"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

ทำลายแฟ้มเวชระเบียน


งานเวชระเบียนได้รับการอนุมัติให้ทำลายแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยนอกที่ขาดการรักษาเกิน5ปี และเวชระเบียนผู้ป่วยใน ปี 2548ผู้ที่ประสงค์จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลในเวชระเบียน ติดต่องานเวชระเบียน โทร. 032- 719600 ต่อ 1172 ในวัน/เวลาราชการ ตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 ธค.53

Television Presentation

หน่วยงานใด ต้องการนำเสนอข่าวสารต่าง ๆ เช่นข่าวสารสุขภาพ ข่าวประชาสัมพันธ์ขั้นตอนการรับบริการ ฯลฯ โดยการนำเสนอผ่านระบบTelevision Presentation บริเวณหน่วยคัดกรอง 2 สามารถส่งเรื่องได้ที่งานเวชระเบียน (ห้องเบอร์ 4)โทร 1172

คณะกรรมการด้านเวชระเบียน (Medical Record Committee – MRC)

                    แต่ละโรงพยาบาลหรือสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข จะมีคณะกรรมการเวชระเบียน คณะกรรมการทำการตัดสินใจนโยบายเวชระเบียน วิธีดำเนินการเวชระเบียน แบบฟอร์มเวชระเบียน  และวิธีดำเนินการในหน่วยงานอื่นๆ / แผนกที่เกี่ยวข้อง เพื่อการจัดการบันทึกทางแพทย์และข้อมูลของผู้ป่วย
                คณะกรรมการเวชระเบียน สมาชิกจะมาจากคณะผู้ร่วมงานของโรงพยาบาลที่เป็นตัวแทนของแต่ละแผนก  คณะกรรมการเวชระเบียนที่ดี ควรมีการติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่เวชระเบียนกับคณะผู้ร่วมงานของโรงพยาบาล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด ประธานคณะกรรมการควรมีความสามารถในการชักชวนเพื่อให้เกิดความสนใจในการพัฒนาและการรักษามาตรฐานเวชระเบียนและการบริหารงานของเวชระเบียน
 เกณฑ์การประชุมของคณะกรรมการเวชระเบียน
คณะกรรมการเวชระเบียนในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ควรมีการประชุมทุกๆเดือนและลดจำนวนการประชุมลงในโรงพยาบาลขนาดเล็กอย่างน้อยต้องมีการประชุมในรอบ 2-3 เดือนหรือ 4 ครั้งต่อปีเป็นอย่างน้อย และในโรงพยาบาลที่มีขนาดของเตียงที่มีการรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนไม่ต่ำกว่า 60 เตียง ควรมีการประชุมคณะกรรมการเวชระเบียนไม่ต่ำกว่า 6 ครั้งต่อปีเป็นอย่างน้อย
สมาชิกคณะกรรมการเวชระเบียนควรประกอบไปด้วย
1.       รองผู้อำนวยการที่ดูแลรับผิดชอบด้านเวชระเบียน แผนงาน หรือข้อมูลข่าวสาร
2.       แพทย์ผู้ดูแลงานเวชระเบียนหรือผู้แทน       
3.       หัวหน้างานเวชระเบียนหรือผู้แทน               
4.       ตัวแทนแพทย์เฉพาะทางในสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ให้รวมถึงทันตแพทย์
5.       ตัวแทนจากฝ่ายการพยาบาล
6.       ตัวแทนเภสัชกร
7.       ตัวแทนจากฝ่ายบริหาร
8.       ตัวแทนนักกายภาพบำบัด
9.       ตัวแทนนักรังสีการแพทย์
10.    ตัวแทนนักเทคนิคการแพทย์
11.    ตัวแทนนักระบาดวิทยา
12.    ตัวแทนนักสังคมสงเคราะห์
13.    ตัวแทนนักเวชกรรมสังคม
14.    นักวิชาการในสายงานเวชระเบียน เช่นนักวิชาการเวชสถิติ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านเวชระเบียน เวชสถิติ     
        ทั้งนี้อาจมีจำนวนที่น้อยกว่าที่กำหนดตามความจำเป็นที่สถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขเห็นสมควรจัดสรรให้บุคลากรในสังกัดเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการเวชระเบียนแต่ไม่ควรจะขาดบุคลากรในสังกัดที่เป็นผู้รับผิดชอบด้านเวชระเบียนโดยตรงแพทย์เฉพาะทางและตัวแทนจากฝ่ายการพยาบาล ซึ่งเป็นผู้ที่จะรับผิดชอบต่อการพัฒนาและความสมบูรณ์ของเวชระเบียนโดยตรงมากที่สุด
        นอกจากนี้อาจเพิ่มเติมตัวแทนจากหน่วยงานอื่นที่ทางคณะกรรมการได้พิจารณาขอให้มีการเพิ่มเติมได้เช่น
                 1.     แพทย์อื่น ๆ ที่มีความสนใจด้านเวชระเบียน
                 2.     ตัวแทนนักโภชนาการ
                 3.     ตัวแทนด้านเวชนิทัศน์หรือเวชสาธิต
                4.     ตัวแทนจากฝ่ายพัสดุ
หรืออาจมีบางงานที่ไม่ได้ร่วมเป็นงานเดียวกันกับงานเวชระเบียนแล้วในขณะนั้นเช่น
                1.     ตัวแทนนักวิชาการด้านเวชสารสนเทศ และคอมพิวเตอร์
                2.     ตัวแทนนักวิจัยทางการแพทย์
หรืออาจเพิ่มเติมบุคลากรอื่น ๆ เข้ามาร่วมในคณะกรรมการเวชระเบียน เช่น
                   1.       ตัวแทนนักวิชาการจากงานด้านนโยบายและแผน หรือด้านแผนงานของสถานบริการนั้น ๆ
                    2.       ตัวแทนอื่น ๆ