"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต 
สาขาวิชาเวชระเบียน 
Bachelor of Science Program in Medical Record
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔
************************************
ชื่อหลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน
Bachelor of Science Program in Medical Record
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เวชระเบียน)
Bachelor of Science (Medical Record)
(ชื่อย่อ) วท.บ. (เวชระเบียน)
B.Sc. (Medical Record)
หน่วยงานที่รับผิดชอบคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปรัชญาของหลักสูตรหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน มุ่งสร้างบัณฑิตด้านเวชระเบียนที่มีคุณภาพ คุณธรรม มีเจตคติอันดีงามในการประกอบวิชาชีพ มีความรู้ความสามารถที่จาเป็นในวิชาชีพเวชระเบียน ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ สาธารณสุข สถิติและคอมพิวเตอร์ อันเป็นพื้นฐานในการประยุกต์ความรู้เพื่อการพัฒนางานด้านเวชระเบียน รวมทั้งให้บัณฑิตมีทักษะในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ การจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร เป็นการพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะด้านเวชระเบียนและสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งเวชสถิติ การจัดการข้อมูลข่าวสารทางการแพทย์ และการวิจัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะการพัฒนาการให้รหัสโรคและหัตถการ ซึ่งเป็นอีกความสามารถของนักศึกษาจากหลักสูตรที่จะออกไปเป็นบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการดาเนินการด้านรหัสต่าง ๆ ในสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อความสะดวกในการจัดการรักษาผู้ป่วย การจัดเก็บประวัติการเจ็บป่วย การนาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย และข้อมูลอื่น ๆ ของสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขนั้น ๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์สูงสุด อันจะยังผลโดยตรงต่อกระบวนการรักษาพยาบาลให้กับประชาชน ที่จะให้เกิดสุขภาวะในสังคมไทยต่อไป
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว บัณฑิตมีคุณธรรม ความรู้ และความสามารถ ดังนี้
๑. มีความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิชาพื้นฐานด้านการแพทย์ ที่สามารถประยุกต์ใช้ในการบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขได้
๒. สามารถวิเคราะห์ และประยุกต์ความรู้ทางด้านเวชระเบียน เพื่อปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓. ประยุกต์เทคโนโลยี สารสนเทศ และเทคโนโลยีด้านการแพทย์ มาใช้กับการบริการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลได้อย่างเหมาะสม
๔. มีความรู้ด้านการบริหารงานด้านเวชระเบียน และการบริหารงานในสถานบริการทางทางการแพทย์และสาธารณสุข และสามารถประยุกต์ใช้ในสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสมกับขนาด และบริบทขององค์กรเหล่านั้น
๕. มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพต่อการปฏิบัติงานด้านเวชระเบียน
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษา
๑. การเข้าศึกษาในระบบปกติ ต้องเป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖) สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ตามระเบียบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ
๒. การเข้าศึกษาแบบมีการเทียบโอนหน่วยกิตในระบบทวิภาค
    ๒.๑. สาเร็จประกาศนียบัตรวิชาชีพเวชระเบียน ประกาศนียบัตรวิชาชีพเวชสถิติ หรือเทียบเท่าอนุปริญญา
    ๒.๒. ผู้สมัครที่มีคุณสมบัตินอกเหนือไปจากที่ระบุไว้ข้างต้นให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการดาเนินการสอบคัดเลือกนักศึกษา


จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
         จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๑๒๙ หน่วยกิต
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
๘.๑ นักวิชาการเวชระเบียน นักเวชระเบียนหรือนักวิชาการเวชสถิติ
๘.๒ นักวิชาการเวชสถิติ นักวิชาการสถิติหรือนักสถิติ
๘.๓ นักวิชาการเวชสารสนเทศ
๘.๔ นักวิชาการรหัสโรค
๘.๕ นักวิชาการด้านข้อมูลข่าวสาร หรือนักวิชาการด้านคอมพิวเตอร์
๘.๖ บุคลากรอื่น ๆ ด้านการบริหารระบบเวชระเบียน เช่น นักบริหารเวชระเบียน
ประจำสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลเฉพาะทาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลเอกชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักการแพทย์ของกรุงเทพมหานครหรือเขตปกครองพิเศษ สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย