"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

หลักฐานประกอบการใช้สิทธิการรักษาพยาบาล :กรณีผู้ป่วยใน

1.ข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ  ต้นสังกัด:กรมบัญชีกลาง

·       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (เด็กที่ยังไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้าน)
·       ใบแจ้งเลขที่อนุมัติ :กรณีผู้ป่วยใน (Claim code) 
·       หากไม่มีชื่อในฐานข้อมูล กรมบัญชีกลาง ให้ใช้ หนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาล จากต้นสังกัด
2.ข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ ต้นสังกัดอื่น ๆ : อบต.,อบจ.,เทศบาล,ครูเอกชน ฯลฯ
·       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (เด็กที่ยังไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้าน)
·       ใบแจ้งเลขที่อนุมัติ :กรณีผู้ป่วยใน (Claim code) 
·       หากไม่มีชื่อในฐานข้อมูล ให้ใช้ หนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาล จากต้นสังกัด
3.พนักงานรัฐวิสาหกิจ : ไฟฟ้า ประปา ไปรษณีย์ การรถไฟ โทรศัพท์ ฯลฯ
·       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (เด็กที่ยังไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้าน)
·       หนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาล จากต้นสังกัด
4.บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า รพ.ราชบุรี (ในเขต)
·       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (เด็กที่ยังไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้าน)
·       ใบพิมพ์สิทธิการรักษาพยาบาล จาก website 
5.บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า นอกเขตและต่างจังหวัด 
·       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (เด็กที่ยังไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้าน)
·       ใบพิมพ์สิทธิการรักษาพยาบาล จาก website 
·       หนังสือส่งตัวจากโรงพยาบาลเจ้าของบัตรที่ประทับตราให้เรียกเก็บ พร้อมสำเนา ฉบับ
6.บัตรสุขภาพแรงงานต่างด้าว รพ.ราชบุรี 
·       Passport หรือ เอกสาร ทร.38 หรือ บัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าว
·       บัตรสุขภาพแรงงานต่างด้าว รพ.ราชบุรี
7.บัตรสุขภาพแรงงานต่างด้าว รพ.อื่น 
·       Passport หรือ เอกสาร ทร.38 หรือ บัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าว
·       บัตรสุขภาพแรงงานต่างด้าง รพ.ราชบุรี
·       หนังสือส่งตัวจากโรงพยาบาลเจ้าของบัตรที่ประทับตราให้เรียกเก็บ พร้อมสำเนา ฉบับ


04.02.57

เวชระเบียน (Medical Record)

 เวชระเบียน (อังกฤษ: medical record) หมายถึง เอกสารทางการแพทย์ทุกประเภท ที่ใช้บันทึกและเก็บรวบรวมเรื่องราวประวัติของผู้ป่วยทั้งประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัว ประวัติการแพ้ยา เอกสารการยินยอมให้ทำการรักษาพยาบาล ประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบัน ข้อมูลบ่งชี้เฉพาะของบุคคล การรักษาพยาบาล ค่ารักษาพยาบาล ผลจากห้องปฏิบัติการ ผลการชันสูตรบาดแผลหรือพลิกศพ ผลการบันทึกค่าทั้งที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพหรือเครื่องหมายอื่นใด จากอุปกรณ์ เครื่องมือในสถานบริการสาธารณสุขหรือเครื่องมือทางการแพทย์ทุกประเภท หรือเอกสารการบันทึกการกระทำใด ๆ ที่เป็นการสั่งการรักษา การปรึกษาเพื่อการรักษาพยาบาล การส่งต่อผู้ป่วยไปทำการรักษาที่อื่น การรับผู้ป่วยรักษาต่อ การกระทำตามคำสั่งของผู้มีอำนาจในการรักษาพยาบาลตามที่สถานบริการสาธารณสุขกำหนดไว้ เอกสารอื่น ๆ ที่ใช้ประกอบเพื่อการตัดสินใจทางการแพทย์ เพื่อการประสานงานในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย และเอกสารอื่นใดที่ทางองค์การอนามัยโลก หรือสถานบริการสาธารณสุขกำหนดไว้ว่าเป็นเอกสารทางเวชระเบียน หมายรวมถึงชื่อของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดทำเอกสารดังกล่าว การเก็บรวบรวม การค้นหา การบันทึก การแก้ไข การให้รหัสโรค การจัดทำรายงานทางการแพทย์ การนำมาจัดทำสถิติผู้ป่วย การนำมาเพื่อการศึกษาวิจัย หรือเพื่อการอื่นใดตามที่สถานบริการสาธารณสุขกำหนด นอกจากนี้ยังรวมถึงเอกสารทางการแพทย์ที่อยู่ในรูปแบบสื่อดิจิตอล หรือระบบอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Medical Record -EMR) ซึ่งเป็นรูปแบบของเวชระเบียนที่มีการพัฒนาขึ้นในปัจจุบัน[1]
เวชระเบียน หมายถึง การรวบรวมข้อเขียนหรือบันทึกที่เกี่ยวกับการเจ็บป่วย เป็นข้อมูลที่บันทึกเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยที่โรงพยาบาล คลินิค หรือสถานีอนามัย เวชระเบียนนั้นเป็นบันทึกขบวนการทุกอย่างงที่จัดกระทำกับผู้ป่วยซึ่งข้อมูลนั้น ๆ ควรจะต้องประกอบด้วยประวัติการเจ็บป่วยในอดีตรวมทั้งความคิดเห็น การค้นหา สืบสวนผลทางห้องปฏิบัติการและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วย เวชระเบียนเป็นเอกสารที่อาจมีหลายขนาดหลายรูปแบบ และหลายข้อมูล โดยการบันทึกของหลายบุคคลในหลาย ๆ วิธีการ แต่ตามรูปลักษณะทั่วไปแล้ว เวชระเบียนจะประกอบด้วยจำนวนแผ่นกระดาษ หรือบัตร ซึ่งอาจจะบรรจุอยู่ในแฟ้มหรือซอง และยิ่งนำสมัยมากไปกว่านี้ก็จะบันทึกในคอมพิวเตอร์หรือบันทึกลงแผ่นกระดาษแล้วถ่ายไว้ในไมโครฟิล์มก็ได้[2]
เวชระเบียน หมายถึง การรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วยและประวัติสุขภาพรวมถึงประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและในปัจจุบันและการรักษาซึ่งจดบันทึกไว้โดยแพทย์ผู้ดูแล เวชระเบียนจะต้องบันทึกตามเวลาที่ศึกษาดูแลผู้ป่วย และควรจะต้องมีข้อมูลที่เพียงพอที่จะต้องบอกให้ทราบถึงการพิเคราะห์โรค และการดูแลรักษาโรคได้ และต้องเป็นเอกสารที่ถูกต้องครบถ้วน[3] http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99




04.02.57