"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

มาตรฐานงานเวชระเบียน

1. มีอาคารสถานที่และอุปกรณ์ที่เหมาะสมและพร้อมสำหรับบริการสถานที่เก็บเวชระเบียนเป็นสัดส่วนไม่เสี่ยงต่ออันตรายจากสัตว์หรือปัจจัยทางกายภาพ มีพื้นที่เพียงพอที่จะเก็บเวชระเบียนได้อย่างน้อย 5 ปี
2. มีเจ้าหน้าที่ที่มีคุณภาพในจำนวนที่เหมาะสม    มีเจ้าหน้าที่มีความรู้และทักษะในการจัดเก็บเวชระเบียน และควรมีการบันทึกรหัสโรค
3. มีระบบเวชระเบียนที่เหมาะสมและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     3.1 มีความสมบูรณ์ของข้อมูลที่บันทึกในเวชระเบียนสำหรับผู้ป่วยใน ได้แก่
          1. ข้อมูลประจำตัวผู้ป่วย
           2.บันทึกการตรวจร่างกาย
           3.การวินิจฉัยโรคและการสั่งการรักษา
           4.รายงานสิ่งตรวจพบ  รายงานสิ่งตรวจพบจากการตรวจวินิจฉัยโรค และการรักษาจะต้องได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนรายงานการผ่าตัดต้องประกอบด้วย สิ่งที่พบเทคนิคการผ่าตัดชิ้นเนื้อที่ถูกตัดออกมา        และการวินิจฉัยโรคหลังการผ่าตัด
           5.รายงานสรุปมีการสรุปรายงานภายในระยะเวลาที่เหมาะสมการวินิจฉัยโรคแรกรับและวินิจฉัยโรคขั้นสุดท้ายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างอยู่ในโรงพยาบาลแผนการรักษาผู้ป่วยหลังจากการจำหน่าย
  3.2 ข้อมูลที่บันทึกในเวชระเบียน มีเพียงพอที่จะอธิบายเหตุผลในการสั่งการรักษาของแพทย์ทราบความเปลี่ยนแปลงทางคลีนิกที่สำคัญของผู้ป่วยและแพทย์ผู้อื่นสามารถให้การรักษาต่อได้
     1.คำสั่งการรักษาเหมาะสม
     2.มีบันทึกการเปลี่ยนแปลงสม่ำเสมอ
     3.มีบันทึกการวินิจฉัยโรคที่ปรับปรุงตลอดเวลาเมื่อมีข้อมูลใหม่เพิ่มเติม
     4.แพทย์ผู้อื่นสามารถให้การรักษาต่อได้
     5.แพทย์ที่ได้รับการปรึกษาจะต้องบันทึกคำให้การปรึกษาเป็นลายลักษณ์อักษร
 3.3 มีระบบการจัดเก็บและการค้นหาเวชระเบียนที่เหมาะสม และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการให้บริการ
     1.ระบบการจัดเก็บและการค้นหาเวชระเบียน
        1.1.มีการทำระบบดัชนีเพื่อค้นหาเวชระเบียนที่ต้องการได้
        1.2.สามารถค้นหาเวชระเบียนผู้ป่วยนอกโดยใช้ชื่อ หรือเลขประจำตัวผู้ป่วยได้ภายใน 15 นาที
        1.3.สามารถค้นหาเวชระเบียนผู้ป่วยในโดยใช้ชื่อเลขประจำตัวผู้ป่วยได้ ภายใน 30 นาที
       1.4สามารถค้นพบเวชระเบียนผู้ป่วยทั้งนอกและในไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
     2.การบันทึกสรุปและวิเคราะห์ข้อมูล
     2.1มีการเก็บบันทึกสรุปผู้ป่วยใน
         2.2มีการจัดทำระเบียนผู้ป่วยเสียชีวิตพร้อมการวินิจฉัยโรค
         2.3มีการจัดทำรายงานต่อไปนี้
           -จำนวนผู้ป่วยรับใหม่และจำหน่ายของแต่ละงานคลินิกบริการ
           -จำนวนผู้ป่วยตามการวินิจฉัยโรคหรือกลุ่มโรค
           -จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดประเภทต่าง ๆ
           -ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลตามการวินิจฉัยโรค
    3.มีการออกใบส่งตัวเมื่อผู้ป่วยต้องไปรักษาต่อที่อื่น โดยมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการรักษาต่อ
ที่มา : ชมรมเวชระเบียนและสถิติแห่งประเทศไทย

Competency List : งานเวชระเบียน

Competency  List  : งานเวชระเบียน
หัวข้อ
ความหมาย:
การให้ความสำคัญกับรายละเอียดของงานในทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่องและตรวจสอบความถูกต้อง แม่นยำของงานที่ปฏิบัติก่อนส่งมอบ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
การติดต่อประสานงานแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความคิดเห็นต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน โดยวาจา และลายลักษณ์อักษร รวมทั้งการแสดงออกด้วยท่าทางที่เหมาะสม ทำให้เกิดผลดีกับทุกฝ่าย และบรรลุเป้าหมายของงาน
ความเข้าใจ และตั้งใจที่จะให้บริการ รวมทั้งการสร้างความเป็นมิตรหรือความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น โดยการเริ่มต้นทักทาย สนับสนุน ช่วยเหลือ และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ให้เกียรติผู้อื่น เพื่อตอบสนองความต้องการ ความพึงพอใจของผู้ให้บริการทั้งภายในและภายนอก
การจำแนกและประเมินอาการผู้ป่วยตามข้อเท็จจริง และสามารถจัดส่งผู้ป่วยไปตรวจรักษาได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย ทันเวลา
มีความพยายามเรียนรู้ ศึกษา ค้นคว้า จดจำ การให้บริการด้านต่าง ๆ กฎ ระเบียบ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งภายในโรงพยาบาล และภายนอกโรงพยาบาล ตลอดจนมีความรู้รอบตัว  เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าถึงการบริการได้สะดวก และสามารถให้ข้อมูลบริการได้ ณ จุดเดียว
รู้และเข้าใจขั้นตอนกระบวนการ Admit / Discharge และเวชระเบียนที่แพทย์เจ้าของไข้บันทึกข้อมูลตามแบบบันทึกไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามมาตรฐานเวชระเบียนที่กำหนด
ใบรับรองแพทย์ที่แพทย์ออกให้กับผู้ป่วยที่เป็นความฟ้องร้องตามขบวนการกฎหมายใบรับรองแพทย์จัดเป็นพยานเอกสารที่สำคัญ  โดยสภาพความเป็นจริงที่สัมพันธ์กับกฎหมาย ถือว่า ใบรับรองแพทย์ที่ได้ออกไปนั้นเป็นใบชันสูตรบาดแผล/พลิกศพ
มีความสามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยการแจกแจงแตกประเด็นออกเป็นส่วนย่อย ๆ รวมถึงการจัดหมวดหมู่ข้อมูลอย่างเป็นระบบ สามารถรายงานข้อมูล เปรียบเทียบแง่มุมต่าง ๆ ให้งานบรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
การนำทักษะ ความรู้ ความสามารถ และเข้าใจในระบบหรือขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเอง และโปรแกรมสำเร็จรูปจากหน่วยงานภายนอกมาพัฒนาและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ากับการปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จ เพื่อพัฒนางานที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง
มีความพยายามที่จะเข้าถึงประเด็น ปัญหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือจำเป็นต่องานในหน้าที่รวมถึงการสืบค้น เพื่อให้ได้ข้อมูลเฉพาะเจาะจงหรือตรงตามเงื่อนไขที่ต้องการ เพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมาย
การนำความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการทำงานมาใช้ในการตรวจสอบ ฐานข้อมูลที่ตนเองรับผิดชอบ  ให้ถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อนำไปสู่กระบวนการสืบค้น และรายงานข้อมูลที่แม่นยำ
ความรู้ความชำนาญในการให้รหัสโรค ICD-10 และ รหัสหัตถการและการผ่าตัดICD-9-CMตามคู่มือการให้รหัส และคู่มือ Standard Coding Guidelineเพื่อให้ได้ข้อมูลทางคลินิกใช้ประกอบการเบิกจ่ายตามระบบ DRG อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดกลุ่มโรคตามระบบ DRG และระเบียบกฎเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินผู้ป่วยโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า  ผู้ป่วยสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ  และผู้ป่วยประกันสังคม  ตามแต่ละกองทุนกำหนด  เพื่อให้คณะฯ ได้รับเงินคืนตาม DRG อย่างเหมาะสม
ความสมบูรณ์ของเวชระเบียนประกอบด้วย แบบบันทึกของแพทย์เจ้าของไข้ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่กำหนดไว้ เพื่อให้เป็นเวชระเบียนที่ดี ใช้ประโยชน์ในการศึกษา, วิจัยประกอบการเบิกจ่ายเงินของแต่ละกองทุน และตรวจสอบคุณภาพจากภายในและภายนอก
การให้ความสำคัญกับรายละเอียดของงานในทุกแง่มุมอย่างต่อเนื่องและการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลและปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดก่อนส่งมอบงาน
ความสามารถในการจำแนก คัดกรอง แจกจ่าย คิดวิเคราะห์ สรุปประเด็น สาระสำคัญ จัดทำหนังสือราชการและรายงาน ตลอดจนติดตามงานจากหน่วยงานต่าง ๆ จัดระบบการจัดเก็บค้นหา ให้พร้อมใช้งาน รวมถึงการยืม การทำลายเอกสาร ได้ตามระเบียบงาน สารบรรณ

การจัดสรรเวลา ในการจัดเรียงลำดับงานก่อน-หลัง  ตามสถานการณ์ตามความเร่งด่วน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีผลกระทบต่อภาพรวมขององค์กร 
สนับสนุนงานของผู้บริหารเกี่ยวกับการนัดหมาย   แจ้งเตือน ประสานงานติดต่อสื่อสาร การแก้ไขปัญหา จัดเตรียมเอกสนับสนุนการประชุม บริหารจัดการประชุม บันทึกและจดจำสิ่งต่าง ๆ  ตลอดจนจัดทำ  จัดเก็บเอกสาร อำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ และการเก็บความลับ
มีความรู้ความเข้าใจในงานที่ปฏิบัติ รวมทั้งขั้นตอน วิธีการทำงาน อย่างถ่องแท้ มีความชำนาญ และความสามารถประยุกต์ความรู้ และทักษะต่าง ๆในการปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รู้และเข้าใจมาตรฐาน หรือขั้นตอนการทำงาน รวมทั้งสามารถใช้ความรู้ และทักษะต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน



ความถูกต้องแม่นยำ

ความหมาย  :   การให้ความสำคัญกับรายละเอียดของงานในทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
                        และตรวจสอบความถูกต้อง แม่นยำของงานที่ปฏิบัติก่อนส่งมอบ ให้
                        เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

ระดับที่  Œ
·        มองข้ามรายละเอียดของงานบางอย่าง
·        งานที่ปฏิบัติมีข้อผิดพลาดบ่อยครั้ง
·        ส่งมอบงานช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดบ่อยครั้ง
ระดับที่  
·        รู้และเข้าใจหลักการและมาตรฐานของงาน แต่ปฏิบัติได้ไม่ครบถ้วน
·        ตรวจสอบงานที่นำส่งแต่มีข้อผิดพลาดในบางครั้ง
·        ขอคำปรึกษาแนะนำจากเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน
·        ส่งมอบงานช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดเป็นบางครั้ง
ระดับที่  Ž
·        รู้และเข้าใจหลักการและมาตรฐานของงาน
·        สามารถปฏิบัติงานได้อย่างละเอียดรอบคอบ และถูกต้องแม่นยำด้วยตนเอง
·        ส่งมอบงานเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดทุกครั้ง
ระดับที่  
·        ประยุกต์ใช้หลักหรือวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสมในการตรวจสอบได้
·        ให้คำปรึกษาแนะนำ และเป็นแบบอย่างแก่เพื่อนร่วมงานได้
·                   ส่งมอบงานเร็วกว่าระยะเวลาที่กำหนด
ระดับที่  
·        วางแผนและกำหนดมาตรฐาน  ตลอดจนประเมินสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า
·        สามารถถ่ายทอดประสบการณ์ ให้แก่เพื่อนร่วมงานและหน่วยงานภายนอก





การประสานงาน
ความหมาย :    การติดต่อประสานงานแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความคิดเห็นต่าง ๆ ได้อย่าง ถูกต้อง ชัดเจน โดยวาจา
 และลายลักษณ์อักษร รวมทั้งการแสดงออกด้วยท่าทางที่เหมาะสม ทำให้เกิดผลดีกับทุกฝ่าย
 และบรรลุเป้าหมายของงาน

ระดับที่  Œ
·      จัดลำดับความสำคัญและจับประเด็นของเนื้อหาไม่ชัดเจน
·      สามารถสอบถามความคืบหน้าของงานได้จากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
·      มีการประสานงาน และไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง
ระดับที่  
·      มีวิธีการสอบถามข้อมูลที่ต้องการจากบุคคลที่เข้ามาติดต่อด้วย เพื่อการติดต่อประสานงานในภายหลัง
·      ระบุได้ถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมในการติดต่อประสานงานกับบุคคลต่าง ๆ
·      มีการประสานงาน และสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานได้ ภายใต้คำแนะนำจากหัวหน้างาน/หน่วยงาน
ระดับที่  Ž
·     รู้และเข้าใจบุคคลหรือหน่วยงานที่จะต้องติดต่อประสานงาน
·     จัดลำดับความสำคัญและประเด็นของเนื้อหาที่ประสานงานได้ชัดเจน
·     ประสานงานโดยให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริงได้อย่างถูกต้อง ตรงประเด็น
และเกิดผลดีกับทุกฝ่าย
·     หาทางเลือกในการติดต่อประสานงานได้มากกว่า 1 ทางเลือก
ระดับที่  
·                 มีเทคนิค และวิธีการในการติดต่อประสานงานกับบุคคลภายนอกองค์กร
·                  ให้ข้อเสนอแนะ และคำแนะนำในการติดต่อประสานงาน
ระดับที่  
·     เสนอความคิดเห็น และแนวทางแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ ให้กับบุคคลกลุ่มและให้คำแนะนำผู้อื่นเกี่ยวกับวิธีการ และแนวทางในการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ
·     เป็นตัวแทนของหน่วยงานในการถ่ายทอดวิธีการในการติดต่อประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพให้กับผู้อื่น








การบริการที่ดี

ความหมาย :  ความเข้าใจ และตั้งใจที่จะให้บริการ รวมทั้งการสร้างความเป็นมิตรหรือ
                       ความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น โดยการเริ่มต้นทักทาย สนับสนุน ช่วยเหลือ และ
                       พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ให้เกียรติผู้อื่น เพื่อตอบสนองความต้องการ
                       ความพึงพอใจของผู้ให้บริการทั้งภายในและภายนอก

ระดับที่ Œ

·        มีกิริยา การแต่งกายที่เหมาะสม ยิ้มแย้มแจ่มใส การใช้ถ้อยคำสุภาพ แสดงความเป็นมิตรต่อผู้ใช้บริการ เต็มใจให้บริการ
·        สามารถให้คำแนะนำการบริการของหน่วยงานตนเองได้ ภายใต้คำแนะนำของทีมงาน

ระดับที่ 

·        สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้แต่ต้องขอคำปรึกษาจากทีมงานและหัวหน้างาน
·        สามารถให้คำแนะนำการบริการของหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่นได้ โดยอาศัยข้อมูลประกอบ
·        สามารถประสานงานภายในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่ถูกต้อง รวดเร็ว อย่างต่อเนื่อง

ระดับที่ Ž

·        รับเป็นธุระ ช่วยแก้ปัญหาหรือหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ผู้ใช้บริการอย่างรวดเร็ว เต็มใจ
      ไม่บ่ายเบี่ยง ไม่แก้ตัว หรือปัดภาระ
·        คอยดูแลให้ผู้ใช้บริการได้รับความพึงพอใจ และนำข้อขัดข้องใด ๆ ในการให้บริการ ไปพัฒนาการบริการให้ดียิ่งขึ้น

ระดับที่  

·        สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาแก่ผู้ใช้บริการได้ด้วยตนเองโดยไม่มีข้อผิดพลาด
·        คอยให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานที่กำลังให้บริการอยู่ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการ แม้ว่าผู้ใช้บริการจะไม่ได้ถามถึง หรือไม่ทราบมาก่อน
ระดับที่ 
·        ปฏิบัติตนเป็นที่ปรึกษาของหน่วยงาน และผู้ใช้บริการไว้วางใจ  ตลอดจนมีส่วนช่วยในการตัดสินใจของผู้ใช้บริการ
วิเคราะห์ถึงผลกระทบที่จะเกิดในพฤติกรรมนั้น ๆ ต่อระบบงาน และการวางแผนป้องกันล่วงหน้า



การคัดกรองผู้ป่วย
ความหมาย :    การจำแนกและประเมินอาการผู้ป่วยตามข้อเท็จจริง และสามารถจัดส่งผู้ป่วยไปตรวจรักษา ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย ทันเวลา

ระดับที่ Œ

·        คัดกรองผู้ป่วยโดยซักถามอาการ และใช้คู่มือการคัดกรองภายใต้การกำกับ ดูแล  แนะนำ
·        พยายามเรียนรู้ ศึกษา จดจำ อาการต่าง ๆ ว่าสมควรจัดส่งตรวจห้องตรวจใด

ระดับที่ 

·        คัดกรองอาการและซักถาม และไม่ใช้คู่มือการคัดกรอง อยู่ในการกำกับ ดูแล แนะนำบางครั้ง
·        คัดกรองผู้ป่วยฉุกเฉินได้  2 ระดับ คือ ผู้ป่วย Emergency และ Urgent

ระดับที่ Ž

·        คัดกรองผู้ป่วยที่รับ refer ได้ด้วยตนเองโดยมีความรู้เรื่องศัพท์แพทย์
·        ประเมินอาการผู้ป่วยตามข้อเท็จจริงทั้งในเอกสารและอาการภายนอก

ระดับที่  

·        จัดส่งผู้ป่วยตรวจได้ถูกต้อง  ทันเวลา มีความปลอดภัยในชีวิต
·        ส่งเสริมสนับสนุนให้เพื่อนร่วมงานมีการเรียนรู้  ศึกษา ตลอดจนจัดเก็บรวบรวมโรคต่าง ๆ
       ไว้เป็นคู่มือ
ระดับที่ 
·        เป็นที่ปรึกษา สอนแนะ ให้ความรู้แก่เพื่อนร่วมงานได้อย่างถูกต้อง
·        พัฒนาตนเอง เรียนรู้ ตลอดเวลา สามารถวิเคราะห์อาการผู้ป่วยที่ซับซ้อนได้



ความรอบรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
ความหมาย :  มีความพยายามเรียนรู้ ศึกษา ค้นคว้า จดจำ การให้บริการด้านต่าง ๆ
                       กฎระเบียบ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งภายในโรงพยาบาล และภายนอก
                       โรงพยาบาล ตลอดจนมีความรู้รอบตัว  เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าถึงการบริการได้
                       สะดวก และสามารถให้ข้อมูลบริการได้ ณ จุดเดียว

ระดับที่ Œ

·        มีความรู้ตารางการออกตรวจของแพทย์โดยใช้คู่มือ
·        มีความรู้การให้บริการภายในหน่วยงานที่สังกัด และอยู่ในการกำกับ ดูแล แนะนำ

ระดับที่ 

·        มีความรู้ตารางการออกตรวจของแพทย์โดยไม่ใช้คู่มือ
·        มีความรู้ ความเข้าใจในระบบ กฎระเบียบที่ปฏิบัติและเชื่อมต่อความรู้ดังกล่าวกับระบบงานอื่น ๆ ภายในองค์กรงานเวชระเบียน
·        มีความรู้ ความเข้าใจระบบหรือขั้นตอนของหน่วยงานอื่น ๆ ภายในโรงพยาบาล

ระดับที่ Ž

·        ตอบข้อซักถามการให้บริการต่าง ๆ ของทุกหน่วยบริการภายในโรงพยาบาลได้ถูกต้อง
·        เป็นผู้แจ้งข้อมูล ข่าวสาร ที่มีการเปลี่ยนแปลงเร่งด่วนแก่เพื่อร่วมงานเพื่อความถูกต้องของข้อมูล
·        เรียนรู้ ค้นคว้า พัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน และนำมาบอกเล่าเพื่อนร่วมงาน

ระดับที่  

·        มีการสั่งสมความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในข้อมูล  ข่าวสาร นำมาจัดเก็บรวบรวมเพื่อประโยชน์ต่อเพื่อนร่วมงาน
·        เป็นที่ปรึกษาแก่เพื่อนร่วมงาน
ระดับที่ 
·        ตอบข้อซักถามได้ทุกคำถามที่ผู้รับบริการซักถาม ทั้งข้อมูลภายในและภายนอก รพ.
·        เป็นศูนย์ข้อมูล ข่าวสาร ให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานภายในและทีมคร่อมสายงานได้



ความสมบูรณ์ของงาน
ความหมาย  :  การให้ความสำคัญกับรายละเอียดของงานในทุกแง่ทุกมุมอย่างต่อเนื่องและการตรวจสอบ
ความน่าเชื่อถือของข้อมูลและปฏิบัติงานต่าง ๆ   ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดก่อนส่งมอบงาน 
    
ระดับที่  Œ
·          ไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลหรืองานที่ปฏิบัติทำให้เกิดความผิดพลาดอยู่บ่อยครั้ง
·          ข้อมูลหรืองานที่ปฏิบัติมีข้อผิดพลาดอยู่เสมอ
·          ไม่คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดจากความผิดพลาดของตนที่มีต่อหน่วยงานอื่น 
·          ส่งมอบงานช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดอยู่บ่อยครั้ง
ระดับที่  
·          ขอคำปรึกษาแนะนำจากหัวหน้างานหรือสมาชิกในทีมในการจัดระบบการตรวจสอบข้อมูลหรืองานที่ปฏิบัติ
·          ให้ความสนใจเฉพาะรายการที่ต้องตรวจสอบเท่านั้น
·          ข้อมูลหรืองานที่ปฏิบัติมีข้อผิดพลาดบ้าง  ซึ่งต้องได้รับการตรวจสอบซ้ำจากหัวหน้างาน
·          ยอมรับฟังข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นและพยายามหาวิธีการแก้ไขอยู่เสมอ 
·          ส่งมอบผลงานช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดเป็นบางครั้ง
ระดับที่  Ž
·          รู้และเข้าในหลักการและมาตรฐานการตรวจสอบ   เลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับงานที่ตรวจสอบ
·          ตรวจสอบรายละเอียดของข้อมูลหรือผลการปฏิบัติงานก่อนนำส่งทุกครั้ง  โดยผลงานที่นำส่งถูกต้องแม่นยำ ไม่ต้องมีการตรวจสอบซ้ำจากหัวหน้างาน
·          ค้นพบข้อผิดพลาดของข้อมูลหรือผลงานที่ปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
·          ส่งมอบผลงานเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดทุกครั้ง
ระดับที่  
·          ตั้งข้อสงสัยกับข้อมูลที่ไม่ชัดเจน  และนำข้อสงสัยไปหาข้อมูลเพิ่มเติม
·          สามารถตรวจสอบข้อมูลหรืองานที่ละเอียดและซับซ้อนได้  โดยข้อมูลและผลงานที่ปฏิบัติมีความถูกต้องทุกครั้ง
·          ตรวจสอบข้อมูลหรือผลการทำงานของทีมได้  และประเมินผลการตรวจสอบข้อมูลและผลงานที่ปฏิบัติอยู่เสมอ
·          ส่งมอบงานเร็วกว่าระยะเวลาที่กำหนดเป็นบางครั้ง
ระดับที่  
·          พิจารณาแนวทางเลือกและเลือกแนวทางที่เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
·          สามารถตรวจสอบข้อมูลความสัมพันธ์ ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่ผิดพลาด
·          คิดหาแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงวิธีการในการตรวจสอบอยู่เสมอ ตรวจนอบข้อมูลหรือผลการทำงานของสมาชิกในทีมและนอกทีม
·          ส่งมอบงานเร็วกว่าระยะเวลาที่กำหนดทุกครั้ง

 




การจัดลำดับความสำคัญของงาน
ความหมาย  :   การจัดสรรเวลา ในการจัดเรียงลำดับงานก่อน-หลัง ตามสถานการณ์ ตาม
                         ความเร่งด่วน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดโดย
                         ไม่มีผลกระทบต่อภาพรวมขององค์กร  

ระดับที่  Œ
·       รู้แต่ไม่สามารถจัดเรียงลำดับงานก่อน – หลัง  ตามสถานการณ์ ความเร่งด่วน และนำเสนอ หรือส่งมอบงานไม่ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระดับที่  
·       สามารถจัดเรียงลำดับงานก่อน  หลัง ตามสถานการณ์ ความเร่งด่วน สามารถทำงานได้สำเร็จในระยะเวลาที่กำหนดเป็นบางครั้งภายใต้การควบคุมดูแลของหัวหน้างาน
ระดับที่  Ž
·       จัดสรรเวลา จัดเรียงลำดับงานก่อน – หลัง  ตามสถานการณ์ ตามความเร่งด่วน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีข้อผิดพลาดและผลกระทบต่อภาพรวมขององค์กร ได้ด้วยตนเอง  แต่ขอคำปรึกษา จากทีมงาน/หัวหน้างานบางครั้ง
ระดับที่  
·       จัดสรรเวลา จัดเรียงลำดับงานก่อน – หลัง  ตามสถานการณ์  ความเร่งด่วน  เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายก่อนระยะเวลาที่กำหนดโดยสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาด  พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อภาพรวมขององค์กร ได้ด้วยตนเอง
ระดับที่  
·       มีสมรรถนะในระดับที่ 4
·       สามารถวางแผนจัดระบบ  คู่มือการปฏิบัติงาน  และตั้งข้อสังเกต  ให้คำปรึกษาแนะนำ และถ่ายทอดความรู้ตลอดจนเป็นแบบอย่างแก่ทีมงาน 





เวชระเบียนค้างสรุป
ความหมาย :  รู้และเข้าใจขั้นตอนกระบวนการ Admit / Discharge และเวชระเบียนที่
                       แพทย์เจ้าของไข้บันทึกข้อมูลตามแบบบันทึกไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ตาม
                       มาตรฐานเวชระเบียนที่กำหนด

ระดับที่ Œ

·        รู้และจำแนกแบบบันทึกเวชระเบียนตามข้อกำหนดโดยมีคู่มือ
·        รู้และเข้าใจขั้นตอนกระบวนการ Admit/Discharge
·        ตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดเบื้องต้นได้

ระดับที่ 

·        จำแนกลายเซ็นแพทย์เจ้าของไข้และภาควิชาที่สังกัดได้ภายใต้การกำกับ ดูแล  แนะนำ
·        ลงทะเบียน Discharge ได้ภายใต้การกำกับ ดูแล แนะนำ

ระดับที่ Ž

·        จำแนกลายเซ็นแพทย์เจ้าของไข้และภาควิชาที่สังกัดได้ด้วยตนเอง
·        อธิบายขั้นตอนและกระบวนการเวชระเบียนค้างสรุปได้อย่างชัดเจน
·        มีความรู้เรื่องเวชระเบียนค้างสรุปในภาพรวมเชื่อมต่อความรู้ดังกล่าวกับระบบงานอื่น ๆ ได้

ระดับที่  

·        มีทักษะ  ความชำนาญอย่างเพียงพอ   สามารถปฏิบัติงานที่ยุ่งยากซับซ้อนได้
·        มีการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงาน พัฒนาศักยภาพ ความรู้ความสามารถ รู้จักพัฒนา ปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
ระดับที่ 
·        ถ่ายทอด สอน แนะนำ ให้คำปรึกษาให้แก่บุคคล หน่วยงานภายใน/ภายนอกได้








ใบชันสูตรบาดแผล/พลิกศพ
ความหมาย :  ใบรับรองแพทย์ที่แพทย์ออกให้กับผู้ป่วยที่เป็นความฟ้องร้องตาม
                      ขบวนการกฎหมายใบรับรองแพทย์จัดเป็นพยานเอกสารที่สำคัญ  โดยสภาพ      
                      ความเป็นจริงที่สัมพันธ์กับกฎหมาย ถือว่า ใบรับรองแพทย์ที่ได้ออกไปนั้นเป็น
                       ใบชันสูตรบาดแผล/พลิกศพ

ระดับที่ Œ

·        มีความรอบรู้ในการใช้ใบชันสูตรบาดแผล/ใบชันสูตรพลิกศพ
·        จัดเก็บสำเนาใบชันสูตรบาดแผล/ใบชันสูตรพลิกศพ อย่างเป็นระบบเพื่อสะดวกในการค้นหา

ระดับที่ 

·        ส่งใบชันสูตรบาดแผล/ใบชันสูตรพลิกศพให้แพทย์เจ้าของไข้ได้ถูกคนและตรงตามภาควิชาที่สังกัด
·        ตรวจสอบสถานะปัจจุบันของผู้ป่วย (OPD/IPD) ได้ถูกต้อง

ระดับที่ Ž

·        ตรวจสอบรายละเอียดของข้อมูลการตรวจรักษาที่ซับซ้อนได้ เพื่อทราบชื่อแพทย์เจ้าของไข้
ในการสรุปใบชันสูตร
·        ติดตามและประสานแพทย์เจ้าของไข้ได้

ระดับที่  

·        ตรวจสอบรายละเอียดของใบชันสูตรที่แพทย์ออกให้ครบถ้วนสมบูรณ์
·        ให้ข้อมูลและคำแนะนำข้อมูลใบชันสูตรบาดแผล/พลิกศพ แก่บุคคล หน่วยงานภายใน/ภายนอกได้
ระดับที่ 
·        มีความรู้ทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับคดี
·        มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ใบชันสูตร





รายงานและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
ความหมาย :  มีความสามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                       โดยการแจกแจงแตกประเด็นออกเป็นส่วนย่อย ๆ รวมถึงการจัดหมวดหมู่ข้อมูล
                       อย่างเป็นระบบ สามารถรายงานข้อมูล เปรียบเทียบแง่มุมต่าง ๆ ให้งาน
                       บรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ

ระดับที่ Œ

·        กำหนดที่มาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องไม่ถูกต้องและเพียงพอ
·        ผลการรายงานข้อมูลคลาดเคลื่อน
·        ต้องขอความช่วยเหลือจากผู้บังคับบัญชาอยู่เสมอ

ระดับที่ 

·        กำหนดแหล่งข้อมูลได้อย่างเหมาะสม
·        รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่กำหนดได้
·        จัดกลุ่มของข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ

ระดับที่ Ž

·        กำหนดวิธีการ แนวทาง และเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล
·        นำเสนอรายงานข้อมูลได้อย่างเหมาะสม

ระดับที่  

·        เข้าใจความสัมพันธ์ของข้อมูลต่าง ๆ ในภาพรวมทั้งหมด
·        สามารถนำเสนอข้อมูลได้ทันต่อเหตุการณ์
·        วิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องตามกรอบและแนวคิดที่กำหนด
·        ให้คำแนะนำผู้อื่นในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และรายงาน
ระดับที่ 
·        สามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
·        อธิบายกรอบแนวคิด และกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลให้กับบุคคลอื่นได้


การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ความหมาย :  การนำทักษะ ความรู้ ความสามารถ และเข้าใจในระบบหรือขั้นตอนในการ
                      ทำงานของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเอง และโปรแกรมสำเร็จรูปจากหน่วยงาน
                      ภายนอกมาพัฒนาและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการ
                      ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ากับการปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จเพื่อพัฒนา
                      งานที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง

ระดับที่ Œ

·        ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่เกี่ยวข้องในส่วนงานที่รับผิดชอบได้
·        เข้าใจปัญหาหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่ผิดพลาด
·        ปฏิบัติงานภายใต้คำสั่ง และ/หรือคำแนะนำ

ระดับที่ 

·        ปฏิบัติงานในส่วนที่รับผิดชอบได้ด้วยตนเอง แต่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแล
·        รับรู้การเปลี่ยนแปลง ระบบหรือขั้นตอนการทำงานใหม่ ๆ

ระดับที่ Ž

·        ปฏิบัติงานในส่วนที่รับผิดชอบได้ด้วยตนเอง
·        อธิบายขั้นตอนและกระบวนการในการทำงานได้อย่างชัดเจน
·         แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือปัญหาหน้างานประจำวันได้
·        แสวงหาความรู้/ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้สำเร็จ

ระดับที่  

·        มีความรู้ทั้งระบบในภาพรวม สามารถเชื่อมต่อความรู้ดังกล่าวกับระบบงานอื่น ๆ ได้
·        ให้คำปรึกษาแนะนำแก่เพื่อนร่วมงานได้
·        พัฒนาต่อยอดความรู้จากประสบการณ์ และความรู้จากแหล่งอื่นได้
ระดับที่ 
·        ถ่ายทอดและให้ข้อเสนอแนะ ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่รับผิดชอบ และสามารถนำความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการวางแผน พัฒนางานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานได้
·        เป็นวิทยากรแก่หน่วยงานภายในและภายนอกได้






การสืบค้นข้อมูล
ความหมาย :  มีความพยายามที่จะเข้าถึงประเด็น ปัญหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                      หรือจำเป็นต่องานในหน้าที่รวมถึงการสืบค้น เพื่อให้ได้ข้อมูลเฉพาะเจาะจงหรือ
                      ตรงตามเงื่อนไขที่ต้องการ เพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมาย

ระดับที่ Œ

·        รู้ระบบข้อมูลและแหล่งที่ต้องการสืบค้น
·        ให้ข้อมูลที่มีอยู่ หรือหาจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่แล้ว

ระดับที่ 

·        สืบค้นข้อมูลอย่างง่าย  โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
·        มีความรู้เรื่อง ICD เบื้องต้น
·        ใช้คำสั่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างง่าย

ระดับที่ Ž

·        สามารถจำกัดขอบเขตของการสืบค้นให้ได้ข้อมูลตรงตามวัตถุประสงค์
·        มีความรู้เรื่อง ICD สามารถให้รหัสโรค/ผ่าตัดและหัตถการที่ไม่ซับซ้อนได้
·        ใช้คำสั่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน

ระดับที่  

·        สืบค้นข้อมูลที่ซับซ้อนมากขึ้นโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชั้นสูงช่วยในการสืบค้น
·        จัดเก็บผลการสืบค้นอย่างเป็นระบบ
·        วางระบบการสืบค้น เพื่อให้มีข้อมูลทันเหตุการณ์
·        สามารถแนะนำความรู้เรื่อง  ICD ได้
ระดับที่ 
·        ประยุกต์ใช้  ICD ในการสืบค้นข้อมูล
·        สามารถสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลภายนอก
·        ถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ให้ผู้อื่นได้


การตรวจสอบข้อมูล

ความหมาย :  การนำความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการทำงานมาใช้ในการ
                      ตรวจสอบฐานข้อมูลที่ตนเองรับผิดชอบ  ให้ถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อนำไปสู่
                      กระบวนการสืบค้น และรายงานข้อมูลที่แม่นยำ

ระดับที่ Œ

·        ปฏิบัติงานผ่านโปรแกรมที่รับผิดชอบโดยใช้คู่มือ
·        รู้โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลที่ตนเองรับผิดชอบ

ระดับที่ 

·        ตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ของแฟ้มข้อมูลเบื้องต้น  พร้อมแก้ไข ปรับปรุงภายใต้คำแนะนำ

ระดับที่ Ž

·        ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแฟ้มข้อมูลพร้อมแก้ไขปรับปรุงได้ด้วยตนเอง

ระดับที่  

·        มีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
·        เป็นที่ปรึกษาแก่เพื่อนร่วมงานได้
ระดับที่ 
·        ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการตรวจสอบฐานข้อมูลให้กับบุคคลอื่นได้








การใช้รหัส ICD-10 และ ICD-9-CM



ความหมาย :  ความรู้ความชำนาญในการให้รหัสโรค ICD-10 และ รหัสหัตถการและการ
                      ผ่าตัดICD-9-CMตามคู่มือการให้รหัส และคู่มือ Standard Coding Guideline      
                      เพื่อให้ได้ข้อมูลทางคลินิกใช้ประกอบการเบิกจ่ายตามระบบ DRG อย่างมี           
                      ประสิทธิภาพ

ระดับที่ Œ

·        มีความรู้พื้นฐานศัพท์แพทย์  ภาษาอังกฤษ  และภาษาที่ใช้ใน ICD หรือผ่านการศึกษาหลักสูตรเวชสถิติ หรืออบรมหลักการใช้ ICD ระยะสั้น  
·        สามารถให้รหัส ICD อ่าน และเข้าใจเนื้อหาในเวชระเบียนอย่างง่ายได้ โดยอยู่ในการดูแล กำกับ แนะนำของผู้ให้รหัสระดับที่สูงกว่า

ระดับที่ 

·        มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ให้รหัสระดับที่ 1 และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม หรือแตกต่าง คือ
·        สามารถให้รหัส ICD ได้ด้วยตนเอง อ่านและเข้าใจเนื้อหาในเวชระเบียนได้บางส่วน  อยู่ภายใต้การตรวจสอบความถูกต้องการให้รหัสของผู้ให้รหัสระดับที่สูงกว่า

ระดับที่ Ž

·        สามารถอ่าน ค้นหา และเข้าใจเนื้อหาในเวชระเบียนผู้ป่วยทั้งหมด  ให้รหัส ICD สำหรับโรคต่าง ๆ ที่ปรากฏในเวชระเบียน ตรงตามกฎการใช้รหัสแต่ละรหัส 
·        มีความสามารถปรับตัว ใช้รหัสในระบบที่แตกต่าง หรือใช้ระบบรหัสที่เปลี่ยนแปลงใหม่ได้
·                 มีความตั้งใจในการพัฒนาฝีมือการให้รหัส  เพื่อยกระดับความถูกต้องของการให้รหัสให้สูงที่สุด
·        มีความสามารถอ่านตำราทางการแพทย์ได้เข้าใจ  และสามารถค้นหารายละเอียดของโรค  สาเหตุของโรค  พยาธิสภาพของโรคต่าง ๆ จากตำราทางการแพทย์ได้
·        สามารถบอกข้อบกพร่องที่พบจากการตรวจบันทึกเวชระเบียนของแพทย์ได้
·        สามารถสอบถามข้อสงสัย ข้อมูลที่ขาดตกบกพร่อง เพิ่มเติมจากแพทย์ผู้บันทึกเวชระเบียนได้
·        สามารถเสนอแนะแนวทางการบันทึกข้อมูลที่ดี ให้กับแพทย์ผู้บันทึกเวชระเบียนได้

ระดับที่  

·        มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ให้รหัสระดับที่ 3  และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม หรือแตกต่าง คือ
·        สามารถให้รหัส ICD ในกรณีผู้ป่วยโรคสลับซับซ้อนหรือเวชระเบียนที่มีข้อมูลมากได้ถูกต้อง
·        สามารถจำแนกการบันทึกสาเหตุการตายที่ผิดพลาดและการบันทึกเวชระเบียนที่ผิดพลาดได้อย่างแม่นยำ และสามารถบอกสิ่งที่ผิดพลาดที่เกิดขึ้น เสนอแนวทางแก้ไขได้
·        สามารถตรวจสอบการให้รหัสของผู้ให้รหัสระดับที่ 3 ตามกฎเกณฑ์ทุกข้อของ ICD
·        มีความสามารถให้รหัสได้ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ โดยมีระดับความผิดพลาดน้อยมาก
·        ควรมีประสบการณ์ทำงานให้รหัส ICD มาไม่น้อยกว่า 2 ปี
·        มีความรู้พื้นฐานทางกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ และพยาธิวิทยาของโรคต่าง ๆ
ระดับที่ 
·        มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ชำนาญการให้รหัสระดับที่ 4  และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม หรือแตกต่าง คือ
·        สามารถให้รหัส ICD ในกรณีผู้ป่วยโรคเฉพาะทางต่าง ๆ หรือเวชระเบียนที่มีปัญหามากได้ถูกต้อง
·        สามารถถ่ายทอดความรู้  เป็นครูสอนผู้ให้รหัสระดับที่ 3 ได้
·                 สามารถตรวจสอบคุณภาพการให้รหัสโรคของผู้ให้รหัสระดับ 3 หรือผู้ชำนาญการให้รหัสระดับกลางได้
·        ควรมีประสบการณ์ทำงานให้รหัส ICD มาไม่น้อยกว่า 5 ปี




ระบบ DRG และระเบียบกฎเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินผู้ป่วยสิทธิพิเศษ

ความหมาย :  การจัดกลุ่มโรคตามระบบ DRG และระเบียบกฎเกณฑ์การเบิกจ่ายเงิน
                      ผู้ป่วยโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า  ผู้ป่วยสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล
                      ข้าราชการ  และผู้ป่วยประกันสังคม  ตามแต่ละกองทุนกำหนด  เพื่อให้คณะฯ
                       ได้รับเงินคืนตาม DRG อย่างเหมาะสม

ระดับที่ Œ

·        มีความรู้ ความเข้าใจในระบบ DRG และกฎเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินผู้ป่วยโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า  ผู้ป่วยสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ  และผู้ป่วยประกันสังคม ขั้นพื้นฐาน

ระดับที่ 

·        มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับระดับที่ 1 และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม คือ
·        มีประสบการณ์ เข้าใจในระบบ DRG และกฎเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินได้ดีขึ้น สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองโดยไม่จำเป็นต้องควบคุม
·        มีทักษะ ความชำนาญ สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือปัญหาหน้าที่งานประจำวันได้

ระดับที่ Ž

·        มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับระดับที่ 2 และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม คือ
·        มีความเข้าใจระบบหรือขั้นตอนที่ปรับเปลี่ยนได้อย่างต่อเนื่อง
·        มีทักษะ  ความชำนาญอย่างเพียงพอ   สามารถปฏิบัติงานที่ซับซ้อน ยุ่งยากได้

ระดับที่  

·        มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับระดับที่ 3 และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม คือ
·        มีการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงาน พัฒนาศักยภาพ ความรู้ความสามารถ รู้จักพัฒนา ปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
·        สามารถวิเคราะห์ข้อมูลการจัดกลุ่ม DRG  เพื่อนำเสนอ  อุทธรณ์  ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
ระดับที่ 
·        มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับระดับที่ 4 และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม คือ
·        สามารถถ่ายทอด สอน แนะนำ ให้คำปรึกษาให้แก่หน่วยงานภายในและภายนอกได้



ความสมบูรณ์ของเวชระเบียน

ความหมาย :   ความสมบูรณ์ของเวชระเบียนประกอบด้วย แบบบันทึกของแพทย์เจ้าของไข้ที่
                        ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่กำหนดไว้ เพื่อให้เป็นเวชระเบียนที่ดี ใช้ประโยชน์ใน
                        การศึกษา, วิจัยประกอบการเบิกจ่ายเงินของแต่ละกองทุน และตรวจสอบ
                        คุณภาพจากภายในและภายนอก

ระดับที่ Œ
· รู้และจำแนกแบบบันทึกเวชระเบียนของทีมรักษาได้
· จัดเรียงเข้ารูปเล่มตามลำดับตามที่กำหนดได้
ระดับที่ 
· รู้และจำแนกเวชระเบียนสมบูรณ์และค้างสรุปได้
· รู้และเข้าใจรายงานผลทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญที่ต้องมี
· จำแนกลายเซ็นแพทย์เจ้าของไข้และภาควิชาที่สังกัดได้ภายใต้การกำกับ ดูแล แนะนำ
ระดับที่ Ž
· รู้และจำแนกเวชระเบียน ได้ถูกต้อง
· จำแนกลายเซ็นแพทย์เจ้าของไข้และภาควิชาที่สังกัดได้ด้วยตนเอง
· มีความรู้เรื่องเวชระเบียนในภาพรวมเชื่อมต่อความรู้ดังกล่าวกับระบบงานอื่น ๆ ได้
ระดับที่ 
· มีทักษะ ความชำนาญในเรื่องความสมบูรณ์ของเวชระเบียน
· มีการสั่งสมความเชียวชาญในงาน พัฒนาศักยภาพ ความรู้ความสามารถ รู้จักพัฒนา ปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ระดับที่ 
· ถ่ายทอด สอน แนะนำ ให้คำปรึกษาให้แก่บุคคล หน่วยงานภายใน/ภายนอกได้






บริหารจัดการระบบงานเอกสาร

ความหมาย  :  ความสามารถในการจำแนก คัดกรอง แจกจ่าย คิดวิเคราะห์ สรุปประเด็น สาระสำคัญ จัดทำหนังสือราชการและรายงาน  ตลอดจนติดตามงานจากหน่วยงานต่าง ๆ จัดระบบการจัดเก็บค้นหา ให้พร้อมใช้งาน รวมถึงการยืม การทำลายเอกสาร  ได้ตามระเบียบงานสารบรรณ  

ระดับที่  Œ
l         การจำแนก  คัดกรอง  แจกจ่าย หนังสือราชกาการจำแนก  คัดกรอง  แจกจ่าย หนังสือราชการทั้งภายในและภายนอก  สรุปประเด็น สาระสำคัญ โดยมีข้อมูล หรือเหตุผลประกอบ และติดตามงาน ตลอดจนจัดทำหนังสือราชการ ได้เพียงบางส่วน แต่ไม่สามารถสรุปรายงานการประชุมได้
ระดับที่  
l         การจำแนก  คัดกรอง  แจกจ่าย หนังสือราชการทั้งภายในและภายนอก  สรุปประเด็น สาระสำคัญ โดยมีข้อมูล หรือเหตุผลประกอบ และติดตามงาน  ตลอดจนจัดทำหนังสือราชการ และรุปรายงานการประชุม   รวมทั้งสามารถจัดเก็บ  ค้นหา ข้อมูลสำหรับอ้างอิงได้โดยขอคำแนะนำจากทีมงาน หรือหัวหน้างาน
ระดับที่  Ž
l         การจำแนก  คัดกรอง  แจกจ่าย หนังสือราชการทั้งภายในและภายนอก คิดวิเคราะห์  สรุปประเด็น สาระสำคัญ โดยมีข้อมูล หรือเหตุผลประกอบ และติดตามงาน  ตลอดจนจัดทำหนังสือราชการ สรุปรายงานการประชุม  วางแผนจัดระบบและรวบรวมข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลสำหรับอ้างอิงให้เป็นปัจจุบันรวมทั้งสามารถพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดจากข้อผิดพลาดได้ด้วยตนเอง
ระดับที่  
l         การจำแนก  คัดกรอง  แจกจ่าย หนังสือราชการทั้งภายในและภายนอก คิดวิเคราะห์  สรุปประเด็น สาระสำคัญ โดยมีข้อมูล หรือเหตุผลประกอบ และติดตามงาน  ตลอดจนจัดทำหนังสือราชการ สรุปรายงานการประชุม  วางแผนจัดระบบและรวบรวมข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลสำหรับอ้างอิงให้เป็นปัจจุบันรวมทั้งสามารถพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเองและไม่มีข้อผิดพลาด
l         ตั้งข้อสังเกตถึงข้อมูลที่ผิดปกติในรายงานหรือหนังสือราชการที่ได้รับจากหน่วยงานอื่นได้
l         เสนอวิธีการ  เทคนิคและขั้นตอนใหม่ ๆ  ในการปรับปรุงงานได้
ระดับที่  
l                                                                                   ปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องแม่นยำจนเป็นแบบอย่างและ  สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่นได้
l                                                                                   สามารถปรับระบบงานและประยุกต์ให้เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ได้



เลขานุการ

ความหมาย  :   สนับสนุนงานของผู้บริหารเกี่ยวกับการนัดหมาย   แจ้งเตือน ประสานงาน          
                        ติดต่อสื่อสาร   การแก้ไขปัญหา  จัดเตรียมเอกสารสนับสนุนการประชุม  
                        บริหารจัดการประชุม  บันทึกและจดจำสิ่งต่าง ๆ  ตลอดจนจัดทำ  จัดเก็บ
                        เอกสาร   อำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ   และการเก็บความลับ 
ระดับที่  Œ
l                                                                                   สามารถนัดหมาย  แจ้งเตือน  ประสานงาน  ติดต่อสื่อสาร  จัดเตรียมเอกสารสนับสนุนการประชุม  
l                                                                                   มีความรู้ ความสามารถ ด้านโปรแกรม คอมพิวเตอร์พื้นฐาน (MS  Office)
l                                                                                   มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม  
ระดับที่  
l         สามารถนัดหมาย  แจ้งเตือน  ประสานงาน  ติดต่อสื่อสาร  จัดเตรียมเอกสารสนับสนุนการประชุม   มีทักษะในการบันทึกและจดจำสิ่งต่าง  ๆ  รวมถึงการจัดทำ  จัดเก็บเอกสาร  และจัดลำดับความสำคัญของงานได้ โดยขอคำปรึกษาจากทีมงานและหัวหน้างาน
l          มีความรู้ ความสามารถ  และทักษะด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์
l         มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม   และเก็บความลับได้บางส่วน
ระดับที่  Ž
l                                                                                   สามารถนัดหมาย  แจ้งเตือน  ประสานงาน  ติดต่อสื่อสาร  จัดเตรียมเอกสารสนับสนุนการประชุม   มีทักษะในการบันทึกและจดจำสิ่งต่าง  ๆ  รวมถึงการจัดทำ  จัดเก็บเอกสาร การแก้ไขปัญหา และจัดลำดับความสำคัญของงานได้ด้วยตนเอง  แต่มีข้อผิดพลาดบ้าง 
l         มีความรู้  ความสามารถ  และทักษะด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี
l         มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม  อดทน และสามารถเก็บความลับได้เป็นอย่างดี
ระดับที่  
l         สามารถนัดหมาย  แจ้งเตือน  ประสานงาน  ติดต่อสื่อสาร  จัดเตรียมเอกสารสนับสนุนการประชุม  บริหารจัดการประชุม มีทักษะในการบันทึกและจดจำสิ่งต่าง  ๆ  รวมถึงการจัดทำ  จัดเก็บเอกสาร การแก้ไขปัญหา และจัดลำดับความสำคัญของงานได้ด้วยตนเอง  โดยไม่มีข้อผิดพลาด 
l         คิดวางแผนการปฏิบัติงานด้วยวิธีการใหม่ ๆ  เพื่อปรับปรุงผลการปฏิบัติงาน
ระดับที่  
·        สามารถนัดหมาย  แจ้งเตือน  ประสานงาน  ติดต่อสื่อสาร  จัดเตรียมเอกสารสนับสนุนการประชุม   บริหารจัดการประชุม  มีทักษะในการบันทึกและจดจำสิ่งต่าง  ๆ  รวมถึงการจัดทำ  จัดเก็บเอกสาร การแก้ไขปัญหา และจัดลำดับความสำคัญของงาน ผลงานเป็นที่ยอมรับของผู้บริหารและผู้รับบริการ  จนเป็นแบบอย่างที่ดี  และเป็นที่ปรึกษาแก่ทีมงานได้ โดยไม่มีข้อผิดพลาด   



ความรู้ความเข้าใจในงาน

ความหมาย มีความรู้ความเข้าใจในงานที่ปฏิบัติ รวมทั้งขั้นตอน วิธีการทำงาน อย่างถ่อง
                       แท้  มีความชำนาญ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้  และทักษะต่างๆ  ในการ
                       ปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จได้อย่าง    มีประสิทธิภาพ                
                
ระดับที่  Œ
§       ไม่มีความเข้าใจในระบบ  ขั้นตอน  หรือมาตรฐาน  การทำงานที่รับผิดชอบ  ไม่สามารถอธิบายได้ถึงปัญหาหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่ผิดพลาด  หลีกเลี่ยงการรับรู้  การเปลี่ยนแปลงระบบ  หรือขั้นตอนการทำงานใหม่ๆ
ระดับที่  
§       มีความรู้ในระบบ  ขั้นตอน  หรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน  แต่ต้องซักถามหัวหน้างานหรือสมาชิกในทีมอยู่เสมอ  และพยายามทำความเข้าใจในระบบหรือขั้นตอนการทำงานใหม่ๆ

ระดับที่  Ž
§       เข้าใจ และสามารถอธิบายได้ถึงกระบวนการ  ระบบ  ขั้นตอน  หรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
       ที่รับผิดชอบ  และประยุกต์ใช้ความรู้ที่มีในการปฏิบัติงานให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง
ระดับที่  
§       มีความรู้  ความชำนาญในงานที่รับผิดชอบเป็นอย่างดี  สามารถนำความรู้  ประสบการณ์มาพัฒนาและปรับปรุงการทำงานได้

ระดับที่  
§       สามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่มีให้กับเพื่อนร่วมงานได้
§       ผลการปฏิบัติงานสูงกว่ามาตรฐาน
§       เข้าใจปัญหาและผลที่เกิดขึ้นในการทำงานของหน่วยงานที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์กร








มาตรฐานการปฏิบัติงาน


   ความหมาย  :     รู้และเข้าใจมาตรฐาน หรือขั้นตอนการทำงาน รวมทั้งสามารถใช้ความรู้ และ
                              ทักษะต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน

ระดับที่ Œ
ไม่รู้และไม่เข้าใจในมาตรฐาน หรือขั้นตอนการทำงานที่รับผิดชอบ และหลีกเลี่ยงการรับรู้การเปลี่ยนแปลงมาตรฐาน หรือขั้นตอนการทำงานใหม่ ๆ
ระดับที่ 
รู้และพยายามทำความเข้าใจ เกี่ยวกับมาตรฐาน/ ขั้นตอนการทำงานและปฏิบัติได้ถูกต้อง
ระดับที่ Ž
เข้าใจมาตรฐาน หรือกระบวนการ/ ขั้นตอนการทำงานที่รับผิดชอบเป็นอย่างดี และสามารถใช้ความรู้ที่มีในการปฏิบัติงานให้สำเร็จได้
ระดับที่ 
มีความรู้ความชำนาญ ในมาตรฐานการปฏิบัติงาน และสามารถใช้ความรู้พัฒนา ปรับปรุงมาตรฐานกระบวนการ/ ขั้นตอนการทำงาน ที่รับผิดชอบเป็นอย่างดี
ระดับที่ 
ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่มีแก่ผู้ร่วมงาน เป็นแบบอย่าง และสามารถกระตุ้น/ โน้มน้าวให้ผู้ร่วมงานปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่กำหนด
 http://medinfo2.psu.ac.th/medrec/commonpeten.htm