"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

II-5 ระบบเวชระเบียน (MRS)


overall scoring

  II-5 ระบบเวชระเบียน (MRS)
เวชระเบียน (Medical Record) หมายถึง เอกสารทางการแพทย์ทุกประเภท ที่ใช้บันทึกและเก็บรวบรวมเรื่องราวประวัติของผู้ป่วยทั้งประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัว ประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบัน การรักษา ผลจากห้องปฏิบัติการ ผลการบันทึกค่าจากเครื่องมือทางการแพทย์ทุกประเภท หรือเอกสารการบันทึกการกระทำใด ๆ ที่เป็นการสั่งการรักษา การปรึกษาเพื่อการรักษาพยาบาล การกระทำตามคำสั่งของผู้มีอำนาจในการรักษาพยาบาลตามที่สถานบริการสาธารณสุขกำหนดไว้ และเอกสารอื่น ๆ ที่ใช้ประกอบเพื่อการตัดสินใจทางการแพทย์ เพื่อการประสานงานในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย หมายรวมถึงชื่อของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดทำเอกสารดังกล่าว การเก็บรวบรวม การค้นหา การบันทึก การแก้ไข การนำมาจัดทำสถิติผู้ป่วย การนำมาเพื่อการศึกษาวิจัย หรือเพื่อการอื่นใดตามที่สถานบริการสาธารณสุขกำหนด นอกจากนี้ยังรวมถึงเอกสารทางการแพทย์ที่อยู่ในรูปแบบสื่อดิจิตอล หรือระบบอิเลคทรอนิกส์ (EMR :Electronic Medical Record ) ซึ่งเป็นรูปแบบของเวชระเบียนที่มีการพัฒนาขึ้นในปัจจุบันhttp://th.wikipedia.org/wiki/  งานเวชระเบียนถือเป็นหน่วยงานที่สำคัญหน่วยหนึ่งของโรงพยาบาล โดยเป็นหน่วยงาน ที่ให้บริการข้อมูลผู้ป่วยแก่แพทย์ พยาบาล หรือหน่วยงานอื่นๆ ในโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการบริการผู้ป่วย นอกจากนั้น ยังมีหน้าที่จัดเก็บ ดูแลรักษาข้อมูลเหล่านั้นให้ปลอดภัย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เมื่อต้องการ จึงได้จัดให้มีระบบบริหารเวชระเบียนที่มีประสิทธิภาพดังนี้
       II-5.1 ระบบบริหารเวชระเบียน (Medical Record Management System)            งานเวชระเบียน โรงพยาบาลราชบุรี จัดให้มีระบบบริหารเวชระเบียนที่มีประสิทธิภาพเพื่อสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
       ก. การวางแผนและออกแบบระบบ
1. มีการกำหนดเป้าหมายของการบันทึกเวชระเบียนโดยทุกวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมการสื่อสาร ความต่อเนื่องในการดูแลรักษาและการประเมินคุณภาพ มีคณะกรรมการ     เวชระเบียนซึ่งประกอบด้วยสหวิชาชีพ มีการกำหนดเป้าหมายของการบันทึกเวชระเบียน เพื่อ
Ø   คุณภาพข้อมูลเวชระเบียน คุณภาพข้อมูลเวชระเบียนที่ดี  เป็นที่ต้องการของบุคลากรทุกระดับ
Ø  ความครบถ้วน หมายถึง มีรายการที่ต้องจัดเก็บครบถ้วน ที่ผู้ใช้ข้อมูลทุกหน่วยงานต้องการ โดยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ต้องมี สามารถตรวจสอบได้จากมาตรฐานระดับโลก หรือมาตรฐานของประเทศ
Ø  ความถูกต้อง ข้อมูลที่ผิดพลาดย่อมทำให้เกิดความเสียหายได้มาก ขั้นตอนที่ทำให้เกิดความผิดพลาดของข้อมูลมากที่สุด คือกระบวนการรวบรวมข้อมูล กระบวนการต่อมา ที่อาจทำให้ข้อมูลผิดพลาดได้แก่ กระบวนการถอดรหัส หรือเข้ารหัสข้อมูล เช่น การแปลงคำย่อที่แพทย์ใช้ให้เป็นคำเต็ม หรือการลงรหัสโรค ICD - 10 หรือ รหัสการผ่าตัด ICD - 9 -CM อาจเกิดความผิดพลาดได้ หากไม่มีมาตรฐานการทำงานที่ชัดเจน ส่วนขั้นตอนสุดท้ายที่อาจทำให้ข้อมูลผิดพลาดคือ การจัดเก็บข้อมูล กรณีนี้แสดงให้เห็นว่าข้อมูลอาจผิดพลาดที่ใครสักคนหนึ่ง ทำให้ความน่าเชื่อถือลดต่ำลง
Ø  ความสมบูรณ์ คุณภาพข้อมูลข้อนี้มักถูกละเลยเป็นส่วนมากโดยเฉพาะในหน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลจะเน้นการเก็บข้อมูลให้ครบถ้วนและถูกต้องมากกว่า แต่ถ้าไม่เคยวิเคราะห์ วิจัย หรือสร้างความรู้จากข้อมูล ก็จะทำให้ไม่ทราบความสำคัญของรายละเอียดข้อมูล ข้อมูลที่มีรายละเอียดที่ดี จะสามารถนำมาวิเคราะห์วิจัยได้หลายแง่มุม และสร้างประโยชน์ได้มากมาย
Ø  ความทันสมัยข้อมูลที่ดีต้องทันสมัย ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง มีรายละเอียดที่ดี แต่มาช้าเกินไป ย่อมทำให้มองไม่เห็นสถานการณ์ปัจจุบัน ใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่
2. การออกแบบระบบเวชระเบียนเป็นผลจากกการประเมินความต้องการของผู้ให้บริการ ผู้บริหาร รวมทั้งบุคคลและหน่วยงานภายนอก ได้รับความร่วมมือในการระดมความคิดเห็นจากบุคลากรทุกส่วน มีการสื่อสารและการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกใช้ระบบเวชระเบียนที่เหมาะสม   
Ø    การบริการ กระบวนการให้บริการและดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นไปตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพ
Ø  การบริหาร  มีการมอบหมายและกระจายอำนาจหน้าที่ให้รับผิดชอบ  การกำหนดนโยบาย  ระบบงานและกิจกรรมเป็นไปอย่างมีระบบโดยคณะกรรมการต่างๆ เช่น กรรมการบริหารโรงพยาบาล คณะกรรมการเวชระเบียน  ทีมนำทางคลินิก (PCT) ทีมสารสนเทศ (IM) และทีมอื่น
Ø  งานวิชาการ มีการพัฒนาบุคลากรของงานเวชระเบียนอย่างสม่ำเสมอ มีการจัดเจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรม/ประชุม/สัมมนา/ศึกษาดูงาน ภายในและภายนอกโรงพยาบาล อย่างต่อเนื่อง


3. องค์กรมีนโยบายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเวชระเบียนผู้ป่วยที่เหมาะสมในด้าน
Ø  การบันทึกเวชระเบียน มีการจัดทำเวชระเบียนสำหรับผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับบริการของโรงพยาบาล โดยมีข้อมูลและรายละเอียดเพียงพอ เพื่อให้เกิดการสื่อสารที่ดีระหว่างทีมงานผู้ให้การดูแลรักษา เกิดความต่อเนื่องในการดูแลรักษา และประเมินคุณภาพการดูแลรักษาได้ โดยมีข้อมูลสนับสนุนการวินิจฉัยโรค มีการประเมินความเหมาะสมของการดูแลรักษาผู้ป่วย ทราบผลลัพธ์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย เอื้ออำนวยต่อการดูแลอย่างต่อเนื่องของผู้ให้บริการ รวมทั้งมีนโยบายและวิธีปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับการบันทึกเวชระเบียน มีการทบทวนเวชระเบียน และมีการใช้ประโยชน์จากบันทึกในเวชระเบียน
Ø  การแก้ไขข้อมูลในเวชระเบียนข้อมูลในเวชระเบียนมีความสำคัญต่อการเป็นหลักฐานทางกฎหมาย  ดังนั้นจึงไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูล  หากจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ปฏิบัติดังนี้
1.       ให้ขีดฆ่าข้อความที่ต้องการแก้ไข  (ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด)
2.       เขียนข้อความใหม่ในที่ว่างเปล่าที่มีในบริเวณใกล้เคียง
3.       ลงชื่อผู้แก้ไขพร้อม  วัน/เดือน/ปี ที่แก้ไข
Ø  การใช้รหัสการวินิจฉัยโรคและรหัสหัตถการที่เป็นมาตรฐาน เจ้าหน้าที่เวชสถิติเป็นผู้ให้รหัสโรคและรหัสหัตถการ ตามรหัส ICD 10 และ ICD-9 CM ฉบับWHO และบันทึกบันทึกรหัสโรคและรหัสหัตถการ ลงโปรแกรม HOSxP โดยข้อมูลดังกล่าวจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วย ประวัติเกี่ยวกับโรคของผู้ป่วย รหัสโรคและรหัสผ่าตัด  เมื่อหน่วยงานใดต้องการข้อมูล เราก็จะสามารถให้ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และการจัดเก็บยังช่วยในการจัดทำสถิติทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขได้
Ø  การจัดเก็บเวชระเบียน  Decentralized Unit filing System คือการเก็บเวชระเบียนตามเลขที่ทั่วไปซึ่งเป็นการให้เลขที่ครั้งเดียวแล้วใช้ตลอดไป ซึ่งก็คือการเก็บเวชระเบียนผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกแยกจากกัน โดยเก็บไว้คนละที่ เมื่อผู้ป่วยมาตรวจที่ O.P.D. เวชระเบียนก็จะจัดทำที่ O.P.D. แล้วเก็บที่O.P.D.  และถ้าผู้ป่วยต้อง Admit จะจัดทำเวชระเบียนผู้ป่วยใน และจะเก็บที่หน่วยเวชระเบียนผู้ป่วยใน และหากผู้ป่วยคนเดียวกันนี้มาตรวจที่ O.P.D. ใหม่อีก ด้วยโรคอะไรก็ตามก็จะจัดทำเวชระเบียนที่ O.P.D. ไม่ได้ร่วมกับเวชระเบียนผู้ป่วยใน วิธีนี้ทำได้สะดวกและรวดเร็ว การเรียงตามเลขที่ตัวท้าย(Terminal digit or reverse-numerical filing) โรงพยาบาลใหญ่ๆ ซึ่งมีผู้ป่วยจำนวนมาก การเรียงตามเลขตัวท้ายนี้ ง่าย รวดเร็วและถูกต้อง(Simple,Speed and accuracy) ช่วยลดการเรียงเข้าที่ผิดได้อย่างมากมาย เพราะว่าโดยปกติการสับที่ของตัวเลข เช่น89 เป็น 98 มักพบได้บ่อยๆ ด้วยวิธีนี้เจ้าหน้าที่เรียงเวชระเบียน จำเพียง 2 ตัว เท่านั้นในเวลาเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องนับเกินร้อย และสามารถกำหนดเจ้าหน้าที่ให้รับผิดชอบในการเก็บเวชระเบียนแต่ละหมายเลขได้มีระบบการจัดเก็บเวชระเบียน ซึ่งเมื่อแพทย์ตรวจรักษาแล้ว ส่งมาเก็บOPD Card ไว้ที่งานเวชระเบียน ซึ่งการจัดเก็บ ต้องให้เป็นระเบียบและระบบ เพื่อสะดวกในการค้นหา วิธีการเก็บควรเก็บตามเลขที่ทั่วไป(Hospital Number:HN) และแบบ Terminal Digit Filing System  เป็นระบบที่จัดเลขที่ทั่วไปเป็น 3 กลุ่ม โดยเรียงจากเลขท้าย ดังนี้

                         XX                 XX                XX                XX                
                                               
                                                                                     Year         
                                                           Primary digit
                                     Secondary digit                                  
                  Tertiary digit                      
โดยเริ่มเรียงเลขที่ Primary digit ก่อน เมื่อเหมือนกันให้เรียงตัวที่ 2 คือSecondary digit เมื่อตัวที่ 2 เหมือนกัน ย้ายมาดูกลุ่มที่ 3 Tertiary digitและเมื่อทั้ง 3 กลุ่ม เหมือนกัน ก็ดู พ..เป็นตัวเรียงอีกที โดยใช้วิธีการนี้ควบคู่กับระบบสติ๊กเกอร์สี
Ø  การเข้าถึงเวชระเบียน เวชระเบียนเป็นหลักฐานทางการรักษาพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับทางกฎหมาย ในการคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วย การให้ข้อมูลทางผู้ป่วยจะตองทำด้วยความรอบคอบเพื่อพิทักษ์ และตุ้มครองสิทธิของผู้ป่วย ตามคำประกาศสิทธิของผู้ป่วยที่ว่า ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับการปิดข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยเคร่งครัด เว้นแต่ จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย  หรือจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย  ซึ่งหน่วยงานเวชระเบียนผู้ป่วยในมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง  ดังนั้นจึงต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของเวชระเบียนให้รัดกุม  โดยการกำหนดระเบียบแนวทางปฏิบัติการยืมการคืนเวชระเบียน การติดตามเวชระเบียน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติ ดังนี้
1.จัดระบบเวชระเบียนให้ถูกต้องและเหมาะสม โดยการจัดเก็บเป็นระบบแบบ Terminal Digit  Filing System
2. มีระบบการยืม-คืน และการติดตามเวชระเบียน โดยจะมีการบันทึกการยืม-คืนในคอมพิวเตอร์ มีการบันทึกชื่อผู้ยืม สาเหตุการยืม ทำให้สะดวกในการติดตามและตรวจสอบ โดยต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะ
3. การสืบค้นเวชระเบียน เจ้าหน้าที่เวชระเบียนจะเป็นผู้สืบค้นเวชระเบียนและจัดเก็บโดยไม่ให้ผู้ป่วย ญาติ หรือเจ้าหน้าที่อื่นเข้าถึงบริเวณจัดเก็บ
            4. ในกรณีที่ ผู้ป่วยต้องการสำเนาเวชระเบียน มีระเบียบในเรื่องของการเข้าถึงข้อมูลโดยให้อยู่ในอำนาจของ  ผู้อำนวยการโรงพยาบาล    
Ø  การทำลายเวชระเบียน งานเวชระเบียน พิจารณาเอกสารขอทำลายตามรายการในบัญชีขอทำลาย เอกสารที่จะขอทำลายต้องครบอายุการเก็บแล้วตามที่กฎหมายหรือระเบียบกำหนด โดยจะดำเนินทำลายเวชระเบียนที่ขาดการติดต่อเกิน 5 ปี
        4. ข้อมูลในบันทึกระเบียน ได้รับการบันทึกรหัสและจัดทำดัชนีเพื่อนำไปประมวลผลเป็นสารสนเทศในการดูแลผู้ป่วยที่มีคุณภาพในเวลาที่เหมาะสมมีการให้รหัสโรคและหัตถการตามหลัก ICD-10 และ ICD-9-CM โดยเจ้าหน้าที่เวชสถิติและเจ้าหน้าที่งานเวชระเบียนที่ผ่านการฝึกอบรมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการบันทึกรหัส ICD-10 และ ICD-9-CM ในโปรแกรมHOSxP มีการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ
5.องค์กรประเมินและปรับปรุงระบบบริหารเวชระเบียนอย่าสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าระบบตอบสนองความต้องความต้องการขององค์กรและผู้ป่วย มีการประชุมและประเมินความต้องการร่วมกันของทีมนำต่าง ๆ เช่น
1)      PCT OPD ในการพัฒนาระบบนัด
2)      PCT.OPD.ในการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการเพื่อการปรับปรุงระบบบริการ
3)      PCT OPD ในการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบและการจัดเก็บ OPD Card ของเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลราชบุรี
4)      กลุ่มงานกุมารเวชกรรม ในการพัฒนารูปแบบและการจัดเก็บ OPD Card ของผู้ป่วยในโครงการวิจัยไข้เลือดออก
5)      ฝ่ายเภสัชกรรม ในการพัฒนารูปแบบ OPD Card ของผู้ป่วยแพ้ยา
6)   งานเวชระเบียน ได้พัฒนาระบบและการจัดเก็บแฟ้มเวชระเบียนของเจ้าหน้าที่ เพื่อความมั่นใจของเจ้าหน้าที่ต่อระบบการสืบค้นและเป็นช่องทางสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ




ข.      การรักษาความปลอดภัยและความลับ
1) เวชระเบียนได้รับการป้องกันการสูญหาย ความเสียหายทางกายภาพ และการแก้ไขดัดแปลง เข้าถึง หรือใช้โดยผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่
§       มีการแจ้งในทีม PCT  ในเรื่องของการส่งคืนเวชระเบียนทุกวัน
§    มีระบบการยืม  คืนเวชระเบียน โดยมีการบันทึกการยืม - คืน ลงในโปรแกรม HOSxP ซึ่งให้ระบุว่ายืมเวชระเบียนฉบับใด มีชื่อผู้ยืม สาเหตุที่ยืม เพื่อสะดวกในการตรวจและติดตาม
§    มีระบบ OPD Card เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลราชบุรี เพื่ออำนวยความสะดวก และป้องกันการที่เจ้าหน้าที่เก็บ OPD Card ไว้เอง
§       มีระบบการจัดส่ง OPD Card ณ จุดตรวจ เพื่อเป็นการรักษาความลับและป้องกันการนำ OPD Card กลับบ้าน
§       มีการซ่อมแซม เวชระเบียนชำรุด
§       มีการปรับปรุงข้อมูลใน OPD Card อย่างต่อเนื่อง
2) องค์กรกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่จำเป็นเพื่อรักษาความลับของข้อมูลและสารสนเทศของผู้ป่วยในเวชระเบียน
·    มีการกำหนดการเข้าถึงเอกสารเวชระเบียนในเรื่องการขอทราบประวัติการรักษาพยาบาล  และ แนวปฏิบัติการสำเนาประวัติการรักษาพยาบาลกรณีรักษาต่อเนื่องและกรณีประกันชีวิต
·    มีแนวทางการจัดทำและจัดเก็บเวชระเบียนผู้ป่วยเด็กและสตรีที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ในศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี(One Stop Crisis Center: OSCC)  งดเว้นการ Diagnosis ใน OPD Card ให้ใช้รหัส(......) ตามมติคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพเรื่องสิทธิผู้ป่วยและจริยธรรมองค์กร นำมาสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติทราบและถือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างบุคลากรผู้บันทึกการวินิจฉัยโรคและผู้เกี่ยวข้อง
·    มีแนวทางในการป้องกันความลับผู้ป่วยโรคเอดส์ งดเว้นการ Diagnosis ใน OPD Card ให้ใช้รหัส(......) ตามมติคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพเรื่องสิทธิผู้ป่วยและจริยธรรมองค์กรนำมาสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติทราบและถือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างบุคลากรผู้บันทึกการวินิจฉัยโรคและผู้เกี่ยวข้อง
·    มีการนำรหัสผ่านมาใช้ป้องกันการเข้าใช้โปรแกรมจากบุคคลภายนอกและมีการกำหนดชั้นการเข้าถึงของบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม
3 องค์กรให้ความรู้แก่บุคลากรอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการรักษาความลับ วิธีการจัดการเมื่อมีการขอให้เปิดเผยข้อมูลซึ่งเป็นการละเมิดการรักษาความลับ โดยมีระบบการรักษาความปลอดภัยของเวชระเบียนโดยไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าไปในส่วนของสถานที่จัดเก็บเวชระเบียน  และมีการวางระบบการจัดส่งเวชระเบียน ณ จุดบริการเพื่อมิให้ผู้รับบริการต้องถือเวชระเบียนเอง  กรณีการขอประวัติผู้ป่วย เพื่อการรักษาต่อเนื่องและการประกันชีวิต ผู้ป่วยต้องเขียนแบบคำร้องขอทราบประวัติการรักษาพยาบาล โดยผ่านความเห็นชอบจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ในระบบคอมพิวเตอร์จะมีการนำรหัสผ่านมาใช้ป้องกันการเข้าใช้โปรแกรมจากบุคคลภายนอกและมีการกำหนดชั้นการเข้าถึงของบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม และห้ามบุคลากรงานเวชระเบียน บอกรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติผู้ป่วยทางโทรศัพท์ ให้ติดต่อที่หัวหน้างานเวชระเบียน ซึ่งยึดถือตามมติคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพเรื่องสิทธิผู้ป่วยและจริยธรรมองค์กร โดยกำหนดให้มี รหัสผ่าน สำหรับโรงพยาบาลในเขตจังหวัดราชบุรีที่ร่วมโครงการ ฯ    ส่วนเจ้าหน้าที่ที่มีความต้องการใช้เวชระเบียน เพื่อการศึกษาวิจัย สามารถทำได้โดยการเขียนคำร้องการใช้เวชระเบียนเพื่อการศึกษาวิจัยโดยผ่านความเห็นชอบจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย                 
4) องค์กรมีกระบวนการให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศในเวชระเบียนของตนได้โดยมีเจ้าหน้าที่ได้รับมอบหมายร่วมอยู่ด้วย ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนได้โดยการกำหนดการเข้าถึงเอกสารเวชระเบียนในเรื่องการขอทราบประวัติการรักษาพยาบาล  และ แนวปฏิบัติการสำเนาประวัติการรักษาพยาบาลกรณีรักษาต่อเนื่องและกรณีประกันชีวิต โดยผ่านความเห็นชอบจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
5) องค์กรประเมินและปรับปรุงระบบบริหารเวชระเบียนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าระบบตอบสนองความต้องการขององค์และผู้ป่วย         
ü  งานเวชระเบียน มีระบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนมีช่องทางสำหรับผู้รับบริการที่ไม่ได้รับความพึงพอใจต่อระบบการให้บริการของงาน        เวชระเบียน สามารถพบหัวหน้างานเวชระเบียนได้ทันทีเพื่อพิจารณาหาแนวทางการแก้ไขและไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เกิดขึ้น
ü  งานเวชระเบียน มีโครงการต่าง ๆ ที่ตอบสนองต่อข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้น เช่น โครงการจัดหาระบบเรียกคิว Digital Calling ,โครงการพัฒนาระบบจัดเก็บเวชระเบียน เวชระเบียนอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Medical Record :EMR) ,โครงการพัฒนาระบบการระบุตัวผู้ป่วย (Patient Identification) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ให้บริการ  ซึ่งโครงการต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ในระหว่างดำเนินการ
             
II-5.2  เวชระเบียนผู้ป่วย (Patient Medical Record)
 ระบบบริหารเวชระเบียนมีประสิทธิภาพมีการทบทวนความสมบูรณ์ของการบันทึก          เวชระเบียนตามแบบฟอร์มของ สปสช. ตามเกณฑ์ เวชระเบียนมีความสมบูรณ์ไม่น้อยกว่า 50% และแพทย์รับรู้คะแนนความสมบูรณ์ในเวชระเบียนที่ตนรับผิดชอบ มีการทบทวนเวชระเบียนเป็นระยะ เพื่อประเมินความสมบูรณ์ ความถูกต้องและระยะเวลาบันทึกที่กำหนด โดยมีทีมตรวจสอบเวชระเบียนของโรงพยาบาล ซึ่งผ่านการอบรมการตรวจสอบเวชระเบียนของ สป.สช. ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาลและเจ้าพนักงานเวชสถิติ มีการประมวลผลข้อมูลจากเวชระเบียนเพื่อประโยชน์ในการวางแผนและการปรับปรุงดูแลผู้ป่วย,มีการทบทวนคุณภาพการดูแลผู้ป่วยจากเวชระเบียน และนำปัญหาที่พบไปปรับปรุงระบบงาน นำผลการตรวจสอบเสนอผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้องทำการปรับปรุงและแก้ไขเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพในการบันทึกเวชระเบียน ประเด็นประสิทธิภาพของระบบบริหารเวชระเบียนที่ รพ.ให้ความสำคัญคือ ผู้ป่วยทุกรายมีเวชระเบียนซึ่งมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการสื่อสาร การดูแลต่อเนื่อง  การเรียนรู้ การวิจัย การประเมินผล และการใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมาย
(1 )เวชระเบียนมีข้อมูลเพียงพอ สำหรับ
Ø  การระบุตัวผู้ป่วย ในการทำเวชระเบียน (OPD Card) ทุกราย จะต้องแสดงบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านเพื่อการบันทึกข้อมูลที่ถูกต้อง มีการบันทึกเลขประชาชน ชื่อ-สกุล วันเดือนปีเกิด อายุ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ เชื้อชาติ อาชีพ ชื่อคู่สมรส ชื่อพ่อ-แม่ เบอร์โทรศัพท์ สิทธิการรักษา  หากไม่มีหลักฐานมาแสดงในครั้งแรก ก็ให้จัดทำเวชระเบียนตามคำบอกเล่าของผู้ป่วยและแนะนำว่าในครั้งต่อไปให้แสดงบัตรประชาชนทุกครั้งที่เข้ารับบริการเพื่อเป็นการยืนยันตัวบุคคลและเพื่อการตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล
Ø  มีข้อมูลสนับสนุนการวินิจฉัยโรค  มีการบันทึก ชื่อ-สกุล วันเดือนปีเกิด อายุ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ เชื้อชาติ อาชีพ ชื่อคู่สมรส ชื่อพ่อ-แม่ เบอร์โทรศัพท์ สิทธิการรักษา           เลขประชาชน และประวัติการแพ้ยา(โดยฝ่ายเภสัชกรรม) มีรหัสของคลินิกเฉพาะโรคต่างๆ เพื่อให้สะดวกแก่การสังเกตและการให้การรักษา
Ø    ประเมินความเหมาะสมของการดูแลรักษา
- มีข้อมูลประจำตัวผู้ป่วยเพื่อป้องกันการรักษาผิดคน ได้แก่ การมีชื่อ-นามสกุล ,เลขที่ทั่วไป และ เลขที่ภายใน(กรณี Admit)
                        - มีการบันทึก Vital sign และอาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล
                        - มีการบันทึกประวัติการแพ้ยา  แพ้สารเคมีอาหาร
                        - บันทึกประวัติการตรวจร่างกาย ผล Investigation (ถ้ามี)
                        - การวินิจฉัยโรค/การรักษา
- มีการบันทึกประวัติการแพ้ยา และการแพ้สารเคมี
- บันทึกการตรวจร่างกายของแพทย์
- Investigate ที่จำเป็นสำหรับการวินิจฉัยโรค
Ø  ทราบความเป็นไป การเปลี่ยนแปลง และผลการรักษา ในเวชระเบียนจะมีการบันทึกประวัติผู้ป่วย การรักษา การให้ยา หัตถการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
Ø  เอื้อต่อความต่อเนื่องในการดูแล ทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย สามารถบันทึกข้อมูลการดูแลรักษาทั้งหมดลงในเวชระเบียน โดยมีการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น บันทึกผลการตรวจรักษา บันทึกผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ , การตรวจพิเศษต่าง ๆ
Ø  ให้รหัสได้อย่างถูกต้อง ตามมาตรฐานการให้รหัสโรคและรหัสหัตถการ (ICD-10, ICD-9 CM) ได้ใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรฐานของ WHO โดยมีเจ้าพนักงานเวชสถิติที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงที่ผ่านการฝึกอบรมและพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง
Ø  การใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมาย  ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอ  ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น และสถานพยาบาลของรัฐต้องอยู่ภายใต้ พ...ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.. 2540ซึ่งให้สิทธิผู้ป่วยในการเข้าถึง  ตรวจดู  ขอสำเนา  ขอแก้ไข  ข้อมูลส่วนที่เกี่ยวข้องกับตน สถานพยาบาลของรัฐนั้นมีหน้าที่ดำเนินการตามคำขอ(นพ.พิทูร ธรรมธรานนท์)
Ø  การประเมินคุณภาพการดูแลผู้ป่วย ต้องอาศัยความสมบูรณ์ของเวชระเบียนที่ประกอบด้วย แบบบันทึกของแพทย์และทีมสหวิชาชีพที่ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ตามที่กำหนดไว้ เพื่อให้เป็นเวชระเบียนที่ดี ใช้ประโยชน์ในการศึกษา,วิจัยประกอบการเบิกจ่ายเงินของแต่ละกองทุน และตรวจสอบคุณภาพจากภายในและภายนอก

          





01.12.55

 







HA รพ.ราชบุรี



...  
 .

..




27.11.55

ขั้นตอนการเข้าสู่กระบวนการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA

1. การขึ้นทะเบียน (Registration) กับทางสถาบัน โดยส่งเอกสารดังต่อไปนี้ 
    1.1. หนังสือแสดงความจำนงเพื่อการรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาล (Download)     1.2. ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาล: Hospital profile (Download)

                                ขั้นตอนการเข้าสู่การประเมินระดับขั้นการพัฒนาคุณภาพ
                         (ขั้น 1, 2, Intensive Consultation Visit, Preparation Survey)
     สถานพยาบาลที่ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพตามทิศทางของมาตรฐานโรงพยาบาล และมีความประสงค์ จะขอรับการเยี่ยมเพื่อประเมินระดับขั้นการพัฒนาคุณภาพ ขอให้ปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้ 

      การเยี่ยมสถานพยาบาลเพื่อรับรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (เหมาะสำหรับสถานพยาบาลที่มีความประสงค์จะประเมิน ระดับขั้น
การพัฒนาคุณภาพขั้น 1 และ ขั้น 2) 
1. เมื่อสถานพยาบาลมีความพร้อม ให้ทำหนังสือแจ้งความประสงค์ พร้อมทั้งจัดเตรียมเอกสารส่ง สรพ. ในรูป e-file 
   (Download เอกสารการเตรียมการเพื่อเข้าสู่การประเมินระดับขั้นการพัฒนาคุณภาพ ขั้น 1, 2) ดังนี้ 
    1.1 Hospital profile 
    1.2 Overall Scoring 
    1.3 ผลงานเด่นที่แสดงการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคที่สำคัญ จำนวน 2 - 3 โรค ผลงานเด่นที่แสดงการพัฒนาระบบงาน
          ที่สำคัญ จำนวน 2 - 3 ระบบ (RM, IC, ENV และอื่นๆ) 
    1.4 Gap Analysis จาก Patient Safety Goals : SIMPLE จำนวน 5 เรื่อง 
    1.5 ผลการตรวจความสมบูรณ์ของเวชระเบียนของสถานพยาบาล ใช้เกณฑ์ของ สปสช. ซึ่งในปัจจุบันใช้เพียงผลการตรวจเวชระเบียนของ
          ผู้ป่วยใน ยังไม่ครอบคลุมถึงผู้ป่วยนอก 
2. สถาบันจัดกำหนดการเยี่ยมเพื่อประเมินระดับขั้นการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล ประมาณ 45 วันนับจากวันที่ได้รับเอกสารของสถาน
    พยาบาล 
3. เมื่อได้รับกำหนดการเยี่ยม ขอให้จัดส่งเอกสารข้อ 1.1 – 1.5 โดยจัดส่งเป็น hard copy และ electronic-file ให้ผู้เยี่ยมโดย
    ตรงไม่น้อยกว่า 1 - 2 สัปดาห์ก่อนการเยี่ยม และหากสถานพยาบาลไม่สามารถจัดส่งเอกสารให้แก่ผู้เยี่ยมในเวลาที่กำหนด ทางสถาบัน
    สามารถยกเลิกกำหนดการเยี่ยมในครั้งนั้น และจะกำหนดวันเยี่ยมให้ใหม่ 
4. ภายหลังการเยี่ยมให้คำปรึกษาสถานพยาบาล สถาบันจะจัดทำรายงานเสนอกรรมการและผู้อำนวยการเพื่อพิจารณาตามลำดับ และประกาศ
    ผลให้โรงพยาบาลรับทราบ ภายในระยะเวลาประมาณ 45 วันหลังจากวันเข้าเยี่ยมสถานพยาบาล
5. ขอให้สถานพยาบาลจัดส่งเอกสารเพื่อการเยี่ยมประเมินขั้นการพัฒนากระบวนการคุณภาพในรอบปีต่อไป ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือนก่อนหมด
    อายุการรับรอง 


    การเยี่ยมสถานพยาบาลเพื่อให้คำปรึกษาเข้ม (Intensive Consultation Visit) หรือ การเยี่ยมสถานพยาบาลเพื่อเตรียม
ความพร้อม (Preparation Survey) เหมาะสำหรับสถานพยาบาลที่ต้องการยกระดับการพัฒนาคุณภาพต่อจากขั้น 2 

•   การเตรียมเอกสารเพื่อ ICV และ Preparation Survey ให้ถือการเตรียมเอกสารเพื่อการเยี่ยมขั้น 3 เป็นแนวทาง แต่เอกสารยังไม่จำเป็นต้องครบถ้วนสมบูรณ์ทุกชิ้น โดยให้สถานพยาบาลส่งเอกสารให้สถาบัน เท่าที่เตรียมแล้วเสร็จ กรณีที่ต้องมีการประเมินเพื่อต่ออายุขั้น 1 หรือ 2 ร่วมด้วย ให้สถานพยาบาลส่งเอกสาร 5 ชิ้นตามการประเมินขั้น 1, 2 มาด้วย (ในเอกสาร 5 ชิ้น สถานพยาบาลอาจขอยกเว้นไม่ส่งเป็นบางชิ้นได้เพราะมีเอกสารสำหรับขั้น 3 ที่เทียบเคียงกันได้ส่งมาแล้ว ในกรณีนี้ให้ประสานสถาบันพิจารณาเป็นรายกรณี) 

              ขั้นตอนการขอรับการรับรองกระบวนการคุณภาพตามมาตรฐานHA                         
                      (Accreditation Survey/Re-accreditation Survey)
 
    
    สถานพยาบาลที่ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพของสรพ. และมีความประสงค์จะขอรับการเยี่ยมเพื่อรับรองกระบวนการคุณภาพจากสถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (องค์การมหาชน) ขอให้ดำเนินการดังนี้ 

1. การเตรียมเอกสารเพื่อขอรับการรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาล (Accreditation Survey) และเพื่อต่ออายุการรับรองกระบวนการคุณภาพสถานพยาบาล (Re-accreditation Survey) ตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี 
    1.1 แบบประเมินตนเอง (Download เอกสารการเตรียมการเพื่อเข้าสู่กระบวนการรับรองคุณภาพ)           1) Hospital profile 
          2) รายงานความก้าวหน้าจากการเยี่ยมครั้งที่แล้ว  
          3) แบบประเมินตนเองภาพรวม : SA2011และผลการดำเนินงานตอนที่ 4          
          4) Service Profile ทีมนำทางด้านคลินิก (PCT) ทุกทีมตามบริบทของโรงพยาบาล 
          5) สำเนาหนังสือหรือรายงานการขอรับรองจากสภาวิชาชีพ ตามรายละเอียดข้อ 1.3 - 1.5 
          6) ผลการตรวจความสมบูรณ์ของเวชระเบียนผู้ป่วยใน
หมายเหตุ (1) เอกสารข้อ 3) แบบประเมินตนเองภาพรวม กรณีสถานพยาบาลจัดเตรียมข้อมูลแบบประเมินตนเองภาพรวม ในลักษณะที่    
                   อิงตาม SPA ก็ให้ใช้ตามแบบฟอร์มนั้นโดยไม่ต้องเขียนใหม่ในรูปแบบของ SA2011 (สำหรับสถานพยาบาลที่จะส่งรายงาน
                   การประเมินตนเองตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป ขอให้ใช้แบบประเมินตนเอง SA2011)
              (2) Service Profile ของทีมที่มิใช่ PCT ยังใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบบริการ และเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง 
                   ให้สถานพยาบาลรวบรวมเอกสารและ จัดเตรียมไว้ที่สถานพยาบาล ไม่ต้องส่งมาที่ สรพ.
     1.2 ผลการตรวจความสมบูรณ์ของเวชระเบียนของสถานพยาบาล ใช้เกณฑ์ของ สปสช. ซึ่งในปัจจุบันใช้เพียงผลการตรวจเวชระเบียนของ
           ผู้ป่วยใน ยังไม่ครอบคลุมถึงผู้ป่วยนอก 
     1.3 กรณีเป็นการขอรับการรับรองครั้งแรก และเป็นสถานพยาบาลขนาด 90 เตียงขึ้นไป สถานพยาบาลจะต้องประสานให้องค์กรวิชาชีพด้าน
           เภสัชกรรม คือ สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) เข้าตรวจเยี่ยมประเมินตามมาตรฐานวิชาชีพก่อนวันเยี่ยมสำรวจ
           สถานพยาบลของสถาบัน และจัดส่งสำเนาหนังสือหรือรายงานการขอรับการรับรองจากสภาวิชาชีพมายังสถาบันพร้อมกับเอกสารการ
           เตรียมการเพื่อเข้าสู่กระบวนการรับรองคุณภาพ
            - การนับจำนวนเตียงของสถานพยาบาล นับตามจำนวนเตียงที่ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานของทางราชการ 
            - ถ้าผลการตรวจเยี่ยมอย่างเป็นทางการจากองค์กรวิชาชีพยังไม่แล้วเสร็จ ขอให้สถานพยาบาลติดต่อขอผลเบื้องต้นเป็นลายลักษณ์
              อักษร ส่งมาที่สถาบัน 
            - กรณีเป็นการต่ออายุการรับรอง สถาบันอาจจะขอให้มีผลการรับรองจากองค์กรวิชาชีพ ในกรณีที่สถานพยาบาลมีการเปลี่ยนแปลง
              เจ้าของหรือผู้บริหารสถานพยาบาล มีการควบรวมกิจการหรือมีการเปลี่ยนแปลงประเภทหรือศักยภาพการจัดบริการที่สำคัญ 
     1.4 กรณีเป็นการขอรับการรับรองกระบวนการคุณภาพครั้งแรก และเป็นสถานพยาบาลขนาด 60 เตียงขึ้นไป สถานพยาบาลจะต้องมีการ 
           ประสานให้องค์กวิชาชีพด้านเทคนิคการแพทย์ เข้าตรวจเยี่ยมประเมินตามมาตรฐานวิชาชีพก่อนวันเยี่ยมสำรวจสถานพยาบาลของ
           สถาบัน และจัดส่งสำเนาหนังสือหรือรายงานการขอรับการรับรองจากสภาวิชาชีพมายังสถาบันพร้อมกับเอกสารการเตรียมการเพื่อเข้าสู่
           กระบวนการรับรองคุณภาพ
            - การดำเนินการ ให้เป็นไปตามข้อความที่ระบุไว้ในข้อ 1.3 โดยอนุโลม 
            - ผลการตรวจเยี่ยมจากองค์กรวิชาชีพด้านเทคนิคการแพทย์ที่สถาบันยอมรับ คือ 
              * สภาเทคนิคการแพทย์ (LA) 
              * ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย 
              * กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ISO 15189) 
            - กรณีสถานพยาบาลที่จะขอรับการรับรองกระบวนการคุณภาพจากสถาบันเป็นโรงเรียนแพทย์ ขอให้ผลการตรวจเยี่ยมเป็นของ
              ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย 
            - กรณีเป็นสถานพยาบาลขนาดต่ำกว่า 60 เตียง ควรมีผลการตรวจเยี่ยมให้คำปรึกษาจากนักเทคนิคการแพทย์ของโรงพยาบาลทั่วไป/
              โรงพยาบาลศูนย์ ส่งมาให้สถาบัน 
      1.5 กรณีสถานพยาบาลมีการเปิดหน่วยบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ขอให้สถานพยาบาลที่ขอรับการรับรองกระบวนกาคุณภาพ HA 
            แสดงสถานะการรับรองมาตรฐานจากคณะอนุกรรมการตรวจรับรองมาตรฐานการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (ตรต.) 
            และแสดงความก้าวหน้าของการดำเนินการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะที่ ตรต. ให้ไว้ 
           - กรณีที่สถานพยาบาลอยู่ระหว่างการขอรับการตรวจจาก ตรต. ขอให้สถานพยาบาลดำเนินการตามข้อกำหนดในมาตรฐานที่ ตรต.
             กำหนดไว้ และสำเนาจดหมายที่สถานพยาบาลแจ้งขอรับการตรวจจาก ตรต. ให้สถาบันด้วย
หมายเหตุ  ความในข้อ 1.5 จะเริ่มใช้กับสถานพยาบาลที่ส่งรายงานการประเมินตนเองมาที่สถาบัน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป     
      1.6 ขอให้สถานพยาบาลจัดส่งแบบประเมินตนเองในข้อ 1.1 โดยพิมพ์ด้วยกระดาษ A4 ใช้ตัวอักษร Browallia New ขนาด 16 พร้อมกับ
           จัดทำเป็น CD ส่งมายังสถาบัน และถ้าเป็นการต่ออายุการรับรอง ควรส่งก่อนวันหมดอายุ 6 เดือน 
           - Hospital profile รวมกับ SA2011 ตอนที่ 1 ถึง 4 ความยาวไม่เกิน 200 หน้า 
           - Service Profile (เฉพาะทีมทางคลินิก) ความยาวของแต่ละทีม ไม่เกิน 5 หน้า 
           - Clinical Tracer Highlight ความยาวแต่ละเรื่องประมาณ 1-2 หน้า รวมทั้งหมดไม่เกิน 40 หน้า 

2. สถาบันศึกษาเอกสารของสถานพยาบาลเพื่อพิจารณาจัดการเยี่ยมสำรวจ โดยมีเกณฑ์พิจารณา ดังนี้ 
    2.1. รายงานประเมินตนเองมีเนื้อหา ครบถ้วน กระชับและสมบูรณ์ สอดคล้องกับประเด็นสำคัญตามมาตรฐาน 
    2.2. มีความก้าวหน้าในการนำมาตรฐาน HA สู่การปฏิบัติ 
    2.3. หากผ่านเกณฑ์ข้างต้น สถาบันจะกำหนดวันเข้าเยี่ยมสถานพยาบาล ภายในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน นับจากเอกสารมีความครบถ้วน
           สมบูรณ์ หรืออาจจัดกิจกรรม web conference กรณีข้อมูลสถานพยาบาลไม่ผ่านเกณฑ์ 
    2.4. หากไม่ผ่านเกณฑ์ สถาบันจะมีการปรับกิจกรรมเยี่ยมตามความเหมาะสม 

3. เมื่อสถานพยาบาลได้รับกำหนดการเยี่ยม ขอให้จัดส่งเอกสารตามข้อ 1.1 และ 1.2 ที่มีการปรับแก้ข้อมูลให้สมบูรณ์ที่สุดแล้วให้กับผู้เยี่ยม
    สำรวจโดยตรง ไม่น้อยกว่า 3 - 4 สัปดาห์ก่อนวันเยี่ยม และในกรณีที่สถานพยาบาลไม่สามารถจัดส่งเอกสารให้แก่ผู้เยี่ยมสำรวจได้ในเวลาที่ 
    กำหนด ทางสถาบันสามารถยกเลิกกำหนดการเยี่ยมสำรวจในครั้งนั้น และจะกำหนดวันเยี่ยมสำรวจให้ใหม่ 

4. ภายหลังการเยี่ยมสำรวจสถานพยาบาล สถาบันจะเสนอรายงานการเยี่ยมสำรวจแก่คณะอนุกรรมการรับรองกระบวนการคุณภาพ และ
    คณะกรรมการบริหารของสถาบันตามลำดับ เพื่อพิจารณา และประกาศผลให้สถานพยาบาลรับทราบภายในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน 
    หลังจากวันเข้าเยี่ยมสถานพยาบาล
5. สถาบันแจ้งผลการรับรองและส่งสรุปผลการเยี่ยมสำรวจให้แก่สถานพยาบาล โดยสถาบันขอความร่วมมือจากโรงพยาบาลเพื่อให้เกิด
    การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 
    5.1. สถานพยาบาลจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพในประเด็นที่สถาบันให้ข้อเสนอแนะและส่งกลับมายังสถาบัน ภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่
           สถานพยาบาลได้รับทราบผลการรับรอง 
    5.2. รายงานความก้าวหน้าการพัฒนาคุณภาพ รวมทั้งตัวชี้วัดที่สำคัญมายังสถาบันทุกปี เพื่อเป็นประโยชน์ในการติดตามเยี่ยมและการวาง
           แผนสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพในระยะต่อไป 
    5.3. จัดทำรายงานแจ้งสถาบันทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ ที่มีผลกระทบต่อผู้มารับบริการอย่างรุนแรง โดยไม่คาดคิด หรือเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผล
           กระทบต่อความเชื่อมั่นของสังคมที่มีต่อสถานพยาบาล 
     5.4. จัดทำรายงานแจ้งสถาบันภายใน 30 วัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของหรือผู้บริหารสถานพยาบาล มีการควบรวมกิจการหรือ
           มีการเปลี่ยนแปลงประเภทหรือศักยภาพการจัดบริการที่สำคัญ 
    5.5. ให้ความร่วมมือและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเข้าเยี่ยมสำรวจเพื่อเฝ้าระวัง หรือเยี่ยมติดตามให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการประเมินผล
          ระบบงานสำคัญ ในระยะเวลา 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง หลังการรับรอง 

Version 3.0    ขั้นตอนการขอรับการรับรองกระบวนการคุณภาพตามาตรฐาน HA    27 เมษายน 2555



27.11.55