"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

ศูนย์จำหน่ายผู้ป่วย Discharge Center

วัตถุประสงค์
1.เพื่อบริหารจัดการระบบการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ 
2.เพื่อพัฒนาระบบการตรวจสอบข้อมูลการรักษาพยาบาล
3.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามเวชระเบียนผู้ป่วยในหลังจำหน่าย
เปิดบริการ 1 สค.54
สัปดาห์แรก  อายุรกรรมหญิง 1
สัปดาห์ที่ 2  อายุรกรรมหญิง 2
สัปดาห์ที่ 3 อายุรกรรมชาย 1

ใบรับรองแพทย์

ใบรับรองแพทย์ เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่มักจะไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญกับใบรับรองแพทย์มากนัก โดยส่วนใหญ่ก็ไม่ทราบว่า ใบรับรองแพทย์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และ นำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง บางครั้งทำให้ปัญหาระหว่างแพทย์ กับ ผู้ป่วย ขึ้นมา เราลองมาดูกันสิว่า ใบรับรองแพทย์คืออะไร สำคัญอย่างไร ....
ใบรับรองแพทย์ คือ รายงานสภาวะสุขภาพอนามัยของผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งออกโดย แพทย์ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ของ แพทย์สภา
ใบรับรองแพทย์ จะบอกถึงภาวะสุขภาพอนามัย การตรวจรักษา ความเห็นในด้านการแพทย์ นอกจากนั้นยังรวมถึงการรับรองการเกิดและการตายด้วย
ใบรับรองแพทย์ อาจแบ่งได้ 3 ประเภท





1. ใบรับรองแพทย์ที่แสดงความ ปกติของ สุขภาพอนามัยและร่างกาย ( ใบรับรองสุขภาพ )

จะรายงานถึงความสมบูรณ์ของร่างกายทั่วไป และ การไม่เป็นโรคบางชนิด ซึ่งอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ตามความต้องการของแต่ละ บริษัท / หน่วยงาน ที่ต้องการใช้

บางกรณีอาจให้แพทย์ออกความเห็นด้วย เช่น ให้ออกความเห็นว่าเหมาะสมกับงานที่ต้องทำหรือไม่ ซึ่งแพทย์ต้องพิจารณาให้เหมาะสม ถูกต้องมากที่สุด




2. ใบรับรองแพทย์ที่แสดงความ ผิดปกติ ของสุขภาพอนามัยและร่างกาย
จะรายงานถึงสภาพความเจ็บป่วยที่เป็น ระยะเวลาของการเจ็บป่วย ระยะเวลาในการรักษา วิธีรักษาพยาบาล และการพยากรณ์โรคหลังจากสิ้นสุดการรักษา ซึ่งจะมีผู้ที่นำใบรับรองแพทย์นี้ไปใช้ต่อ เช่น
- ผู้ป่วยอาจนำใบรับรองแพทย์นี้เพื่อประกอบการลาพักงาน การลาออกจากงาน การเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล หรือ เรียกร้องการชดใช้เนื่องจากการบาดเจ็บ หรือ สูญเสียอวัยวะต่าง ๆ
- เจ้าหน้าที่พนักงานสอบสวน อาจนำไปใช้เพื่อประกอบในการพิจารณาคดี
3. การรับรองการเกิดและการตาย
ตามกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15 แพทย์ผู้ทำคลอดต้องทำใบรับรองการเกิด เพื่อให้บิดามารดาของทารกไปแจ้งให้พนักงานท้องถิ่นทราบ รวมถึงการรับรองการตายด้วย
สำหรับการตายผิดธรรมชาติ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ต้องมีการชันสูตรพลิกศพ และแพทย์ต้องทำรายงานความเห็นแสดงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ด้วย
เมื่อบุคคลมีความจำเป็นจะต้องใช้ใบรับรองแพทย์ แพทย์ก็ควรทำให้ เพื่อเป็นการยืนยันว่าบุคคลนั้นได้มาพบแพทย์ และได้รับการตรวจสุขภาพหรือดูแลรักษา ตามที่เป็นจริง

ส่วนว่าผู้ที่เกี่ยวข้อง จะนำไปใช้อย่างไร นำไปใช้ได้หรือไม่ ... ก็ขึ้นอยู่กับระเบียบ วิธีปฏิบัติของบริษัท หรือ หน่วยงานนั้น ๆ แพทย์มีหน้าที่ให้ข้อมูลตามความเป็นจริงเท่านั้น … เป็นการแสดงความเห็นทางการแพทย์ แต่ไม่มีผลบังคับตามกฏหมาย ที่จะไปบังคับให้ผู้เกี่ยวข้อง (ผู้ป่วย พนักงาน เจ้าของกิจการ บริษัทประกัน ฯลฯ ) ต้องทำตามความเห็นของแพทย์ ...
แพทย์กับใบรับรองแพทย์

การออกใบรับรองแพทย์ที่ไม่ถูกต้อง หรือ เป็นเท็จ แพทย์อาจได้รับโทษได้อย่างน้อย 2 สถานคือ

1. ความผิดทางกฎหมายอาญา มาตรา 269

ซึ่งระบุว่า ผู้ใดในการประกอบการงานในวิชาแพทย์ กฎหมาย บัญชี หรือ วิชาชีพอื่นใด ทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ โดยประกอบการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

2. ความผิดเกี่ยวกับข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษามารยาทแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2526 หมวดที่ 3 ข้อที่ 9

ซึ่งระบุว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่ออกใบรับรองอันเป็นความเท็จโดยตั้งใจหรือให้ความเห็นโดย ไม่สุจริตในเรื่องใดเกี่ยวกับวิชาชีพของตน ซึ่งอาจถูกลงโทษถึงขั้น พักใช้ หรือ เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ประชาชนกับใบรับรองแพทย์

สำหรับประชาชนที่ให้แพทย์ออกใบรับรองให้ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าไม่ถูกต้อง และ นำใบรับรองนั้นไปใช้ ก็จะต้องมีความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 269 ด้วย (ผู้ใดทุจริต ใช้ หรืออ้างคำรับรองอันเกิดจากการกระทำผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
จะเห็นได้ว่าใบรับรองแพทย์ มีความสำคัญอย่างยิ่งในแง่ของกฎหมาย และการที่ผู้ป่วยจะขอใบรับรองแพทย์ก็ต้องคำนึงถึงว่าจะนำใบรับรองแพทย์ไปใช้เพื่ออะไร .. แพทย์จะได้ออกใบรับรองให้ถูกต้องกับการนำไปใช้มากที่สุด
ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งแพทย์และผู้ป่วยก็ต้องระมัดระวังในเรื่องของความถูกต้องและเป็นจริง เพราะการออกใบรับรองแพทย์ที่เป็นเท็จก็มีความผิดทางกฎหมายทั้งแพทย์ และ ผู้ที่นำใบรับรองแพทย์นั้นไปใช้
กฎหมายที่ควรทราบเพิ่มเติม

1.1 ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 177 ผู้ใดเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ได้กระทำในการพิจารณาคดีอาญา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีและปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท

1.2 ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 279 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูก-กระทำร้าย ได้รับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบสองปี อันตรายสาหัสคือ

1.ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือ เสีย ญาณประสาท

2.เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์

3.เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด

4.หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว

5.แท้งลูก

6.จิตพิการอย่างติดตัว

7.ทุพพลภาพ หรือป่วยเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต

8.ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือจนประกอบกรณียะกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน

ที่มา:
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-01-2008&group=4&gblog=5