สาเหตุ ฟ้องร้อง
- ไม่ฟังผู้ป่วย (ญาติ) ถ้าผู้ป่วยและญาติพยายามพูดอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น ต้องฟัง อย่าขัด โดยเฉพาะใน ๖๐ วินาทีแรก “ ถ้าผู้ป่วย concern แพทย์ต้อง concern “
- ไม่ให้ผู้ป่วย (ญาติ) มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เมื่อก่อนแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่คิดว่าดีที่สุด(ในความคิดของแพทย์) ให้กับผู้ป่วยเลย แต่ปัจจุบัน แพทย์มีหน้าที่ให้ข้อมูลทางเลือก ข้อดี ข้อเสีย ตอบข้อสงสัย ทั้งหมด แล้วให้ผู้ป่วย(ญาติ) ร่วมตัดสินใจว่าจะเลือกแบบไหน เช่น ใน รพ.ใกล้กรุงเทพฯ แพทย์เห็นว่าเป็นก้อนนิ่วในไตใหญ่มาก บอกว่า “ผ่าตัดเลย “ไม่ได้บอกข้อมูลอื่น ๆ ผ่าเข้าไปไม่ใช่นิ่วอย่างเดียว ต้องตัดไต แล้วผู้ป่วยเสียชีวิต ก็ถูกฟ้อง..
- ไม่บอกความจริงเมื่อเกิดปัญหาขึ้น .. ถ้าเกิดปัญหาแพทย์ต้องบอกทันที อย่าหลบ ถ้าเขารู้จากแพทย์ดีกว่า ที่จะให้รู้จากคนอื่น ถ้าไม่บอกแล้วเขารู้ทีหลังก็จะเกิดอารมณ์ แบบนี้โดนฟ้องแน่ .... “ต้องบอกก่อนที่คนอื่นบอก”
- ให้คำสัญญามากเกินไป ให้ความหวังมากเกินไป เช่น ผ่าแบบนี้หายแน่นอน แต่พอผ่าเสร็จเกิดปัญหา เขาก็จะรู้สึกผิดหวังมาก ไหนหมอบอกว่าหายไง “ ฟ้องเพราะไม่บอกผลเสีย ความเสี่ยง เมื่อเกิดผลเสียหายขึ้น เมื่อไม่รู้ไม่บอก ไม่ได้ทำใจไว้ก่อน จึงผิดหวังมากขึ้น เลยฟ้อง “
- ไม่พอใจ กริยา ท่าทาง คำพูดของแพทย์ ต้องการแก้แค้น
- ต้องการคำอธิบาย
- ระบบข้อมูลข่าวสารทางอินเตอร์เน็ต ที่ใคร ๆ ก็หาความรู้ได้ ไม่ใช่รู้เฉพาะแพทย์เท่านั้น
- ค่ารักษาพยาบาลที่แพง
- อยากได้เงินจากแพทย์.
ผู้บรรยาย : อาจารย์ สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา
รพ.กำแพงเพชร วันศุกร์ที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๙
สรุปการบรรยาย โดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
www.geocities.com/phanomgon