"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

โรงพยาบาลราชบุรีจะทำลายประวัติผู้ป่วย ปี พ.ศ.2551


 นายคงศักดิ์ สรรพอุดม นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลราชบุรี เปิดเผยว่า โรงพยาบาลราชบุรี จะทำลายเอกสารเวชระเบียนผู้ป่วยนอก ปี พ.ศ.2551 จำนวน 41,184 ราย และเวชระเบียนผู้ป่วยใน ปี พ.ศ.2551 เลขที่ HN 0000001-0045406 จำนวน 45,405 ราย ที่ขาดการรักษาเกิน 5 ปี ของงานเวชระเบียน ฝ่ายสารสนเทศ ซึ่งโรงพยาบาลราชบุรีจะดำเนินการทำลายเอกสารดังกล่าว ภายในเดือนตุลาคม 2556

                  ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและประสงค์จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลในเวชระเบียนดังกล่าว ทราบและแจ้งความประสงค์ได้ที่นางดวงใจ ผาโพธิ์ หัวหน้างานเวชระเบียน ฝ่ายสารสนเทศ โทรศัพท์หมายเลข 032-719600 ต่อ 1172 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2556 ในเวลาราชการ หากพ้นกำหนดนี้โรงพยาบาลจะดำเนินการทำลายตามระเบียบ/ชุติมา แจ้งดอนไพร ข่าว

ข้อแนะนำสำหรับการเตรียมตัวก่อนเจาะเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการ


การวินิจฉัยโรคในปัจจุบันเมื่อท่านไปพบแพทย์หรือไปโรงพยาบาล แพทย์จะสั่งตรวจเลือดเสมอ การตรวจเลือดนั้นสามารถแยกย่อยไปสู่การตรวจประเภทต่างๆ เช่น การตรวจไขมัน ระดับน้ำตาล ตรวจหน้าที่ตับ ไต ตรวจฮอร์โมน ตรวจเชื้อ ไวรัส และอื่นๆ อีกมากมาย มากกว่า 100 รายการ การเตรียมตัวเพื่อไปเจาะเลือดจึงมีความสำคัญ ข้อแนะนำสำหรับการเจาะเลือดมี 8 ประการดังนี้
1.ควรงดอาหารและเครื่องดื่ม 8 ชั่วโมง สำหรับการตรวจน้ำตาลงด 12 ชั่วโมง สำหรับการตรวจไขมัน (สามารถดื่มน้ำเปล่าได้)
2.กรณีตรวจสุขภาพ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรดื่มสุราหรือมีความเครียดในช่วงที่จะทำการตรวจสุขภาพ กรณีใช้ยาควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะยาบางชนิดอาจรบกวนการทดสอบได้
3.กรณีตรวจเพื่อทำประกันชีวิต จะต้องเตรียมบัตรประชาชนและเอกสารของทางบริษัทประกันมาให้ครบถ้วน (เป็นขั้นตอนที่กำหนดตามระเบียบของบริษัทประกัน)
4.การตรวจเอดส์ จะต้องผ่านการให้คำปรึกษาจากทีมแพทย์/พยาบาล ทั้งก่อนเก็บตัวอย่างและเมื่อทราบผลการตรวจ พร้อมทั้งเซ็นใบยินยอมรับการตรวจ
5.ควรใส่เสื้อแขนสั้นหรือเสื้อที่ดึงได้มาถึงข้อพับ หากแขนเสื้อรัด อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเขียวช้ำ
6.หลังเจาะเลือด ควรกดแผลที่เจาะเลือดไว้ประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้เลือดหยุดไหล ไม่ควรแกว่งแขน หรือใช้แขนนั้นถือของหนัก ระวังไม่ให้แขนเสื้อรัดแขนบริเวณที่เจาะ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการเขียวช้ำ
7.หากมีอาการหน้ามืด วิงเวียน ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ และนั่งพักสักครู่ ไม่ควรลุกขึ้นทันที
8.หากมีอาการเขียวช้ำที่บริเวณที่เจาะเลือด ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบในวันแรกเพื่อบรรเทาอาการ และใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบในวันต่อมา เพื่อให้หายจากอาการเขียวเร็วขึ้น
เข็มที่ใช้ในการเจาะเลือดเป็นเข็มชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง
หากเกิดอาการเขียวช้ำไม่ต้องตกใจ!
1.วันแรกใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบบริเวณที่เจาะ
2.วันต่อมาใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบ อาการเขียวจะค่อยๆ จางลงภายใน 2-3 วัน
อาการเขียวช้ำ : เกิดจากมีเลือดซึมใต้ผิวหนัง ซึ่งอาจเกิดได้จากการที่เลือดยังไม่หยุดไหลดีภายหลังการเจาะเลือด จากสาเหตุ
- การไม่กดบริเวณที่เจาะ
- การออกแรง เช่น หิ้วของ
- เส้นเลือดเปราะหรือแตกง่าย
น.พ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์

หนังสือมอบอำนาจ