"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

ขั้นตอนการรับบริการ

1.รับบัตรคิว ณ จุดแจกคิว
**เวลา 06.00-12.00 น. ที่จุดแจกคิว(ข้างห้องบัตร)
**เวลา 12.00-16.00 น. ที่เคาน์เตอร์ห้องบัตร ช่อง 2,3
เพียงแสดง บัตรประจำตัวประชาชน เพียงใบเดียวเท่านั้น (เด็ก แสดง-ทะเบียนบ้านหรือสูติบัตร)

2.. ลงทะเบียนส่งตรวจที่เคาน์เตอร์ห้องบัตรได้ทุกช่องบริการ (รอเรียกตามบัตรคิว)

3.ผู้ป่วยนัด กรุณาตรวจสอบบัตรนัดของท่านว่า ท่านมาตรงตามวันนัดหรือไม่
ถ้าท่านมาตรงตามวันนัด ประวัติการรักษา(OPD Card) ของท่านได้รับการค้นประวัติไปรอที่หน่วยนัดแล้ว ท่านสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ที่หน่วยนัดตามที่ระบุในบัตรนัดได้ทันที

4.ถ้าท่านมาไม่ตรงตามวันนัด ประวัติการรักษา(OPD Card) ของท่านยังไม่ได้รับการค้นประวัติ กรุณาทำตามขั้นตอนตามข้อ 1 และ 2

การขอใบรับรองแพทย์ย้อนหลัง

1.การขอใบรับรองแพทย์ย้อนหลัง เช่น รับรองว่าเจ็บป่วยจริง ,รับรองว่าเคยนอนโรงพยาบาลฯลฯ ให้พบแพทย์เจ้าของไข้ในวันที่แพทย์ออกตรวจ

2. การขอสำเนาใบรับรองแพทย์  ให้ติดต่องานเวชระเบียน ห้องเบอร์ 4 ในวันเวลาราชการ ค่าธรรมเนียม 50 บาท (เริ่ม 1 กย.2560)

3.การประทับตราโรงพยาบาล และการสแกนเข้าระบบ HOSxP ให้ดำเนินการโดย 
เจ้าหน้าที่เวชระเบียนที่จุดบริการต่างๆ คือ เวชระเบียน-ออร์โธปิดิกส์, เวชระเบียน-ทันตกรรม, 
เวชระเบียน-จิตเวช,เวชระเบียน-นรีเวช,เวชระเบียน-เอ็กซเรย์, เวชระเบียน-ER , งานเวชระเบียน ห้องเบอร์4 



เวชระเบียน คือ กระจกเงา

เวชระเบียน คือ กระจกเงาสะท้อนให้เห็นถึงปริมาณและคุณภาพของการดูแลรักษาผู้ป่วยของโรงพยาบาล เพราะภายในเล่มเวชระเบียนแต่ละเล่มมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทรงคุณค่าต่อโรงพยาบาล กล่าวคือผู้บริหารระดับสูงสามารถทราบสถานะของการดำเนินงานทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคตได้ โดยการประมวลข้อมูลต่าง ๆ จากเล่มเวชระเบียนเป็นสถิติตามที่ต้องการ และเปรียบเทียบกัน ทำให้ทราบว่าปริมาณของการตรวจรักษาพยาบาล และบริการมีมากน้อยเพียงใด คุณภาพของการตรวจรักษาและบริการเหล่านั้นต่ำหรือสูงกว่ามาตรฐาน หรือความจำเป็นอย่างไรบ้าง จะแก้ไขได้โดยวิธีใด ควรวางแผนระยะสั้นและระยะยาวอย่างไร เป็นต้น
กรรมการผู้เชี่ยวชาญงานเกี่ยวกับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานโรงพยาบาล ทั้งหลาย เมื่อมีการตรวจมาตรฐานการตรวจรักษาพยาบาล และบริการของโรงพยาบาลใดก็ตาม จะไม่เคยละเว้นการตรวจเวชระเบียนของโรงพยาบาลนั้น ๆ เนื่องจากการพิจารณาเวชระเบียนเพียงไม่กี่เล่มก็จะสามารถทราบได้ทันทีว่าโรงพยาบาลนั้น ๆ ให้การตรวจรักษา พยาบาล และบริการผู้ป่วยได้คุณภาพตรงตามมาตรฐานโรงพยาบาลที่กำหนดไว้หรือไม่
http://www.ra.mahidol.ac.th/mr/?cat=11&paged=2

เวชระเบียน คือ งานของแพทย์ โดยแพทย์ และเพื่อแพทย์

เวชระเบียน คือ งานของแพทย์ โดยแพทย์ และเพื่อแพทย์
  • แพทย์คือผู้เริ่มงาน เวชระเบียนขึ้น โดยการเริ่มบันทึกการตรวจรักษาผู้ป่วย เป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งทำการศึกษา ค้นคว้า เปรียบเทียบข้อมูลในเวชระเบียน แล้วสรุปผลเพื่อนำไปปฏิบัติ อันนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการแพทย์ตลอดมา ทำให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตของประชาชนทั่วไปเป็นอย่างยิ่ง
  • สำหรับงานเวชระเบียน เป็นผู้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และช่วยอำนวยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องให้แพทย์ในการทำให้เวชระเบียนสมบูรณ์ พร้อมทั้งปริมาณและคุณภาพ เพื่อให้แพทย์ได้ใช้เวลาอันมีค่าในการตรวจรักษาผู้ป่วย ศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทำรายงาน หรือเตรียมการสอนได้อย่างเต็มที่
  • ในปัจจุบันวิชาการและเทคนิคต่าง ๆ ทางการแพทย์ละเอียดลึกซึ้ง ก้าวรุดหน้า อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูง เป็นเหตุให้วิชาการและงานด้านเวชระเบียนจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงทั้งด้านบริการและเทคนิค เพื่อสามารถติดตามให้บริการแก่แพทย์ได้อย่างพอเพียง เหมาะสม และทันการ ซึ่งแพทย์เป็นผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยปรับปรุงเวชระเบียนดังกล่าวให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

http://www.mkh.go.th/mrd/index.php?option=com_content&view=article&id=58:signification&catid=45:signification

                                             

สิทธิในเวชระเบียน…มุมมองที่แตกต่าง


ด้วยเหตุผลที่ว่าเวชระเบียน(medical record )เป็นพยานหลักฐานที่สำคัญที่ศาลใช้ประกอบการพิจารณาคดีในคดีที่มีการฟ้องแพทย์หรือสถานพยาบาล  ดังนั้นในปัจจุบันเมื่อผู้ป่วยมาขอดูหรือขอถ่ายสำเนา
เวชระเบียน  ทางโรงพยาบาลมักไม่ตอบสนองความต้องการดังกล่าวโดยอ้างว่า เวชระเบียนเป็นสมบัติของโรง
พยาบาล และมักเลือกถ่ายสำเนาให้เป็นบางส่วนหรือทำเป็นแค่เพียงใบสรุปประวัติการรักษาให้  ทำให้ปัจจุบัน
เกิดคำถามและข้อสงสัยเป็นอย่างมากว่า สิทธิในเวชระเบียนเป็นของใครกันแน่

            ในเบื้องต้นเราควรจะแยกองค์ประกอบของเวชระเบียนออกเป็น
1.ส่วนที่เป็นวัตถุจับต้องได้ เช่น กระดาษที่ใช้เขียน  ฟิลม์ที่ใช้บันทึกภาพ  ซึ่งแน่นอนว่าวัตถุดังกล่าวนี้
เป็นกรรมสิทธิ์ของสถานพยาบาล
2.ส่วนที่เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการดูแลรักษาที่ได้ถูกบันทึกไว้วัตถุที่กล่าวไว้ข้างต้น
            การแยกองค์ประกอบออกมาดังกล่าวนี้ทำให้เห็นได้ชัดเจนขึ้นว่าแท้จริงแล้วที่มีการถกเถียงกันถึงสิทธิ ในเวชระเบียนนี้น่าจะเป็นการพิจารณาโดยมุ่งไปถึงส่วนของข้อมูลที่ได้ถูกบันทึกไว้ในเวชระเบียน  และที่จริงแล้ว ในมุมมองของผู้ป่วยเขาคงไม่ได้สนใจถึงกรรมสิทธิ์ของข้อมูลว่าเป็นของใคร เขา เพียงแต่ต้องการ สิทธิใน การเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยของตนที่ได้ถูกบันทึกไว้ในเวชระเบียน

สิทธิของผู้ป่วยในการเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลในเวชระเบียน
( patient’s right to access the medical record )

            ถ้ามองในแง่ดี การให้โอกาสผู้ป่วยได้เข้าถึงและรับรู้ข้อมูลในเวชระเบียนมีประโยชน์หลายอย่าง  เช่น
                1.เมื่อผู้ป่วยรู้ถึงสภาพความเจ็บป่วยของตนมากขึ้นก็น่าจะช่วยให้เขาเข้าใจโรคและร่วมมือกับ การรักษามากขึ้น
                2.บางครั้งมีการบันทึกข้อมูลผิดพลาดไม่ตรงตามความจริง เช่นระบุชื่อยาที่ผู้ป่วยแพ้ผิด  ซึ่งถ้าผู้ป่วยได้ตรวจดูเวชระเบียนก็สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดได้เร็ว  แต่ถ้าเขาไม่ได้ดูเวชระเบียน ประวัตินั้นก็อาจผิดไปตลอด
            ในทางปฎิบัติโรงพยาบาลมักมีข้อจำกัดในการให้ผู้ป่วยเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลในเวชระเบียนเพราะเกรงว่า
ผู้ป่วยอาจพบข้อมูลที่บ่งถึงความบกพร่องในการดูแลรักษา ซึ่งอาจมีผลให้ตนถูกฟ้องร้องได้
            ปัญหาในเรื่องนี้  ในประเทศสหรัฐอเมริกา แม้อาจมีการปฏิบัติที่แตกต่างกันบ้างในแต่ละรัฐ แต่ส่วนใหญ่มีทิศทางไปในทางที่มีแนวโน้มที่จะรับรองว่าผู้ป่วยมีสิทธิในการเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลในเวชระเบียนของตน
ในบางรัฐถึงกับมีกฎหมายออกมารองรับ  บางรัฐแม้ไม่มีกฎหมายออกมารองรับแต่ก็มีคำพิพากษาของศาลออกมารับรองสิทธิดังกล่าวอยู่ไม่น้อย  ผลก็คือผู้ป่วยมีสิทธิตรวจดูเวชระเบียนและขอถ่ายสำเนาอีกทั้งมีสิทธิขอแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องได้ แต่การใช้สิทธิของผู้ป่วยดังกล่าวก็มีข้อจำกัดโดยโรงพยาบาลมีสิทธิปฏิเสธการเข้าถึงข้อมูลในบางกรณี เช่น กรณีที่อาจกระทบสิทธิส่วนตัวหรือความลับของผู้อื่น, กรณีที่การล่วงรู้ข้อมูลอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง(เช่น ผู้ป่วยจิตเวช)หรืออาจเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น

ย้อนกลับมาดูถึงปัญหานี้ในประเทศไทย  พอจะมีกฎหมายที่แสดงถึงเจตนารมณ์ในการให้สิทธิของการเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยดังนี้
            1.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540 มาตรา58  บัญญัติว่า
                บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น  เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ  ความปลอดภัยของประชาชน  หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น  ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
            แสดงให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศยังเปิดโอกาสให้เรามีสิทธิเข้าถึงข้อมูลสาธารณะได้เลย  แล้วทำไมเราจะมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเราไม่ได้
            2....ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.. 2540 ซึ่งบังคับใช้กับข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ   ได้บัญญัติไว้ชัดเจนใน มาตรา 25 ดังนี้
            ภายบังคับ มาตรา14และมาตรา15  บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนและเมื่อบุคคลนั้นมีคำขอเป็นหนังสือ  หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้นจะต้องให้บุคคลนั้นหรือผู้กระทำการแทนบุคคลนั้นได้ตรวจดูหรือได้รับสำเนาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับบุคคลนั้น  …….
……….การเปิดเผยรายงานการแพทย์ที่เกี่ยวกับบุคคลใด  ถ้ากรณีมีเหตุอันควรเจ้าหน้าที่ของรัฐจะเปิดเผยต่อ
เฉพาะแพทย์ที่บุคคลนั้นมอบหมายก็ได้………………………..ถ้าบุคคลใดเห็นว่าข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนส่วนใดไม่ถูกต้องตามที่เป็นจริง  ให้มีสิทธิยื่นคำขอให้……………..แก้ไขเปลี่ยนแปลง
หรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนนั้นได้………….”

            จากมาตราดังกล่าวสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆดังนี้
            - คำว่า ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล หมายถึงข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล ซึ่งรวมถึง
ประวัติสุขภาพด้วย(อ่านมาตรา4)
            - บุคคลมีสิทธิยื่นคำขอเพื่อขอตรวจดูหรือขอสำเนาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตน ที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานของรัฐนั้นมีหน้าที่ดำเนินการตามคำขอนั้น(โดยคิดค่าใช้จ่ายได้) เว้นแต่จะเป็นกรณีตามมาตรา14และ15ที่หน่วยงานรัฐมีสิทธิปฏิเสธคำขอนั้น เช่น การเปิดเผยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง, การเปิดเผยเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร
            - บุคคลมีสิทธิยื่นคำขอเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตน
เมื่อเห็นว่าข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องตามความจริง
            3. คำประกาศสิทธิผู้ป่วย(ข้อ9)ระบุว่า ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอ  ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น
            แม้คำประกาศสิทธิผู้ป่วยนี้โดยสภาพแล้วไม่มีฐานะเป็นกฎหมายที่จะบังคับให้ปฏิบัติตามได้ แต่ก็ได้แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ที่จะยึดตามแนวทางขององค์การอนามัยโลกอีกทั้งยังสะท้อนถึงหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญที่ว่า ต้องทำการด้วยความโปร่งใส และตรวจสอบได้

            จากที่กล่าวมาทั้งหมดขอสรุปดังนี้
            1.วัตถุที่ประกอบขึ้นเป็นเวชระเบียนถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถานพยาบาล
            2.กรณีสถานพยาบาลของรัฐ ต้องอยู่ภายใต้พ...ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.. 2540 ซึ่งให้สิทธิผู้ป่วยในการเข้าถึง  ตรวจดู  ขอสำเนา  ขอแก้ไข  ข้อมูลส่วนที่เกี่ยวข้องกับตน และสถานพยาบาลของรัฐนั้นมีหน้าที่ดำเนินการตามคำขอ( เว้นแต่กรณีที่มีข้อห้ามตามกฎหมาย) ซึ่งหากเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐปฏิเสธการดำเนินการตามคำขอโดยไม่มีเหตุอันควร  ก็อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้( ดู พ...จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ..2542  มาตรา9 )
            3.กรณีสถานพยาบาลของเอกชนแม้ไม่ถูกบังคับไว้ด้วยกฎหมายใดๆ  แต่เมื่อพิจารณาถึงแนวคิดของสังคมและหลักการตามรัฐธรรมนูญแล้วควรดำเนินการตามแนวทางของภาครัฐด้วย และโดยส่วนตัวเชื่อว่า อีกไม่นานก็คงมีการบัญญัติกฎหมายที่ใช้บังคับกับภาคเอกชนในกรณีนี้ด้วย
นพ.พิทูร ธรรมธรานนท์
พบ. นบ.
เนติบัณฑิตไทย
www.medlawstory.com
ให้คุณรู้กฎหมายการแพทย์ได้ง่ายขึ้น

ทำไมกฎหมายต้องบังคับให้ทำประกันภัยรถตาม พ.ร.บ.

การที่รัฐออกกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องจัดให้มีประกันภัย อย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์

               1. เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับบาดเจ็บ/เสียชีวิต เพราะเหตุประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีกรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต
               2. เป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล/สถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ในการรับรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ
               3. เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย เพราะเหตุประสบภัยจากรถ
               4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือนร้อน แก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว
http://www.rvp.co.th/generalinfo/pacar.asp#17