"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

ยกเลิกบัตรทอง


  ***ภาพจาก http://www.google.co.th/


                                                               รายละเอียด
   

บัตรประชาชน: การยืนยันตัวบุคคล

     สืบเนื่องจากการทดลองระบบการตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาลจากฐานข้อมูลจังหวัดราชบุรีพบปัญหาการแอบอ้างการใช้สิทธิการรักษาพยาบาล  ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่โรงพยาบาลและต่อตัวผู้ป่วยเอง ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายและการแอบอ้างการใช้สิทธิการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยจะต้องนำหลักฐานยืนยันตัวบุคคลอย่างหนึ่งอย่างใด  ดังต่อไปนี้  มาแสดงทุกครั้งที่มารับบริการ 
                                          
  1. บัตรประชาชน                                                        
  2. สูติบัตรหรือทะเบียนบ้าน สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี  
  3. เอกสารอื่น ๆ ที่มีรูป ที่ทางราชการออกให้และสามารถยืนยันตัวบุคคลได้    
                    
 ****ถ้าไม่มีหลักฐานมาแสดง>ให้ผู้ป่วยชำระเงินไปก่อนและสามารถนำหลักฐานมาขอคืนเงินได้ในภายหลัง ที่แผนกการเงินของโรงพยาบาล(ติดต่องานเวชระเบียนห้องเบอร์ 4)ในวันและเวลาราชการ

*** ยกเว้น สิทธิต่าง ไ เหล่านี้ที่ไม่สามารถขอคืนเงินได้
  • สิทธิ พรบ.ประสบภัยจากรถ
  • สิทธิ ข้าราชการจ่ายตรง (ให้นำใบเสร็จไปเบิกที่ต้นสังกัด)
  • สิทธิ นอกเขต /ต่างจังหวัด ที่ไม่มีหนังสือส่งตัว
  • สิทธิ ต่างด้าว



หน่วยเวชระเบียน One Stop Service

  1.   หน่วยเวชระเบียน One Stop Service ทันตกรรม ตา ENT  ให้บริการระหว่างเวลา 07.45-15.30 น.
  2. หน่วยเวชระเบียน One Stop Service ศัลยกรรมกระดูกฯ เวชกรรมฟื้นฟู   ให้บริการระหว่างเวลา 07.45-15.30 น.
  3. หน่วยเวชระเบียน One Stop Service สูติ-นรีเวช    ให้บริการระหว่างเวลา 07.45-15.30 น.
การบริการ
1.ทำบัตรใหม่ / บัตรเก่า
2.ตรวจสอบสิทธิฯ / พิมพ์ใบสั่งยา
3.ลงทะเบียน Admit
4.ทำ Claimcode ผู้ป่วยใน / พิมพ์สิทธิฯ ผู้ป่วยใน
5.ติดตาม OPD Card จากห้องบัตร

Competency of Medical Record Unit

การตรวจสอบประสิทธิภาพของงานเวชระเบียน
1.ความถูกต้องแม่นยำของงานเวชระเบียน - การให้ความสำคัญกับรายละเอียดของงานในทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่องและตรวจสอบความถูกต้อง แม่นยำของงานที่ปฏิบัติก่อนส่งมอบ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
2.การประสานงานของหน่วยงานด้านเวชระเบียน - การติดต่อประสานงานแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความคิดเห็นต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน โดยวาจา และลายลักษณ์อักษร รวมทั้งการแสดงออกด้วยท่าทางที่เหมาะสม ทำให้เกิดผลดีกับทุกฝ่าย และบรรลุเป้าหมายของงาน
3.การบริการงานเวชระเบียนที่ดี - ความเข้าใจ และตั้งใจที่จะให้บริการ รวมทั้งการสร้างความเป็นมิตรหรือความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น โดยการเริ่มต้นทักทาย สนับสนุน ช่วยเหลือ และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ให้เกียรติผู้อื่น เพื่อตอบสนองความต้องการ ความพึงพอใจของผู้ให้บริการทั้งภายในและภายนอก
4.งานเวชระเบียนที่เกี่ยวข้องกับการคัดกรองผู้ป่วย - การจำแนกและประเมินอาการผู้ป่วยตามข้อเท็จจริง และสามารถจัดส่งผู้ป่วยไปตรวจรักษาได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย ทันเวลา
5.ความรอบรู้ ข้อมูล ข่าวสารของงานเวชระเบียน - มีความพยายามเรียนรู้ ศึกษา ค้นคว้า จดจำ การให้บริการด้านต่าง ๆ กฎ ระเบียบ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งภายในโรงพยาบาล และภายนอกโรงพยาบาล ตลอดจนมีความรู้รอบตัว  เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าถึงการบริการได้สะดวก และสามารถให้ข้อมูลบริการได้ ณ จุดเดียว
6.การจัดการเวชระเบียนค้างสรุป - รู้และเข้าใจขั้นตอนกระบวนการ Admit / Discharge และเวชระเบียนที่แพทย์เจ้าของไข้บันทึกข้อมูลตามแบบบันทึกไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามมาตรฐานเวชระเบียนที่กำหนด
7.การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการใบชันสูตรบาดแผล/พลิกศพ - ใบรับรองแพทย์ที่แพทย์ออกให้กับผู้ป่วยที่เป็นความฟ้องร้องตามขบวนการกฎหมายใบรับรองแพทย์จัดเป็นพยานเอกสารที่สำคัญ  โดยสภาพความเป็นจริงที่สัมพันธ์กับกฎหมาย ถือว่า ใบรับรองแพทย์ที่ได้ออกไปนั้นเป็นใบชันสูตรบาดแผล/พลิกศพ
8.การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดทำรายงานและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ - มีความสามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยการแจกแจงแตกประเด็นออกเป็นส่วนย่อย ๆ รวมถึงการจัดหมวดหมู่ข้อมูลอย่างเป็นระบบ สามารถรายงานข้อมูล เปรียบเทียบแง่มุมต่าง ๆ ให้งานบรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ                      

9.การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของงานเวชระเบียน - การนำทักษะ ความรู้ ความสามารถ และเข้าใจในระบบหรือขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเอง และโปรแกรมสำเร็จรูปจากหน่วยงานภายนอกมาพัฒนาและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ากับการปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จ เพื่อพัฒนางานที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง
10.การสืบค้นข้อมูลของงานเวชระเบียน - มีความพยายามที่จะเข้าถึงประเด็น ปัญหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือจำเป็นต่องานในหน้าที่รวมถึงการสืบค้น เพื่อให้ได้ข้อมูลเฉพาะเจาะจงหรือตรงตามเงื่อนไขที่ต้องการ เพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมาย
11.การตรวจสอบข้อมูลของงานเวชระเบียน - การนำความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการทำงานมาใช้ในการตรวจสอบ ฐานข้อมูลที่ตนเองรับผิดชอบ  ให้ถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อนำไปสู่กระบวนการสืบค้น และรายงานข้อมูลที่แม่นยำ
12.การใช้รหัส ICD-10 และ ICD-9-CM ของงานเวชระเบียน - ความรู้ความชำนาญในการให้รหัสโรค ICD-10 และ รหัสหัตถการและการผ่าตัด ICD-9-CM ตามคู่มือการให้รหัส และคู่มือ Standard Coding Guideline เพื่อให้ได้ข้อมูลทางคลินิกใช้ประกอบการเบิกจ่ายตามระบบ DRG อย่างมีประสิทธิภาพ
13.ระบบ DRG และระเบียบกฎเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินผู้ป่วยสิทธิพิเศษ - การจัดกลุ่มโรคตามระบบ DRG และระเบียบกฎเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินผู้ป่วยโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า  ผู้ป่วยสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ  และผู้ป่วยประกันสังคม  ตามแต่ละกองทุนกำหนด  เพื่อให้ได้รับเงินคืนตาม DRG อย่างเหมาะสม
14.ความสมบูรณ์ของเวชระเบียน - ความสมบูรณ์ของเวชระเบียนประกอบด้วย แบบบันทึกของแพทย์เจ้าของไข้ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่กำหนดไว้ เพื่อให้เป็นเวชระเบียนที่ดี ใช้ประโยชน์ในการศึกษา, วิจัย, ประกอบการเบิกจ่ายเงินของแต่ละกองทุน และตรวจสอบคุณภาพจากภายในและภายนอก
15.ความสมบูรณ์ของงานด้านเวชระเบียน - การให้ความสำคัญกับรายละเอียดของงานในทุกแง่มุมอย่างต่อเนื่องและการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลและปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดก่อนส่งมอบงาน
16.บริหารจัดการระบบงานเอกสารของงานเวชระเบียน - ความสามารถในการจำแนก คัดกรอง แจกจ่าย คิดวิเคราะห์ สรุปประเด็น สาระสำคัญ จัดทำหนังสือราชการและรายงาน ตลอดจนติดตามงานจากหน่วยงานต่าง ๆ จัดระบบการจัดเก็บค้นหา ให้พร้อมใช้งาน รวมถึงการยืม การทำลายเอกสาร ได้ตามระเบียบงาน สารบรรณ
17.การจัดลำดับความสำคัญของงาน - การจัดสรรเวลา ในการจัดเรียงลำดับงานก่อน-หลัง  ตามสถานการณ์ตามความเร่งด่วน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีผลกระทบต่อภาพรวมขององค์กร            
18.การจัดการงานด้านเลขานุการของหน่วยงานด้านเวชระเบียน - สนับสนุนงานของผู้บริหารเกี่ยวกับการนัดหมาย   แจ้งเตือน ประสานงานติดต่อสื่อสาร การแก้ไขปัญหา จัดเตรียมเอกสนับสนุนการประชุม บริหารจัดการประชุม บันทึกและจดจำสิ่งต่าง ๆ  ตลอดจนจัดทำ  จัดเก็บเอกสาร อำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ และการเก็บความลับ
19.ความรู้ความเข้าใจในงานเวชระเบียน - มีความรู้ความเข้าใจในงานที่ปฏิบัติ รวมทั้งขั้นตอน วิธีการทำงาน อย่างถ่องแท้ มีความชำนาญ และความสามารถประยุกต์ความรู้ และทักษะต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
20.มาตรฐานการปฏิบัติงานเวชระเบียน - รู้และเข้าใจมาตรฐาน หรือขั้นตอนการทำงาน รวมทั้งสามารถใช้ความรู้ และทักษะต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน                                     http://gotoknow.org/blog/sangtien/226767

การแสดงหลักฐานยืนยันตัวบุคคลเพื่อการใช้สิทธิการรักษาพยาบาล

  ผู้ป่วยจะต้องนำหลักฐานยืนยันตัวบุคคลอย่างหนึ่งอย่างใด มาแสดงทุกครั้งที่เข้ารับบริการ 
  • บัตรประชาชน ตัวจริง หรือ
  • สูติบัตร หรือทะเบียนบ้าน กรณีที่ผู้ป่วยยังไม่มีบัตรประชาชน หรือ
  • เอกสารอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ ที่สามารถยืนยันตัวบุคคลได้
ถ้าไม่มีหลักฐานมาแสดง ท่านสามารถเข้ารับการตรวจรักษาได้ตามปกติ 
แต่สิทธิกาารักษาจะเป็น "ชำระเงินเอง"  และสามารถนำหลักฐาน(บัตรประชาชนตัวจริงและใบเสร็จรับเงินตัวจริง) มาขอคืนเงินได้ในภายหลังที่ฝ่ายการเงิน โดยให้ติดต่อยื่นคำร้องที่ งานเวชระเบียน ห้องเบอร์4 ในวันเวลาราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป

ยกเว้น
  • สิทธิข้าราชการ ไม่สามารถขอคืนเงินได้....ให้นำใบเสร็จไปเบิกจากต้นสังกัด
  • สิทธิบัตรทอง รพ.อื่น(นอกเขต และ ต่างจังหวัด)...ต้องมีหนังสือส่งตัวจากโรงพยาบาลตามสิทธิด้วย

      








การให้บริการแก่พระภิกษุและสามเณร

ในการเข้ารับบริการ จำเป็นต้องแสดงบัตรประชาชน เพื่อการยืนยันตัวบุคคลและการตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล
1.กรณีมีหลักฐานมาแสดง(บัตรประชาชน) ให้ใช้สิทธิ์ได้ตามที่ตรวจพบจากWebsite เช่น บัตรทองในเขต ,บัตรทองนอกเขต/ต่างจังหวัด (ต้องมีหนังสือส่งตัว),เบิกได้,จ่ายตรง
2.กรณีไม่มีหลักฐานมาแสดง ให้สิทธิ ชำระเงินเอง ไปก่อน และส่งฝ่ายสวัสดิการสังคม (ห้อง 29) พิจารณาสิทธิฯ

สิทธิการรักษาพยาบาลของเจ้าหน้าที่ รพ.ราชบุรี

กรณี เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลราชบุรี
1.มีหลักฐานมาแสดง (บัตรประชาชน/ทะเบียนบ้าน) ให้ใช้สิทธิ์ได้ตามที่ตรวจพบจาก Website             
2.ไม่มีหลักฐานมาแสดง ให้ตรวจสอบในโปรแกรม HOSxP หากระบุ  “ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลราชบุรี”   ให้อนุโลมใช้สิทธิ์ได้ตามบันทึกเดิมในโปรแกรม HOSxP
**สิทธิ์ประกันสังคม พิมพ์ใบสั่งยา 35 จนท.รพ.ใช้สิทธิ์ประกันสังคม
     กรณีญาติสายตรง (บิดา มารดา คู่สมรส บุตร)
          1.มีหลักฐานมาแสดง (บัตรประชาชน/ทะเบียนบ้าน) ให้ใช้สิทธิ์ได้
          2.ไม่มีหลักฐานมาแสดง หากเป็น ญาติสายตรง ให้อนุโลมใช้สิทธิ์ได้ตามบันทึกเดิมในโปรแกรม HOSxP   (เฉพาะสิทธิ์ 20,22,23,24,34,35,91)
         **สิทธิ์ 92,93,36 ต้องแสดงหลักฐาน(บัตรประชาชนและหนังสือส่งตัว) 
              หากไม่มี ให้พิมพ์ใบสั่งยา 10 ชำระเงินเอง 
    กรณีญาติอื่นๆ ,คนรู้จัก, ฝากรับยาแทน ฯลฯ
        1.มีหลักฐานมาแสดง (บัตรประชาชน/ทะเบียนบ้าน) ให้ใช้สิทธิ์ได้
        2.ไม่มีหลักฐานมาแสดง ใช้สิทธิ์ 10 ชำระเงินเอง  หรือ 20 ข้าราชการเบิกได้ หรือ  23 ข้าราชการท้องถิ่น หรือ 24 พนักงานรัฐวิสาหกิจ  แล้วแต่กรณี

การ Admit ที่หอผู้ป่วย 5A และ5B

1.การ Admit ให้สลับระหว่าง 5A และ5B
2.ก่อนทำ Admit แต่ละรายให้ตรวจสอบการ Admit ครั้งล่าสุดว่าเคยAdmit หรือไม่และจำหน่ายเมื่อไร
3.ถ้าการ Admit ครั้งใหม่นี้อยู่ภายในระยะเวลา72 ชั่วโมง(3 วัน) หลังจากจำหน่ายครั้งล่าสุดให้ Admit ไปที่หอผู้ป่วยเดิม เช่น นายกเคย Admit ที่5A จำหน่ายวันที่ 1 ตุลาคม2553 และวันที่
3 ตุลาคม2553 มาAdmit ใหม่ด้วยโรคเดิมให้ Admit ที่5A เหมือนเดิม(ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์และเจ้าหน้าที่ER ด้วย)
4.และในรายถัดไปให้ Admit ที่ 5B  ซ้ำ 2ราย
*** ต้องตรวจสอบสิทธิ์ทุกราย                      

ความปลอดภัยเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

ความปลอดภัยของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เป็นสิ่งที่สำคัญต่อกระบวนการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งซอฟต์แวร์จัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จะต้องสามารถจัดการได้ ประกอบด้วย
1)      การรักษาความลับ (Confidentiality) ไม่ให้ผู้ไม่มีอำนาจสามารถเข้าถึงเอกสารอิเล็กทรอนิกส์นั้น ๆ ได้ วิธีการรักษาความลับ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการเข้ารหัส โดยหน่วยงานจะต้องมีการกำหนดนโยบายหรือระเบียบข้อบังคับ ในการรักษาความลับของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ มีข้อพึงระวังสำหรับการใช้เวิร์ดโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ จะมีความสามารถในการติดต่อกับเซิฟเวอร์ของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ซึ่งอาจจะมีการ รับ-ส่ง ข้อมูลโดยที่ผู้ใช้ไม่สามารถทราบได้
2)      ความถูกต้องสมบูรณ์ (Integrity) ครบถ้วนของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ตัวเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จะต้อง ไม่ขาดหาย ไม่ถูกแก้ไข และต้องมั่นใจได้ว่าเอกสารฉบับที่ส่งไปถึงผู้รับหรือจัดเก็บไว้ เป็นฉบับจริงที่ไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใด ๆ หรือแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดของเอกสาร
3)      ความพร้อมใช้งาน (Availability) เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ต้องสามารถเรียกใช้งานได้ตลอดเวลาที่ต้องการ ดังนั้นจึงต้องมีวิธีการป้องกันการสูญหายจากการที่ระบบล้มเหลว การได้รับความเสียหายทางกายภาพ จากภัยพิบัติ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม
4)      การพิสูจน์ตัวตน (Authenticity) ว่าเป็นเอกสารฉบับจริง ไม่ใช่เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่ถูก คัดลอก ปลอม แปลง ซึ่งอาจจะกระทำด้วยการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือระบบติดตามเอกสาร หรือระบบอื่น ๆ ที่เหมาะสม  (การจัดการเอกสารอิเลคทรอนิกส์: พ.อ.สุทธิศักดิ์ สลักคำ)

Electronic Medical Record System

ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์
คำนิยาม :
เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ EMR (Electronic  Medical  Record) หมายถึง เวชระเบียนโรงพยาบาลราชบุรี ทุกรายที่ถูกบันทึกลงในสื่ออิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ โดยใช้หลักการถ่ายจากภาพจริงหรือถ่ายภาพจากเอกสารกระดาษ แปลงไปเป็นไฟล์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ชนิดรูปภาพ โดยการสแกนหรือวิธีอื่นใดในอนาคต ที่มีความพร้อมใช้งาน (Availability)คือสามารถเรียกใช้งานได้ตลอดเวลาที่ต้องการ ผ่านระบบเครือข่ายเชื่อมต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ ของผู้รับ  แทนการส่งเวชระเบียนที่อยู่ในรูปแบบของเอกสารที่ใช้กระดาษ 
หลักการและเหตุผล
เวชระเบียนเป็นเอกสารที่มีข้อมูลการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยที่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนการสอน การบริหารจัดการ การเงินการคลังและทางด้านกฎหมาย อีกทั้งเป็นเอกสารหลักฐานที่จะต้องเก็บไว้ตามเกณฑ์ของแพทย์สภา เพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยให้ต่อเนื่อง  เวชระเบียนที่ถูกส่งเข้ามาที่หน่วยงานในแต่ละวัน  มีจำนวนมากและมีความหนาเพิ่มขึ้นซึ่งต้องใช้สถานที่และวัสดุอุปกรณ์ ในการจัดเก็บอย่างมหาศาล จึงทำให้เกิดอุปสรรคในการทำงานคือเวชระเบียนที่จะถูกจัดเก็บตามตู้ต่างๆ ภายในหน่วยงานไม่เพียงพอ ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อตู้  แฟ้ม  กระดาษ  และเปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บ  ส่วนการสืบ/ค้นเวชระเบียนยังเป็นแบบ Manual  ทำให้เกิดความล่าช้าในการค้นหาเวชระเบียน รวมถึงการจัดส่งเวชระเบียนไปยังแผนกหรือหน่วยงานอื่นล่าช้า  งานเวชระเบียน โรงพยาบาลราชบุรี ได้เริ่มต้นนำระบบ Scan มาใช้ในการจัดเก็บเวชระเบียน  ซึ่งเริ่มใช้ในเดือนกันยายน 2548 มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดเก็บในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิคส์ และมีเป้าหมายที่จะ Scan เวชระเบียนผู้ป่วยใน  ที่จำหน่ายในปี พ..2549 แต่การดำเนินงานไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เนื่องจากปัญหาหลาย ๆ ประการ เช่น ไม่มีการจัดตั้งหน่วย Scan ไม่มีเจ้าหน้าที่เพียงพอ ไม่มีระบบการเชื่อมต่อกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ไม่มีผู้ดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ฯลฯ  งานเวชระเบียน สามารถ Scan ได้เฉพาะเวชระเบียนผู้ป่วยใน  กรณีประกันชีวิต คดีความ ร้องเรียน และรักษาต่อเนื่องเท่านั้น ซึ่งไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร
ปัจจุบัน ระบบนี้ ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร 

จรรยาบรรณวิชาชีพเวชระเบียน

งานเวชระเบียนนั้นเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการใช้และการเก็บรักษาข้อมูลทางการแพทย์อันได้แก่ข้อมูลทางด้านการรักษาและข้อมูลสถานะสุขภาพต่าง ๆเพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยการบริหารจัดการและเพื่ออ้างอิงในการศึกษาวิจัยของนักวิชาการเวชระเบียนที่ดีแสดงถึงคุณภาพการรักษาและบริการที่ดีด้วยและเพื่อการรับรองคุณภาพดังกล่าวนักเวชระเบียนควรมีบัญญัติพื้นฐานเพื่อการปฏิบัติสำหรับสมาชิกผู้ประกอบวิชาชีพเวชระเบียนดังนั้นสมาคมเวชระเบียนแห่งสหรัฐอเมริกาจึงได้กำหนดจรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเวชระเบียนขึ้นมา
ประมวลจรรยาบรรณดังกล่าวข้างต้นเป็นหลักปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายในวิชาชีพเวชระเบียนซึ่งจะมีผลผูกพันต่อผู้ที่เป็นสมาชิกของสมาคมเวชระเบียนแห่งสหรัฐอเมริกาและบุคคลอื่นๆซึ่งได้รับการรับรองจากสมาคมนี้หลักจรรยาบรรณดังกล่าวประกอบด้วย
  1. บริการย่อมมาก่อนผลประโยชน์อื่นใดมีความซื่อสัตย์สุจริตในวิชาชีพโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนตัวให้ความสนใจต่อผู้ป่วย (ลูกค้า)โดยเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติเพื่อนำชื่อเสียงเกียรติคุณมาสู่ตนเองสู่สมาคมและสู่วิชาชีพเวชระเบียน
  2. เก็บรักษาเวชระเบียนที่อยู่ในความดูแลของตนโดยถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล(ความลับ)โดยไม่มีการเปิดเผยหรือทำลายนอกจากจะเป็นไปตาม กฎระเบียบอายุความหรือนโยบายของผู้บริหาร
  3. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้บังคับบัญชา(นายจ้าง) มอบหมายด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  4. หลีกเลี่ยงการกระทำหรือการปกปิดการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อจริยธรรมอันดี
  5. เปิดเผยข้อมูลในเวชระเบียนต่อผู้เป็นเจ้าของเวชระเบียนโดยตรง(ตัวผู้ป่วย)ไม่เปิดเผยข้อมูลในเวชระเบียนโดยไม่จำเป็นยกเว้นจะเป็นการใช้เพื่อเป็นหลักฐานตามกฎหมายหรือเป็นไปตามกฎระเบียบอื่น ๆ
  6. รักษากฎระเบียบต่าง ๆที่กำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการเวชระเบียนอย่างเคร่งครัด
  7. ยอมรับเงินค่าบริการต่างๆ เฉพาะที่กำหนดไว้ในกฎหมายหรือตามธรรมเนียมปฏิบัติซึ่งตนควรจะได้ตามหน้าที่
  8. หลีกเลี่ยงการก้าวก่ายการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลอื่นและไม่แสดงอำนาจการตัดสินใจที่นอกเหนือขอบเขตที่ตนเองรับผิดชอบอยู่
  9. พยายามแสวงหาความรู้เพิ่มเติมหมั่นฝึกฝนและพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาเพื่อการบริการทางสาธารณสุขที่ดีมีสุขภาพ
  10. มีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากรและเสริมสร้างความเข้มแข็งในวิชาชีพตลอดจนการเผยแพร่สาขาวิชาชีพเวชระเบียนให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณะ
  11. ในฐานะเจ้าหน้าที่เวชระเบียนจะต้องเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล(ความลับ) ของผู้ป่วยและเผยแพร่ข้อมูลขององค์กรในลักษณะภาพรวมทั้งหมด
  12. บอกกล่าวความจริงอย่างละเอียดเกี่ยวกับการศึกษาประสบการณ์ต่าง ๆของตนต่อผู้บังคับบัญชา (นายจ้าง)หรือว่าที่นายจ้างในอนาคต
ที่มา :ชมรมเวชระเบียนและสถิติแห่งประเทศไทย