นักเวชระเบียน อาชีพนี้เกี่ยวกับอะไร
นักเวชระเบียน จะมีการแบ่งงานทางด้านเวชระเบียนตามภารกิจหลักๆ โดยทั่วไปการแยกงานทางด้านเวชระเบียนแบ่งออกเป็น
1. งานเวชระเบียน คือ งานเวชระเบียนผู้ป่วยนอก งานเวชระเบียนผู้ป่วยใน
2.งานเวชสถิติ คือ งานเข้ารหัส งานสถิติ
3.งานคอมพิวเตอร์ด้านเวชระเบียน อาจแบ่งเป็น งานด้านฮาร์ดแวร์ งานด้านซอฟต์แวร์และบุคลากรแต่โดยรวมจะปฏิบัติงานในฐานะผู้ชำนาญการซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวกับงานเวชสถิติที่ยากมาก ต้องประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์กับงานที่ปฏิบัติ เพื่อกำหนดและปรับเปลี่ยนแผนงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด โดยไม่ต้องมีการกำกับ ตรวจสอบ แนะนำ สามารถวางแผนการปฏิบัติงานเองและตัดสินใจ แก้ไข ปรับเปลี่ยนแผนหรือแก้ไขปัญหาในงานที่รับผิดชอบโดยอิสระ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ควบคุมการลงทะเบียนรับและจำหน่ายคนไข้ จัดเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย การรักษาพยาบาล การวิเคราะห์โรค แปลข้อมูลและลงรหัส จัดทำดรรชนีชื่อผู้ป่วย ชื่อโรคและการบำบัดรักษา ทำรายงานที่เกี่ยวกับสถิติด้านต่าง ๆ ของโรงพยาบาลหรือหน่วยงานที่สังกัด หรือปฏิบัติงาทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเวชสถิติ การวางแผนและกำหนดแนวทางปฏิบัติทางด้านเวชสถิติ เป็นต้น ศึกษา ค้นคว้าหาวิธีการต่าง ๆ ในการปรับปรุงงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แก้ไขปัญหาในงานเวชสถิติโดยการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานเวชสถิติ จัดทำคู่มือในการปฏิบัติงานเวชสถิติ เผยแพร่และให้บริการวิชาการงานเวชสถิติ ปฏิบัติงานที่ยากมากเกี่ยวกับงานเวชสถิติ ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
งานเวชระเบียนสามารถปฎิบัติงานได้ทั้งรัฐและเอกชน โดยจะทำงานในแผนกเวชระเบียน โดยสามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวเนื่องได้คือ นักวิชาการเวชระเบียน นักเวชระเบียน นักวิชาการเวชสถิติ นักวิชาการสถิติหรือนักสถิติ นักวิชาการเวชสารสนเทศ นักวิชาการรหัสโรค นักวิชาการด้านข้อมูลข่าวสาร หรือนักวิชาการด้านคอมพิวเตอร์บุคลากรอื่น ๆ ด้าน การบริหารระบบเวชระเบียน เช่น นักบริหารเวชระเบียนประจำสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้ง รพ.ชุมชน รพ.ทั่วไป รพ.ศูนย์ รพ.เฉพาะทาง รพ.ส่งเสริมสุขภาพ รพ.เอกชน สสจ. สำนักการแพทย์ของกรุงเทพมหานครหรือเขตปกครองพิเศษ สปสช. สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัยทั่วไป
1. งานเวชระเบียน คือ งานเวชระเบียนผู้ป่วยนอก งานเวชระเบียนผู้ป่วยใน
2.งานเวชสถิติ คือ งานเข้ารหัส งานสถิติ
3.งานคอมพิวเตอร์ด้านเวชระเบียน อาจแบ่งเป็น งานด้านฮาร์ดแวร์ งานด้านซอฟต์แวร์และบุคลากรแต่โดยรวมจะปฏิบัติงานในฐานะผู้ชำนาญการซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวกับงานเวชสถิติที่ยากมาก ต้องประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์กับงานที่ปฏิบัติ เพื่อกำหนดและปรับเปลี่ยนแผนงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด โดยไม่ต้องมีการกำกับ ตรวจสอบ แนะนำ สามารถวางแผนการปฏิบัติงานเองและตัดสินใจ แก้ไข ปรับเปลี่ยนแผนหรือแก้ไขปัญหาในงานที่รับผิดชอบโดยอิสระ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ควบคุมการลงทะเบียนรับและจำหน่ายคนไข้ จัดเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย การรักษาพยาบาล การวิเคราะห์โรค แปลข้อมูลและลงรหัส จัดทำดรรชนีชื่อผู้ป่วย ชื่อโรคและการบำบัดรักษา ทำรายงานที่เกี่ยวกับสถิติด้านต่าง ๆ ของโรงพยาบาลหรือหน่วยงานที่สังกัด หรือปฏิบัติงาทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเวชสถิติ การวางแผนและกำหนดแนวทางปฏิบัติทางด้านเวชสถิติ เป็นต้น ศึกษา ค้นคว้าหาวิธีการต่าง ๆ ในการปรับปรุงงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แก้ไขปัญหาในงานเวชสถิติโดยการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานเวชสถิติ จัดทำคู่มือในการปฏิบัติงานเวชสถิติ เผยแพร่และให้บริการวิชาการงานเวชสถิติ ปฏิบัติงานที่ยากมากเกี่ยวกับงานเวชสถิติ ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ความก้าวหน้าในการทำงาน
อัตราเงินเดือน
อาชีพเวชระเบียน จะได้รับรายได้ขั้นต่ำประมาณ 15,000 - 20,000 บาท/เดือน พร้อมทั้งสวัสดิการต่างๆตามที่โรงพยาบาลจะกำหนด
เงินเดือนเฉลี่ย
15,000.00
05.11.60
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)