งานเวชระเบียนนั้นเกี่ยวข้องกับการพัฒนา
การใช้และการเก็บรักษาข้อมูลทางการแพทย์ อันได้แก่ ข้อมูลทางด้านการรักษา
และข้อมูลสถานะสุขภาพต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย การบริหารจัดการ
และเพื่ออ้างอิงในการศึกษาวิจัยของนักวิชาการ เวชระเบียนที่ดีแสดงถึงคุณภาพการรักษาและบริการที่ดีด้วย
และเพื่อการรับรองคุณภาพดังกล่าวนักเวชระเบียนควรมีบัญญัติพื้นฐานเพื่อการปฏิบัติสำหรับสมาชิกผู้ประกอบวิชาชีพเวชระเบียน ดังนั้นสมาคมเวชระเบียนแห่งสหรัฐอเมริกาจึงได้กำหนด
จรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเวชระเบียน ขึ้นมา
ประมวลจรรยาบรรณดังกล่าวข้างต้น เป็นหลักปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายในวิชาชีพเวชระเบียน ซึ่งจะมีผลผูกพันต่อผู้ที่เป็นสมาชิกของสมาคมเวชระเบียนแห่งสหรัฐอเมริกาและบุคคลอื่นๆ ซึ่งได้รับการรับรองจากสมาคมนี้ หลักจรรยาบรรณดังกล่าวประกอบด้วย
1.
บริการย่อมมาก่อนผลประโยชน์อื่นใด
มีความซื่อสัตย์สุจริตในวิชาชีพโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนตัว
ให้ความสนใจต่อผู้ป่วย (ลูกค้า)
โดยเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติเพื่อนำชื่อเสียงเกียรติคุณมาสู่ตนเอง
สู่สมาคม และสู่วิชาชีพเวชระเบียน
2.
เก็บรักษาเวชระเบียนที่อยู่ในความดูแลของตนโดยถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล
(ความลับ) โดยไม่มีการเปิดเผยหรือทำลาย นอกจากจะเป็นไปตาม กฎระเบียบ อายุความ
หรือนโยบายของผู้บริหาร
3.
ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้บังคับบัญชา (นายจ้าง) มอบหมาย
ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. หลีกเลี่ยงการกระทำ
หรือการปกปิดการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อจริยธรรมอันดี
5.
เปิดเผยข้อมูลในเวชระเบียนต่อผู้เป็นเจ้าของเวชระเบียนโดยตรง
(ตัวผู้ป่วย) ไม่เปิดเผยข้อมูลในเวชระเบียนโดยไม่จำเป็น
ยกเว้นจะเป็นการใช้เพื่อเป็นหลักฐานตามกฎหมาย หรือเป็นไปตามกฎระเบียบอื่น ๆ
6.
รักษากฎระเบียบต่าง ๆ
ที่กำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการเวชระเบียนอย่างเคร่งครัด
7.
ยอมรับเงินค่าบริการต่าง ๆ เฉพาะที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
หรือตามธรรมเนียมปฏิบัติ ซึ่งตนควรจะได้ตามหน้าที่
8.
หลีกเลี่ยงการก้าวก่ายการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลอื่น
และไม่แสดงอำนาจการตัดสินใจที่นอกเหนือขอบเขตที่ตนเองรับผิดชอบอยู่
9.
พยายามแสวงหาความรู้เพิ่มเติม หมั่นฝึกฝนและพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา
เพื่อการบริการทางสาธารณสุขที่ดีมีสุขภาพ
10.
มีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากร และเสริมสร้างความเข้มแข็งในวิชาชีพ
ตลอดจนการเผยแพร่สาขาวิชาชีพเวชระเบียนให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณะ
11. ในฐานะเจ้าหน้าที่เวชระเบียนจะต้องเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล (ความลับ)
ของผู้ป่วย และเผยแพร่ข้อมูลขององค์กรในลักษณะภาพรวมทั้งหมด
12.
บอกกล่าวความจริงอย่างละเอียดเกี่ยวกับการศึกษา ประสบการณ์ต่าง ๆ
ของตนต่อผู้บังคับบัญชา (นายจ้าง) หรือว่าที่นายจ้างในอนาคต
ที่มา :
ชมรมเวชระเบียนและสถิติแห่งประเทศไทย
09.10.58