1)จัดระบบบริการงานเวชระเบียนด้วยความถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลาและประทับใจ เป็นที่ยอมรับของผู้รับบริการทั้งในและนอกเวลาราชการ
2)จัดระบบบริการ ค้นหาและจัดเก็บเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน พร้อมทั้งตรวจสอบปริมาณและคุณภาพเวชระเบียน
3)จัดทำประวัติเวชระเบียนของผู้รับบริการโดยมีข้อมูลประวัติส่วนบุคคล อย่างถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว เพื่อส่งต่อให้หน่วยงานรักษาพยาบาลได้ใช้ประกอบในการให้บริการทางการแพทย์
4)จัดทำทะเบียนผู้ป่วยที่รับไว้รักษาต่อในโรงพยาบาล และรวบรวมรายงานทางการแพทย์ของผู้ป่วยทุกราย ให้ครบถ้วน สมบูรณ์และทันเวลา
5)จัดสถานที่และระบบในการเก็บรักษาเวชระเบียน Digital Filing System ให้มีประสิทธิภาพ เป็นหมวดหมู่ มีระเบียบสะดวกในการค้นหาและป้องกันการสูญหาย
6)รวบรวม สถิติข้อมูลทางการแพทย์ของผู้ป่วยทุกรายจัดทำเป็นรายงานต่าง ๆ ได้ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา
7)ประสานงานเบื้องต้นกับผู้ป่วยในการให้บริการและประชาสัมพันธ์ในฐานะหน่วยบริการด่านหน้าFront liner 8)ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบงานที่เหมาะสม
9)การตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาลจากฐานข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการใช้บริการของผู้ป่วย รวมถึงการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการใช้สิทธิการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย
10)จัดระบบการแปลผลลงรหัสโรค ( Medical Coding ) เวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ให้รหัสโรคผู้ป่วย(ICD-10),รหัสหัตถการ(ICD-9-CM) ตามการวินิจฉัยโรค, ผลการรักษา, การผ่าตัด, โรคแทรกซ้อน,สาเหตุการตายฯลฯ
11)จัดระบบการบันทึกและเก็บข้อมูลให้สมบูรณ์ถูกต้อง มีระบบตรวจสอบการบันทึกข้อมูล รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพเวชระเบียน( Medical Record Audit )
12)จัดระบบการรักษาความลับข้อมูลของผู้ป่วย มีการกำหนดรหัสผ่านการเข้าถึงข้อมูล มีแบบยินยอมเปิดเผยประวัติการรักษาของผู้ป่วย
13)ให้บริการค้นหาและสำเนาเวชระเบียน เพื่อการรักษาพยาบาล,การวิจัย,ประกันชีวิต และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
14)ให้บริการข้อมูล สถิติการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ของโรงพยาบาลราชบุรี แก่บุคลากรและหน่วยงานทั้งภายในและนอกโรงพยาบาล
15)เป็นแหล่งศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาหลักสูตรต่าง ๆ
16)พัฒนาระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์( Electronic Medical Record System ) เพื่อตอบสนองการพัฒนาระบบบริการให้มีความเป็นเลิศในการให้บริการ
ที่มา:สมาคมเวชสถิติแห่งประเทศไทย