"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

การตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล

ผู้ป่วยทุกคนที่เข้ามาใช้บริการที่รพ. ทุกคนต้องได้รับการตรวจสอบสิทธิ์ เพื่อที่ว่าโรงพยาบาลจะได้จัดสรรบริการได้อย่างถูกต้อง มิใช่ว่าโรงพยาบาลจะเลือกปฏิบัติในการรักษาแต่อย่างใด แต่ประเด็นหลักก็คือว่าโ รงพยาบาลจะเรียกเก็บค่ารักษาได้จากใคร โดยการชำระรูปแบบใด และต้องเตรียมเอกสารใดบ้างนั่นเอง

ผู้ป่วย/ญาติบางราย พอเจ้าหน้าที่สอบถามเรื่องสิทธิ์ มีอาการหงุดหงิด ถึงกับต่อว่าเจ้าหน้าที่ ถามซ้ำซาก ถามแล้วถามอีก มาตั้งหลายครั้งทำไมจึงไม่ลงบันทึกไว้ และ ฯลฯ

ข้อแนะนำสำหรับเจ้าหน้าที่ หายใจเข้าปอดลึกๆ นับ 1 ถึง 10 แล้วยิ้มสบตาแบบชาวสยาม พร้อมให้คำชี้แจง ดังนี้ การตรวจสอบสิทธิ์จำเป็นต้องสอบถามทุกครั้งที่ผู้ป่วยมาใช้บริการ เนื่องจาก สิทธิ์มีการกำหนดระยะเวลา ที่อาจไม่แน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามแต่สถานการณ์ เช่นอาจหมดอายุตามวันที่ระบุ หรือเมื่อพ้นสภาพ

ผู้ป่วยบางรายมีหลายสิทธิ์ เช่น ข้าราชการ และ มีกรมธรรม์ประกันสุขภาพส่วนบุคคลด้วย วันดีคืนร้ายประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ก็มีสิทธิ์พรบ.จราจร เข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่ม กรณีเช่นนี้ การเลือกใช้สิทธิ์ ใดก่อนหรือหลัง ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้มีสิทธิ์เป็นหลัก แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เนื่องจากแต่ละสิทธิ์ก็จะมีข้อกำหนดเงื่อนไขความคุ้มครองที่ต่างกันไป แนวทางปฏิบติ โดยทั่วไป เจ้าหน้าที่มักใช้หลักการพิจารณา ดังนี้ เลือกใช้สิทธิ์ส่วนบุคคลก่อน ส่วนเกินที่เหลือจึงใช้สิทธิ์อื่น โดยสิทธิ์ภาครัฐจะเป็นทางเลือกท้ายสุด

ตัวอย่างการเลือกใช้สิทธิ์


 http://www.urnurse.net/ur-right-review.html




08.01.56

เวชระเบียน คือ กระจกเงา

 เวชระเบียน คือ กระจกเงาสะท้อนให้เห็นถึงปริมาณและคุณภาพของการดูแลรักษาผู้ป่วยของโรง พยาบาล เพราะภายในเล่มเวชระเบียนแต่ละเล่มมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทรงคุณค่าต่อโรง พยาบาล กล่าวคือผู้บริหารระดับสูงสามารถทราบสถานะของการดำเนินงานทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคตได้ โดยการประมวลข้อมูลต่าง ๆ จากเล่มเวชระเบียนเป็นสถิติตามที่ต้องการ และเปรียบเทียบกัน ทำให้ทราบว่าปริมาณของการตรวจรักษาพยาบาล และบริการมีมากน้อยเพียงใด คุณภาพของการตรวจรักษาและบริการเหล่านั้นต่ำหรือสูงกว่ามาตรฐาน หรือความจำเป็นอย่างไรบ้าง จะแก้ไขได้โดยวิธีใด ควรวางแผนระยะสั้นและระยะยาวอย่างไร เป็นต้น
กรรมการผู้เชี่ยวชาญงานเกี่ยวกับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานโรงพยาบาล ทั้งหลาย เมื่อมีการตรวจมาตรฐานการตรวจรักษาพยาบาล และบริการของโรงพยาบาลใดก็ตาม จะไม่เคยละเว้นการตรวจเวชระเบียนของโรงพยาบาลนั้น ๆ เนื่องจากการพิจารณาเวชระเบียนเพียงไม่กี่เล่มก็จะสามารถทราบได้ทันทีว่าโรง พยาบาลนั้น ๆ ให้การตรวจรักษา พยาบาล และบริการผู้ป่วยได้คุณภาพตรงตามมาตรฐานโรงพยาบาลที่กำหนดไว้หรือไม่

http://www.mkh.go.th/mrd/index.php?option=com_content&view=article&id=58:signification&catid=45:signification



08.01.56