"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

หลักฐานประกอบการใช้สิทธิการรักษาพยาบาล :กรณีผู้ป่วยใน

หลักฐานประกอบการใช้สิทธิการรักษาพยาบาล :กรณีผู้ป่วยใน

1.ข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ  ต้นสังกัด:กรมบัญชีกลาง
·       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (เด็กที่ยังไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้าน)
·       ใบแจ้งเลขที่อนุมัติ :กรณีผู้ป่วยใน (Claim code) 
·       หากไม่มีชื่อในฐานข้อมูล กรมบัญชีกลาง ให้ใช้ หนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาล จากต้นสังกัด
2.ข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ ต้นสังกัดอื่น ๆ : อบต.,อบจ.,เทศบาล,ครูเอกชน ฯลฯ
·       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (เด็กที่ยังไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้าน)
·       ใบแจ้งเลขที่อนุมัติ :กรณีผู้ป่วยใน (Claim code) 
·       หากไม่มีชื่อในฐานข้อมูล ให้ใช้ หนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาล จากต้นสังกัด
3.พนักงานรัฐวิสาหกิจ : ไฟฟ้า ประปา ไปรษณีย์ การรถไฟ โทรศัพท์ ฯลฯ
·       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (เด็กที่ยังไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้าน)
·       หนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาล จากต้นสังกัด
4.บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า รพ.ราชบุรี (ในเขต)
·       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (เด็กที่ยังไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้าน)
·       ใบพิมพ์สิทธิการรักษาพยาบาล จาก website 
5.บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า นอกเขตและต่างจังหวัด 
·       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (เด็กที่ยังไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้าน)
·       ใบพิมพ์สิทธิการรักษาพยาบาล จาก website 
·       หนังสือส่งตัวจากโรงพยาบาลเจ้าของบัตรที่ประทับตราให้เรียกเก็บ พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
6.บัตรสุขภาพแรงงานต่างด้าว รพ.ราชบุรี 
·       Passport หรือ เอกสาร ทร.38 หรือ บัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าว
·       บัตรสุขภาพแรงงานต่างด้าว รพ.ราชบุรี
7.บัตรสุขภาพแรงงานต่างด้าว รพ.อื่น 
·       Passport หรือ เอกสาร ทร.38 หรือ บัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าว
·       บัตรสุขภาพแรงงานต่างด้าง รพ.ราชบุรี

·       หนังสือส่งตัวจากโรงพยาบาลเจ้าของบัตรที่ประทับตราให้เรียกเก็บ พร้อมสำเนา 1 ฉบับ

ประวัติเวชระเบียนไทย


 
แรกเริ่มเดิมทีนั้น งานเวชระเบียน ยังไม่มีรูปร่างหน้าตาดังในปัจจุบัน สมัยนั้นครั้งที่โรงพยาบาลศิริราชเริ่มเปิดบริการครั้งแรกก็ยังไม่มีหน่วยใด มีหน้าที่เก็บแฟ้มประวัติผู้ป่วยโดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงโรงพยาบาลศิริราชหลาย ท่านคงทราบมาแล้วว่าโรงพยาบาลศิริราชเปิดบริการครั้งแรกเมื่อ 26 เมษายน ปี พ.ศ. 2431 โดยสร้างจากอาคารไม้ที่รื้อมาจากงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จเจ้าฟ้าศิริ ราชกกุธภัณฑ์ ในปี 2430ต่อมาในปี 2432 โรงเรียนแพทย์ได้ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเช่นกัน และงานเวชระเบียน โรงพยาบาลศิริราช ก็นับว่าเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่ง ต่อระบบงานของโรงพยาบาลและคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เนื่องจากงานเวชระเบียนเป็นคลังข้อมูลและแหล่งเอกสารสำคัญทางการแพทย์ ที่จะสามารถนำไปสนับสนุนการบริหาร งานวิชาการ งานการเรียนการสอน งานวิจัยและงานบริการ ได้อย่างมีระบบ ดังนั้น จึงขอเผยแพร่ประวัติความเป็นมาพอสังเขปเพื่อเป็นความรู้ต่อไป

ก่อนปี พ.ศ. 2485 รายงานผู้ป่วยเก็บไว้รวมกันทุกภาควิชา ต่อมารายงานมากขึ้น จึงเก็บไว้ในห้องเพดาน ที่ตึกอำนวยการ
พ.ศ. 2485 ภาควิชาสูติ-นรีเวช เริ่มเก็บไว้ในภาควิชา ต่อมาภาควิชาอื่น ๆ จึงเก็บไว้ ในแต่ละภาควิชา
พ.ศ. 2502 ก่อตั้งคณะกรรมการรายงานและสถิติผู้ป่วย ร.พ. ศิริราช มีคณะกรรมการ จากภาควิชาต่าง ๆ คือ
1. พ.ญ.ตระหนักจิต หะริณสุต ประธานกรรมการ
2. น.พ.ทองน่าน วิภาตะวณิช รองประธานและผู้แทนภาควิชาอายุรฯ
3. น.พ.ทองนอก นิตยสุทธิ์ รองประธานและผู้แทนภาควิชาศัลย ฯ
4. ศจ.นพ.สรรค์ ศรีเพ็ญ รองประธานและผู้แทนภาควิชาสูติ ฯ
5. ศจ.พญ. เฉิดฉลอง เนตรศิริ รองประธานและผู้แทนภาควิชากุมาร ฯ
6. พ.ญ. ผิว ลิมปพยอม รองประธานและผู้แทนภาควิชาจักษุ ฯ และเลขานุการ

พ.ศ. 2504 ด้วยความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญสถิติ ขององค์การอนามัยโลก Dr. Lowell A Woodbury ก่อตั้งแผนกเวชระเบียนและสถิติขึ้น ซึ่งเดิมมีชื่อว่า หน่วยกลางรายงานและสถิติ โดยความควบคุมของ น.พ.ทองน่าน วิภาตะวณิช และพ.ญ. วินิตา วิเศษกุล มี สำนักงานอยู่ที่ภาควิชาอายุรศาสตร์ การรับเจ้าหน้าที่เข้าปฏิบัติงาน ได้รับผู้ที่สำเร็จอาชีวชั้นสูง และมัธยมบริบูรณ์จำนวน 6 คน มาฝึกอบรมเกี่ยวกับการกายวิภาค ผ่าตัด โรค และ Terminology นอกจากนั้น ยังส่งไปฝึกการใช้เครื่องจักรโดยวิธีเจาะบัตรที่บริษัท ไอ.บี.เอ็ม. ฝึกการให้รหัสและการเก็บรายงาน ต่อมาได้ใช้ห้องชั้นล่างปีกซ้ายของตึกอำนวยการเป็นสำนักงาน และ Dr. Woodbury ย้ายมาทำงานที่รพ.ศิริราช
พ.ศ. 2505 องค์การอนามัยโลกได้จัดการประชุมสัมมนาสถิติโรงพยาบาลของประเทศต่าง ๆ ในภาคเอเชียอาคเนย์ ผลจากการสัมมนา จึงได้จัดตั้งการอบรมพนักงานเวชระเบียน (Medical RecordOfficer Training Course) ขึ้นที่ ร.พ.ศิริราช ระหว่าง มิ.ย. 2507 – มี.ค. 2508 หนึ่งปีการศึกษา มีนักศึกษาจากประเทศต่าง ๆ 9 คน คือ
พม่า 1 คน เนปาล 1 คน อัฟกานิสถาน 2 คน อินโดนิเซีย 1 คน ไทย 4 คน กรมการแพทย์ 1 คน ร.พ.เชียงใหม่ 1 คน ร.พ.จุฬา 1 คน ร.พ.ศิริราช 1 คน
พ.ศ. 2506 บรรจุแพทย์มาช่วยดูแลประจำอีก 1 คน คือ พ.ญ.สมพร เอกรัตน์
พ.ศ. 2507 ไชน่าเมดิคัลบอร์ด แห่งนิวยอร์ค (China Medical Board of Now York)ให้ทุนการศึกษาแก่ พ.ญ. วินิตา วิเศษกุล (หัวหน้าแผนก ฯ) ไปศึกษาวิชาสถิติที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และดูงานการเก็บรายงานตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ในสหรัฐ เป็นเวลา 2 ปี และ ให้เครื่องคิดเลขไฟฟ้า 1 เครื่อง พ.ศ. 2509 น.ส.เสริมศรี บุญเสริม (พนักงานสถิติของแผนก ฯ ) ได้ทุนจากองค์การอนามัยโลกไปศึกษาMedical Record Training Course ที่ประเทศพม่า
พ.ศ. 2511 พ.ญ.สมพร เอกรัตน์ (รองหัวหน้าแผนก ฯ ได้ทุนโคลัมโบ ไปศึกษาHealth Services and Administration ที่มหาวิทยาลัย Leeds ประเทศอังกฤษ
พ.ศ. 2516 พ.ญ.สมพร เอกรัตน์ ได้รับเชิญไปเป็นที่ปรึกษาทางด้านสถิติขององค์การอนามัยโลกณ ประเทศอินโดนีเซีย และปีเดียวกัน พ.ญ. สมพร เอกรัตน์ ได้เป็นผู้แทนของประเทศไทยไปประชุมสถิติระหว่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. 2517 พ.ญ.สมพร เอกรัตน์ ได้รับเชิญไปเป็นที่ปรึกษาสถิติทางการแพทย์ณ ประเทศมาเลเซีย
ต่อ มา หน่วยกลางรายงานและสถิติผู้ป่วย ร.พ.ศิริราช ได้เปลี่ยนชื่อเป็นแผนกเวชระเบียนและสถิติ (Medical Records and Statistics Department)และมาเป็น งานเวชระเบียน จนปัจจุบัน
หน้าที่รับผิดชอบในอดีต หน้าที่การรับผิดชอบของแผนกเวชระเบียนและสถิติเมื่อครั้งอดีต ที่กระทำกันมานาน จนปัจจุบันนี้บางอย่างก็ยังคงกระทำอยู่ บางอย่างก็เปลี่ยนแปลงไป
http://www.nham.or.th/content/87/1/