1. มีอาคารสถานที่และอุปกรณ์ที่เหมาะสมและพร้อมสำหรับบริการสถานที่เก็บเวชระเบียนเป็นสัดส่วนไม่เสี่ยงต่ออันตรายจากสัตว์หรือปัจจัยทางกายภาพ
มีพื้นที่เพียงพอที่จะเก็บเวชระเบียนได้อย่างน้อย 5 ปี
2. มีเจ้าหน้าที่ที่มีคุณภาพในจำนวนที่เหมาะสม มีเจ้าหน้าที่มีความรู้และทักษะในการจัดเก็บเวชระเบียน
และควรมีการบันทึกรหัสโรค
3. มีระบบเวชระเบียนที่เหมาะสมและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1
มีความสมบูรณ์ของข้อมูลที่บันทึกในเวชระเบียนสำหรับผู้ป่วยใน ได้แก่
1. ข้อมูลประจำตัวผู้ป่วย
2.บันทึกการตรวจร่างกาย
3.การวินิจฉัยโรคและการสั่งการรักษา
4.รายงานสิ่งตรวจพบ
รายงานสิ่งตรวจพบจากการตรวจวินิจฉัยโรค
และการรักษาจะต้องได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนรายงานการผ่าตัดต้องประกอบด้วย
สิ่งที่พบเทคนิคการผ่าตัดชิ้นเนื้อที่ถูกตัดออกมา และการวินิจฉัยโรคหลังการผ่าตัด
5.รายงานสรุปมีการสรุปรายงานภายในระยะเวลาที่เหมาะสมการวินิจฉัยโรคแรกรับและวินิจฉัยโรคขั้นสุดท้ายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างอยู่ในโรงพยาบาลแผนการรักษาผู้ป่วยหลังจากการจำหน่าย
3.2
ข้อมูลที่บันทึกในเวชระเบียน
มีเพียงพอที่จะอธิบายเหตุผลในการสั่งการรักษาของแพทย์ทราบความเปลี่ยนแปลงทางคลีนิกที่สำคัญของผู้ป่วยและแพทย์ผู้อื่นสามารถให้การรักษาต่อได้
1.คำสั่งการรักษาเหมาะสม
2.มีบันทึกการเปลี่ยนแปลงสม่ำเสมอ
3.มีบันทึกการวินิจฉัยโรคที่ปรับปรุงตลอดเวลาเมื่อมีข้อมูลใหม่เพิ่มเติม
4.แพทย์ผู้อื่นสามารถให้การรักษาต่อได้
5.แพทย์ที่ได้รับการปรึกษาจะต้องบันทึกคำให้การปรึกษาเป็นลายลักษณ์อักษร
3.3
มีระบบการจัดเก็บและการค้นหาเวชระเบียนที่เหมาะสม
และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการให้บริการ
1.ระบบการจัดเก็บและการค้นหาเวชระเบียน
1.1.มีการทำระบบดัชนีเพื่อค้นหาเวชระเบียนที่ต้องการได้
1.2.สามารถค้นหาเวชระเบียนผู้ป่วยนอกโดยใช้ชื่อ
หรือเลขประจำตัวผู้ป่วยได้ภายใน 15 นาที
1.3.สามารถค้นหาเวชระเบียนผู้ป่วยในโดยใช้ชื่อเลขประจำตัวผู้ป่วยได้ ภายใน 30 นาที
1.4สามารถค้นพบเวชระเบียนผู้ป่วยทั้งนอกและในไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
2.การบันทึกสรุปและวิเคราะห์ข้อมูล
2.1มีการเก็บบันทึกสรุปผู้ป่วยใน
2.2มีการจัดทำระเบียนผู้ป่วยเสียชีวิตพร้อมการวินิจฉัยโรค
2.3มีการจัดทำรายงานต่อไปนี้
-จำนวนผู้ป่วยรับใหม่และจำหน่ายของแต่ละงานคลินิกบริการ
-จำนวนผู้ป่วยตามการวินิจฉัยโรคหรือกลุ่มโรค
-จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดประเภทต่าง ๆ
-ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลตามการวินิจฉัยโรค
3.มีการออกใบส่งตัวเมื่อผู้ป่วยต้องไปรักษาต่อที่อื่น
โดยมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการรักษาต่อ
ที่มา :
ชมรมเวชระเบียนและสถิติแห่งประเทศไทย
10.01.57