่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ แต่เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จะยังมีสิทธิได้รับบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ เมื่อยังเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ไม่ได้รับในส่วนที่นายจ้างจ่ายสมทบ)
คำนวณมาตรา 39 เมื่ออายุครบ 55 ปี
ผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 ที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุน จนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ สามารถคำนวณเงินออมกรณีชราภาพ ได้ดังนี้
1. กรณีส่งเงินสมทบไม่ครบ 12 เดือน หรือ 1 ปี
จะได้รับเงิน "บำเหน็จชราภาพ" ซึ่งเป็นเงินก้อนจำนวนเท่ากับเงินสมทบส่วนที่ส่งสมทบจริงกลับคืนไป
ยกตัวอย่าง : กรณีเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ซึ่งสมทบเดือนละ 450 บาท หากสมทบ 10 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 450 คูณ 10 เท่ากับ 4,500 บาท
2. กรณีส่งเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ครบ 15 ปี
จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวนเท่ากับเงินสมทบ ส่วนที่ลูกจ้างส่งและนายจ่ายสมทบกลับคืนไปบวกดอกผลจากการลงทุนในช่วงเวลาที่ลูกจ้างส่งเงินสมทบเข้ากองทุนตามที่ สปส. กำหนด
ยกตัวอย่าง : กรณีเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป และส่งเงินสมทบเข้ากองทุนกรณีชราภาพ 10 ปี จะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 450 คูณ 2 คูณ 12 เดือน คูณ 10 ปี คิดเป็นเงินประมาณ 108,000 บาท อาจจะได้มากกว่านี้หากรวมดอกผลจากการลงทุนของ สปส.
3. กรณีส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 ปี จะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
จะได้รับเงิน "บำนาญชราภาพ" จ่ายเป็นรายเดือนและได้รับไปตลอดชีวิตโดยเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับคำนวณตามสูตรเท่ากับร้อยละ 20 ของเงินเฉลี่ย 60 เดือน หรือ 5 ปีสุดท้ายและทุก ๆ 12 เดือนที่สมทบเพิ่ม (คือนับตั้งแต่ปีที่ 16 เป็นต้นไป) จะได้รับโบนัสในส่วนเพิ่มเท่ากับร้อยละ 1.5 ของเงินเดือนเฉลี่ย
ยกตัวอย่าง : กรณีเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไปและส่งเงินสมทบเข้ากองทุนกรณีชราภาพ 15 ปี จะได้รับเงินบำนาญชราภาพจำนวน 15,000 คูณร้อยละ 20 เท่ากับ 3,000 บาทต่อเดือน หรือหากส่งเงินสมทบ 30 ปี จะได้รับเงินบำนาญชราภาพจำนวน 15,000 คูณร้อยละ 20 บวก 15,000 คูณ 15 ปีที่ส่งเงินสมทบเพิ่มคูณร้อยละ 1.5 เท่ากับ 3,000 บวก 3,375 เท่ากับ 6,375 บาทต่อเดือน
6. สิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิต ตามมาตรา 39
ผู้ประกันตนที่ถึงแก่ความตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน จะได้รับสิทธิประโยชน์ ตามมาตรา 39 เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน
สำหรับหลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิต ตามมาตรา 39 มีรายละเอียด ดังนี้
หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์
กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน
ก่อนเดือนถึงแก่ความตาย
ผู้มีสิทธิได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท โดยจ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ
ผู้ประกันตนสามารถขอรับคืนเงินกรณีชราภาพคืนได้ภายใน 1 ปี (ดูรายละเอียดในกรณีชราภาพ)
ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย ดังนี้
ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป (36 เดือนขึ้นไป) จ่ายให้กับทายาทหรือผู้มี สิทธิ แต่ไม่ถึง 10 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยหนึ่งเดือนครึ่ง ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยห้าเดือน
ใครคือผู้จัดการศพ
บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้จัดการศพและได้เป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน กรณีไม่ได้ทำหนังสือระบุให้ใครเป็นผู้รับ จ่ายให้ผู้มีสิทธิตามกฎหมาย คือ
คู่สมรส บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
บุคคลอื่นที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย
กรณีขอรับค่าทำศพ
1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01)
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการศพพร้อมตัวจริง
3. หลักฐานจากฌาปนสถานหรือมัสยิดที่แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ
4. สำเนาใบมรณบัตรพร้อมตัวจริง
5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 9 ธนาคาร ได้แก่
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) BAY
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB
ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) TBANK
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBANK
ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (จำกัด) CIMB เดิมคือ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)
กรณีขอรับเงินสงเคราะห์
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมตัวจริงและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์
สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดาของผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)
สำเนาสูติบัตรของบุตร หรือ สำเนาทะเบียนบ้านของบุตรกรณีไม่มีสูติบัตร
การมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน
หนังสือมอบอำนาจ
บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริงของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
หนังสือแจ้งผลการพิจารณาจากสำนักงานประกันสังคม
การยื่นคำร้องขอรับค่าทำศพ สามารถยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคม ทุกเขตพื้นที่และทุกทุก จังหวัดที่สะดวกในการยื่นคำร้อง
ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน :
ผู้จัดการศพผู้มีสิทธิต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์ โดยมีหลักฐานครบถ้วน
เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
พิจารณาสั่งจ่าย
เงินสด/เช็ค (ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) ส่งธนาณัติให้ผู้มีสิทธิ โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 9 ธนาคาร ได้แก่
ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
คุณสมบัติของผู้สมัครผู้ประกันตนโดยสมัครใจมาตรา 39
1. เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน
2. ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม
ขึ้นทะเบียนประกันสังคม มาตรา 39
การยื่นใบสมัครผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ
ผู้ประกันตนที่ประสงค์จะส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมด้วยตนเองโดยสมัครใจ โดยมีรายละเอียดการยื่นใบสมัคร ผู้ประกันตนมาตรา39 ดังนี้
1. ต้องยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ด้วยตนเอง ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน
2. สถานที่ยื่นใบสมัคร
กรุงเทพฯ : ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-12 แห่ง
ภูมิภาค : ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา
หลักฐานการสมัครมาตรา 39
1. แบบขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)
2. บัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา
เงินสมทบที่ต้องจ่ายให้ประกันสังคมตามมาตรา 39
สำหรับเงินสมทบที่ต้องนำส่งสำนักงานประกันสังคม คือ เดือนละ 432 บาทต่อเดือน
วิธีการจ่ายเงินสมทบมาตรา 39
ผู้ประกันตน สามารถจ่ายเงินสมทบมาตรา 39 ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา พร้อมแบบส่งเงินสมทบฯ (สปส. 1-11) หรือใช้วิธีหักจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ และการจ่ายด้วยเงินสดที่ธนาคาร ดังนี้
1. หักจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์มี 5 ธนาคาร
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB
ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) TBANK
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBAK
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB
หมายเหตุ : กรณีหักผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ขอรับหนังสือยินยอมให้หักเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาที่เปิดบัญชี หรือ สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่) เริ่มวันที่ 1 มกราคม 2557
2. จ่ายด้วยเงินสดที่
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB
จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7- ELEVEN ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาท สามารถจ่ายเงินสมทบได้ทุกสาขา
จ่ายเป็นธนาณัติ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ พร้อมแบบส่งเงินสมทบ สปส. 1-11 ถึงสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา (กรณีจ่ายผ่านธนาณัติ แนะนำให้สอบถามเจ้าหน้าที่ด้วยว่า สั่งจ่าย ตู้ ป.ณ. ใด)
จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ไปรษณีย์ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ จะมีค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาท (มีผลบังคับใช้วันที่ 2 ธันวาคม 2556 เป็นต้นไป)
หน้าที่ของผู้ประกันตนตามมาตรา 39
1. ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 มีหน้าที่ต้องนำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากเกินกำหนดต้องเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน
2. ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 มีหน้าที่ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงให้สำนักงานประกันสังคม ดังนี้
กรณีเปลี่ยนแปลงสถานที่ติดต่อ ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ตามแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงสถานที่ติดต่อ (สปส. 1-34)
กรณีเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล หรือแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ต้องแจ้งทันทีพร้อมแนบสำเนาหลักฐาน
กรณีประสงค์ลาออกหรือกลับเข้าทำงานและมีสถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรทันทีตามแบบแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 (สปส.1-21)
เช็กรายชื่อประกันสังคมมาตรา 39
สำหรับผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 ที่อยากเช็กรายชื่อประกันสังคมมาตรา39 นั้น สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงเข้าไปที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หลังจากนั้น ก็ใส่หมายเลขบัตรประชาชน 13 หลักของผู้ที่ต้องการค้นหาลงไป
หนังสือมอบอำนาจเป็นผู้รับผลประโยชน์ตามมาตรา 39
ในกรณีที่ผู้ประกันตน มาตรา 39 ไม่สะดวกที่จะเดินทางไปรับเงินจากกองทุนเงินทดแทน ก็สามารถก็ทำหนังสือมอบอำนาจเป็นผู้รับผลประโยชน์ตามมาตรา39 หรือทำเป็นหนังสือมอบฉันทะให้บุคคลอื่นมารับแทนเงินแทนตนได้
โดยเอกสารที่ผู้ที่ได้มอบอำนาจให้เป็นผู้รับผลประโยชน์ ตามมาตรา 39 ประกอบด้วย
ทำหนังสือมอบอำนาจหรือมอบฉันทะให้บุคคลอื่นมารับแทน
บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้มอบและผู้รับมอบ
หนังสือมอบฉันทะหรือหนังสือมอบอำนาจ (ไม่ต้องติดอากรแสตมป์)
ยกเลิกมาตรา 39
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน เมื่อใด
1. ตาย
2. กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
3. ลาออก
4. ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (สิ้นสภาพตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ)
5. ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน (สิ้นสภาพในเดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน)
ขาดส่งประกันสังคม มาตรา 39
ผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน จะถือว่า ได้สิ้นสุดสภาพการเป็นผู้ประกันตนตั้งแต่เดือนแรกที่ขาดส่ง หรือกรณีที่ผู้ประกันตนให้หักเงินสมทบผ่านบัญชีธนาคารฯ แต่ยอดเงินในบัญชีมีไม่เพียงพอ ทำให้สิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตนได้เช่นเดียวกัน
จะต้องแจ้งออกมาตรา 39
กรณีผู้ประกันตน ที่ต้องการแจ้งออกมาตรา 39 สามารถไปแจ้งยกเลิกที่สำนักงานประกันสังคมที่สมัครไว้ได้ทันที หรือจะรอให้ทางนายจ้างยื่นแจ้งเข้าทำงานต่อประกันสังคมก็ได้ เพราะเมื่อนายจ้างไปแจ้งข้อมูลดังกล่าว ก็จะถือเป็นการยกเลิกมาตรา 39 ไปโดยปริยาย
แบบฟอร์มที่ผู้ประกันตนมาตรา 39 ควรรู้
แบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) คลิกที่นี่
แบบส่งเงินสมทบผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส. 1-11) คลิกที่นี่
http://money.kapook.com/view90698.html
http://www.ssolife.com/section_39detail.aspx?id=61
14.02.60
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)