"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต 
สาขาวิชาเวชระเบียน 
Bachelor of Science Program in Medical Record
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔
************************************
ชื่อหลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน
Bachelor of Science Program in Medical Record
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เวชระเบียน)
Bachelor of Science (Medical Record)
(ชื่อย่อ) วท.บ. (เวชระเบียน)
B.Sc. (Medical Record)
หน่วยงานที่รับผิดชอบคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปรัชญาของหลักสูตรหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน มุ่งสร้างบัณฑิตด้านเวชระเบียนที่มีคุณภาพ คุณธรรม มีเจตคติอันดีงามในการประกอบวิชาชีพ มีความรู้ความสามารถที่จาเป็นในวิชาชีพเวชระเบียน ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ สาธารณสุข สถิติและคอมพิวเตอร์ อันเป็นพื้นฐานในการประยุกต์ความรู้เพื่อการพัฒนางานด้านเวชระเบียน รวมทั้งให้บัณฑิตมีทักษะในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ การจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร เป็นการพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะด้านเวชระเบียนและสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งเวชสถิติ การจัดการข้อมูลข่าวสารทางการแพทย์ และการวิจัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะการพัฒนาการให้รหัสโรคและหัตถการ ซึ่งเป็นอีกความสามารถของนักศึกษาจากหลักสูตรที่จะออกไปเป็นบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการดาเนินการด้านรหัสต่าง ๆ ในสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อความสะดวกในการจัดการรักษาผู้ป่วย การจัดเก็บประวัติการเจ็บป่วย การนาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย และข้อมูลอื่น ๆ ของสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขนั้น ๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์สูงสุด อันจะยังผลโดยตรงต่อกระบวนการรักษาพยาบาลให้กับประชาชน ที่จะให้เกิดสุขภาวะในสังคมไทยต่อไป
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว บัณฑิตมีคุณธรรม ความรู้ และความสามารถ ดังนี้
๑. มีความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิชาพื้นฐานด้านการแพทย์ ที่สามารถประยุกต์ใช้ในการบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขได้
๒. สามารถวิเคราะห์ และประยุกต์ความรู้ทางด้านเวชระเบียน เพื่อปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓. ประยุกต์เทคโนโลยี สารสนเทศ และเทคโนโลยีด้านการแพทย์ มาใช้กับการบริการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลได้อย่างเหมาะสม
๔. มีความรู้ด้านการบริหารงานด้านเวชระเบียน และการบริหารงานในสถานบริการทางทางการแพทย์และสาธารณสุข และสามารถประยุกต์ใช้ในสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสมกับขนาด และบริบทขององค์กรเหล่านั้น
๕. มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพต่อการปฏิบัติงานด้านเวชระเบียน
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษา
๑. การเข้าศึกษาในระบบปกติ ต้องเป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖) สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ตามระเบียบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ
๒. การเข้าศึกษาแบบมีการเทียบโอนหน่วยกิตในระบบทวิภาค
    ๒.๑. สาเร็จประกาศนียบัตรวิชาชีพเวชระเบียน ประกาศนียบัตรวิชาชีพเวชสถิติ หรือเทียบเท่าอนุปริญญา
    ๒.๒. ผู้สมัครที่มีคุณสมบัตินอกเหนือไปจากที่ระบุไว้ข้างต้นให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการดาเนินการสอบคัดเลือกนักศึกษา


จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
         จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๑๒๙ หน่วยกิต
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
๘.๑ นักวิชาการเวชระเบียน นักเวชระเบียนหรือนักวิชาการเวชสถิติ
๘.๒ นักวิชาการเวชสถิติ นักวิชาการสถิติหรือนักสถิติ
๘.๓ นักวิชาการเวชสารสนเทศ
๘.๔ นักวิชาการรหัสโรค
๘.๕ นักวิชาการด้านข้อมูลข่าวสาร หรือนักวิชาการด้านคอมพิวเตอร์
๘.๖ บุคลากรอื่น ๆ ด้านการบริหารระบบเวชระเบียน เช่น นักบริหารเวชระเบียน
ประจำสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลเฉพาะทาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลเอกชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักการแพทย์ของกรุงเทพมหานครหรือเขตปกครองพิเศษ สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย

ความหมายของคำว่า เวชระเบียน

จากการศึกษาเพื่อให้ความหมายของคำว่า เวชระเบียน ซึ่งคำนี้ในพจนานุกรมไทย ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของคำที่ประกอบกันเป็นคำว่าเวชระเบียนก็คือ
เวช และ ระเบียน
เวช อ่านว่า เวด หรือ เวด-ชะ หมายถึง หมอรักษาโรค
ระเบียน หมายถึง ทะเบียน หรือ แบบ 

เวชระเบียน จึงสามารถอ่านได้สองแบบก็คือ เวด-ระ-เบียน และ เวด-ชะ-ระ-เบียน แต่นิยมอ่านว่า เวด-ชะ-ระ-เบียน มากกว่า ถ้าแปลความหมายตามคำ เวชระเบียน ก็แปลว่า ทะเบียนของหมอรักษาโรค หรือแบบหรือทะเบียนทางการแพทย์ แต่ในความหมายของเวชระเบียนนั้นมีความหมายดังที่มีนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

        E.K.Huffman ได้ให้ความหมายของเวชระเบียนไว้ในหนังสือ การบริหารงานเวชระเบียน (Medical Record Management) ที่เขียนไว้ในปี พุทธศักราช 2528 ว่า "เวชระเบียน หมายถึง การรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วยและประวัติสุขภาพรวมถึงประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและในปัจจุบัน และการรักษาซึ่งจดบันทึกไว้โดยแพทย์ผู้ดูแล เวชระเบียนจะต้องบันทึกตามเวลาที่ศึกษาดูแลผู้ป่วย และควรจะต้องมีข้อมูลที่เพียงพอที่จะต้องบอกให้ทราบถึงการพิเคราะห์โรค และการดูแลรักษาโรคได้ และต้องเป็นเอกสารที่ถูกต้องครบถ้วน"
       อาจารย์หมอ แพทย์หญิงสมพร เอกรัตน์ อาจารย์หมอผู้บุกเบิกงานด้านเวชระเบียนในประเทศไทย ได้ให้ความหมายของคำว่าเวชระเบียนไว้ในแบบเรียน วิชา เวชระเบียนศาสตร์ 1 ในขณะที่ท่านได้สอนวิชาเวชระเบียน ให้กับนักศึกษาหลักสูตรเวชระเบียนของมหาวิทยาลัยมหิดล ในช่วงปี พุทธศักราช 2534 และได้พิมพ์อีกครั้งหนึ่งในปีพุทธศักราช 2537 ว่า "เวชระเบียน หมายถึง การรวบรวมข้อเขียนหรือบันทึกที่เกี่ยวกับการเจ็บป่วย เป็นข้อมูลที่บันทึกเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยที่โรงพยาบาล คลินิค หรือสถานีอนามัย เวชระเบียนนั้นเป็นบันทึกขบวนการทุกอย่างงที่จัดกระทำกับผู้ป่วยซึ่งข้อมูลนั้น ๆ ควรจะต้องประกอบด้วยประวัติการเจ็บป่วยในอดีตรวมทั้งความคิดเห็น การค้นหา สืบสวนผลทางห้องปฏิบัติการและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วย เวชระเบียนเป็นเอกสารที่อาจมีหลายขนาดหลายรูปแบบ และหลายข้อมูล โดยการบันทึกของหลายบุคคลในหลาย ๆ วิธีการ แต่ตามรูปลักษณะทั่วไปแล้ว เวชระเบียนจะประกอบด้วยจำนวนแผ่นกระดาษ หรือบัตร ซึ่งอาจจะบรรจุอยู่ในแฟ้มหรือซอง และยิ่งนำสมัยมากไปกว่านี้ก็จะบันทึกในคอมพิวเตอร์หรือบันทึกลงแผ่นกระดาษแล้วถ่ายไว้ในไมโครฟิล์มก็ได้"

         ข้าพเจ้าได้ให้ความหมายของคำว่าเวชระเบียนไว้ในเอกสาร เวชระเบียน ในปีพุทธศักราช 2551 ว่า "เวชระเบียน หมายถึง เอกสารทางการแพทย์ทุกประเภท ที่ใช้บันทึกและเก็บรวบรวมเรื่องราวประวัติของผู้ป่วยทั้งประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัว ประวัติการแพ้ยา เอกสารการยินยอมให้ทำการรักษาพยาบาล ประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบัน ข้อมูลบ่งชี้เฉพาะของบุคคล การรักษาพยาบาล ค่ารักษาพยาบาล ผลจากห้องปฏิบัติการ ผลการชันสูตรบาดแผลหรือพลิกศพ ผลการบันทึกค่าทั้งที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพหรือเครื่องหมายอื่นใด จากอุปกรณ์ เครื่องมือในสถานบริการสาธารณสุขหรือเครื่องมือทางการแพทย์ทุกประเภท หรือเอกสารการบันทึกการกระทำใด ๆ ที่เป็นการสั่งการรักษา การปรึกษาเพื่อการรักษาพยาบาล การส่งต่อผู้ป่วยไปทำการรักษาที่อื่น การรับผู้ป่วยรักษาต่อ การกระทำตามคำสั่งของผู้มีอำนาจในการรักษาพยาบาลตามที่สถานบริการสาธารณสุขกำหนดไว้ เอกสารอื่น ๆ ที่ใช้ประกอบเพื่อการตัดสินใจทางการแพทย์ เพื่อการประสานงานในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย และเอกสารอื่นใดที่ทางองค์การอนามัยโลก หรือสถานบริการสาธารณสุขกำหนดไว้ว่าเป็นเอกสารทางเวชระเบียน หมายรวมถึงชื่อของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดทำเอกสารดังกล่าว การเก็บรวบรวม การค้นหา การบันทึก การแก้ไข การให้รหัสโรค การจัดทำรายงานทางการแพทย์ การนำมาจัดทำสถิติผู้ป่วย การนำมาเพื่อการศึกษาวิจัย หรือเพื่อการอื่นใดตามที่สถานบริการสาธารณสุขกำหนด นอกจากนี้ยังรวมถึงเอกสารทางการแพทย์ที่อยู่ในรูปแบบสื่อดิจิตอล หรือระบบอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Medical Record - EMR) ซึ่งเป็นรูปแบบของเวชระเบียนที่มีการพัฒนาขึ้นในปัจจุบัน"



17.02.55
สิทธิผู้ป่วย
               
                สิทธิ คำๆนี้ ในช่วงเหตุการณ์ทางการเมืองบ้านเราที่ผ่านมา ค่อนข้างจะเป็นคำที่ยอดฮิตติดอันดับต้นๆเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของเสื้อเหลือง หรือเสื้อแดง ที่มักจะอ้างบ่อยๆว่า การชุมนุมของพวกเขาเหล่านั้นเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 63ที่ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ซึ่งเป็นเรื่องของเสรีภาพในการชุมนุมที่รัฐให้การรับรอง แล้วถ้าเกี่ยวกับผู้ป่วยล่ะ ผู้ป่วยจะมีสิทธิอะไรได้บ้าง ? มีกฎหมายรับรองสิทธิไว้หรือไม่?
                สำหรับสิทธิของผู้ป่วยนั้น มีอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน คือ สิทธิที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติในตัวเองเมื่ออยู่ในสถานภาพของผู้ป่วยเช่น สิทธิที่รับรู้ว่า ใครเป็นคนรักษา , จะทำการรักษาด้วยวิธีการอย่างไร ,ใช้อะไรบ้าง เป็นต้น ซึ่งสิทธิต่างนี้ จะเกิดขึ้นเองโดยที่ไม่จำเป็นต้องบัญญัติไว้ในกฎหมาย เป็นเรื่องที่สามารถสอบถามได้เสมอ ส่วนสิทธิอีกส่วนหนึ่งคือสิทธิที่เกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมาย โดยกำหนดขึ้นเพื่อให้การคุ้มครองผู้ป่วย เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 51 บัญญัติไว้ว่า   บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ เป็นต้น  ดังนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้ทราบถึงสิทธิของตนเองไว้ว่าจะเป็นสิทธิตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นหรือสิทธิที่กฎหมายได้บัญญัติรับรองไว้  และเพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจอันดีและเป็นที่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน  องค์กรวิชาชีพที่ให้บริการทางสาธารณสุข คือ แพทยสภา  สภาการพยาบาล  สภาเภสัชกรรม  ทันตแพทยสภา  และคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิผู้ป่วยดังกล่าว จึงได้รวบรวมและร่วมกันจัดทำเป็นคำประกาศสิทธิผู้ป่วย และกำหนดให้สถานพยาบาลทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นของรัฐบาลหรือเอกชนติดคำประกาศดังกล่าวไว้ให้ประชาชนผู้เข้ามาใช้บริการได้ทราบถึงสิทธิของตนเอง ซึ่งคำประกาศสิทธิผู้ป่วยนั้น มีทั้งสิ้น 10 ข้อ บางคนเคยเห็นแต่ไม่เคยอ่าน บางคนก็อ่านแบบผ่านๆ ไม่ได้สนใจเท่าไหร่  จึงอยากจะขอให้ทุกท่านถ้าได้ไปใช้บริการสถานพยาบาลที่ใดก็ตาม หากมีเวลาก็ลองอ่านคำประกาศสิทธิผู้ป่วยอย่างละเอียดดู จะพบว่าเป็นสิทธิที่เราพึงมีพึงได้จริงๆ 
www.dentalcouncil.or.th/public_content/files/001/0000362_2.doc