"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

การใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้านอกเขตและต่างจังหวัด

กรณีบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้านอกเขตและต่างจังหวัด หลักฐานประกอบการใช้สิทธิทุกครั้งที่มาตรวจรักษาที่โรงพยาบาลราชบุรี

  • บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมถ่ายสำเนา 1 ฉบับ (กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้าน)
  • หนังสือส่งตัวจากโรงพยาบาลเจ้าของบัตรและประทับตรา ให้เรียกเก็บ พร้อมถ่ายสำเนา 1 ฉบับ
สิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
กรณีการคลอดบุตร สามารถใช้สิทธิเข้ารับบริการคลอดบุตรได้ 2 ครั้ง โดยนับกรณีคลอดแล้วออกมามีชีวิต (โดยนับการใช้สิทธิ ตั้งแต่ 19 พฤศจิกายน 2545 เป็นต้นไป ) ส่วนกรณีการฝากครรภ์สามารถใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยเข้ารับบริการที่รพ.ตามสิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า
กรณีคลอดบุตรคนที่ 3 ขอหลักฐานสูติบัตรหรือทะเบียนบ้านของบุตรที่เกิดร่วมมารดา เพื่อตรวจสอบ
กรณีประสบอุบัติเหตุ จากรถที่มีประกันภัย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ผู้ป่วยจะได้รับการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถไม่เกิน 15,000 บาท โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด
กรณี ที่รถไม่ได้ต่อพ.ร.บ.(พ.ร.บ.รถขาด) ผู้ป่วยจะต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลในวงเงิน 15,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลส่วนที่เกิน 15,000 บาท หากเป็นผู้มีสิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า สามารถใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ต่อได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ทางโทรศัพท์สายด่วนบัตรทอง โทร.1330

           คนไทยทุกเพศทุกวัย ยกเว้นที่ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลของรัฐ หรือกองทุนประกันสังคม นำหลักฐานต่อไปนี้มาสมัครขอขึ้น ทะเบียนบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ติดต่อฝ่ายประกันสุขภาพ (ห้องเบอร์ 29) วันเวลาราชการ (วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น.)
                                                                     ที่มา:ฝ่ายประกันสุขภาพ รพ.ราชบุรี

สิทธิบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว

ขั้นตอนการใช้สิทธิ   
1. ใช้สิทธิที่โรงพยาบาลตามที่ระบุตามบัตร
2. กรณีอุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ใช้สิทธิโรงพยาบาลอื่นไม่ได้ (ยกเว้นโรงพยาบาลตามบัตรรับผิดชอบ
3. ใบส่งต่อ (กรณีบัตรโรงพยาบาลอื่น)
  
เอกสารประกอบแสดงการใช้สิทธิ 
1. บัตรสุขภาพแรงงานต่างด้าว
2. เอกสาร ทร 38/1 หรือ บัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าว

 สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
1. การตรวจรักษาโรคและฟื้นฟูสภาพทั่วไป
การตรวจวินิจฉัยบำบัดรักษารวมทั้งการดูแลทารกแรกเกิดตั้งแต่วันคลอดจนถึงอายุ 28 วัน การฟื้นฟูสภาพทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษา ตลอดจนการแพทย์ทางเลือกที่ผ่านการรับรองของคณะกรรมการประกอบโรคศิลปะ
การถอนฟัน (รวมถึงการผ่าหรือถอนฟันคุด) การอุดฟัน การขูดหินปูน
บริการอาหารและห้องผู้ป่วยสามัญ
ยาและเวชภัณฑ์ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ
การจัดส่งต่อเพื่อการรักษาระหว่างสถานพยาบาล
2. บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรคที่ได้รับการคุ้มครอง
การจัดให้มีและใช้สมุดบันทึกสุขภาพประจำตัวในการดูแลสุขภาพแต่ละบุคคลอย่างต่อเนื่อง
การตรวจและดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ตลอดจนการให้บริการ ดูแลหลังคลอด
การตรวจสุขภาพกลุ่มเสี่ยง
การให้ยาต้านไวรัสเอดส์ กรณีเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากแม่สู่ลูก
การวางแผนครอบครัว
การเยี่ยมบ้าน (Home Visit) และการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home Health Care)
การให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้รับบริการในระดับบุคคลและครอบครัว
การให้คำปรึกษา (Couseling) สนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ
การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก แนะนำด้านทันตสุขภาพ การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ
- การควบคุมป้องกันโรค  

สิทธิประโยชน์ที่ไม่คุ้มครอง
1. โรคจิต
2. การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
3. ผู้ประสบภัยจากรถที่สามารถใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
4. ผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานที่สามารถใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537
5. การรักษาภาวะมีบุตรยาก
6. การผสมเทียม
7. การผ่าตัดแปลงเพศ
8. การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงาม โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
9. การตรวจ วินิจฉัย และรักษาใดๆ ที่เกินความจำเป็นและข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
10. โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยในเกิน 180 วันยกเว้นหากมีความจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
11. การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง
12. การรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยการล้างไต (Peritoneal Dialysis) และการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Haemodialysis)
13. ยาต้านไวรัสเอดส์ ยกเว้น กรณีเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากแม่สู่ลูก
14. การเปลี่ยนอวัยวะ (Organ Transplant)
15.การทำฟันปลอม


                                                                                                 ที่มา:ฝ่ายประกันสุขภาพ รพ.ราชบุรี
 

คุณรู้หรือไม่ว่า ทำไมหมอถึงหวงเวชระเบียน (ประวัติคนไข้)?

ผมขอตอบในฐานะที่ผมเป็นบุคลากรทางการแพทย์นะครับ .......
สำหรับเวชระเบียนผู้ป่วยนั้นเป็นความลับของผู่ป่วยครับ ( ถือว่าเป็นสมบัติของผู้ป่วยครับ ) โรงพยาบาลจะมอบให้กับบุคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาติไม่ได้ครับ เพราะหากประวัติผูป่วยถูกเปิดเผย เช่น ผู้ป่วยเป็น HIV ทางโรงพยาบาลจะโดนฟ้องแน่นอนครับ แต่หากตัวผู้ป่วยขอเองนั้นทางโรงพยาบาลก็ไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธครับ  สำหรับการแก้เวชระเบียนนั้นหมอคงไม่เขียนความผิดของตนเองไว้ในเวชระเบียนหรอกครับ ส่วนไหญ่การรักษาของแพทย์ก็จะทำเต็มที่แล้ว ไม่มีหมอคนไหนอยากเห็นผู้ป่วยตายหรือได้รับอันตรายหรอกครับ หมอทุกคนต่าก็ต้องดูแลผู้ป่วยเท่าที่ทำได้  แต่ก้อย่างที่บอก หมอก็เป็นแค่คนธรรมดาที่อาจผิดพลาดได้เหมือนบุคลอื่น ๆ แต่ความผิดพลาดของหมอมันเกี่ยวข้องกับชีวิตคนแค่นั้นเองครับหากเป็นอาชีพอื่นคงไม่เป็นไร ( ปัจจุบันมีหมอประมาณ 40000 คน แต่ประชาชน 61 ล้านคน)
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=4adececaaa62f534&pli=1