"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

ความหมายของเลขประจำตัวประชาชนทั้ง 13 หลัก



หลักที่ 1 หมายถึงประเภทบุคคลซึ่งมี 8 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 ได้แก่ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2527)
ประเภทที่ 2 ได้แก่ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2527)
ประเภทที่ 3 ได้แก่ คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ในสมัยเริ่มแรก (1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2527)
ประเภทที่ 4 ได้แก่ คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าวแต่แจ้งย้ายเข้า โดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนในสมัยเริ่มแรก (1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2527)
ประเภทที่ 5 ได้แก่ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจหรือกรณีอื่น ๆ
ประเภทที่ 6 ได้แก่ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฏหมาย แต่จะอยู่ในลักษณะชั่วคราว
ประเภทที่ 7 ได้แก่ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย
ประเภทที่ 8 ได้แก่ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฏหมาย คือ ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว คนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย
หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 หมายถึงรหัสของสำนักทะเบียนที่ท่านมีชื่อในทะเบียนบ้านในขณะให้เลข สำหรับเด็กเกิดใหม่จะหมายถึงถิ่นที่เกิดเลยทีเดียว โดยหลักที่ 2 และ 3 หมายถึงจังหวัด หลักที่ 4 และ 5 หมายถึงอำเภอ หรือเทศบาล
หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 หมายถึงกลุ่มที่ของบุคคลแต่ละประเภทตามหลักแรก หรือหมายถึงเล่มที่ ของสูติบัตร แล้วแต่กรณี
หลักที่ 11 และ 12 หมายถึงลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภท หรือหมายถึงใบที่ของสูติบัตรแต่ละเล่ม แล้วแต่กรณี
หลักที่ 13 คือ ตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของเลข 12 หลักแรก
 http://stat.bora.dopa.go.th/fop/pid13.htm




09.02.55

ปัญหาการฟ้องร้องบุคลากรทางการแพทย์

สาเหตุ ฟ้องร้อง
  • ไม่ฟังผู้ป่วย (ญาติ)  ถ้าผู้ป่วยและญาติพยายามพูดอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น ต้องฟัง อย่าขัด โดยเฉพาะใน ๖๐ วินาทีแรก ถ้าผู้ป่วย concern แพทย์ต้อง concern “
  • ไม่ให้ผู้ป่วย (ญาติ) มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เมื่อก่อนแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่คิดว่าดีที่สุด(ในความคิดของแพทย์) ให้กับผู้ป่วยเลย แต่ปัจจุบัน แพทย์มีหน้าที่ให้ข้อมูลทางเลือก ข้อดี ข้อเสีย ตอบข้อสงสัย ทั้งหมด แล้วให้ผู้ป่วย(ญาติ) ร่วมตัดสินใจว่าจะเลือกแบบไหน เช่น ใน รพ.ใกล้กรุงเทพฯ แพทย์เห็นว่าเป็นก้อนนิ่วในไตใหญ่มาก บอกว่า ผ่าตัดเลย ไม่ได้บอกข้อมูลอื่น ๆ ผ่าเข้าไปไม่ใช่นิ่วอย่างเดียว ต้องตัดไต แล้วผู้ป่วยเสียชีวิต ก็ถูกฟ้อง..
  • ไม่บอกความจริงเมื่อเกิดปัญหาขึ้น .. ถ้าเกิดปัญหาแพทย์ต้องบอกทันที อย่าหลบ ถ้าเขารู้จากแพทย์ดีกว่า ที่จะให้รู้จากคนอื่น ถ้าไม่บอกแล้วเขารู้ทีหลังก็จะเกิดอารมณ์ แบบนี้โดนฟ้องแน่  .... ต้องบอกก่อนที่คนอื่นบอก
  • ให้คำสัญญามากเกินไป ให้ความหวังมากเกินไป เช่น ผ่าแบบนี้หายแน่นอน แต่พอผ่าเสร็จเกิดปัญหา เขาก็จะรู้สึกผิดหวังมาก ไหนหมอบอกว่าหายไง ฟ้องเพราะไม่บอกผลเสีย ความเสี่ยง เมื่อเกิดผลเสียหายขึ้น เมื่อไม่รู้ไม่บอก ไม่ได้ทำใจไว้ก่อน จึงผิดหวังมากขึ้น เลยฟ้อง
  • ไม่พอใจ กริยา ท่าทาง คำพูดของแพทย์ ต้องการแก้แค้น
  • ต้องการคำอธิบาย
  • ระบบข้อมูลข่าวสารทางอินเตอร์เน็ต ที่ใคร ๆ ก็หาความรู้ได้ ไม่ใช่รู้เฉพาะแพทย์เท่านั้น
  • ค่ารักษาพยาบาลที่แพง
  • อยากได้เงินจากแพทย์.
ผู้บรรยาย : อาจารย์ สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา 
รพ.กำแพงเพชร วันศุกร์ที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๙    
สรุปการบรรยาย โดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
 www.geocities.com/phanomgon


การขอสำเนาเวชระเบียน/ใบรับรองแพทย์ของบริษัทประกันชีวิต


ตอนการปฏิบัติ









***สำหรับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลราชบุรี
1.การยืมแฟ้มเวชระเบียน
- ไม่อนุญาตให้นำแฟ้มเวชระเบียนฉบับจริง ออกนอกโรงพยาบาลราชบุรี โดยเด็ดขาด ยกเว้นมีหนังสืออนุมัติจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น
- อนุญาตให้นำแฟ้มเวชระเบียนออกนอกโรงพยาบาลราชบุรี ได้เฉพาะฉบับสำเนาเท่านั้น โดยผ่านกระบวนการร้องขอตามขั้นตอน โดยแจ้งความจำนงที่งานเวชระเบียน
- การยืมเวชระเบียน นอกเหนือจากการยืมเพื่อการตรวจรักษาผู้ป่วยในกรณีปกติ  ผู้ขอต้องบันทึกรายการขอยืมแฟ้มเวชระเบียนในแบบยืม-คืนเวชระเบียน หรือแบบคำร้องขอทราบประวัติการรักษา ที่มีลายมือชื่อของผู้มีสิทธิยืมเวชระเบียน อันได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร และเจ้าหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้  เวชระเบียน
- ผู้ยืมจะต้องรับผิดชอบในทางกฎหมายต่อความเสียหาย ความสูญหายของแฟ้มเวชระเบียน รวมถึงความรับผิดชอบในกรณีที่นำข้อมูลในแฟ้มเวชระเบียนไปใช้ในทางที่ละเมิดสิทธิผู้ป่วย ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม
- ยืมเวชระเบียนเพื่อการศึกษา วิจัย ให้ขออนุมัติจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษร

2.การคืนแฟ้มเวชระเบียน
2.1  หากงานเวชระเบียน มีความจำเป็นต้องใช้แฟ้มเวชระเบียนฉบับดังกล่าว ผู้ยืมต้องนำส่งคืนในทันที และงานเวชระเบียนจะส่งคืนให้ผู้ยืมเมื่อเสร็จสิ้นการใช้งานแล้ว
2.2 เมื่อครบกำหนด ให้ผู้ยืม ส่งคืนแฟ้มเวชระเบียนที่งานเวชระเบียน  และหากประสงค์จะยืมต่อ ให้แจ้งความประสงค์ขอยืมเวชระเบียนต่อ
2.3 เมื่อครบกำหนด ผู้ยืม ยังไม่ส่งคืนแฟ้มเวชระเบียนให้งานเวชระเบียนทำหนังสือทวงถาม และหากยังไม่ได้รับคืนภายใน 7 วัน ให้งานเวชระเบียนทำหนังสือรายงานไปยังผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี  

7.เครื่องชี้วัด
1.ระยะเวลาในการการจัดเก็บและทำลายเอกสารเวชระเบียน เป็นไปตามเกณฑ์ 100 %
2.เอกสารเวชระเบียนที่ครบกำหนด ได้รับการทำลายตามระเบียบฯ ครบ 100 %

8.เอกสารอ้างอิง
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526