"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

ความสำคัญของเวชระเบียน

          เวชระเบียน โดยความหมายแล้ว เป็นระเบียนทางการแพทย์ คืออะไรก็ตามที่มีการบันทึกในทางการแพทย์ก็เป็นเวชระเบียนทั้งหมด งานที่ติดตามมาหลังจากมีการบันทึกจึงเป็นงานที่สำคัญยิ่งในระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะการติดตามการรักษา การดูมาตรฐานการรักษา การดูประสิทธิภาพการรักษาจึงสามารถดูได้จากเวชระเบียนทั้งสิ้น ด้วยความสำคัญในลักษณะนี้ เวชระเบียนจึงเป็นหัวใจของงานการแพทย์โดยปริยาย
ภายในเล่มเวชระเบียน แต่ละเล่มมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ประกอบด้วยบันทึกรายงานทั้งหมดของแพทย์ที่ตรวจรักษาผู้ป่วย พยาบาลที่ให้การพยาบาลตามคำสั่งแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการทดลองต่าง ๆ ให้แก่ผู้ป่วยตามคำสั่งแพทย์ รวมถึงเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการตรวจรักษาผู้ป่วยแต่ละคนแต่ละครั้ง เป็นเอกสาร ที่บันทึกข้อมูลที่สำคัญและสิ่งที่ได้ปฏิบัติงานไป เป็นข้อมูลเพื่อนำมาคิดค่าสถิติต่าง ๆ เป็นเอกสารประกอบการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานรัฐ หรือบริษัทประกันชีวิต เป็นพยานเอกสารในทางกฎหมาย

         1. ความสำคัญต่อตัวผู้ป่วย
          เวชระเบียนแต่ละเล่มของผู้ป่วยแต่ละคน คือ บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการแสดงตน และความเจ็บป่วยของผู้ป่วยนั้นอย่างละเอียดและสมบูรณ์ ในส่วนการแสดงตนจะมีรายละเอียดของชื่อ สกุล อายุ เพศ สถานภาพการสมรส เชื้อชาติ สัญชาติ บ้านเลขที่ ฯลฯ ในส่วนความเจ็บป่วยจะมีรายละเอียด เช่น ประวัติความเจ็บป่วยของผู้ป่วย อาการเจ็บป่วยในปัจจุบัน การตรวจด้วยวิธีต่าง ๆ การรักษาพยาบาลที่เคยได้รับมาแล้วจากที่ไหนบ้าง เมื่อใด ผลเป็นอย่างไรบ้าง
ดังนั้น เวชระเบียนแต่ละเล่มจึงเป็นบันทึกที่มีคุณค่าจำเป็นต้องได้รับการเก็บรักษา ไว้อย่างดีเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งต้องสงวนไว้เป็นความลับอย่างยิ่งอีกด้วย เพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นแก่โรงพยาบาล แพทย์ ผู้ป่วย หากมีการเปิดเผยข้อความในเวชระเบียน โดยไม่ถูกต้องตามวิธีการ แม้ผู้ป่วยเองก็ไม่ควรได้มีโอกาสถือ หรืออ่านเวชระเบียนของตน นอกจากรับทราบรายละเอียด หรือข้อมูลที่จำเป็นจากแพทย์ผู้ให้การตรวจรักษาแก่ตนเท่านั้น


          2. ความสำคัญต่อผู้ให้การรักษาและบุคลากรทางการแพทย์
          เวชระเบียน คือ งานของแพทย์ โดยแพทย์ และเพื่อแพทย์ แพทย์คือผู้เริ่มงาน เวชระเบียนขึ้น โดยการเริ่มบันทึกการตรวจรักษาผู้ป่วย เป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งทำการศึกษา ค้นคว้า เปรียบเทียบข้อมูลในเวชระเบียน แล้วสรุปผลเพื่อนำไปปฏิบัติ อันนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการแพทย์ตลอดมา ทำให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตของประชาชนทั่วไปเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับงานเวชระเบียน เป็นผู้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และช่วยอำนวยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องให้แพทย์ในการทำให้เวชระเบียนสมบูรณ์ พร้อมทั้งปริมาณและคุณภาพ เพื่อให้แพทย์ได้ใช้เวลาอันมีค่าในการตรวจรักษาผู้ป่วย ศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทำรายงาน หรือเตรียมการสอนได้อย่างเต็มที่
ในปัจจุบันวิชาการและเทคนิคต่าง ๆ ทางการแพทย์ละเอียดลึกซึ้ง ก้าวรุดหน้า อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูง เป็นเหตุให้วิชาการและงานด้านเวชระเบียนจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงทั้ง ด้านบริการและเทคนิค เพื่อสามารถติดตามให้บริการแก่แพทย์ได้อย่างพอเพียง เหมาะสม และทันการ ซึ่งแพทย์เป็นผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยปรับปรุงเวชระเบียนดังกล่าวให้มี คุณภาพมากยิ่งขึ้น


          3. ความสำคัญต่อโรงพยาบาล
          เวชระเบียน คือ กระจกเงาสะท้อนให้เห็นถึงปริมาณและคุณภาพของการดูแลรักษาผู้ป่วยของโรง พยาบาล เพราะภายในเล่มเวชระเบียนแต่ละเล่มมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทรงคุณค่าต่อโรง พยาบาล กล่าวคือผู้บริหารระดับสูงสามารถทราบสถานะของการดำเนินงานทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคตได้ โดยการประมวลข้อมูลต่าง ๆ จากเล่มเวชระเบียนเป็นสถิติตามที่ต้องการ และเปรียบเทียบกัน ทำให้ทราบว่าปริมาณของการตรวจรักษาพยาบาล และบริการมีมากน้อยเพียงใด คุณภาพของการตรวจรักษาและบริการเหล่านั้นต่ำหรือสูงกว่ามาตรฐาน หรือความจำเป็นอย่างไรบ้าง จะแก้ไขได้โดยวิธีใด ควรวางแผนระยะสั้นและระยะยาวอย่างไร เป็นต้น
กรรมการผู้เชี่ยวชาญงานเกี่ยวกับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานโรงพยาบาล ทั้งหลาย เมื่อมีการตรวจมาตรฐานการตรวจรักษาพยาบาล และบริการของโรงพยาบาลใดก็ตาม จะไม่เคยละเว้นการตรวจเวชระเบียนของโรงพยาบาลนั้น ๆ เนื่องจากการพิจารณาเวชระเบียนเพียงไม่กี่เล่มก็จะสามารถทราบได้ทันทีว่าโรง พยาบาลนั้น ๆ ให้การตรวจรักษา พยาบาล และบริการผู้ป่วยได้คุณภาพตรงตามมาตรฐานโรงพยาบาลที่กำหนดไว้หรือไม่


          นอกจากนี้เวชระเบียนยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสถาบัน และบุคคลอื่น ๆ อีก คือ             
              - สำหรับแพทย์และสถาบันการแพทย์อื่น ๆ
เวชระเบียน คือ ข้อมูลที่เป็นสื่อกลางช่วยเชื่อมโยงให้เกิดความต่อเนื่องในการดูแลรักษา พยาบาลผู้ป่วย เมื่อมีการเปลี่ยนตัวแพทย์ผู้ให้การรักษาหรือสถานพยาบาลใหม่ ในกรณีนี้จำเป็นต้องมีรายงานสรุปการตรวจรักษาครั้งที่ผ่านมา โดยแพทย์ซึ่งเคยให้การตรวจรักษามาก่อน มอบให้แพทย์ผู้ซึ่งจะทำการตรวจรักษาในครั้งปัจจุบัน ใช้เป็นข้อมูลประกอบการให้การรักษาต่อ ช่วยให้การตรวจรักษาในครั้งปัจจุบันได้ผลถูกต้อง รวดเร็ว และสมบูรณ์ที่สุด หากไม่มีรายงานสรุปดังกล่าว ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาช้า ทำให้ผู้ป่วยต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการตรวจรักษาโดยไม่จำเป็น


              - สำหรับนักศึกษาแพทย์ นักศึกษาพยาบาล นักสังคมสงเคราะห์
เวชระเบียน คือ ข้อมูลที่สามารถนำไปประมวลเป็นข้อเท็จจริง เป็นสถิติ เป็นหลักฐานอ้างอิงในการศึกษา ค้นคว้า และทำรายงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาแพทย์ เป็นคณะบุคคลที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลในเวชระเบียนตลอดเวลาที่ศึกษาอยู่ นับตั้งแต่การฝึกหัดเขียนบันทึกรายงานการตรวจรักษาผู้ป่วย การฝึกสรุปรายงาน การเสนอรายงานการตรวจรักษาผู้ป่วย โดยสมบูรณ์เป็นรายบุคคล หรือกลุ่มตามเวลาที่อาจารย์แพทย์กำหนดให้ ส่วนนักศึกษาพยาบาลก็ได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่บันทึกไว้ในเวชระเบียน ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับนักศึกษาแพทย์ต่างกันตรงปริมาณการใช้น้อยกว่า สำหรับนักสังคมสงเคราะห์นั้น จำเป็นต้องใช้ข้อมูลต่าง ๆ ในเวชระเบียนมาประกอบในการพิจารณาให้การสงเคราะห์ผู้ป่วยให้ถูกต้อง เหมาะสม ทั้งทางสภาพของโรค และสภาวะทางครอบครัว สังคม และเศรษฐกิจของผู้ป่วย
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น แสดงให้เห็นว่าเวชระเบียนซึ่งบุคคลทั่วไปรู้จักในรูปแบบของแฟ้มหรือเล่ม เอกสารนั้น โดยแท้จริงมีความสำคัญยิ่งต่อบุคคลหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยและความ เจ็บป่วย เพราะสิ่งสำคัญหลายสิ่งที่มีการบันทึกไว้ บางสิ่งมีความสำคัญต่อผู้ป่วยอย่างยิ่ง จะให้ผู้อื่นทราบไม่ได้เลย




06.09.55

ผู้ป่วยระบบนัด

กรุณาตรวจสอบบัตรนัดของท่านว่า ท่านมาตรงตามวันนัดหรือไม่
  • ถ้าท่านมาตรงตามวันนัด ประวัติการรักษา (OPD Card) ของท่านได้รับการค้นประวัติไปรอที่หน่วยนัดแล้ว ท่านสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ที่หน่วยนัดตามที่ระบุในบัตรนัดได้ทันที โดยไม่ต้องติดต่อห้องบัตร
  • ถ้าท่านมาไม่ตรงตามวันนัด ประวัติการรักษา (OPD Card) ของท่านยังไม่ได้รับการค้นประวัติ กรุณารับบัตรคิวและติดต่อห้องบัตร







05.09.55






สิทธิของผู้ประกันตน


http://www.sso.go.th/wpr/uploads/uploadImages/file/m33m39E.pdf




04.09.55

สิทธิประโยชน์ ประกันสังคม กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน

ประกาศคณะกรรมการแพทย์ตามพระบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน (ฉบับที่ ๒)  พ.ศ. ๒๕๕๔ (ประกาศกรณีฉุกเฉิน)

                 เนื่องจากมีความจำเป็นจะต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร่งด่วน มิฉะนั้นอาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุที่สุด โดยผู้ประกันตนหรือญาติหรือผู้เกี่ยวข้องจะต้องรีบแจ้งให้โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ทราบโดยด่วน เพื่อจะได้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลต่อไป สำหรับค่ารักษาพยาบาล ที่เกิดขึ้นก่อนการแจ้งให้โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ทราบสำนักงานประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายใน 3 วัน (72 ชั่วโมง) ตามประเภทและอัตราที่ประกาศกำหนด
                ส่วนค่าใช้จ่าย ที่เกิดเนื่องจากมีความจำเป็นจะต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร่งด่วน มิฉะนั้นอาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ผู้ประกันตนสามารถ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุที่สุด โดยผู้ประกันตนหรือญาติหรือผู้เกี่ยวข้อง จะต้องรีบแจ้งให้โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ทราบโดยด่วน เพื่อจะได้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลต่อไป สำหรับค่ารักษาพยาบาล ที่เกิดขึ้นก่อนการแจ้งให้โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ทราบสำนักงานประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายใน 3 วัน (72 ชั่วโมง) ตามประเภทและอัตราที่ประกาศกำหนด ส่วนค่าใช้จ่าย ที่เกินอยู่ในความรับผิดชอบของสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ นับตั้งแต่เวลาที่สถานพยาบาลตามบัตรฯ ได้รับแจ้ง 

เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ ไม่ว่ากรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเบิกได้ ดังนี้

  • ผู้ป่วยนอก สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำ
  • ผุ้ป่วยใน สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ยกเว้น ค่าห้องและอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท
*** กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินผู้ประกันตนสามารถขอรับค่าบริการทางการแพทย์ได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง



04.09.55

จำนวนลงทะเบียนรับ Refer

  • 2555       รวม 47,193 ราย
  • ธค.55         4,028
  • พย.55         4,388
  • ตค.55         4,555
  • กย.55         4,065
  • สค.55         3,754
  • กค.55         3,917
  • มิย.55         3,705
  • พค.55         4,195
  • เมย.55        3,497
  • มีค.55         4,107
  • กพ.55         3,591
  • มค.55         3,391
                2554 (เริ่ม เดือน เมย.54) รวม  34,232 ราย
  • ธค.54         2,576
  • พย.54         3,327
  • ตค.54         3,632
  • กย.54         4,201
  • สค.54         4,235
  • กค.54         3,955
  • มิย.54         4,573
  • พค.54         3,994
  • เมย.54        3,739   
        



04.09.55

ข้อมูลการรักษาพยาบาล




2552
2553
2554
1
  ผู้มารับบริการทั้งหมด
608,468
679,026
683,022
2
  ผู้มารับบริการเฉลี่ยต่อวัน
2,504
2,761
2,811
3
  จำนวนผู้ป่วยนอก (ครั้ง)
581,707
643,302
659,567
4
  จำนวนผู้ป่วยนอกเฉลี่ยต่อวัน
2,394
2,616
2,714
5
  จำนวนเตียง
855*
855*
855*
6
  จำนวนผู้ป่วยที่รับไว้
43,004
42,237
43,167
 
 
  ที่มา: ฝ่ายแผนงานและสารสนเทศ



ผู้ประกันตน ม. 40 ความคุ้มครองกับประกันสังคม



ความแน่นอนของชีวิตคือความไม่แน่นอน นับเป็นความจริงที่ยากต่อการหลีกเลี่ยง กอปรวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันมีการดำเนินชีวิตที่ตั้งอยู่บนความเสี่ยงตลอดเวลา โดยเฉพาะกลุ่มผู้หาเช้ากินค่ำ หรือแรงงานนอกระบบซึ่งทำมาหากิน กระจัดกระจายอยู่ทุกภาคส่วนของประเทศ

สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดโอกาสให้กับผู้ที่ไม่ได้ทำงานในสถานประกอบการ     หรือผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระทุกสาขาอาชีพ (แรงงานนอกระบบ) ที่มีอายุตั้งแต่ 15-60 ปี  สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนกับทางสำนักงานประกันสังคมได้ โดยให้รับสิทธิประโยชน์สอดคล้อง  กับจำนวนเงินสมทบที่ส่งเพื่อให้ผู้ประกันตนสามารถมีหลักประกันในชีวิตหากเกิดกรณีฉุกเฉินขึ้นกับตน
ทั้งนี้ผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือกลุ่มแรงงานนอกระบบที่สนใจเข้าสู่ระบบประกันสังคมสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 40 ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2554  ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ ผู้แทนเครือข่าย เช่น อาสาสมัครแรงงาน (อสร.), อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) โดยเอกสารในการสมัคร ใช้สำเนาบัตรประชาชน   และกรอกแบบการขึ้นทะเบียนการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 (สปส.1-40)
ซึ่งการจ่ายเงินสมทบสามารถเลือกได้  2  ทางเลือกคือ

ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท (ผู้ประกันตนจ่าย 70 บาท รัฐบาลอุดหนุน 30 บาท) ได้รับสิทธิประโยชน์ 3 กรณี คือ

1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย (การรักษาพยาบาลสามารถใช้สิทธิบัตรทอง  ได้เช่นเดิม) ซึ่งทางสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อผู้ประกันตน   ต้องนอนพักที่โรงพยาบาลตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป ได้รับเงินค่าชดเชย 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 20 วัน/ปี

2. กรณีทุพพลภาพ (การรักษาพยาบาลกรณีทุพพลภาพสามารถใช้สิทธิบัตรทองได้เช่นเดิม)  ซึ่งทางสำนักงานประกันสังคมจะให้เงินทดแทนการทุพพลภาพ  15 ปี โดยจ่ายเป็นรายเดือน

3. กรณีเสียชีวิต สำนักงานประกันสังคมจะให้เงินค่าจัดการศพ จำนวน 20,000 บาท

ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 150 บาท (ผู้ประกันตนจ่าย 100 บาท รัฐบาลอุดหนุน  50 บาท) ได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับทางเลือกที่ 1 และเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีบำเหน็จชราภาพอีก 1 กรณี

ทั้งนี้ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบตามทางเลือกที่ 2 สามารถจ่ายเงินสมทบกรณีบำเหน็จ    ชราภาพ เพิ่มขึ้นได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท สำหรับการจ่ายเงินสมทบผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จะต้องจ่ายเงินสมทบเดือนละ 1 ครั้ง และจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าได้ครั้งละไม่เกิน 12 เดือน  แต่ไม่สามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้
http://newzone.sso.go.th/newsdetail-%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%A1.40%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87-1.aspx

บัตรทองสำหรับผู้พิการ (ท.74)

บัตรทองผู้พิการ  คือ บัตรทองที่ระบุสิทธิย่อย  ท74XXXXXXXX  หรือบัตรทองที่ระบุ     ท00XXXXXXXX (ผู้พิการซึ่งเป็นบัตรทองแบบเก่า)  จะได้รับสิทธิเพิ่มเติมสำหรับผู้พิการ  ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าด้วย

ข้อดี ของบัตรทองผู้พิการ (ท.74)1.  สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐได้ทุกแห่งโดยไม่ต้องมีใบส่งต่อ
2.  สามารถเข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งในและนอกหน่วยบริการของรัฐอีกทั้งยังได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยตามประเภทพิการ
สิทธิของผู้พิการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า         1. สิทธิประโยชน์หลัก  ได้แก่  บริการขั้นพื้นฐานทางการแพทย์  หมายความรวมถึง  บริการส่งเสริมสุขภาพ  การควบคุมโรค  การป้องกันโรค  การตรวจ  การวินิจฉัยและการรักษาพยาบาล  โดยสามารถรับบริการได้ที่  สถานีอนามัย  ศูนย์บริการสาธารณสุข  โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง และโรงพยาบาลเอกชนที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
         2.  สิทธิเฉพาะสำหรับผู้พิการ  ได้แก่  สิทธิได้รับการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งในและนอกหน่วยบริการ  ได้แก่  กายภาพบำบัด  กิจกรรมบำบัด  การฟื้นฟูการได้ยิน  การฟื้นฟูการเห็น  การรับอุปกรณ์เครื่องช่วยตามประเภทความพิการ  และการพัฒนาศักยภาพในรูปแบบอื่นๆ

บัตรทองคนพิการ  ใช้หลักฐานอะไรบ้าง-  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี  ใช้สำเนาสูติบัตรหรือใบเกิด)
-  สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้พิการมีชื่ออยู่
-  สมุดประจำตัวผู้พิการหรือเอกสารรับรองความพิการจากหน่วยบริการ
-  กรณีพักอาศัยอยู่จริงไม่ตรงตามทะเบียนบ้านให้เพิ่มเติมสำเนาทะเบียนบ้านที่ไปพักอาศัย ซึ่งมีลายมือชื่อเจ้าของบ้านหรือหนังสือรับรองของผู้นำชุมชนรับรองว่าได้พักอาศัยอยู่จริง

กรณีมีบัตรทองเดิมอยู่แล้ว  จำเป็นต้องทำบัตรทองผู้พิการใหม่หรือไม่
            ผู้พิการที่มีบัตรทองอยู่เดิมแล้ว  ที่ไม่ได้ระบุสิทธิย่อย ท.74  ควรเข้ารับการตรวจประเมินความพิการ  ณ  หน่วยบริการของรัฐ  เพื่อให้ออกเอกสารรับรองความพิการและนำมาประกอบการลงทะเบียนทำบัตรทองผู้พิการ  เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพิ่มเติม
บัตรทองผู้พิการ (ท.74)
บัตรทองสำหรับผู้พิการ (ท.74)
บัตรทองผู้พิการ  คือ บัตรทองที่ระบุสิทธิย่อย  ท74XXXXXXXX  หรือบัตรทองที่ระบุ     ท00XXXXXXXX (ผู้พิการซึ่งเป็นบัตรทองแบบเก่า)  จะได้รับสิทธิเพิ่มเติมสำหรับผู้พิการ  ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าด้วย

ข้อดี ของบัตรทองผู้พิการ (ท.74)1.  สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐได้ทุกแห่งโดยไม่ต้องมีใบส่งต่อ
2.  สามารถเข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งในและนอกหน่วยบริการของรัฐอีกทั้งยังได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยตามประเภทพิการ
สิทธิของผู้พิการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า         1. สิทธิประโยชน์หลัก  ได้แก่  บริการขั้นพื้นฐานทางการแพทย์  หมายความรวมถึง  บริการส่งเสริมสุขภาพ  การควบคุมโรค  การป้องกันโรค  การตรวจ  การวินิจฉัยและการรักษาพยาบาล  โดยสามารถรับบริการได้ที่  สถานีอนามัย  ศูนย์บริการสาธารณสุข  โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง และโรงพยาบาลเอกชนที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
         2.  สิทธิเฉพาะสำหรับผู้พิการ  ได้แก่  สิทธิได้รับการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งในและนอกหน่วยบริการ  ได้แก่  กายภาพบำบัด  กิจกรรมบำบัด  การฟื้นฟูการได้ยิน  การฟื้นฟูการเห็น  การรับอุปกรณ์เครื่องช่วยตามประเภทความพิการ  และการพัฒนาศักยภาพในรูปแบบอื่นๆ

บัตรทองคนพิการ  ใช้หลักฐานอะไรบ้าง-  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี  ใช้สำเนาสูติบัตรหรือใบเกิด)
-  สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้พิการมีชื่ออยู่
-  สมุดประจำตัวผู้พิการหรือเอกสารรับรองความพิการจากหน่วยบริการ
-  กรณีพักอาศัยอยู่จริงไม่ตรงตามทะเบียนบ้านให้เพิ่มเติมสำเนาทะเบียนบ้านที่ไปพักอาศัย ซึ่งมีลายมือชื่อเจ้าของบ้านหรือหนังสือรับรองของผู้นำชุมชนรับรองว่าได้พักอาศัยอยู่จริง

กรณีมีบัตรทองเดิมอยู่แล้ว  จำเป็นต้องทำบัตรทองผู้พิการใหม่หรือไม่
            ผู้พิการที่มีบัตรทองอยู่เดิมแล้ว  ที่ไม่ได้ระบุสิทธิย่อย ท.74  ควรเข้ารับการตรวจประเมินความพิการ  ณ  หน่วยบริการของรัฐ  เพื่อให้ออกเอกสารรับรองความพิการและนำมาประกอบการลงทะเบียนทำบัตรทองผู้พิการ  เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพิ่มเติม
http://www.jvkorat.go.th/newsite/index.php?option=com_content&view=article&id=15&Itemid=11