"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

งานเวชระเบียน เพิ่มจุดบริการ



1.หน่วยเวชระเบียน One Stop Service ทันตกรรม ตา ENT
ให้บริการระหว่างเวลา 07.45-15.30 น.
2.หน่วยเวชระเบียน One Stop Service ศัลยกรรมกระดูกฯ เวชกรรมฟื้นฟู
ให้บริการระหว่างเวลา 07.45-15.30 น.
3.หน่วยเวชระเบียน One Stop Service สูติ-นรีเวช
ให้บริการระหว่างเวลา 07.45-12.00 น.
การบริการ
1.ทำบัตรใหม่ / บัตรเก่า
2.ตรวจสอบสิทธิฯ / พิมพ์ใบสั่งยา
3.ลงทะเบียน Admit
4.ทำ Claimcode ผู้ป่วยใน / พิมพ์สิทธิฯ ผู้ป่วยใน
5.ติดตาม OPD Card จากห้องบัตร

ลดป้าย ทำได้ ง่ายจัง


นวัตกรรมการนำเสนอ
:Television Presentation
ประเภทของนวัตกรรม
นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์
ที่พัฒนาและปรับปรุงแก้ไขใหม่จากอุปกรณ์เครื่องมือการทำงานเดิม

ผู้จัดทำ                                          
ดวงใจ  ผาโพธิ์
งานเวชระเบียน โรงพยาบาลราชบุรี

หลักการและเหตุผล
ประชาชนจำนวนมาก เช่น ผู้ป่วย ผู้รับบริการ ญาติ ฯลฯ  ที่มารับบริการที่ โรงพยาบาลราชบุรี มาด้วยความไม่รู้ ไม่เข้าใจในระบบบริการ  ซึ่งแต่ละสถานบริการ มีวิธีการให้บริการที่คล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน ทำให้ผู้รับบริการเกิดความสับสน ช่องทางการสื่อสารเดียวที่มีก็คือ   ป้ายประชาสัมพันธ์  ซึ่งงานเวชระเบียนได้รับหนังสือร้องเรียนเสมอว่า ไม่มีป้ายแนะนำบริการ  คือมีป้ายนะ มีมากด้วย แต่ผู้รับบริการอาจมองไม่เห็น หรือ ไม่อ่านป้าย หรืออ่านแต่ก็ยังไม่เข้าใจ  ซึ่งป้ายประชาสัมพันธ์ บริเวณหน้าห้องบัตร
1.      มีจำนวนมาก  รกรุงรัง ไม่สวยงาม ไม่น่าสนใจ
2.      เก่า ล้าสมัย ไม่ทันเหตุการณ์  
3.      การผลิตป้ายใช้ต้นทุนสูง แก้ไขยาก
4.      เกิดจากความเกรงใจที่ต้องให้หน่วยงานอื่นผลิตให้
5.      บางครั้งผลิตออกมายังไม่ได้ใช้เลย หมดเวลาแล้ว
6.      และที่สำคัญ เรา ผลิตเอง ไม่ได้
  
วัตถุประสงค์
1.      หน่วยบริการด่านหน้า มีความทันสมัย สะดวก สวยงาม
2.      มีช่องทางการสื่อสารให้ผู้รับบริการเข้าใจขั้นตอนการเข้ารับบริการ
3.      การนำเสนอบทความทางด้านสุขภาพและสาธารณสุข มีความหลากหลาย  เป็นปัจจุบัน ทันเหตุการณ์
4.      การใช้วัสดุ/อุปกรณ์ที่มีอยู่ ให้คุ้มค่ามากที่สุด
5.      เพื่อลดข้อร้องเรียน เพิ่มระดับความพึงพอใจ

วิธีดำเนินงาน
1.      นำคอมพิวเตอร์ เก่า ที่มีอยู่ในหน่วยงาน ต่อพ่วงกับโทรทัศน์ ซึ่งสามารถต่อพ่วงได้มากกว่า 1 เครื่อง 
2.      นำข้อความต่าง ที่ต้องการประชาสัมพันธ์ จัดทำการนำเสนอด้วย Power Point หรือสื่ออื่น  ซึ่งสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้เอง
3.      หรือสืบค้นจาก Website ต่าง  ตั้งค่าการนำเสนอที่เหมาะสม.....อย่าลืม!! ขอบคุณเจ้าของผลงาน
4.      ทำไมต้องเป็น Power  Point ??......เพราะ Power Point สร้างสรรค์ผลงานได้ง่าย สวยงาม แก้ไข ปรับแต่งได้
5.      สามารถสื่อสารผ่านระบบ Internet โดย Link ไปยัง Website ที่ต้องการ
6.      สามารถสื่อสารผ่านระบบโปรแกรมหลักของโรงพยาบาล :HOSxP

การพัฒนานวัตกรรม
1.   เริ่มจาก การนำเสนอขั้นตอนการรับบริการด้วยโปรแกรม Power Point ที่มีลูกเล่นมากมาย สามารถปรับแต่งได้เอง นำเสนอผ่านจอคอมพิวเตอร์ธรรมดา โดยหันหน้าจอให้ผู้ป่วยได้ดูระหว่างนั่งรอเข้ารับบริการ
2.   ต่อมา งานเวชระเบียน ได้รับบริจาค LCD TV จากผู้รับบริการท่านหนึ่ง จึงได้นำเสนอผ่านจอ LCD TV   ในลักษณะ1 : 1 คือ Computer : LCD TV
3.   ปัจจุบัน ที่ห้องบัตรและบริเวณหน่วยคัดกรองมี LCD TV จำนวน  5 เครื่อง ที่ประโยชน์มากกว่าเป็น  แค่ TV ธรรมดา มีการนำเสนอข้อมูลที่หลากหลายยิ่งขึ้น

 ผลของการพัฒนานวัตกรรม
1.      มีความทันสมัย สะดวก สวยงาม
2.      ผู้มารับบริการมีความสะดวกและรวดเร็วในการรับบริการสาธารณสุข
3.      มีช่องทางการสื่อสารให้ผู้รับบริการเข้าใจขั้นตอนการเข้ารับบริการ
4.      การให้บริการ มีประสิทธิภาพมากขึ้น
5.      การนำเสนอบทความทางด้านสุขภาพและสาธารณสุข เป็นปัจจุบัน ทันเหตุการณ์
6.      ระดับความพึงพอใจเพิ่มขึ้น  
7.      ข้อร้องเรียน ลดลง

งบประมาณ ประมาณ 1,000 บาท
1.      Computer ของเก่า ที่ใช้งานร่วมกับการใช้งานในภาวะปกติ  ไม่คิดมูลค่า
2.      LCD TV เป็นอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้ว ไม่คิดมูลค่า
3.      สายต่อพ่วง ราคาประมาณ 300 -500 บาท
4.      VGA splitter ราคาประมาณ 500 บาท

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.      การนำ Technology มาผสมผสานพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้นทุนต่ำสุด  
2.      การสร้างสรรค์ผลงานธรรมดา   แต่สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ให้องค์กรได้












dj:26/11/2553









การบันทึกเวชระเบียน

การบันทึกเวชระเบียนที่ถูกต้องเหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะในกรณีที่มีทีมงานหลายคนช่วยกันดูแล รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อทั้งสถานพยาบาล  ระบบการสาธารณสุข    และที่สำคัญก็คือเป็นประโยชน์ต่อแพทย์เพราะเวชระเบียนที่ดีจะเป็นเสมือนมิตรแท้หากมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น เพราะช่วยให้แพทย์และพยานระลึกเหตุการณ์ได้  อีกทั้งทำให้คู่ความฝ่ายตรงข้ามโต้แย้งได้ยาก  แต่ในทางตรงกันข้ามเวชระเบียนที่ถูกบันทึกอย่างลวกๆ  นอกจากทำให้การส่งต่อข้อมูลไม่มีประสิทธิภาพแล้วก็ยังอาจกลายเป็นศัตรูของแพทย์ผู้นั้นในชั้นศาลได้       

งานเวชระเบียน เพิ่มจุดบริการ


หน่วยเวชระเบียน One Stop Service สูติ-นรีเวช (หน้าห้องตรวจ 26)
ให้บริการระหว่างเวลา 07.45-12.00 น.
การบริการ
1.ทำบัตรใหม่ / บัตรเก่า
2.ตรวจสอบสิทธิฯ / พิมพ์ใบสั่งยา
3.ลงทะเบียน Admit
4.ทำ Claimcode ผู้ป่วยใน / พิมพ์สิทธิฯ ผู้ป่วยใน
5.ติดตาม OPD Card จากห้องบัตร

ระบบเรียกคิว

งานเวชระเบียน กำลังทดสอบระบบเรียกคิว (แบบที่ใช้ในธนาคาร) โดยระบุหมายเลขคิว หมายเลขช่องบริการ ในระยะแรก อาจพบปัญหาและอุปสรรคบ้าง ต้องขออภัยหากท่านไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร  งานเวชระเบียน ยินดีรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไป

งานเวชระเบียน รพ.ราชบุรี
โทร 032-719600 ต่อ 1172



พัฒนาโดย งานพัฒนานวตกรรม รพ.ราชบุรี

ขอเชิญประชุมพิจารณาเอกสารเวชระเบียน

            จากการประชุมคณะกรรมการเวชระเบียน เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2554 มีมติเห็นสมควรให้มีทบทวนเอกสารเวชระเบียนที่ใช้ในการดูแลรักษาสุขภาพ ซึ่งเอกสารทั้งหมดควรผ่านการรับรองจากคณะกรรมการเวชระเบียน ก่อนการนำไปในใช้ ซึ่งรวมถึงการจัดเก็บเวชระเบียนหลังจากผู้ป่วยจำหน่าย ซึ่งเป็นการเรียงลำดับตามข้อแนะนำของ พรพ.และสป.สช. เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน เหมือนกันทุกแผนกในโรงพยาบาลนั้น และเพื่อการพัฒนาให้เป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าว จึงขอเรียนเชิญผู้เกี่ยวข้องตามหนังสิอเชิญประชุมฯเข้าร่วมประชุมในวันที่ 26 มกราคม 2554 เวลา 14.00 น.ห้องประชุมศูนย์พัฒนาคุณภาพ