"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

การขอทำบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า

  1. ประชาชนผู้มีสิทธิ ให้นําสําเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจําตัวประชาชนหรือหลักฐานของราชการที่ใช้แทนบัตรดังกล่าว ไปลงทะเบียน ณ สถานบริการที่เขาบัตรทองร่วมโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเขตที่อาศัยอยู่ได้แก่สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุขในเขตกทม.หรือโรงพยาบาล
  2. ให้ประชาชนกรอกแบบคําร้องขอลงทะเบียนสถานบริการประจําพร้อมเซ็นชื่อในแบบคําร้องด้วยตนเอง ยกเว้นกรณีเด็กหรือคนชราที่ไม่สามารถเดินทางมาขึ้นทะเบียนด้วยตนเองอนุโลมให้สามารถมอบอํานาจให้ผู้ดูแลเป็นผู้ทําการขึ้นทะเบียนแทนได้
  3. ให้สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุขในเขตกทม. หรือสถานบริการที่รับขึ้นทะเบียนสอบถามผู้ขอลงทะเบียนเกี่ยวกับสถานะของการทํางาน เพื่อป้องกันการขึ้นทะเบียนซ้ำซ้อนกับสิทธิในกองทุนอื่น จากนั้น จะต้องตรวจสอบหลักฐานการลงทะเบียนและบันทึกใบคําร้องการขอลงทะเบียนให้เรียบร้อย แล้วจึงส่งข้อมูลคําขอลงทะเบียนไปยังสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดซึ่งทําหน้าที่เป็นสํานักงานสาขา

กรณีประชาชนที่อยู่ในระหว่างการรับการรักษาในโรงพยาบาล (Admission) ไม่ให้มีการย้ายหน่วยบริการหลัก เนื่องจากจะมีปัญหาในการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์หากประชาชนมีความประสงค์จะขอย้ายหน่วยบริการหลัก ให้ดําเนินการได้หลังจากได้รับการจําหน่ายออกจากโรงพยาบาลแล้วเท่านั้น


เอกสารประกอบการขึ้นทะเบียนผู้มีสิทธิ์ แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. ผู้ที่อาศัยอยู่จริงตามทะเบียนบ้าน ผู้ที่ขอขึ้นทะเบียนบัตรประกันสุขภาพจะต้องไปแจ้งทําบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าในสถานบริการในเขตพื้นที่ที่อาศัยอยู่โดยใช้หลักฐาน คือ

       สำเนาทะเบียนบ้าน
       บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา

2. กรณีย้ายที่อยู่
2.1 กรณีย้ายที่อยู่และได้ย้ายทะเบียนบ้านตรงกับที่อยู่จริง
ผู้ที่ย้ายทะเบียนบ้านออกจากพื้นที่เดิม ต้องไปแจ้งทําบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าใหม่ในสถานบริการในเขตพื้นที่ย้ายไปอยู่โดยใช้หลักฐาน คือ
      บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า(เดิม)
      สำเนาทะเบียนบ้านใหม่
      บัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนา

ซึ่งเจ้าหน้าที่จะยึดบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (เดิม)ไว้และพิมพ์บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าใหม่ให้

2.2 กรณีย้ายที่อยู่แต่ยังไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านให้ตรงกับที่อยู่จริง
2.2.1 กรณีที่มาอาศัยอยู่ในบ้านที่มีทะเบียนบ้านให้ขึ้นทะเบียน และออกบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ตามพื้นที่อาศัยอยู่จริง โดยใช้หลักฐานคือ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (เดิม)
      บัตรประชาชนผู้ขอใช้สิทธิ หรือสำเนา
      สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมลายมือชื่อรับรองของเจ้าบ้านที่มาอาศัยอยู่
      กรณีที่เป็นการเช่าอาศัย ให้นำสัญยาการเช่าที่อยู่อาศัย เช่น สัญยาเช่าบ้านหรือคอนโดหรือแฟลต
      มาประกอบการขึ้นทะเบียน
2.2.2 กรณีที่มาอยู่อาศัยในบ้านที่ไม่มีทะเบียนบ้าน ให้ขึ้นทะเบียนและอกกบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้ ตามพื้นที่ที่อาศัยอยู่จริง โดยใช้หลักฐานคือ
      บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (เดิม)
      บัตรประชาชนผู้ขอใช้สิทธิ หรือสำเนา
      สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมลายมือชื่อรับรองของผู้นำชุมชน หรือ นายจ้าง

ข้อแนะนำเพิ่มเติม
1. กรณีที่บุคคลไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านและ/หรือไม่มีบัตรประจําตัวประชาชน
1.1  กรณีมีชื่อในทะเบียนบ้าน แต่ไม่มีบัตรประจําตัวประชาชน ให้ไปติดต่อทําบัตร
ประจําตัวประชาชน ณ ที่ว่าการอําเภอ / สํานักงานเขตตามทะเบียนบ้าน ดังนี้
       กรณีที่ทำบัตรครั้งแรก ให้ใช้สูติบัตรเป็นหลักฐานประกอบการยื่นคำขอทำบัตรประจำตัวประชาชน

       กรณีบัตรประจำตัวประชาชนหาย ให้นำทะเบียนบ้าตัวจริงไปดำเนินการ
       ทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตได้เลย โดยไม่ต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจเหมือนก่อ
1.2    กรณีมีบัตรประจําตัวประชาชนแต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านให้นําหลักฐาน เช่น สูติบัตร ทะเบียนบ้านและใช้พยานบุคคล เช่น บิดา มารดา กํานัน ผู้ใหญ่บ้านหรือ บุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น ข้าราชการสัญญาบัตร ฯลฯ ไปติดต่อขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ณ ที่ว่าการอําเภอ / สํานักงานเขตตามทะเบียนบ้าน

1.3    กรณีมีสัญชาติไทย แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน, ไม่มีบัตรประชาชน ให้ติดต่อขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านและทําบัตรประจําตัวประชาชนได้ ณ ที่ว่าการอําเภอ / สำนักงานเขต

กรณีบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าหายให้นำบัตรประชาชนไปดำเนินการทำบัตรใหม่ ณ สถานบริการที่เคยขึ้นทะเบียนไว้เดิม



http://www.thaikidneyclub.org/home/index.php?option=com_content&view=article&id=57:2009-07-04-05-42-59&catid=40:2009-06-27-16-46-00&Itemid=53


05.06.56

ทำอย่างไรถึงได้สิทธิหลักประกันสุขภาพ

ทำอย่างไรถึงได้สิทธิหลักประกันสุขภาพ
ต่างจังหวัด ติดต่อลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพได้ที่
  • สถานีอนามัย (วัน - เวลาราชการ)
  • โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน (วัน - เวลาราชการ)
  • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (วัน - เวลาราชการ)
กรุงเทพมหานคร ติดต่อลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพได้ที่
  • สำนักงานเขตที่อยู่ใกล้บ้าน เปิดให้บริการในวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.00 น.
ใช้หลักฐานอะไรบ้าง
  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า15ปี ใช้สำเนาสูติบัตร (ใบเกิด)
  2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่
  3. แบบคำร้องลงทะเบียนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ/ขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ (>>ดาวน์โหลด<<)
กรณีพักอาศัยไม่ตรงตามทะเบียนบ้าน ให้แสดงหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
  1. สำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่ตนไปพักอาศัยอยู่ พร้อมหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน
  2. หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน ซึ่งรับรองว่าผู้ขอลงทะเบียนได้พักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ
  3. หนังสือรับรองของผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง
  4. เอกสารหรือหลักฐานอื่น เช่น สัญญาเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำ ใบเสร็จรับเงินค่าโทรศัพท์บ้าน ฯลฯ ที่แสดงว่าผู้ขอลงทะเบียนได้พักอาศัยอยู่ในพื้นที่





05.06.56

การแจ้งย้ายที่อยู่

การย้ายที่อยู่ ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายที่อยู่ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง (พิจารณาจากทะเบียนบ้านว่าได้มีการระบุให้ผู้ใดเป็นเจ้าบ้าน) ผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่ออกจากบ้าน ให้แจ้งการย้ายออกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้านย้ายออก หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การย้ายออก
กรณีเจ้าบ้านมาดำเนินการด้วยตนเอง
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน (หรือบัตรประจำตัวข้าราชการฯ หนักงานองค์การของรัฐ)
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
กรณีได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน 
- ผู้ได้รับมอบหมายมีชื่อในทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัว หรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวของเจ้าบ้านในฐานะผู้มอบหมายและให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ในสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวฯ
- บัตรประจำตัวผู้แจ้งในฐานะผู้ที่ได้รับมอบหมาย
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
ผู้ที่ได้รับมอบหมายไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
- นอกจากหลักฐานตามข้อ 1. แล้วจะต้องมีหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (ไม่มีแบบพิมพ์) ปรากฎข้อความชัดเจนว่าได้มอบหมายให้มาแจ้งย้ายที่อยู่แทน

การแจ้งย้ายออกโดยไม่ทราบที่อยู่ (ย้ายเข้าทะเบียนบ้านกลางของเขต)
เจ้าบ้านไม่ทราบว่าผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นใครหรือไปอยู่ที่ใด ให้แจ้งการย้ายออกภายใน 30 วัน นับแต่วันครบ 180 วันโดยไม่ทราบที่อยู่ โดยใช้หลักฐาน
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวหรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
-ในฐานะผู้มอบหมายและให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ในสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวและบัตรประจำตัวผู้แจ้ง กรณีได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านให้มาดำเนินการแทน

การย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง
ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านถูกย้ายโดยไม่ทราบที่อยู่ (ถูกย้ายเข้าทะเบียนบ้านกลาง) ประสงค์ที่จะย้ายออก (ทะเบียนบ้านกลางมิใช่ทะเบียนบ้านแต่เป็นทะเบียน ที่ใช้สำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียน บ้านได้ บุคคลที่มีรายการในทะเบียนบ้านกลางไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคัดและให้นายทะเบียนรับรองสำเนารายการ เพื่อนำไปอ้างอิงหรือใช้สิทธิต่าง ๆ เหมือนทะเบียนบ้านได้)
กรณีผู้ร้อง (เจ้าตัว) มาดำเนินการเอง 
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการฯ หรือ พนักงานองค์การของรัฐ
- ถ้าบัตรประจำตัวประชาชนหาย ต้องมีใบแจ้งความและคัดสำเนาแจ้งความพร้อมทั้งหลักฐานอื่นที่มีรูปถ่ายมาแสดงด้วยอย่างใดอย่าง หนึ่ง เช่น
- ใบสุทธิ หรือใบ ร.บ. หรือปริญญาบัตร
- ใบอนุญาตขับขี่ฯ
- บัตรประจำตัวนักเรียน นิสิต นักศึกษา
- ส.ด.8, ส.ด.43
- หนังสือเดินทาง
กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเนินการย้าย
- หนังสือมอบหมายของผู้ประสงค์จะขอย้ายออก
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสงค์จะขอย้ายออก
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับมอบหมายให้มาดำเนินการย้ายออก

กรณีย้ายบุคคลที่ไม่บรรลุนิติภาวะ 
- สูติบัตร
- บิดา หรือมารดาจะต้องเป็นผู้ดำเนินการขอย้ายเองพร้อมทั้งต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนมาแสดงด้วย
-กรณีไม่ปรากฏตามที่กล่าว ต้องดำเนินการสอบปากคำผู้มาแจ้งย้ายด้วย
- กรณีบุคคลต่างด้าวขอย้ายออกจะต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมาแสดง

การย้ายออกของบุคคลที่เดินทางไปต่างประเทศ
- เช่นเดียวกับการย้ายออก กรณีที่บุคคลเดินทางกลับจากต่างประเทศ - ผู้ย้ายที่อยู่ไปต่างประเทศตามระเบียบเดิมได้นำใบแจ้งการย้ายที่ อยู่มาขอย้ายเข้า นายทะเบียนจะดำเนินการเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านที่ประสงค์จะย้ายเข้า หากเป็นใบแจ้งย้ายมีรหัสประจำตัว ประชาชนแล้ว นำใบแจ้งย้ายไปแจ้งย้ายเข้าในทะเบียนบ้านที่ประสงค์จะย้ายเข้าที่สำนักทะเบียนใดก็ได้ และหากเป็นใบแจ้งย้ายแบบเดิมที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน จะดำเนินการเพิ่มชื่อกรณีการใช้หลักฐานใบแจ้งย้ายที่อยู่แบบเดิม
- บัตรประจำตัว (ถ้ามี)
- หนังสือเดินทางที่มีตราประทับลงตราวีซ่าเข้ามาในประเทศไทย
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ย้ายไปต่างประเทศตามระเบียบเดิม) หากสูญหายจะต้องแจ้งความและคัดสำเนาแจ้งความเพื่อขอออกใบแทนใบ แจ้งย้ายและเพิ่มชื่อให้ กรณีเช่นนี้จะต้องมีการสอบปากคำเจ้าบ้านและผู้ร้อง

การย้ายเข้า 
- ผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วันนับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

กรณีเจ้าบ้านมาดำเนินการด้วยตนเอง 
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอนที่ 1 และ 2
กรณีได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
ผู้ได้รับมอบหมายมีชื่อในทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัว หรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวของเจ้าบ้านในฐานะผู้มอบหมายและให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ในสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัว
- บัตรประจำตัวผู้แจ้งในฐานะผู้ได้รับมอบหมาย
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอนที่ 1 และ 2
- ให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอน 1 และ 2 ตรงช่องเจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้า
ผู้ได้รับมอบหมายไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
- นอกจากหลักฐานตามข้อ 1 แล้ว จะต้องมีหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (ไม่มีแบบพิมพ์) ให้ปรากฏข้อความชัดเจนว่าได้มอบหมายให้มาแจ้งย้ายที่อยู่แทน

การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง
กฎหมายกำหนดให้ผู้ย้ายที่อยู่เป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ย้ายที่อยู่ หากมอบหมายแจ้งย้ายปลายทางจะต้องมี หนังสือมอบหมาย ปรากฎข้อความชัดเจนว่าบุคคลใดได้มอบหมายให้มาแจ้งการย้ายที่อยู่ปลายทางแทน และมอบหมายให้ย้ายที่อยู่บุคคลใดบ้าง ย้ายเข้าบ้านเลขที่ใด
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง 
- บัตรประจำตัวของผู้ประสงค์จะย้ายปลายทาง
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- คำยินยอมของเจ้าบ้านเป็นหนังสือ
-เ สียค่าธรรมเนียม 5 บาท

ใบแจ้งการย้ายที่อยู่สูญหายหรือชำรุดในสาระสำคัญ
กรณีสูญหาย ให้ผู้แจ้งดำเนินการแจ้งความและคัดสำเนาแจ้งความ กรณีชำรุด ผู้แจ้งจะต้องนำใบแจ้งการย้ายที่ชำรุดมาคืนด้วย หลักฐานประกอบการแจ้ง ได้แก่ บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง และสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

หมายเหตุ
การติดต่อฝ่ายทะเบียนทุกครั้ง อย่าลืม "สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน"

http://www.lawyerthai.com/articles/people/009.php



05.06.56

การแจ้งตาย

การแจ้งตาย คนตายในบ้าน
ให้เจ้าบ้านหรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีคนตาย ภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพแจ้ง

กรณีตายด้วยโรคหรือชราภาพ ใช้หลักฐาน
- หนังสือรับรองการตายจากแพทย์ ใบประกอบโรคศิลป์และบัตรประจำตัวของแพทย์ (กรณีมีแพทย์รักษาก่อนตาย)
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้านและผู้ได้รับมอบหมาย)

กรณีตายโดยผิดธรรมชาติ เช่น ถูกยิง ใช้หลักฐาน
- ให้ผู้แจ้งแจ้งต่อสถานีตำรวจ ท้องที่ที่มีคนตายภายใน 24 ชั่วโมง
- สถานีตำรวจจะส่งศพไปยังสถาบันนิติเวชวิทยา เพื่อหาสาเหตุการตาย และออกใบแจ้งการตายจากสถาบันฯ
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้านและผู้ได้รับมอบหมาย)
- ไม่แจ้งตายภายในกำหนด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท


กรณีตายในโรงพยาบาลใช้หลักฐาน
- บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
- หนังสือรับรองการตาย
- สำเนาทะเบียนบ้านที่มีคนตายมีชื่อ (คนในพื้นที่ตายในโรงพยาบาล)
- นำหลักฐานไปแจ้งการตายต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่โรงพยาบาลนั้นตั้งอยู่

คนตายนอกบ้าน
- ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีการตาย หรือพบศพแล้วแต่กรณีหรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ ภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย หรือเวลาพบศพ ในกรณีเช่นนี้จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจก็ได้
- บุคคลที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายแจ้งต่อนายทะเบียน หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจแห่งท้องที่ที่ตายหรือพบศพ หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ในโอกาสแรก
- แจ้งภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตายหรือพบศพ
- ไม่แจ้งภายในกำหนด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

การแจ้งตายเกินกำหนดเวลา 
หมายถึงการที่ไม่ได้แจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ
ให้ผู้มีหน้าที่แจ้งตายนำหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการตายไปแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตาย
- นายทะเบียนจะดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- นายทะเบียนจะสอบสวนพยานบุคคล เพื่อประกอบการพิจารณา รับแจ้งตายเกินกำหนด
การแจ้งตายในการประสบอุบัติเหต
- ให้ผู้ที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้พลศพ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายไปแจ้งการตายต่อนายทะเบียน หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจแห่งท้องที่ที่ตาย หรือพบศพก่อนหรือท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ในโอกาสแรกภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย หรือพบศพ เพื่อออกใบรับแจ้งไว้เป็นหลักฐาน
- นำศพส่งสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจเพื่อให้แพทย์ทำการตรวจพิสูจน์ศพถึงสาเหตุการตาย และออกใบแจ้งการตาย
- นำหลักฐานใบแจ้งการตาย และใบแจ้งการตายของสถาบันนิติเวชวิทยาโรงพยาบาลตำรวจไปแจ้งต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่พบศพ เพื่อประกอบหลักฐานออกใบมรณบัตร ต่อไป

การแจ้งตายในต่างประเทศ 
- กรณีคนไทยไปตายในต่างประเทศ ให้ผู้รู้เห็นการตายไปแจ้งตาย ณ สถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทย ณ ประเทศนั้น ๆ
- ในกรณีที่ซึ่งมีการตายไม่มีกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยประจำอยู่ให้ใช้หลักฐานการตายที่ออกโดยรัฐบาลของ ประเทศนั้น ๆ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้แปลและรับรองว่าถูกต้องเป็นหลักฐานมรณบัตรได้

การเก็บ ฝัง เผา ทำลาย และย้ายศพไปจากสถานที่หรือบ้านที่มีการตาย
เมื่อนายทะเบียนได้ออกบัตรให้กับผู้แจ้งไปแล้ว โดยได้กรอกข้อความลงในช่องจัดการศพโดย เก็บ ฝังหรือเผา ณ สถานที่ใดเมื่อใด ต่อมาต้องการจะเปลี่ยนแปลงใหม่ให้ดำเนินการดังนี้.
หากจะจัดการศพผิดไปจากที่ได้เคยแจ้งไว้ โดยมิได้ย้ายศพไปต่างท้องที่ ให้ผู้แจ้งดำเนินการดังนี้.
- ผู้แจ้งต้องนำมรณบัตร ตอนที่ 1 ไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง แห่งท้องที่ที่ศพนั้นตั้งอยู่
- นายทะเบียนผู้รับแจ้งจะสอบถามแล้วบันทึกการเปลี่ยนแปลงจากการเก็บ ฝังหรือเผา เป็นการเก็บ ฝังหรือเผา ที่วัดใด เมื่อใดไว้ด้านล่างมรณบัตรตอนที่ 1
หากจะทำการย้ายศพเพื่อจะไปเก็บ หรือฝังในสถานที่อื่น ๆ ซึ่งมิใช่สถานที่เดิมที่แจ้งไว้ในกรณีนี้ต้องดำเนินการดังนี้.
- ผู้แจ้งต้องนำมรณบัตรตอนที่ 1 ไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่
- นายทะเบียนผู้รับแจ้งสอบถามแล้วบันทึกการเปลี่ยนแปลงการอนุญาตให้ เก็บฝังจากสถานที่ใดไปสถานที่ใดเมื่อใด
- ผู้แจ้งต้องนำมรณบัตร ตอนที่ 1 ดังกล่าวไปแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่จะย้ายศพเข้าไปดำเนินการใหม่เพื่อให้นาย ทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ใหม่ได้สอบสวน และบันทึกการอนุญาตไว้ด้านล่าง มรณบัตร ตอนที่ 1 นั้น
- ถ้าเป็นกรณีที่มีข้อความอนุญาตหลายครั้งในฉบับเดียวกันให้ถือข้อความอนุญาตครั้งหลังสุดเป็นหลัก

การขอแก้ไขรายการในมรณบัตร 
- ให้ยื่นคำร้องขอแก้ไขต่อนายทะเบียนที่ผู้ร้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

http://www.lawyerthai.com/articles/people/009.php


05.06.56

การแจ้งเกิด

การแจ้งเกิด คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือมารดา (หรือผู้ได้รับมอบหมาย) แจ้งต่อนาย ทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดในบ้าน
แจ้งการเกิดภายใน 15 วันนับแต่วันเกิด ไม่แจ้งภายในกำหนดปรับไม่ เกิน 1,000 บาท โดยใช้หลักฐาน
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดา หรือผู้ได้รับมอบ หมาย
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดา หรือหนังสือมอบ หมายกรณีได้รับมอบหมาย

คนเกิดนอกบ้าน ให้บิดา หรือมารดา (หรือผู้ได้รับมอบหมาย) แจ้งต่อนาย ทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้าน หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้
แจ้งการเกิดภายใน 15 วันนับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ ตามกำหนดให้แจ้งภายหลังได้ แต่ต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันเกิด ไม่แจ้งภายในกำหนดปรับไม่เกิน 1,000 บาท

การแจ้งคนเกิดโรงพยาบาล เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านโรงพยาบาลซึ่งได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล หรือผู้ใดก็ตามที่มีชื่อเป็นเจ้าบ้านโรงพยาบาลนั้น เป็นผู้แจ้งการเกิดของเด็กในโรงพยาบาล ในกรณีไม่อาจแจ้งการเกิดด้วยตนเองได้ จะมอบหมายให้ผู้หนึ่งผู้ใดไปดำเนินการแจ้งการเกิดแทนก็ได้ เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการ เกิดและเพิ่มชื่อเด็กที่เกิดในทะเบียนบ้านของโรงพยาบาลแล้ว เจ้าบ้านโรงพยาบาล หรือผู้ได้รับมอบหมายจะแจ้งการย้ายที่อยู่ของเด็กที่เกิดออกจากโรงพยาบาลแล้วมอบสูติบัตร และใบแจ้งการย้ายที่อยู่ให้แก่ บิดา-มารดาเด็ก เพื่อนำไปแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้านที่ประสงค์จะย้ายเข้าต่อไป
การแจ้งเกิดเกินกำหนด 
- เปรียบเทียบคดีความผิด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยใช้หลักฐานดังนี้
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวฯ บิดา-มารดา (ถ้ามี)
- หนังสือรับรองการเกิด (ถ้ามี)
- สอบสวนผู้แจ้ง บิดา มารดา
- พยานแวดล้อมกรณี
- ฯลฯ

เด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กอ่อนซึ่งถูกทอดทิ้ง ผู้ใดพบเด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กอ่อนซึ่งถูกทอดทิ้งให้นำเด็กนั้นไปส่ง และแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์แห่งท้องที่ที่ตนพบเด็กนั้นโดยเร็ว
- เจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์ได้รับตัวเด็กไว้ แล้วแจ้งการมีคนเกิดต่อ นายทะเบียนผู้รับแจ้ง โดยใช้หลักฐานดังนี้
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของสถานสงเคราะห์และบันทึกการ รับตัวเด็ก
- สอบสวนผู้แจ้ง และผู้ปกครองสถานสงเคราะห์

การแจ้งเกิดในต่างประเทศ กรณีที่คนไทยเกิดในต่างประเทศ บิดา-มารดาจะต้องแจ้งการเกิดของบุตรต่อ กงสุลไทยหรือเจ้าหน้าที่สถานทูตไทย ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ณ ประเทศนั้น ๆ ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด เมื่อได้รับการแจ้งเกิดแล้วเจ้าหน้าที่สถานกงสุล หรือสถานทูตไทยจะออกสูติบัตรให้บิดา-มารดาเด็ก เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานในการทำหนังสือเดินทางสำหรับเด็กเพื่อเดินทางกลับ ประเทศไทย ในกรณีที่ประเทศนั้นไม่มีกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยประจำอยู่ ให้ใช้หลักฐานการเกิดที่ออกโดยรัฐบาลประเทศนั้น ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้แปลและรับรองว่าถูกต้องเป็นหลักฐานสูติบัตรได้
การแก้ไขรายการในสูติบัตร
ให้ยื่นคำร้องขอแก้ไขต่อนายทะเบียน ที่ผู้เกิดมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน  http://www.lawyerthai.com/articles/people/009.php


05.06.56

ประวัติผู้ป่วย ( medical history)

 คือข้อมูลที่แพทย์ได้จากผู้ป่วยด้วยการถามคำถามเฉพาะ โดยผู้ให้ประวัติอาจเป็นผู้ป่วยเองหรือผู้อื่นที่สามารถให้ข้อมูลได้ก็ได้ จุดประสงค์ของการเก็บข้อมูลเหล่านี้คือเพื่อใช้สร้างคำวินิจฉัยที่จะนำไปสู่แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยที่เหมาะสม ข้อมูลที่ได้จากผู้ป่วยหรือผู้ใกล้ชิดเหล่านี้เรียกว่าอาการ (symptom) ซึ่งแตกต่างจากอาการแสดง (sign) โดยที่อาการแสดงนั้นจะเป็นสิ่งที่ได้จากการตรวจโดยบุคลากรทางการแพทย์ การเข้ารับบริการทางสาธารณสุขส่วนใหญ่จะมีขั้นตอนของการซักประวัติเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการเสมอ ประวัติผู้ป่วยนั้นอาจมีจุดสนใจหรือความละเอียดแตกต่างกันไปตามแต่ละสถานการณ์ เช่น paramedic ที่ไปกับรถพยาบาลอาจถามเฉพาะชื่อ ประวัติอาการสำคัญปัจจุบัน ประวัติแพ้สารต่างๆ เป็นต้น ในทางกลับกัน ประวัติทางจิตเวชอาจยาวและมีความละเอียดมาก เนื่องจากรายละเอียดบางอย่างในชีวิตของผู้ป่วยอาจมีความสำคัญในการกำหนดแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตเวช
ข้อมูลที่ได้จากการซักประวัตินั้นเมื่อใช้ร่วมกับการตรวจร่างกายจะทำให้แพทย์สามารถกำหนดคำวินิจฉัยและแนวทางการรักษาได้ หากยังไม่สามารถวินิจฉัยได้แพทย์อาจให้คำวินิจฉัยเบื้องต้น (provisional diagnosis) ไว้ก่อนและเพิ่มสาเหตุอื่นที่เป็นไปได้ในลักษณะของการวินิจฉัยแยกโรค (differential diagnosis) ร่วมกันไปตามลำดับของความน่าจะเป็น แผนการดูแลรักษาอาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มมาใช้ในการวินิจฉัย
โดยทั่วไป แพทย์จะถามคำถามเพื่อให้ได้ข้อมูลดังต่อไปนี้
  • ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ป่วย (patient profile) ชื่อ เพศ อายุ น้ำหนัก อาชีพ
  • อาการนำ (chief complaint) คืออาการหลักที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์และระยะเวลา (เช่น เจ็บหน้าอกมา 4 ชั่วโมง)
  • ประวัติปัจจุบัน (present illness) คือรายละเอียดของอาการนำ
  • ประวัติอดีต (past history) คือประวัติเจ็บป่วยในอดีตที่อาจเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยปัจจุบัน นับรวมถึงประวัติเคยรับการผ่าตัด (เช่น เคยรับการผ่าตัดช่องท้องเมื่อ 2 ปีก่อน) โรคประจำตัวต่างๆ (เช่น เบาหวาน)
  • ประวัติส่วนตัว (personal history) ส่วนนี้มักรวมถึงประวัติแพ้ (allergy) ทั้งแพ้ยาและสารอื่นๆ, ประวัติสารเสพติด สุรา บุหรี่
  • ประวัติครอบครัว (family history) คือประวัติเกี่ยวกับสุขภาพของครอบครัว โรคประจำตัวในครอบครัว โดยเฉพาะที่อาจเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยปัจจุบัน
  • ประวัติสังคมเศรษฐกิจ (socioeconomic history)
  • ประวัติทางเพศ (sexual history) เช่น ประจำเดือน เพศสัมพันธ์ การป้องกัน การคุมกำเนิด เป็นต้น
  • การทบทวนตามระบบ (review of systems) คือการเจ็บป่วยและสุขภาพทั่วไป ไล่ถามตามระบบอวัยวะต่างๆ เช่น ระบบทั่วไป ระบบผิวหนัง ระบบไหลเวียนโลหิต ฯลฯ
การซักประวัติอาจเป็นการซักประวัติกว้างๆ (comprehensive history taking) เช่นที่นักเรียนแพทย์ปฏิบัติ หรือเฉพาะเจาะจง (itirative) เช่นที่แพทย์ทั่วไปปฏิบัติก็ได้




05.06.56

ระบบออนไลน์ งานเวชระเบียน รพ.ราชบุรี


......................................................................................................................

......................................................................................................................






......................................................................................................................




03.06.56



หลักสูตรเวชระเบียน

มีเปิดสอน 2 แห่ง คือ 

1.วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ฯ สถาบันพระบรมชนก กระทรวงสาธารณสุข
มีเปิดสอน 2 ระดับ ดังนี้


2.คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล                                                                   
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน
Bachelor of Science Program in Medical Record                                                                                                                               
ชื่อปริญญา                                                                                                                                                                                     
วิทยาศาสตรบัณฑิต (เวชระเบียน) Bachelor of  Science  (Medical Record)
(ชื่อย่อ) วท.บ. (เวชระเบียน) B.Sc. (Medical Record)

ปรัชญาของหลักสูตร                                                                                                                                                                
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน มุ่งสร้างบัณฑิตด้านเวชระเบียนที่มีคุณภาพ คุณธรรม มีเจตคติอันดีงามในการประกอบวิชาชีพ มีความรู้ความสามารถที่จำเป็นในวิชาชีพเวชระเบียน ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ สาธารณสุข สถิติและคอมพิวเตอร์ อันเป็นพื้นฐานในการประยุกต์ความรู้เพื่อการพัฒนางานด้านเวชระเบียน รวมทั้งให้บัณฑิตมีทักษะในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  • มีความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิชาพื้นฐานด้านการแพทย์ ที่สามารถประยุกต์ใช้ในการบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขได้
  • สามารถวิเคราะห์ และประยุกต์ความรู้ทางด้านเวชระเบียน เพื่อปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ประยุกต์เทคโนโลยี สารสนเทศ และเทคโนโลยีด้านการแพทย์ มาใช้กับการบริการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลได้อย่างเหมาะสม
  • มีความรู้ด้านการบริหารงานด้านเวชระเบียน และการบริหารงานในสถานบริการทางทางการแพทย์และสาธารณสุข และสามารถประยุกต์ใช้ในสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสมกับขนาด และบริบทขององค์กรเหล่านั้น
  • มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพต่อการปฏิบัติงานด้านเวชระเบียน



03.06.56