"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

การขอสำเนาเวชระเบียน/ใบรับรองแพทย์ของบริษัทประกันชีวิต


ตอนการปฏิบัติ









***สำหรับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลราชบุรี
1.การยืมแฟ้มเวชระเบียน
- ไม่อนุญาตให้นำแฟ้มเวชระเบียนฉบับจริง ออกนอกโรงพยาบาลราชบุรี โดยเด็ดขาด ยกเว้นมีหนังสืออนุมัติจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น
- อนุญาตให้นำแฟ้มเวชระเบียนออกนอกโรงพยาบาลราชบุรี ได้เฉพาะฉบับสำเนาเท่านั้น โดยผ่านกระบวนการร้องขอตามขั้นตอน โดยแจ้งความจำนงที่งานเวชระเบียน
- การยืมเวชระเบียน นอกเหนือจากการยืมเพื่อการตรวจรักษาผู้ป่วยในกรณีปกติ  ผู้ขอต้องบันทึกรายการขอยืมแฟ้มเวชระเบียนในแบบยืม-คืนเวชระเบียน หรือแบบคำร้องขอทราบประวัติการรักษา ที่มีลายมือชื่อของผู้มีสิทธิยืมเวชระเบียน อันได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร และเจ้าหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้  เวชระเบียน
- ผู้ยืมจะต้องรับผิดชอบในทางกฎหมายต่อความเสียหาย ความสูญหายของแฟ้มเวชระเบียน รวมถึงความรับผิดชอบในกรณีที่นำข้อมูลในแฟ้มเวชระเบียนไปใช้ในทางที่ละเมิดสิทธิผู้ป่วย ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม
- ยืมเวชระเบียนเพื่อการศึกษา วิจัย ให้ขออนุมัติจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษร

2.การคืนแฟ้มเวชระเบียน
2.1  หากงานเวชระเบียน มีความจำเป็นต้องใช้แฟ้มเวชระเบียนฉบับดังกล่าว ผู้ยืมต้องนำส่งคืนในทันที และงานเวชระเบียนจะส่งคืนให้ผู้ยืมเมื่อเสร็จสิ้นการใช้งานแล้ว
2.2 เมื่อครบกำหนด ให้ผู้ยืม ส่งคืนแฟ้มเวชระเบียนที่งานเวชระเบียน  และหากประสงค์จะยืมต่อ ให้แจ้งความประสงค์ขอยืมเวชระเบียนต่อ
2.3 เมื่อครบกำหนด ผู้ยืม ยังไม่ส่งคืนแฟ้มเวชระเบียนให้งานเวชระเบียนทำหนังสือทวงถาม และหากยังไม่ได้รับคืนภายใน 7 วัน ให้งานเวชระเบียนทำหนังสือรายงานไปยังผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี  

7.เครื่องชี้วัด
1.ระยะเวลาในการการจัดเก็บและทำลายเอกสารเวชระเบียน เป็นไปตามเกณฑ์ 100 %
2.เอกสารเวชระเบียนที่ครบกำหนด ได้รับการทำลายตามระเบียบฯ ครบ 100 %

8.เอกสารอ้างอิง
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526