"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

ก้าวใหม่อีกครั้งกับระบบเวชระเบียนอิเลคทรอนิกส์

เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ EMR (Electronic  Medical  Record) หมายถึง เวชระเบียนโรงพยาบาลราชบุรี ทุกรายที่ถูกบันทึกลงในสื่ออิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ โดยใช้หลักการถ่ายจากภาพจริงหรือถ่ายภาพจากเอกสารกระดาษ แปลงไปเป็นไฟล์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ชนิดรูปภาพ โดยการสแกนหรือวิธีอื่นใดในอนาคต ที่มีความพร้อมใช้งาน (Availability)คือสามารถเรียกใช้งานได้ตลอดเวลาที่ต้องการ ผ่านระบบเครือข่ายเชื่อมต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ ของผู้รับ  แทนเวชระเบียนที่อยู่ในรูปแบบของเอกสารที่ใช้กระดาษ 
เวชระเบียนเป็นเอกสารที่มีข้อมูลการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยที่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนการสอน การบริหารจัดการ การเงินการคลังและทางด้านกฎหมาย อีกทั้งเป็นเอกสารหลักฐานที่จะต้องเก็บไว้ตามเกณฑ์ของแพทย์สภา เพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยให้ต่อเนื่อง  เวชระเบียนที่ถูกส่งเข้ามาที่หน่วยงานในแต่ละวัน  มีจำนวนมากและมีความหนาเพิ่มขึ้นซึ่งต้องใช้สถานที่และวัสดุอุปกรณ์ ในการจัดเก็บอย่างมหาศาล จึงทำให้เกิดอุปสรรคในการทำงานคือเวชระเบียนที่จะถูกจัดเก็บตามตู้ต่างๆ ภายในหน่วยงานไม่เพียงพอ ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อตู้  แฟ้ม  กระดาษ  และเปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บ  
ส่วนการสืบ/ค้นเวชระเบียนยังเป็นแบบ Manual  ทำให้เกิดความล่าช้าในการค้นหาเวชระเบียน รวมถึงการจัดส่งเวชระเบียนไปยังแผนกหรือหน่วยงานอื่นล่าช้า  งานเวชระเบียน โรงพยาบาลราชบุรี ได้เริ่มต้นนำระบบ Scanมาใช้ในการจัดเก็บเวชระเบียน  ซึ่งเริ่มใช้ในเดือนกันยายน 2548 มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดเก็บในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิคส์ และมีเป้าหมายที่จะ Scan เวชระเบียนผู้ป่วยใน  ที่จำหน่ายในปี พ..2549 แต่การดำเนินงานไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เนื่องจากปัญหาหลาย ๆ ประการ เช่น ไม่มีการจัดตั้งหน่วย Scan ไม่มีเจ้าหน้าที่เพียงพอ ไม่มีระบบการเชื่อมต่อกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล รวมถึงไม่มีผู้ดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ฯลฯ ซึ่งงานเวชระเบียน สามารถ Scan ได้เฉพาะเวชระเบียนผู้ป่วยใน  กรณีประกันชีวิต คดีความ ร้องเรียน และรักษาต่อเนื่องเท่านั้น ซึ่งไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร

ปัจจุบัน โรงพยาบาลราชบุรี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ความสมบูรณ์ ความพร้อมใช้งานของเอกสารเวชระเบียน จึงได้เกิดการพัฒนาระบบเวชระเบียนอิเลคทรอนิกส์ ซึ่งการพัฒนาในครั้งนี้ใด้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในองค์กร เริ่มจาก แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ โดยการนำของทีมหลักที่สำคัญคืองานพัฒนานวตกรรมฯ (IT) ร่วมกันพัฒนาด้วยองค์ความรู้ เพื่อให้เกิดระบบเวชระเบียนที่สมบูรณ์แบบ ให้ตอบสนองต่อจำนวนผู้รับบริการและความต้องการของบุคลาการ

1 กันยายน 2560 โรงพยาบาลราชบุรี ประกาศใช้ระบบ OPD Card Scan โดยมีกระบวนการและขั้นตอนการรับบริการคล้ายระบบเดิม มีการเปลี่ยนแปลงบางส่วนเท่านั้น เช่น  

เปลี่ยนจากการพิมพ์ใบสั่งยา เป็น ใบขั้นตอนการรับบริการ

การค้นแฟ้มเวชระเบียน ยังค้นอยู่ในระยะ 6 เดือนแรก

แบบบันทึกการตรวจรักษา (OPD Card) เปลี่ยนแปลงจาก กระดาษ A5 เป็น A4

ข้อมูลการตรวจรักษา มีการบันทึกด้วย OPD Card แบบ A4 ไม่จัดเก็บใน OPD Card A5 

OPD Card A4 ส่ง Scan ที่งานเวชระเบียน

ระยะแรกปัญหาอุปสรรคก็มีบ้างพอสมควร ค่อยๆ แก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนไปเพื่อให้เกิดระบบที่สมบูรณ์ ความพยายามมีมา 12 ปีแล้ว ครั้งนี้น่าจะประสบผลสำเร็จ



                                                                  งานเวชระเบียน รพ.ราชบุรี

                                                                       29 พฤศจิกายน 2560