บัตรประชาชน หรือที่เดี๋ยวนี้เรียก
สมาร์ทการ์ด ที่มีด้วยกัน 13 หลัก
และแต่ละหลักก็มิใช่แค่เป็นเพียงจำนวนนับธรรมดาๆ แต่มีความหมายแฝงอยู่ด้วย
ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
ขอนำมาเสนอเพื่อเป็นความรู้ ดังนี้
สมมุติว่า เลขบัตรประชาชนของเราเขียนไว้ว่า 1 1001 01245 29 9 (เขียนเว้นวรรค
ตามแบบ) แต่ละหลักก็จะมีความหมายดังนี้
หลักที่ 1 (คือหมายเลข 1 ในตัวอย่าง)
จะหมายถึง ประเภทบุคคล ซึ่งมีอยู่ 8 ประเภทได้แก่
ประเภทที่ 1 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย และได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา
หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม
พ.ศ.2527 เป็นต้นไป
อันเป็นวันเริ่มแรกที่เขาประกาศให้ประชาชนทุกคน ต้องมีเลขประจำตัว 13 หลัก เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองไปแจ้งเกิดที่อำเภอ
หรือสำนักทะเบียนในเขตที่อยู่ภายใน 15 วันนับแต่เกิดมา ตามที่กฎหมายกำหนด
เด็กคนนั้นก็ถือเป็นบุคคลประเภท 1 และจะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข
1 เช่น เด็กหญิงส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2527 และพ่อไปแจ้งเกิดที่เขตดุสิตภายในวันที่
17 มกราคม 2527 เด็กหญิงส้มจี๊ด
ก็จะมีหมายเลข ประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 1 และก็ต่อด้วยเลขหลักอื่นๆ
อีก 12 ตัว เป็น 1 1001 01245 29 9 เป็นต้น
ซึ่งเลขนี้จะปรากฏในทะเบียนบ้านและจะเป็น เลขประจำตัว
เมื่อส้มจี๊ดไปทำบัตรประชาชนตอนอายุ 15 ปี
ประเภทที่ 2 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย
ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป
แล้วบังเอิญว่าพ่อแม่ผู้ปกครองลืมหรือติดธุระ
ทำให้ไม่สามารถไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตภายใน 15 วันตามกฎหมายกำหนด
เมื่อไปแจ้งภายหลัง เด็กคนนั้นก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 2 และจะมีเลขตัวแรกในทะเบียนบ้านขึ้นด้วยเลข
2 ทันที เช่น ในกรณีส้มจี๊ด หากพ่อไปแจ้งเกิดให้ ในวันที่ 18
มกราคม 2527 หรือเกินกว่านั้นส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวเป็น
2 1001 01245 29 9 ในทะเบียนบ้าน
และเมื่อไปทำบัตรประชาชนในภายหน้า
ประเภทที่ 3 คือ คนไทยและคนต่างด้าว
ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในสมัยเริ่มแรก(คือตั้งแต่ก่อนวันที่
31 พฤษภาคม 2527) หมายความว่า
บุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทย มาตั้งแต่ก่อนวันที่ 31
พฤษภาคม พ.ศ. 2527คนนั้นถือว่าเป็นบุคคลประเภท
3 และก็จะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 3 เช่น ส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2501และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแล้ว ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวในทะเบียนบ้าน
และบัตรประชาชนเป็น 3 1001 01245 29 9
ประเภทที่ 4 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าวแต่แจ้งย้ายเข้า
โดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ในสมัยเริ่มแรก หมายความว่า คนไทยหรือคนต่างด้าว
ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว ที่อาจจะเป็นบุคคลประเภท 3 คือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอยู่แล้ว
แต่ยังไม่ทันได้เลขประจำตัว ก็ขอย้ายบ้านไปเขตหรืออำเภออื่น ก่อนช่วงวันที่ 31
พฤษภาคม พ.ศ. 2527ก็จะเป็นบุคคลประเภท 4
ทันที เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในสำนักทะเบียนเขตคลองสาน มาตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2501 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2527ส้มจี๊ดก็ขอย้ายบ้านไปเขตดุสิต
โดยที่ส้มจี๊ดยังไม่ทันได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสาน พอแจ้งย้ายเข้าเขตดุสิต
ส้มจี๊ดก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 4 มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วย 4
กลายเป็น 4 1001 01245 29 9 ทันที
แต่ถ้าส้มจี๊ดย้ายจากเขตคลองสานเดิมไปเขตดุสิต หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 ส้มจี๊ดก็ยังเป็นบุคคลประเภท 3 อยู่ เพราะถือว่าจะได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสานแล้วจะย้ายอย่างไรก็ไม่เปลี่ยนแปลง
การกำหนดให้บุคคลเริ่มมีเลขประจำตัว 13 หลักในทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน
โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไปจนถึงวันที่
31 พฤษภาคม 2527 อันเป็นวันสุดท้าย
ของการดำเนินการให้ประชาชน
ที่ไม่มีเลขประจำตัวในบัตรหรือทะเบียนบ้านได้มีเลขประจำตัวจนครบแล้วนั้น
ก็เพราะก่อนหน้านี้ ประเทศไทยยังไม่เคยมีการกำหนดเลขประจำตัวดังกล่าวมาก่อนเลย
ดังนั้นช่วงที่ว่าจึงเป็นระยะเวลาจัดระบบให้เข้าที่เข้าทาง เพราะหลังจากวันที่ 31
พฤษภาคม 2527 แล้ว ทุกคนจะต้องมีเลขประจำตัวเพื่อสำแดงตนว่า
เป็นบุคคลประเภทใด โดยดูตามเงื่อนไขในแต่ละกรณี ซึ่งมีอีก 4 ประเภท
คือ
ประเภทที่ 5 คือ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อ
เข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจ หรือกรณีอื่นๆ เช่น
ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตดุสิตอยู่แล้ว
แต่บังเอิญว่าตอนที่มีการสำรวจรายชื่อผู้อยู่ในบ้าน เกิดความผิดพลาดทางเทคนิค
ทำให้ชื่อของส้มจี๊ดหายไปจากทะเบียนบ้าน
เมื่อไปแจ้งเจ้าหน้าที่และตรวจสอบแล้วว่าตกสำรวจจริง
หรือจะเป็นเพราะกรณีอื่นใดก็ตามเจ้าหน้าที่ก็จะเพิ่มชื่อให้
แต่ส้มจี๊ดก็จะมีหมายเลขในทะเบียนบ้านเป็นบุคคลประเภท 5 และบัตรประชาชนจะขึ้นต้นด้วยเลข
5ทันที คือ กลายเป็น 5 1001 01245 29 9
ประเภทที่ 6 คือ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว
กล่าวคือคนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่ยังไม่ได้สัญชาติไทย
เพราะทางการยังไม่รับรองทางกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดนหรือชาวเขา
กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ชั่วคราว
เช่นนักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย
แม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศ ของตน แต่อาจจะมีสามีหรือภริยาคนไทย
จึงไปขอทำทะเบียนประวัติ เพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสามีหรือภริยา
คนทั้งสองแบบที่ว่า ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6 เลขประจำตัวในบัตรจะขึ้นต้นด้วยเลข
6 เช่น 6 1012 23458 12
ประเภทที่ 7 คือ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย คนกลุ่มนี้ในทะเบียนประวัติจะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข
7เช่น 7 1012 2345 133
ประเภทที่ 8 คือ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย
คือ ผู้ที่ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
หรือคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย
ตั้งแต่หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 เป็นต้นไปจนปัจจุบัน
คนกลุ่มนี้เลขในทะเบียนประวัติจะขึ้นด้วยเลข 8 เช่น 8
1018 01234 24 7
คนทั้ง 8 ประเภทนี้ จะมีเพียงประเภทที่ 3, 4 และ 5 เท่านั้น ที่จะมีบัตรประชาชนได้เลย
ส่วนประเภทที่ 1 และ 2 จะมีบัตรประชาชนได้
ก็ต่อเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชน คืออายุ 15 ปี
แต่สำหรับบุคคลประเภทที่ 6, 7 และ 8 จะมีเพียงทะเบียนประวัติเล่มสีเหลืองเท่านั้น
จะไม่มีการออกบัตรประชาชนให้
หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 (เลข 1001 ในตัวอย่างหรือสี่ตัวถัดไปจากตัวแรก) จะหมายถึง
รหัสของสำนักทะเบียนหรืออำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียน ขณะที่ให้เลข
ซึ่งก็หมายถึงถิ่นที่อยู่ของเรานั่นเอง กล่าวคือ เลขหลักที่ 2 และ 3จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่ ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอใน จังหวัดนั้นๆ เช่น
ถ้าเขียนว่า 1001 ก็หมายถึงว่าคุณอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ
ในเขตดุสิต เพราะ 10๐ ในหลักที่ 2 และ 3
หมายถึงกรุงเทพมหานคร ส่วนเลข 01 ในหลักที่ 4และ 5 คือรหัสของสำนักทะเบียนเขตดุสิต
หรือถ้าเขียนว่า 1101 ก็จะหมายถึง อยู่ที่จังหวัด
สมุทรปราการ อำเภอเมือง เพราะ 11 แรกคือ
รหัสจังหวัดสมุทรปราการ และ 01 หลัง คือ
อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นต้น
หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 (เลข 01245 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง กลุ่มที่ของบุคคลแต่ละประเภทตามหลักแรก (หลักที่ 1)
ซึ่งทางสำนักทะเบียน ในแต่ละแห่ง ก็จะจัดกลุ่มเรียงไปตามลำดับหรือหากเป็นเด็กเกิดใหม่ในปัจจุบัน
เลขดังกล่าวก็จะหมายถึง เล่มที่ของสูติบัตร(ใบแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตออกให้)
ซึ่งก็คือเลขประจำตัวในทะเบียนบ้านของเด็กที่แต่ละอำเภอหรือเขตออกให้
และจะไปปรากฎในบัตรประชาชน เมื่อถึงอายุต้องทำบัตรนั่นเอง แต่ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์เลขนี้
ก็จะปรากฏอยู่แค่ในทะเบียนบ้านของเด็กเท่านั้น
หลักที่ 11 และ 12 (หมายเลข 29 ในตัวอย่างสมมุติ)
จะหมายถึง ลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภทเป็นการจัดลำดับว่าเราเป็นคนที่เท่าไรในกลุ่มของบุคคลประเภทนั้นๆ
หลักที่ 13 (เลข 9 ตัวสุดท้ายในตัวอย่าง)
จะหมายถึง ตัวเลขสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของเลขทั้ง 12 หลักแรกอีกที
สำหรับเลขตั้งแต่หลักที่ 6 ถึง 13 นี้เป็นการจัดหมวดหมู่
และเรียงลำดับบุคคลในแต่ละประเภทของสำนักทะเบียนในแต่ละท้องที่
ซึ่งเราก็คงไม่ต้องรู้รายละเอียดอะไรลึกไปกว่านี้ เพราะรู้แล้วอาจจะงงเปล่าๆเป็นเรื่องน่าแปลกว่า
ตัวเลข 13 หลักที่เป็นหมายเลขในบัตรประชาชน
หรือเลขประจำตัวประชาชนของเราแต่ละคนนี้จะไม่มีการซ้ำกันเลย ผิดกับชื่อหรือนามสกุล
ยังมีซ้ำกันได้ และจะเป็นเลขประจำตัวเราจนตาย ไม่มีการเปลี่ยนหรือยกให้คนอื่น
และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ว่า ในอนาคตจะต้องมีการเติมเลข อย่างเลข 8 เข้าไปอีกเพราะเลขไม่พอใช้เหมือนโทรศัพท์มือถือหรือไม่
เขาก็บอกว่าคงอีกนาน อาจจะถึง 100 ปีโน่น
เพราะการที่เขาแยกแยะบุคคลเป็นประเภทต่างๆ และยังแยกย่อยเป็นจังหวัดอำเภอ
แล้วลงรายละเอียดไปเป็นกลุ่มๆในแต่ละประเภทอีกนั้น ทำให้เพดานหรือช่วงตัวเลขมีความห่างมาก
จนสามารถรองรับจำนวนคนได้อีกมากและหากใครสงสัย หรือมีปัญหาในเรื่องทะเบียนบ้าน
ทะเบียนสมรส บัตรประชาชน ก็สามารถสอบถามไปได้ที่สำนักบริหารการทะเบียน
กรมการปกครอง โทร. 1548
ตัวเลข 13 หลักที่กล่าวข้างต้น
เป็นเลขประจำตัวประชาชนของแต่ละคนนี้
แม้จะมิใช่ตัวเลขที่เราต้องใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน
ยกเว้นใช้ในการกรอกเอกสารบางอย่าง เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร ฯลฯ
แต่เลขนี้ก็มีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นการสำแดงตัวตน “ความเป็นคนไทยหรือคนในประเทศไทย”
ที่ทำให้เราสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยและใช้สิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้
http://www.bkps.ac.th/a06_Education/22Education.htm
06.12.60
บัตรประชาชน หรือที่เดี๋ยวนี้เรียก
สมาร์ทการ์ด ที่มีด้วยกัน 13 หลัก
และแต่ละหลักก็มิใช่แค่เป็นเพียงจำนวนนับธรรมดาๆ แต่มีความหมายแฝงอยู่ด้วย
ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
ขอนำมาเสนอเพื่อเป็นความรู้ ดังนี้
สมมุติว่า เลขบัตรประชาชนของเราเขียนไว้ว่า 1 1001 01245 29 9 (เขียนเว้นวรรค
ตามแบบ) แต่ละหลักก็จะมีความหมายดังนี้
หลักที่ 1 (คือหมายเลข 1 ในตัวอย่าง)
จะหมายถึง ประเภทบุคคล ซึ่งมีอยู่ 8 ประเภทได้แก่
ประเภทที่ 1 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย และได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา
หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม
พ.ศ.2527 เป็นต้นไป
อันเป็นวันเริ่มแรกที่เขาประกาศให้ประชาชนทุกคน ต้องมีเลขประจำตัว 13 หลัก เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองไปแจ้งเกิดที่อำเภอ
หรือสำนักทะเบียนในเขตที่อยู่ภายใน 15 วันนับแต่เกิดมา ตามที่กฎหมายกำหนด
เด็กคนนั้นก็ถือเป็นบุคคลประเภท 1 และจะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข
1 เช่น เด็กหญิงส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2527 และพ่อไปแจ้งเกิดที่เขตดุสิตภายในวันที่
17 มกราคม 2527 เด็กหญิงส้มจี๊ด
ก็จะมีหมายเลข ประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 1 และก็ต่อด้วยเลขหลักอื่นๆ
อีก 12 ตัว เป็น 1 1001 01245 29 9 เป็นต้น
ซึ่งเลขนี้จะปรากฏในทะเบียนบ้านและจะเป็น เลขประจำตัว
เมื่อส้มจี๊ดไปทำบัตรประชาชนตอนอายุ 15 ปี
ประเภทที่ 2 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย
ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป
แล้วบังเอิญว่าพ่อแม่ผู้ปกครองลืมหรือติดธุระ
ทำให้ไม่สามารถไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตภายใน 15 วันตามกฎหมายกำหนด
เมื่อไปแจ้งภายหลัง เด็กคนนั้นก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 2 และจะมีเลขตัวแรกในทะเบียนบ้านขึ้นด้วยเลข
2 ทันที เช่น ในกรณีส้มจี๊ด หากพ่อไปแจ้งเกิดให้ ในวันที่ 18
มกราคม 2527 หรือเกินกว่านั้นส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวเป็น
2 1001 01245 29 9 ในทะเบียนบ้าน
และเมื่อไปทำบัตรประชาชนในภายหน้า
ประเภทที่ 3 คือ คนไทยและคนต่างด้าว
ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในสมัยเริ่มแรก(คือตั้งแต่ก่อนวันที่
31 พฤษภาคม 2527) หมายความว่า
บุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทย มาตั้งแต่ก่อนวันที่ 31
พฤษภาคม พ.ศ. 2527คนนั้นถือว่าเป็นบุคคลประเภท
3 และก็จะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 3 เช่น ส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2501และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแล้ว ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวในทะเบียนบ้าน
และบัตรประชาชนเป็น 3 1001 01245 29 9
ประเภทที่ 4 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าวแต่แจ้งย้ายเข้า
โดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ในสมัยเริ่มแรก หมายความว่า คนไทยหรือคนต่างด้าว
ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว ที่อาจจะเป็นบุคคลประเภท 3 คือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอยู่แล้ว
แต่ยังไม่ทันได้เลขประจำตัว ก็ขอย้ายบ้านไปเขตหรืออำเภออื่น ก่อนช่วงวันที่ 31
พฤษภาคม พ.ศ. 2527ก็จะเป็นบุคคลประเภท 4
ทันที เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในสำนักทะเบียนเขตคลองสาน มาตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2501 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2527ส้มจี๊ดก็ขอย้ายบ้านไปเขตดุสิต
โดยที่ส้มจี๊ดยังไม่ทันได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสาน พอแจ้งย้ายเข้าเขตดุสิต
ส้มจี๊ดก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 4 มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วย 4
กลายเป็น 4 1001 01245 29 9 ทันที
แต่ถ้าส้มจี๊ดย้ายจากเขตคลองสานเดิมไปเขตดุสิต หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 ส้มจี๊ดก็ยังเป็นบุคคลประเภท 3 อยู่ เพราะถือว่าจะได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสานแล้วจะย้ายอย่างไรก็ไม่เปลี่ยนแปลง
การกำหนดให้บุคคลเริ่มมีเลขประจำตัว 13 หลักในทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน
โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไปจนถึงวันที่
31 พฤษภาคม 2527 อันเป็นวันสุดท้าย
ของการดำเนินการให้ประชาชน
ที่ไม่มีเลขประจำตัวในบัตรหรือทะเบียนบ้านได้มีเลขประจำตัวจนครบแล้วนั้น
ก็เพราะก่อนหน้านี้ ประเทศไทยยังไม่เคยมีการกำหนดเลขประจำตัวดังกล่าวมาก่อนเลย
ดังนั้นช่วงที่ว่าจึงเป็นระยะเวลาจัดระบบให้เข้าที่เข้าทาง เพราะหลังจากวันที่ 31
พฤษภาคม 2527 แล้ว ทุกคนจะต้องมีเลขประจำตัวเพื่อสำแดงตนว่า
เป็นบุคคลประเภทใด โดยดูตามเงื่อนไขในแต่ละกรณี ซึ่งมีอีก 4 ประเภท
คือ
ประเภทที่ 5 คือ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อ
เข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจ หรือกรณีอื่นๆ เช่น
ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตดุสิตอยู่แล้ว
แต่บังเอิญว่าตอนที่มีการสำรวจรายชื่อผู้อยู่ในบ้าน เกิดความผิดพลาดทางเทคนิค
ทำให้ชื่อของส้มจี๊ดหายไปจากทะเบียนบ้าน
เมื่อไปแจ้งเจ้าหน้าที่และตรวจสอบแล้วว่าตกสำรวจจริง
หรือจะเป็นเพราะกรณีอื่นใดก็ตามเจ้าหน้าที่ก็จะเพิ่มชื่อให้
แต่ส้มจี๊ดก็จะมีหมายเลขในทะเบียนบ้านเป็นบุคคลประเภท 5 และบัตรประชาชนจะขึ้นต้นด้วยเลข
5ทันที คือ กลายเป็น 5 1001 01245 29 9
ประเภทที่ 6 คือ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว
กล่าวคือคนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่ยังไม่ได้สัญชาติไทย
เพราะทางการยังไม่รับรองทางกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดนหรือชาวเขา
กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ชั่วคราว
เช่นนักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย
แม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศ ของตน แต่อาจจะมีสามีหรือภริยาคนไทย
จึงไปขอทำทะเบียนประวัติ เพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสามีหรือภริยา
คนทั้งสองแบบที่ว่า ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6 เลขประจำตัวในบัตรจะขึ้นต้นด้วยเลข
6 เช่น 6 1012 23458 12
ประเภทที่ 7 คือ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย คนกลุ่มนี้ในทะเบียนประวัติจะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข
7เช่น 7 1012 2345 133
ประเภทที่ 8 คือ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย
คือ ผู้ที่ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
หรือคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย
ตั้งแต่หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 เป็นต้นไปจนปัจจุบัน
คนกลุ่มนี้เลขในทะเบียนประวัติจะขึ้นด้วยเลข 8 เช่น 8
1018 01234 24 7
คนทั้ง 8 ประเภทนี้ จะมีเพียงประเภทที่ 3, 4 และ 5 เท่านั้น ที่จะมีบัตรประชาชนได้เลย
ส่วนประเภทที่ 1 และ 2 จะมีบัตรประชาชนได้
ก็ต่อเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชน คืออายุ 15 ปี
แต่สำหรับบุคคลประเภทที่ 6, 7 และ 8 จะมีเพียงทะเบียนประวัติเล่มสีเหลืองเท่านั้น
จะไม่มีการออกบัตรประชาชนให้
หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 (เลข 1001 ในตัวอย่างหรือสี่ตัวถัดไปจากตัวแรก) จะหมายถึง
รหัสของสำนักทะเบียนหรืออำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียน ขณะที่ให้เลข
ซึ่งก็หมายถึงถิ่นที่อยู่ของเรานั่นเอง กล่าวคือ เลขหลักที่ 2 และ 3จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่ ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอใน จังหวัดนั้นๆ เช่น
ถ้าเขียนว่า 1001 ก็หมายถึงว่าคุณอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ
ในเขตดุสิต เพราะ 10๐ ในหลักที่ 2 และ 3
หมายถึงกรุงเทพมหานคร ส่วนเลข 01 ในหลักที่ 4และ 5 คือรหัสของสำนักทะเบียนเขตดุสิต
หรือถ้าเขียนว่า 1101 ก็จะหมายถึง อยู่ที่จังหวัด
สมุทรปราการ อำเภอเมือง เพราะ 11 แรกคือ
รหัสจังหวัดสมุทรปราการ และ 01 หลัง คือ
อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นต้น
หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 (เลข 01245 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง กลุ่มที่ของบุคคลแต่ละประเภทตามหลักแรก (หลักที่ 1)
ซึ่งทางสำนักทะเบียน ในแต่ละแห่ง ก็จะจัดกลุ่มเรียงไปตามลำดับหรือหากเป็นเด็กเกิดใหม่ในปัจจุบัน
เลขดังกล่าวก็จะหมายถึง เล่มที่ของสูติบัตร(ใบแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตออกให้)
ซึ่งก็คือเลขประจำตัวในทะเบียนบ้านของเด็กที่แต่ละอำเภอหรือเขตออกให้
และจะไปปรากฎในบัตรประชาชน เมื่อถึงอายุต้องทำบัตรนั่นเอง แต่ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์เลขนี้
ก็จะปรากฏอยู่แค่ในทะเบียนบ้านของเด็กเท่านั้น
หลักที่ 11 และ 12 (หมายเลข 29 ในตัวอย่างสมมุติ)
จะหมายถึง ลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภทเป็นการจัดลำดับว่าเราเป็นคนที่เท่าไรในกลุ่มของบุคคลประเภทนั้นๆ
หลักที่ 13 (เลข 9 ตัวสุดท้ายในตัวอย่าง)
จะหมายถึง ตัวเลขสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของเลขทั้ง 12 หลักแรกอีกที
สำหรับเลขตั้งแต่หลักที่ 6 ถึง 13 นี้เป็นการจัดหมวดหมู่
และเรียงลำดับบุคคลในแต่ละประเภทของสำนักทะเบียนในแต่ละท้องที่
ซึ่งเราก็คงไม่ต้องรู้รายละเอียดอะไรลึกไปกว่านี้ เพราะรู้แล้วอาจจะงงเปล่าๆเป็นเรื่องน่าแปลกว่า
ตัวเลข 13 หลักที่เป็นหมายเลขในบัตรประชาชน
หรือเลขประจำตัวประชาชนของเราแต่ละคนนี้จะไม่มีการซ้ำกันเลย ผิดกับชื่อหรือนามสกุล
ยังมีซ้ำกันได้ และจะเป็นเลขประจำตัวเราจนตาย ไม่มีการเปลี่ยนหรือยกให้คนอื่น
และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ว่า ในอนาคตจะต้องมีการเติมเลข อย่างเลข 8 เข้าไปอีกเพราะเลขไม่พอใช้เหมือนโทรศัพท์มือถือหรือไม่
เขาก็บอกว่าคงอีกนาน อาจจะถึง 100 ปีโน่น
เพราะการที่เขาแยกแยะบุคคลเป็นประเภทต่างๆ และยังแยกย่อยเป็นจังหวัดอำเภอ
แล้วลงรายละเอียดไปเป็นกลุ่มๆในแต่ละประเภทอีกนั้น ทำให้เพดานหรือช่วงตัวเลขมีความห่างมาก
จนสามารถรองรับจำนวนคนได้อีกมากและหากใครสงสัย หรือมีปัญหาในเรื่องทะเบียนบ้าน
ทะเบียนสมรส บัตรประชาชน ก็สามารถสอบถามไปได้ที่สำนักบริหารการทะเบียน
กรมการปกครอง โทร. 1548
ตัวเลข 13 หลักที่กล่าวข้างต้น
เป็นเลขประจำตัวประชาชนของแต่ละคนนี้
แม้จะมิใช่ตัวเลขที่เราต้องใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน
ยกเว้นใช้ในการกรอกเอกสารบางอย่าง เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร ฯลฯ
แต่เลขนี้ก็มีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นการสำแดงตัวตน “ความเป็นคนไทยหรือคนในประเทศไทย”
ที่ทำให้เราสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยและใช้สิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้
http://www.bkps.ac.th/a06_Education/22Education.htm
06.12.60