"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

ความเป็นมา ของหน่วยทะเบียน Refer

งานเวชระเบียน ได้รับการถ่ายโอนเรื่องการตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล
จาก ฝ่ายประกันสุขภาพ มาตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 ในสมัยของ ผอ.ธนินทร์ พันธุเตชะ

เป็นงานที่ค่อนข้างท้าทายกับความสามารถของบุคลากรงานเวชระเบียนเพราะเราทำงานระบบ manual มาโดยตลอด เราเพิ่งรู้จักคอมพิวเตอร์ เมื่อไม่นานมานี้เอง ค่อนข้างหนักหนาสาหัส สารพัดข้อร้องเรียน โดยเฉพาะการให้ผู้ป่วยต้องแสดงบัตรประชนทุกครั้งที่เข้ารับบริการ หากไม่แสดงบัตรประชาชน ตรวจรักษาได้ตามปกติ แต่สิทธิการรักษาเป็นชำระเงินเอง....สมัยนั้น เราเป็นอันดับ 1 ของข้อร้องเรียน....โชคดีผู้บริหาร เข้าใจ

-ผู้ป่วยทุกรายที่แสดงบัตรประชาชน  สิทธิที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว สามารถใช้สิทธิได้เลย สิทธิบัตรทอง รพ.ราชบุรี(91) ,สิทธิประกันสังคม รพ.ราชบุรี (34) สิทธิ ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ (20, 23) สิทธิข้าราชการจ่ายตรง (22)

-แต่ บางสิทธิที่ ไม่ได้ระบุ รพ.ราชบุรี (นอกเขต ต่างจังหวัด ) เราตรวจแล้วว่าเป็นผู้ป่วยใช้สิทธิอะไร แต่การที่จะสามารถใช้สิทธิได้หรือไม่นั้น ต้องติดต่อ ฝ่ายประกันสุขภาพ อีกครั้ง ทำให้ผู้ป่วยต้องติดต่อหลายจุดบริการ

ดังนั้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 งานเวชระเบียน จึงได้รับการถ่ายโอนงาน 2 งาน คือ

1.เรื่องการตรวจสอบและอนุมัติใช้สิทธิ์ บัตรทองนอกเขต ต่างจังหวัดและบัตรทองผู้พิการ ที่รับโอนจากฝ่ายประกันสุขภาพ โดยต้องตรวจสอบหนังสือส่งตัวจากโรงพยาบาลต้นทางว่า
-ส่งตัวมาจากโรงพยาบาลตรงตามสิทธิที่ตรวจพบในฐานข้อมูล สป.สช.หรือไม่
-ใบส่งตัวหมดอายุหรือยัง
-ใบส่งตัว ตรงตามโรคที่ผู้ป่วยเป็นหรือไม่
-บริการถ่ายเอกสารและจัดทำชุดเรียกเก็บ


สมัยก่อน ผู้ป่วยที่เตรียมเอกสารมาไม่ครบ ผู้ป่วยต้องละจากแถวที่ค่อนข้างยาว ไปหาที่ถ่ายเอกสารเอง. เราจึงขอเครื่องถ่ายเอกสารมาประจำที่หน่วยทะเบียน Refer เพื่อจัดระบบ One Stop Service ของระบบตรวจสอบสิทธินอกเขต/ต่างจังหวัด แรก ๆ ได้มา 1 เครื่อง เมื่อใช้งานมาก ก็ย่อมเสียเป็นธรรมดา ขอเพิ่มอีก 1 เครื่อง บรรเทาได้มาก ค่าธรรมเนียม 1 บาท เท่ากันแต่ไม่ต้องเดิน สะดวกขึ้น ลดระยะเวลาได้จริง
- เวลาทำงาน ของหน่วยนี้ 7.45-16.30 ไม่หยุดพักเที่ยง มากกว่า 8 ขั่วโมง ไม่มี OT
ณ วันนี้ สิทธิ บัตรทอง 100% เป็นหน้าที่ของเรา

2.เรื่อง การลงทะเบียน Refer รับโอนจาก ฝ่ายเวชกรรมสังคม เป็นการรับดำเนินการเกือบทั้งหมดของระบบ Refer ......Refer in , Refer back  และ Refer out (Refer out ดำเนินการได้เฉพาะการให้รหัสโรคเท่านั้น  เพราะต้องมีการรับผิดชอบในเรื่องของค่าใช้จ่าย) ...ลงทะเบียนรับ ลงทะเบียนตอบกลับ ให้รหัสโรค และจัดส่งเอกสารใบ Refer กลับ รพ.ต้นทาง

ซึ่ง ทั้ง 2 งาน ลังเลและตัดสินใจอยู่นาน 
เพราะเรามองว่า ไม่น่าจะใช่ภาระหน้าที่หลักของงานเวชระเบียน และที่สำคัญเราจะทำได้รึป่าว  ในที่สุดก็พ่ายคำนี้ "ผมมั่นใจว่าคุณทำได้"  และก็เป็นไปตามคาด "ยุ่งและเยอะ" จริง

โดน น้องเวชฯ คนหนึ่ง Comment ว่า "เราใช้ จพ.เวชฯ มาถ่ายเอกสาร" ค่อนข้างเสียใจนะกับมุมมองนี้  แต่ก็มีน้องๆ อีกหลายคนบอกว่า "ทำไปเถอะ พี่เหม่ง เพื่อคนไข้ เราพร้อมจะเดินไปด้วยกัน"

แรก ๆ ก็แสนสาหัส เพราะเป็นงานใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน ปริมาณมหาศาล และเมื่อมีข้อผิดพลาด ก็โดนต่อว่าประจำ ได้เด็กใหม่มา 2 ราย ซึ่งไม่เพียงพออย่างแน่นอน  ทำไงล่ะ...ลองผิด ลองถูก จัดระบบ โยกคนนั้น ดึงคนนี้ จากงานห้องบัตรนั่นแหล่ะ ที่ก็ยุ่งมากเช่นกัน  

และแล้วในที่สุด เราก็ผ่านพ้นมาด้วยดี 
จากความร่วมแรงร่วมใจกันของน้อง ๆ งานเวชระเบียน รพ.ราชบุรี

จากวันนั้นถึงวันนี้ (1 เมษายน 2554 ถึง ปัจจุบัน) 
ข้อมูล Refer In ในโปรแกรม HOSxP  สองแสนกว่า Record 







27.04.56