04.12.56
ขั้นตอนการดำเนินการ สมัครสิทธิเบิกจ่ายตรง รพ.ราชบุรี (ผู้ป่วยนอก) สำหรับข้าราชการท้องถิ่น ที่มีชื่อในฐานข้อมูล (สป.สช.)
1.ยื่นคำร้อง ที่
- สนง.เวชระเบียน ห้องเบอร์ 4 เวลา 07.30 -16.30 น. ไม่หยุดพักเที่ยง หรือ
- เคาน์เตอร์ ห้องบัตร ช่องบริการที่ 8 เวลา 07.30-12.00 น.
- และท่านสามารถใช้ระบบลงทะเบียนผู้ป่วยนอกออนไลน์ http://djphapho5.blogspot.com/p/blog-page_6045.html เพื่อทำประวัติผู้ป่วยล่วงหน้า โดยระบุในช่องหมายเหตุว่า "เพื่อทำเบิกจ่ายตรง"
หลักฐานที่ใช้ สำเนาบัตรประชาชนผู้ทำ 1 ฉบับ
2.ลงทะเบียนจ่ายตรง ที่ ฝ่ายประกันสุขภาพ ห้องเบอร์ 29
07.10.56
โรงพยาบาลราชบุรีจะทำลายประวัติผู้ป่วย ปี พ.ศ.2551
นายคงศักดิ์ สรรพอุดม นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลราชบุรี เปิดเผยว่า โรงพยาบาลราชบุรี จะทำลายเอกสารเวชระเบียนผู้ป่วยนอก ปี พ.ศ.2551 จำนวน 41,184 ราย และเวชระเบียนผู้ป่วยใน ปี พ.ศ.2551 เลขที่ HN 0000001-0045406 จำนวน 45,405 ราย ที่ขาดการรักษาเกิน 5 ปี ของงานเวชระเบียน ฝ่ายสารสนเทศ ซึ่งโรงพยาบาลราชบุรีจะดำเนินการทำลายเอกสารดังกล่าว ภายในเดือนตุลาคม 2556
ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและประสงค์จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลในเวชระเบียนดังกล่าว ทราบและแจ้งความประสงค์ได้ที่งานเวชระเบียน ฝ่ายสารสนเทศ โทรศัพท์หมายเลข 032-719600 ต่อ 1172 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2556 ในเวลาราชการ หากพ้นกำหนดนี้โรงพยาบาลจะดำเนินการทำลายตามระเบียบ/ชุติมา แจ้งดอนไพร ข่าว
03.09.56
|
ข้อแนะนำสำหรับการเตรียมตัวก่อนเจาะเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การวินิจฉัยโรคในปัจจุบันเมื่อท่านไปพบแพทย์หรือไปโรงพยาบาล แพทย์จะสั่งตรวจเลือดเสมอ การตรวจเลือดนั้นสามารถแยกย่อยไปสู่การตรวจประเภทต่างๆ เช่น การตรวจไขมัน ระดับน้ำตาล ตรวจหน้าที่ตับ ไต ตรวจฮอร์โมน ตรวจเชื้อ ไวรัส และอื่นๆ อีกมากมาย มากกว่า 100 รายการ การเตรียมตัวเพื่อไปเจาะเลือดจึงมีความสำคัญ ข้อแนะนำสำหรับการเจาะเลือดมี 8 ประการดังนี้
1.ควรงดอาหารและเครื่องดื่ม 8 ชั่วโมง สำหรับการตรวจน้ำตาลงด 12 ชั่วโมง สำหรับการตรวจไขมัน (สามารถดื่มน้ำเปล่าได้)
2.กรณีตรวจสุขภาพ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรดื่มสุราหรือมีความเครียดในช่วงที่จะทำการตรวจสุขภาพ กรณีใช้ยาควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะยาบางชนิดอาจรบกวนการทดสอบได้
3.กรณีตรวจเพื่อทำประกันชีวิต จะต้องเตรียมบัตรประชาชนและเอกสารของทางบริษัทประกันมาให้ครบถ้วน (เป็นขั้นตอนที่กำหนดตามระเบียบของบริษัทประกัน)
4.การตรวจเอดส์ จะต้องผ่านการให้คำปรึกษาจากทีมแพทย์/พยาบาล ทั้งก่อนเก็บตัวอย่างและเมื่อทราบผลการตรวจ พร้อมทั้งเซ็นใบยินยอมรับการตรวจ
5.ควรใส่เสื้อแขนสั้นหรือเสื้อที่ดึงได้มาถึงข้อพับ หากแขนเสื้อรัด อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเขียวช้ำ
6.หลังเจาะเลือด ควรกดแผลที่เจาะเลือดไว้ประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้เลือดหยุดไหล ไม่ควรแกว่งแขน หรือใช้แขนนั้นถือของหนัก ระวังไม่ให้แขนเสื้อรัดแขนบริเวณที่เจาะ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการเขียวช้ำ
7.หากมีอาการหน้ามืด วิงเวียน ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ และนั่งพักสักครู่ ไม่ควรลุกขึ้นทันที
8.หากมีอาการเขียวช้ำที่บริเวณที่เจาะเลือด ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบในวันแรกเพื่อบรรเทาอาการ และใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบในวันต่อมา เพื่อให้หายจากอาการเขียวเร็วขึ้น
เข็มที่ใช้ในการเจาะเลือดเป็นเข็มชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง
หากเกิดอาการเขียวช้ำไม่ต้องตกใจ!
1.วันแรกใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบบริเวณที่เจาะ
2.วันต่อมาใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบ อาการเขียวจะค่อยๆ จางลงภายใน 2-3 วัน
อาการเขียวช้ำ : เกิดจากมีเลือดซึมใต้ผิวหนัง ซึ่งอาจเกิดได้จากการที่เลือดยังไม่หยุดไหลดีภายหลังการเจาะเลือด จากสาเหตุ
- การไม่กดบริเวณที่เจาะ
- การออกแรง เช่น หิ้วของ
- เส้นเลือดเปราะหรือแตกง่าย
น.พ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์
02.09.56
คำย่อที่ใช้ในการรักษาโรคที่ใช้กันทั่วไป
I&D ย่อมาจาก INCISION AND DRAINAGE การผ่าเข้าไปและกรีดเอาหนองหรือสิ่งแปลกปลอมออกจากแผล
EXPLORE LAP. ย่อมาจาก EXPLORATORY LAPAROTOMY การผ่าเข้าไปในช่องท้องเพื่อผ่าตัดอวัยวะภายในช่องท้อง
TAH ย่อมาจาก TOTAL ABDOMINAL HYSTERECTOMY การผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมด
TR ย่อมาจาก TUBAL RESECTION การทำหมัน
C/S ย่อมาจาก CESARIAN SECTION การผ่าคลอด
BX ย่อมาจาก BIOPSY การตรวจชิ้นเนื้อ
IVA ย่อมาจาก INTRAVENOUS ANESTHESIA การวางยาสลบทางหลอดเลือด
SB ย่อมาจาก SPINAL BLOCK การฉีดยาระงับความรู้สึกทางไขสันหลัง
FNA ย่อมาจาก FINE NEEDLE ASPIRATION การใช้เข็มเจาะดูดตัวอย่างชิ้นเนื้อ
SO ย่อมาจาก SALPHINGO-OOPHORECTOMY การผ่าตัดรังไข่และปีกมดลูก
RM ย่อมาจาก REPEAT MEDICATION การให้ยาที่รักษาเหมือนเดิมกับครั้งที่แล้ว ๆ มา
CPR ย่อมาจาก CARDIOPULMONARY RESUSCITATION การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (การปั๊มหัวใจ)
RR ย่อมาจาก RETAIN ROOT การรักษารากฟัน
NG TUBEย่อมาจาก NASOGASTRIC TUBE การใส่สายยางทางจมูกถึงกระเพาะ
ET TUBE ย่อมาจาก ENDOTRACHEAL TUBE การใส่ท่อช่วยหายใจทางหลอดลม
ที่มา HTTP://DANHOS.THAIDDNS.COM/SMF/INDEX.PHP?TOPIC=192.0
16.08.56
แนวทางการบันทึกเวชระเบียน สำหรับทันตแพทย์
การบันทึกเวชระเบียนอย่างไรให้ครบถ้วน กระบวนความ อ่านทีไรนึกภาพออก ใครอ่านก็รู้เรื่อง ใครทำต่อก็เข้าใจ มีเรื่องอะไรก็ค้นง่ายสมบูรณ์ .. แบบไม่ยาก.. เพราะบางครั้งการรักษาที่เราคิดว่าดีแล้ว ถูกต้องแล้ว สมบูรณ์แล้ว ก็เกิดปัญหา แต่ย้อนกลับมาดู จะมีอะไรบ้างที่เป็นตัวบรรยายสิ่งที่เราได้ทำไป.. ก็การบันทึกเวชระเบียนยังไงละคะ..และที่สำคัญเดี๋ยวนี้การรักษานั้นต้องเป็นไปตามมาตรฐานระดับชาติ ระดับโลก เช่น HA JCI อะไรต่างๆ .. ซึ่งการบันทึกเวชระเบียนนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงมาตรฐานการทำงานของเราอีกด้วยค่ะ .. ลองติดตามดูกันเลยนะคะ
ทันตแพทย์ เป็นผู้ซักประวัติ ตรวจวินิจฉัย วางแผนการรักษา ให้การรักษา และส่งต่อผู้ป่วยตามความเหมาะสม และทำการบันทึกข้อมูลเวชระเบียน ดังนี้ค่ะ
1. Chief Complaint
ระบุอาการสำคัญของคนไข้ที่มาพบ เช่น ฟันผุ ปวดฟัน เหงือกบวม ฟันเรียงตัวไม่สวย ฯลฯ ข้อมูลนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะสื่อให้ทราบถึงสิ่งที่คนไข้อยากให้เรารักษาแก้ไข
2. Present lllness
รายละเอียดของอาการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น ตำแหน่ง บริเวณที่ปวด ลักษณะการปวด อะไรกระตุ้น ระยะเวลา ฯลฯ จำพวกปวดบวมแดงร้อน หรือ อาการสำคัญ ต่างๆ ควรบันทึกไว้ เทียบภายหลังการรักษาได้
3. Clinical Findings
รายงานผลการตรวจฟัน/บริเวณที่เป็นอาการสำคัญ หรืออาการเจ็บป่วย รวมทั้งการตรวจฟันผุ, วัสดุบูรณะที่ไม่เหมาะสม, ฟันที่ถูกถอนไป, อวัยวะปริทันต์ และปัญหาอื่น ๆ ที่พบจากการตรวจใน/นอกช่องปาก ไม่ควรละเลย เพราะ ฟันที่มีพยาธิสภาพ ต่างๆ อาจมีผลเกี่ยวกับการวางแผนการรักษาได้
4. Radiographic Examination
X-ray เป็นสิ่งสำคัญที่พลาดไม่ได้.. ไม่ว่าจะเป็นงานศัลยกรรมช่องปาก งานรักษาราก จัดฟัน อุดฟัน ฯลฯ เพราะสิ่งที่เห็นด้วยตาเปล่า อาจมีสิ่งซ้อนเร้นซ่อนอยู่ ซึ่งอาจทำให้งานธรรมดา ไม่ธรรมดาได้
การถ่ายภาพรังสี ปัจจุบัน นิยมใช้ ระบบ digital ทั้ง 2 และ3 มิติเพราะ สะดวก คุณภาพความคมชัด เก็บรักษาง่ายและลดสารพิษจากระบบน้ำยาล้างฟิล์ม
- การถ่ายภาพรังสี Periapical ให้เขียนระบุซี่ฟันนั้นๆ
- การถ่ายภาพรังสี Bitewing (BW) ให้เขียนระบุด้านที่ถ่าย
- การถ่ายภาพรังสีวิธีอื่นๆ เช่น OPG Lateral Ceph ฯลฯ
ให้ รายงานผลการตรวจจากภาพรังสีของ ฟัน / บริเวณที่เป็นอาการสำคัญหรือ อาการเจ็บป่วย รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่พบจากภาพรังสี
5. Diagnosis
บันทึก การวินิจฉัยโรคของฟัน/บริเวณที่เป็นอาการสำคัญ และโรคหรือความผิดปกติอื่น ๆ ที่ตรวจพบ การให้คำวินิจฉัยโรคให้เป็นไปตามข้อมูล ICD 10 CODE. ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล
6. Treatment plan
- วางแผนการรักษาทันตกรรมให้ครบตามที่วินิจฉัยโรคไว้ โดยมีเเนวทางการเลือกให้กับคนไข้ด้วย
- ในกรณี อุดฟัน รักษารากฟัน ถอนฟัน ครอบฟัน ระบุซี่ฟันที่ต้องรับการรักษา
- ในกรณี ใส่ฟัน ระบุตำแหน่งฟันหรือ arch หรือประเภทการใส่ฟัน
7. Verification , Mark site และ Time out
Verification
เป็นกระบวนการยืนยันความถูกต้องทุกครั้งก่อนการรักษาให้แก่คนไข้ ยิ่งโดยเฉพาะเวลามีการส่งคนไข้ไปยังเเพทย์ท่านอื่นที่รักษาต่อมา เพราะอาจผิดคน ผิดหัตถการผิดตำเเหน่งได้ !!!
( กรณีต้องฉีดยาชา ให้ทำก่อนการฉีดยาชา )
โดยทันตแพทย์ต้องตรวจสอบและยืนยันความถูกต้อง ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด และ HN. ( กรณี รพ. )ของคนไข้
- สอบถามคนไข้หรือผู้แทน ถึงหัตถการที่จะทำ และตำแหน่งฟันที่จะทำ และต้องได้รับคำยืนยันจากคนไข้ หรือผู้แทนยืนยันว่าตรงกับบันทึกของทันตแพทย์
- เอกสารสำคัญ เช่น การเซ็นยินยอมการรักษา ในหัตถการที่มีความเสี่ยง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายรายละเอียดของการรักษา ผลการรักษา ผลข้างเคียงต่างๆ ให้คนไข้รับทราบก่อน แต่ไม่ได้หมายความว่าแพทย์จะปฏิเสธความรับผิดชอบต่อคนไข้ได้นะคะ
- ฟิล์มเอ็กซเรย์
- รากเทียมหรืออุปกรณ์พิเศษอื่นๆ ที่ต้องใช้
Mark site
ระบุตำแหน่งฟันในช่องปาก หรือบริเวณที่จะทำการรักษาให้ผู้ป่วยรับทราบก่อนการรักษา และระบุตำแหน่งฟัน หรือบริเวณที่ทำการรักษาในแบบบันทึกเวชระเบียน
Time out
ทำการบันทึกในเวชระเบียนเพื่อแสดงการยืนยันขั้นสุดท้าย ก่อนเริ่มทำหัตถการ เพื่อยืนยันว่าจะให้การรักษาถูกคน ถูกตำแหน่ง และถูกหัตถการ ดังนี้
- Patient หมายถึง การรักษาถูก
- Site หมายถึง การรักษาถูกตำแหน่ง
- Procedure หมายถึง การรักษาถูกหัตถการ
8. Treatment
บันทึกการรักษาทันตกรรมที่ให้ใน Visit นั้น
a) Tooth
ระบุซี่ฟัน หรือ Quadrant หรือตำแหน่งที่ทำให้ชัดเจน
b) Treatment
- บันทึกรายละเอียดการรักษา ผลการตรวจพบหลังการรักษา
- กรณีที่มีการใช้ยาชาให้ระบุชนิดยาชา ความเข้มข้นของสารบีบหลอดเลือด ปริมาณที่ใช้ทุกครั้ง
- เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะให้การรักษา บันทึกรายละเอียดของการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการให้การรักษาเพื่อแก้ไขภาวะนั้น
- กรณีมีการให้ยา ให้บันทึกการสั่งยา (ชนิดยา / ขนาดยา / จำนวนยา ) การใช้ยาทุกครั้ง
- กรณีที่ต้องการบันทึกค่าใช้จ่ายของแผนการรักษาที่แจ้งต่อผู้ป่วย ให้บันทึกไว้ในช่องนี้
- กรณีที่มีการสั่งยา บันทึก ชนิดยา ขนาดยา จำนวนยา ทุกครั้ง
- กรณีที่ต้องการบันทึกรายละเอียดเพิ่มเติม ให้บันทึกไว้ในช่องนี้
c) บันทึกค่าใช้จ่ายของการรักษา ใน Visit นั้น
เพื่อจะได้เป็นข้อมูลที่สามารถเช็คราคา ยอดชำระ ยอดคงเหลือได้ และเช็คข้อมูลกรณีเบิกหน่วยงานต่างๆได้
9. Reassessment
การประเมินซ้ำหลังให้การรักษา ดังนี้
Pain score ประเมินความเจ็บปวด ทำในกรณีต่อไปนี้
- ผู้ป่วยทุกรายที่มีความเจ็บปวดก่อนการรักษา
- ผู้ป่วยทุกรายหลังทำหัตถการ
บันทึก Pain score ลงในเวชระเบียน
Bleeding หลังทำหัตถการ
- ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหรือศัลยกรรมช่องปาก ต้องได้รับการประเมิน Bleeding หลังทำหัตถการทุกครั้ง ว่าปกติหรือไม่ หากไม่ปกติเขียนระบุอาการที่พบ
- หากจำเป็นต้องประเมินภาวะอื่นเพิ่มเติม ให้เขียนรายละเอียด
10. OHI / Post - op care Instruction
บันทึกข้อมูลการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในเวชระเบียนทุกครั้ง การให้ทันตสุขศึกษาคำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังการรักษา หรือข้อมูลอื่นๆที่จำเป็น กรณีให้คำอธิบายและให้ใบคำแนะนำ หลังการรักษา เขียนระบุการรักษา หากมีข้อมูลเพิ่มเติมบันทึกในช่องอื่นๆ
11. Referral
- การส่งต่อผู้ป่วยเพื่อปรึกษาแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ระบุสาขาแพทย์
- การส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรักษากับทันตแพทย์เฉพาะทาง ระบุสาขาทันตแพทย์ และแผนการรักษา
12. Next visit
- กรณีนัดหมายต่อเนื่อง ระบุแผนการรักษา เวลาในการรักษา ระยะนัดหมายในครั้งต่อไป ทุกครั้ง
- กรณีการรักษาเสร็จสมบูรณ์ ให้เขียนระบุระยะเวลาการ Recall ( Recall 3 เดือน , 6 เดือน )
13. Signature
ลงชื่อทันตแพทย์ผู้รักษาทุกครั้ง เพื่อจะได้ทราบชื่อเเพทย์ผู้ทำการรักษา
หมายเหตุ
- ถ้าเป็นไปได้ควรบันทึก เวลาเข้า - ออกจากห้องตรวจเพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงของการรักษา
- การบันทึกความดันโลหิตและชีพจร (Reassessment)
กรณีที่มีการผ่าตัด / ศัลยกรรมช่องปาก ให้พยาบาลวัดความดันโลหิตและชีพจร หลังจากทำ หัตถการแล้ว 10 ถึง 15 นาที ให้บันทึกค่าที่ได้และเวลาที่วัด ใน note - กรณีคนไข้ไม่มาตามนัด ให้บันทึกในช่อง note ของใบเวชระเบียนครั้งสุดท้ายที่ผู้ป่วยมา จะได้ติดตามนัดรักษาต่อ เพื่อให้การรักษาสมบูรณ์ ครบตามแผนที่วางไว้ เช่น รักษาราก จัดฟัน ฯลฯ ที่ต้องรักษาต่อเนื่อง
07.08.56
การตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล ก่อนเจาะเลือด
เฉพาะสิทธิ บัตรทองนอกเขต และ บัตรทองต่างจังหวัด
1.ท่านที่มีเอกสาร มาครบถ้วน ......
1.ท่านที่มีเอกสาร มาครบถ้วน ......
- บัตรประชาชน 1 ฉบับ
- หนังสือส่งตัว 1 ฉบับ
เจ้าหน้าที่ฯ สามารถตรวจสอบและอนุมัติใช้สิทธิ ให้ท่านได้ที่..เคาน์เตอร์เวชระเบียนหน้าห้องเจาะเลือด เบอร์ 46 เวลา 06.30-12.00 น.
....................................................................................................................................
การจัดเรียงเอกสาร
การจัดเรียงเอกสาร
- ใบสั่งยา
- สำเนาหนังสือส่งตัว
- สำเนาบัตรประชาชน
- ใบพิมพ์สิทธิ์
- หนังสือส่งตัวฉบับจริง(ถ้ามี)
01.08.56
การเตรียมตัวก่อนเจาะเลือด
ก่อนเจาะเลือด ผู้ป่วยต้องเตรียมตัวให้ถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อเป็นไปตามมาตรฐานของห้องปฏิบัติการ และได้ผลการตรวจที่เป็นจริง ตลอดจนเป็นแนวทางในการรักษาที่ถูกต้อง ทางห้องปฏิบัติการแนะนำให้ผู้ป่วยเตรียมตัว ดังนี้
1. ตรวจหาระดับน้ำตาล (Glucose) เพียงอย่างเดียว
- งดอาหาร เครื่องดื่ม ของขบเคี้ยว ลูกอม หมากฝรั่งทุกชนิด อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ยกเว้น น้ำ จิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย (ประมาณไม่เกินครึ่งแก้ว)
- ถ้าต้องการเจาะเลือด เวลา 7.00 น. -8.00 น. ให้งดอาหารและเครื่องดื่ม หลังเที่ยงคืน หรือถ้าต้องการเจาะเลือดในเวลาอื่น ให้กำหนดเวลางดอาหารจนถึงเวลาเจาะเลือด ครบ 6-8 ชั่วโมง
2. ตรวจหาระดับไขมันในเลือด (Lipid Profile) และ ระดับน้ำตาล (Glucose)
- งดอาหาร เครื่องดื่ม ของขบเคี้ยว ลูกอม หมากฝรั่งทุกชนิด อย่างน้อย 10-12 ชั่วโมง ยกเว้น น้ำ จิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย (ประมาณไม่เกินครึ่งแก้ว)
- ถ้าต้องการเจาะเลือด เวลา 7.00 น. -8.00 น. ให้งดอาหารและเครื่องดื่ม หลังเวลา 19.00 น.- 20.00 น.
3. การเจาะเลือดตรวจหาสารอย่างอื่น
- งดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ก่อนเจาะเลือด หรือตามคำแนะนำของแพทย์
01.08.56
ก็อด อาร์มี่
เช้าวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2543 กองกำลังก็อดอาร์มี กลุ่มเดิมที่นำโดย นายจอห์นนี่ จำนวน 10 คน ได้ก่อเหตุด้วยการปลอมตัวเป็นผู้โดยสารนั่งรถประจำทางสายสวนผึ้ง-ราชบุรี แล้วใช้ปืนเอ็ม-16 และระเบิดจี้คนขับรถให้พาไปยังโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี เมื่อไปถึงได้บุกยึดโรงพยาบาล จับแพทย์ พยาบาล และคนไข้ประมาณ 1,000 คน เป็นตัวประกัน
จากนั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยพยายามเข้าไปช่วยเหลือตัวประกัน แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากผู้ก่อการได้วางระเบิดดักไว้ที่ลาดจอดรถทั้งด้านหน้าและด้านหลังโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยจึงเปลี่ยนมาใช้วิธีเจรจาต่อรองจนทราบว่า กลุ่มก็อดอาร์มี ต้องการนำตัวแพทย์ และพยาบาลไปรักษาทหารกะเหรี่ยงที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกทหารรัฐบาลพม่าปราบปรามอย่างหนัก โดยข้อเรียกร้อง 5 ข้อของกะเหรี่ยงก็อดอาร์มี่ มีดังนี้
1. ให้รัฐบาลไทยหยุดใช้ปืน ค 120 มม. ยิงชนกลุ่มน้อยตามแนวตะเข็บชายแดนและให้รับรักษาผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย
2. ให้รัฐบาลไทยหยุดช่วยเหลือทหารพม่าที่มาใช้ดินแดนไทยมาต่อสู้กับชนกลุ่มน้อย
3. ให้รัฐบาลไทยช่วยเหลือผู้อพยพบ้านบ่อหลี
4. ให้รัฐบาลไทยกดดันรัฐบาลพม่าให้ยอมรับชนชาติกะเหรี่ยง
5. ให้รัฐบาลไทยลงโทษทหารไทยที่สั่งให้ยิงฐานกำลังของตน
ระหว่างนี้มีการยิงปืนขู่เป็นระยะ ๆ กดดันไม่ให้ตำรวจ-ทหารเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตาม ต่อมาสถานการณ์เริ่มดีขึ้น เมื่อกะเหรี่ยงก็อดอาร์มี่ยอมปล่อยตัวประกันเด็ก สตรี และคนชราที่ป่วยออกมารักษา เพื่อแลกกับอาหาร
เมื่อความมืดเข้าครอบคลุม นักรบพระเจ้าเปลี่ยนเสื้อผ้าจากลายพรางมาเป็นชุดผู้ป่วย เพื่อให้ตำรวจทหารแยกแยะไม่ออก ป้องกันการจู่โจมและปิดประตูหน้าต่าง ไฟฟ้า ไม่ให้สังเกตเห็นความเคลื่อนไหวภายใน
อย่างไรก็ตาม เมื่อใกล้ค่ำสถานการณ์เริ่มเปลี่ยนแปลง ผู้ก่อการร้ายขอเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ เพื่อนำคณะผู้ก่อการร้ายไปส่งชายแดน เมื่อฝ่ายเจรจาซักถามให้ไปส่งที่ใด ผู้ก่อการร้ายตอบไม่ได้ สับสน กังวล ไม่แน่ใจในความปลอดภัย ตอบเพียงว่าขอให้ไปส่งแนวชายแดนพื้นที่ของกะเหรี่ยงก็อดอาร์มี แต่การต่อรองก็ไม่สามารถหาข้อยุติได้
ในขณะที่พยายามจัดหาสิ่งที่ฝ่ายผู้ก่อการร้องขอมา เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยทั้งทหารและตำรวจพยายามต่อรองเพื่อหันเหความสนใจ โดยการถ่วงเวลาให้ผู้ก่อการอ่อนล้าและรอกำลังเสริม เพราะฝ่ายไทยวางแผนเตรียมจัดการขั้นเด็ดขาด เนื่องจากเกรงว่าหากปล่อยให้สถานการณ์ยืดเยื้อจะไม่เป็นผลดี กองกำลังผสมชุดปฏิบัติการนเรศวร 261 ของ ตชด. หน่วยอรินทราช 26 ของ บช.น.และชุดปฏิบัติการ 90 จากหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จ.ลพบุรี จึงค่อย ๆ คืบคลานเข้าประจำจุดอย่างเงียบเชียบและรัดกุม รอคอยคำสั่งปฏิบัติการ เน้นความรวดเร็วและแม่นยำ ที่สำคัญต้องไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต นอกจากผู้ก่อการร้าย
ในที่สุด เวลา 04.00 น. ของวันที่ 25 มกราคม กองกำลังหน่วยนเรศวร 261 จำนวน 50 นายได้บุกเข้าไปช่วยเหลือตัวประกัน ควบคู่ไปกับการจัดการขั้นเด็ดขาด โดยใช้เวลาเพียงไม่ถึง 20 นาที สามารถช่วยเหลือตัวประกันไว้ได้ทั้งหมดอย่างปลอดภัย และกลุ่มก็อด อาร์มี่ เสียชีวิต 10 คน
จนกระทั่งวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2544 ลูเธอร์และจอห์นนี่ ฮะทู พร้อมลูกน้องทั้ง 27 คน ได้เข้ามอบตัวต่อทางการไทย และถูกส่งไปอยู่ในค่ายผู้อพยพ พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านต้นยาง ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
วันกองทัพไทย
สำหรับการปราบผู้ก่อการร้ายดังกล่าวตรงกับ 25 มกราคม วันกองทัพไทยพอดิบพอดี ซึ่งทุกปีมีการเดินสวนสนามประกาศความยิ่งใหญ่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราช ทรงเป็นนักรบผู้กล้าหาญ นักรบผู้ยิ่งใหญ่โดยเฉพาะสมรภูมิที่สู้รบกับพม่า พระองค์ประสบชัยชนะอย่างสง่างามและเด็ดขาด
แต่สถานการณ์ที่คลุมเครือดังกล่าวทำให้ ณ เวลานั้น กองทัพไทยยังไม่สามารถเฉลิมฉลองได้อย่างเต็มภาคภูมิ โดย ผบ.ทบ.พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ในทุกสนามรบ ยอมไม่ได้เด็ดขาด ชาติอยู่เหนืออื่นใด จะปล่อยให้ก็อดอาร์มี กองกำลังกะเหรี่ยงลูบคมหยามศักดิ์ศรีทหารไทย คนไทย ถึงสองครั้งได้อย่างไร
แผนเผด็จศึกถูกจัดวางอย่างรอบคอบรัดกุม ไม่มีผู้ใดรู้ล่วงหน้าเลยเพียงแต่กำชับให้ทุกหน่วยต้องพร้อมปฏิบัติเมื่อมีคำสั่งเท่านั้น เพียงคำนี้ทุกหน่วยรบรู้เองว่าจะปฏิบัติอย่างไร และอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป การซักซ้อม ประสานการปฏิบัติหน่วยต่อหน่วย ซ้อมครั้งแล้วครั้งเล่า ซ้ำซาก กำหนดทิศทางต้องลงตัวเสมอ ผิดแม้แต่องศาเดียวหมายถึง ชีวิตตัวประกัน ชีวิตตนเอง ชื่อเสียงประเทศชาติ เกียรติภูมินักรบไทย จนในที่สุดกองทัพไทยก็สามารถปราบผู้ก่อการร้ายลงได้อย่างราบคาบ
มาทำความรู้จักกับ ก็อดอาร์มี่ นักรบของพระเจ้า
ตั้งแต่ปี 2530 นักศึกษาและประชาชนชาวพม่าเคลื่อนไหวกดดันให้รัฐบาลทหารเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงถูกกวาดล้างอย่างหนัก จนต้องหลบหนีมาอาศัยอยู่กับชนกลุ่มน้อยตามแนวตะเข็บชายแดน บางส่วนหนีเข้ามาฝั่งไทย ด้วยความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมประเทศไทยได้จัดตั้งศูนย์นักศึกษาพม่าขึ้นที่บ้านมณีลอย ต.วังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2534
จอห์นนี่และลูเธอร์ ฮะทู
ต่อมาปี 2538 กองกำลังกะเหรี่ยงกู้ชาติเคเอ็นยู ถูกทหารพม่าตีแตกออกเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มหนึ่งใช้ชื่อว่า "ก็อดอาร์มี่" หรือนักรบพระเจ้า มีผู้นำเป็นเด็กแฝดลิ้นดำ 2 คน คือ จอห์นนี่และลูเธอร์ ฮะทูซึ่งมีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับกลุ่มนักศึกษาพม่าศูนย์มณีลอย เคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านรัฐบาลพม่า เช่น บุกยึดสถานทูตพม่าเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2542 และยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี ปี 2543 และมีความพยายามอีกหลายครั้ง
จนกระทั่งวันที่ 16 มกราคม 2544 สองเด็กแฝดลิ้นดำพร้อมลูกน้องเข้ามอบตัวต่อทางการไทย สุดท้ายทางการไทยจึงสั่งปิดศูนย์ในปี 2545 โดยมีนักศึกษาบางส่วนถูกส่งตัวไปยังประเทศที่สามhttp://hilight.kapook.com/view/81233
30.07.56
ขั้นตอนบริการตรวจครรภ์
- ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต หน้าห้อง 27
- ขอใบสั่งยา ที่เคาน์เตอร์เวชระเบียน(สีฟ้า) ข้างห้อง 26
- นำสมุดสีชมพูพร้อมกระปุกเก็บปัสสาวะ ติดต่อหน้าห้อง 25
- หากมีอาการผิดปกติ ให้แจ้งพยาบาลทันที
- รอเรียกตรวจตาม เลขคิวในใบสั่งยา
- หลังตรวจแล้ว พบพยาบาลเพื่อรับฟังคำแนะนำ
- โปรดนำบัตรประจำประชาชนมาด้วยทุกครั้ง เพื่อตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล
- ควรรับประทานอาหารเช้าก่อนชั่งน้ำหนักทุกครั้ง เพื่อประเมินการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
ห้องฝากครรภ์ โรงพยาบาลราชบุรี โทร 032-719600 ต่อ 1247
24.07.56
คลินิกสุขภาพเด็กดี
ให้ท่านไปรับบริการที่สถานที่ดังต่อไปนี้
- ศูนย์สุขภาพชุมชนเทศบาลเมือง โรงพยาบาลราชบุรี(ศูนย์ 2 ซอย 7 ถนนมนตรีสุริยวงค์) เปิดให้บริการในวันอังคาร สัปดาห์ที่ 1 ,2 และ 3 ของเดือน เวลา 13.00-16.00 น
- ศูนย์สุขภาพชุมชนประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลราชบุรี (โรงเจประปา) เปิดให้บริการในวันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 2 และสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน เวลา 13.00-16.00 น.
ค่าบริการ
- ผู้รับบริการนอกเขต คือ กลุ่มที่มีที่อยู่ตามทะเบียนบ้านนอกเขตอำเภอเมืองราชบุรี ต่างอำเภอ และต่างจังหวัด ให้เก็บค่าบริการฉีดวัคซีนครั้งละ 50 บาท ส่วนค่าเวชภัณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่วัคซีน ให้เก็บตามปกติ และแนะนำให้กลับไปรับบริการตามพื้นที่ในครั้งต่อไป แต่หากผู้รับบริการไม่ไปโดยยินดีเสียค่าบริการ ก็ให้มีการให้บริการตามปกติ โดยต้องไม่มีการปฏิเสธการให้บริการโดยเด็ดขาด
- กลุ่มต่างด้าวที่มีบัตรประกันสุขภาพ เสียค่าบริการครั้งละ 30 บาท(ตามเกณฑ์ของการใช้บัตรประกันสุขภาพ) และให้ได้รับบริการตามเกณฑ์ของชุดสิทธิประโยชน์เหมือนผู้รับบริการที่เป็นคนไทย
- กลุ่มต่างด้าวที่ไม่มีบัตรประกันสุขภาพ เก็บค่าบริการฉีดวัคซีน ครั้งละ 50 บาท ,ค่าวัคซีนตามอัตราที่โรงพยาบาลกำหนด ส่วนค่าเวชภัณฑ์อื่น ๆ เก็บตามปกติ
ที่มา: รบ 0027.105.5/245
งานส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟู กลุ่มงานเวชกรรมสังคม
งานส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟู กลุ่มงานเวชกรรมสังคม
18.07.56
สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
สิทธิการรับรู้หรือรับทราบข้อมูลข่าวสารของราชการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
"ข้อมูลข่าวสาร" หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูลหรือสิ่งใดๆไม่ว่าการสื่อความหมายนั้น จะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆและไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่ายฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้
"ข้อมูลข่าวสารของราชการ" หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน 3.1 ข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยเป็นการทั่วไป
3.1.1 ข้อมูลข่าวสารที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
(1) โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐนั้น
(2) สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน
(3) สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร หรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
(4) กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบแบบแผน นโยบายหรือการตีความ ทั้งนี้ เฉพาะที่จัดให้มีขึ้น โดยมีสภาพอย่างกฎเพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง
(5) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อมูลข่าวสารใดที่ได้มีการจัดพิมพ์เพื่อให้แพร่หลายตามจำนวนพอสมควรแล้ว ถ้ามีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาโดยอ้างอิงถึงสิ่งพิมพ์นั้นก็ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว (มาตรา 7)
3.1.2 ข้อมูลข่าวสารที่ต้องลงพิมพ์ตามมาตรา 7 (4) ถ้ายังไม่ได้ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา จะนำมาใช้บังคับในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ผู้ใดไม่ได้เว้นแต่ผู้นั้นจะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารนั้นตามความเป็นจริงมาก่อนแล้วเป็นเวลาพอสมควร (มาตรา 8)
3.1.3 ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดได้แก่
(1) ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว
(2) นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามาตรา 7 (4)
(3) แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่กำลังดำเนินการ
(4) คู่มือ หรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน
(5) สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงตามมาตรา 7 วรรคสอง
(6) สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ
(7) มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมายหรือโดยมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้ระบุรายชื่อรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริงหรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย
(8) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด (มาตรา 9)
3.1.4 ข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการนอกเหนือจากข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 9 (มาตรา 11)
3.1.5 ข้อมูลข่าวสารที่คัดเลือกไว้ให้ประชาชนศึกษาค้นคว้า (เอกสารประวัติศาสตร์) ได้แก่ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยราชการของรัฐไม่ประสงค์จะเก็บรักษาไว้หรือข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 14 เมื่อมีอายุครบ 75 ปี และข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 เมื่อมีอายุครบ 20 ปี นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารนั้น ให้หน่วยงานของรัฐส่งมอบให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาเพื่อให้ประชาชนศึกษาค้นคว้า(มาตรา 26)3.2 ข้อมูลข่าวสารของราชการที่เปิดเผยเป็นการเฉพาะ ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวบุคคลเช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรมหรือประวัติการทำงาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้นหรือมีเลขหมายรหัสหรือสิ่งบอกลักษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียงของคนหรือ รูปถ่าย และให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย (มาตรา 4)
บุคคล หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทยและบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย(มาตรา 21) 3.3 ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย
3.3.1 ข้อมูลข่าวสารของราชการที่เปิดเผยไม่ได้ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์จะเปิดเผยมิได้ (มาตรา 14)
3.3.2 ข้อมูลข่าวสารของราชการที่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย โดยคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตาม กฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะและประโยชน์ของประชาชนที่เกี่ยวข้องประกอบกัน
(1) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือความมั่นคงในทาง เศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
(2) การเปิดเผยจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพหรือไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม การทดสอบ การตรวจสอบ หรือการรู้แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารหรือไม่ก็ตาม
(3) ความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการเรื่องหนึ่งเรื่องใด แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริงหรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการทำความเห็น หรือคำแนะนำภายในดังกล่าว
(4) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของบุคคลหนึ่งบุคคลใด
(5) รายงานการแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร
(6) ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีกฎหมายคุ้มครองมิให้เปิดเผยหรือข้อมูลข่าวสารที่มีผู้ให้มาโดยไม่ประสงค์ให้ทางราชการนำไป เปิดเผยต่อผู้อื่น
(7) กรณีอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดก็ได้แต่ต้องระบุไว้ด้วยว่าที่เปิดเผยไม่ได้เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใด และเพราะเหตุใด และให้ถือว่าการมีคำสั่งเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ของราชการเป็นดุลพินิจโดยเฉพาะของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามลำดับสายการบังคับบัญชา แต่ผู้ขออาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา 15)
8.1 ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาต่างๆ ตามความเหมาะสมซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอของคณะกรรมการ มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 14 หรือมาตรา 15 หรือ คำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านตามมาตรา 17 และคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา 25
การแต่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งตามสาขาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของข้อมูลข่าวสารของราชการ เช่นความมั่นคงของประเทศ เศรษฐกิจ และการคลังของประเทศ หรือการบังคับใช้กฎหมาย(มาตรา 35) 8.2 คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารคณะหนึ่งๆประกอบด้วยบุคคลตามความจำเป็นแต่ต้องไม่น้อยกว่า สามคนและให้ข้าราชการที่คณะกรรมการแต่งตั้งปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ
ในกรณีพิจารณา เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของรัฐแห่งใด กรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารซึ่งมาจากหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นจะเข้าร่วมพิจารณาด้วยไม่ได้
กรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร จะเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการ ไม่ได้ (มาตรา 36) 8.3 ให้คณะกรรมการพิจารณาส่งคำอุทธรณ์ให้คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร โดยคำนึงถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแต่ละสาขา ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับคำอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้เป็นที่สุด และในการมีคำวินิจฉัยจะมีข้อสังเกต เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีใดตามที่เห็นสมควรก็ได้
ให้นำความในมาตรา 13 วรรคสอง คือข้อ 7.9 มาใช้บังคับแต่การพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดย อนุโลม (มาตรา 37) 8.4 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแต่ละสาขา วิธีพิจารณาและวินิจฉัย ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 38) ให้นำบทบัญญัติมาตรา 29 เกี่ยวกับวาระของคณะกรรมการคราวละ 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง มาตรา 30 เกี่ยวกับการพ้นตำแหน่ง มาตรา 32 เกี่ยวกับการเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือส่งวัตถุเอกสารหรือพยานหลักฐาน และบทกำหนดโทษที่ประกอบกับบทบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับกับคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยอนุโลม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 58 บัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูล หรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐความปลอดภัยของประชาชนหรือส่วนได้เสีย อันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ"
หลักการและเหตุผลของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ
ในระบอบประชาธิปไตย การให้ประชาชนมีโอกาสกว้างขวางในการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆของรัฐเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อที่ประชาชนจะสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูกต้องกับความจริงอันเป็นการส่งเสริมให้มีความเป็นรัฐบาลโดยประชาชนมากยิ่งขึ้นสมควรกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยมีข้อยกเว้นอันไม่ต้องเปิดเผยที่แจ้งชัดและจำกัดเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่หากเปิดเผยแล้วจะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติหรือต่อประโยชน์ที่สำคัญของเอกชน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาระบบประชาธิปไตยให้มั่นคงและจะยังผลให้ประชาชนมีโอกาสรู้ถึงสิทธิหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะปกปักรักษาประโยชน์ของตนประการหนึ่งกับสมควรคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยว ข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการไปพร้อม อีกประการหนึ่ง
ประเภทข้อมูลข่าวสารของราชการ
"ข้อมูลข่าวสารของราชการ" หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน 3.1 ข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยเป็นการทั่วไป
3.1.1 ข้อมูลข่าวสารที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
(1) โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐนั้น
(2) สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน
(3) สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร หรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
(4) กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบแบบแผน นโยบายหรือการตีความ ทั้งนี้ เฉพาะที่จัดให้มีขึ้น โดยมีสภาพอย่างกฎเพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง
(5) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อมูลข่าวสารใดที่ได้มีการจัดพิมพ์เพื่อให้แพร่หลายตามจำนวนพอสมควรแล้ว ถ้ามีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาโดยอ้างอิงถึงสิ่งพิมพ์นั้นก็ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว (มาตรา 7)
3.1.2 ข้อมูลข่าวสารที่ต้องลงพิมพ์ตามมาตรา 7 (4) ถ้ายังไม่ได้ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา จะนำมาใช้บังคับในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ผู้ใดไม่ได้เว้นแต่ผู้นั้นจะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารนั้นตามความเป็นจริงมาก่อนแล้วเป็นเวลาพอสมควร (มาตรา 8)
3.1.3 ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดได้แก่
(1) ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว
(2) นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามาตรา 7 (4)
(3) แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่กำลังดำเนินการ
(4) คู่มือ หรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน
(5) สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงตามมาตรา 7 วรรคสอง
(6) สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ
(7) มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมายหรือโดยมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้ระบุรายชื่อรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริงหรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย
(8) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด (มาตรา 9)
3.1.4 ข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการนอกเหนือจากข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 9 (มาตรา 11)
3.1.5 ข้อมูลข่าวสารที่คัดเลือกไว้ให้ประชาชนศึกษาค้นคว้า (เอกสารประวัติศาสตร์) ได้แก่ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยราชการของรัฐไม่ประสงค์จะเก็บรักษาไว้หรือข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 14 เมื่อมีอายุครบ 75 ปี และข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 เมื่อมีอายุครบ 20 ปี นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารนั้น ให้หน่วยงานของรัฐส่งมอบให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาเพื่อให้ประชาชนศึกษาค้นคว้า(มาตรา 26)3.2 ข้อมูลข่าวสารของราชการที่เปิดเผยเป็นการเฉพาะ ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวบุคคลเช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรมหรือประวัติการทำงาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้นหรือมีเลขหมายรหัสหรือสิ่งบอกลักษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียงของคนหรือ รูปถ่าย และให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย (มาตรา 4)
บุคคล หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทยและบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย(มาตรา 21) 3.3 ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย
3.3.1 ข้อมูลข่าวสารของราชการที่เปิดเผยไม่ได้ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์จะเปิดเผยมิได้ (มาตรา 14)
3.3.2 ข้อมูลข่าวสารของราชการที่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย โดยคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตาม กฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะและประโยชน์ของประชาชนที่เกี่ยวข้องประกอบกัน
(1) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือความมั่นคงในทาง เศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
(2) การเปิดเผยจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพหรือไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม การทดสอบ การตรวจสอบ หรือการรู้แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารหรือไม่ก็ตาม
(3) ความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการเรื่องหนึ่งเรื่องใด แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริงหรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการทำความเห็น หรือคำแนะนำภายในดังกล่าว
(4) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของบุคคลหนึ่งบุคคลใด
(5) รายงานการแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร
(6) ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีกฎหมายคุ้มครองมิให้เปิดเผยหรือข้อมูลข่าวสารที่มีผู้ให้มาโดยไม่ประสงค์ให้ทางราชการนำไป เปิดเผยต่อผู้อื่น
(7) กรณีอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดก็ได้แต่ต้องระบุไว้ด้วยว่าที่เปิดเผยไม่ได้เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใด และเพราะเหตุใด และให้ถือว่าการมีคำสั่งเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ของราชการเป็นดุลพินิจโดยเฉพาะของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามลำดับสายการบังคับบัญชา แต่ผู้ขออาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา 15)
หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
"หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ศาลเฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี องค์กรควบคุมการประกอบอาชีพ หน่วยงานอิสระของรัฐและหน่วยงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
"เจ้าหน้าที่ของรัฐ" หมายความว่าผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ (มาตรา 4)
หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องดำเนินการและปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ดังนี้ 4.1 หน่วยงานของรัฐต้องจัดพิมพ์หรือจัดให้มีข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 9 ไว้เพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการจะได้กำหนด (มาตรา 42 วรรค 2)4.2 หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการตามที่กำหนดในมาตรา 7 ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา และรวบรวมและจัดให้มีข้อมูลข่าวสารดังกล่าวไว้เผยแพร่เพื่อขายหรือจำหน่ายจ่ายแจก ณ ที่ทำการของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นตามที่เห็นสมควร (มาตรา 7) 4.3 หน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการวางหลักเกณฑ์เรียกค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขอสำเนาหรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารของราชการก็ได้ในการนี้ให้คำนึงถึงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยประกอบด้วย ทั้งนี้เว้นแต่จะมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (มาตรา 9)
4.4 หน่วยงานของรัฐต้องจัดหาข้อมูลข่าวสารของราชการนอกจากที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาหรือจัดไว้ให้ประชาชนตรวจดูหรือที่จัดให้ประชาชนได้ค้นคว้า ตามมาตรา 26 ในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามสมควรให้ผู้ขอภายในเวลาอันสมควร เว้นแต่ผู้นั้นจะขอจำนวนมากหรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรและถ้าข้อมูลข่าวสารของราชการนั้นมีสภาพอาจบุบสลายได้ง่าย หน่วยงานของรัฐจะขอขยายเวลาในการจัดหาให้หรือจะจัดทำสำเนาอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูลข่าวสารนั้น
ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐจัดหาให้ข้างต้นต้องเป็นข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่แล้วในสภาพที่พร้อมจะให้ได้มิใช่เป็น การต้องไปจัดทำ วิเคราะห์ จำแนก รวบรวม หรือจัดให้มีขึ้นใหม่เว้นแต่เป็นการแปรสภาพเป็นเอกสารจากข้อมูลข่าวสารที่บันทึกไว้ในระบบการบันทึกภาพหรือเสียง ระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบอื่นใด ทั้งนี้ตามที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่ากรณีที่ขอนั้นมิใช่การแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า และเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพสำหรับผู้นั้นหรือเป็นเรื่องที่จะเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ หน่วยงานของรัฐจะจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้ก็ได้ บทบัญญัตินี้ไม่เป็นการห้ามหน่วยงานของรัฐที่จะจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการใดขึ้นใหม่ให้แก่ผู้ร้องขอหากเป็นการสอดคล้องด้วยอำนาจหน้าที่ตามปกติของหน่วยงานของรัฐนั้นอยู่แล้ว
ให้นำความในมาตรา 9 วรรคสอง วรรคสาม วรรคสี่ มาใช้บังคับแก่การจัดหาข้อมูลข่าวสารให้ตามมาตรานี้โดยอนุโลม(มาตรา 11)4.5 หน่วยงานของรัฐต้องแนะนำให้ผู้ขอข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 11 ที่อยู่ในความควบคุมดูแลของหน่วยงาน ส่วนกลางหรือส่วนสาขาของหน่วยงานแห่งนั้นหรือจะอยู่ในความควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นก็ตาม ให้ไปยื่นคำขอ ต่อหน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้นโดยไม่ชักช้า
ถ้าหน่วยงานของรัฐผู้รับคำขอเห็นว่าข้อมูลข่าวสารที่มีคำขอเป็น ข้อมูลข่าวสารที่จัดทำโดยหน่วยงานของรัฐแห่งอื่น และได้ระบุการห้ามเปิดเผยไว้ให้ส่งคำขอให้หน่วยงานของรัฐผู้ทำข้อมูลข่าวสารนั้นพิจารณาเพื่อมีคำสั่งต่อไป (มาตรา 12) 4.6 หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ก็ได้โดยคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชน ที่เกี่ยวข้องประกอบกัน
(1) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือความมั่นคงในทาง เศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
(2) การเปิดเผยจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ หรือไม่ อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ไม่ว่าจะเกี่ยวกับ การฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม การทดสอบ การตรวจสอบ หรือการรู้แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารหรือไม่ก็ตาม
(3) ความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการเรื่องหนึ่งเรื่องใดแต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงรายงานทางวิชาการรายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการทำความเห็นหรือคำแนะนำภายในดังกล่าว
(4) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของบุคคลหนึ่งบุคคลใด
(5) รายงานการแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร
(6) ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีกฎหมายคุ้มครองมิให้เปิดเผย หรือข้อมูลข่าวสารที่มีผู้ให้มาโดยไม่ประสงค์ให้ทางราชการนำไป เปิดเผยต่อผู้อื่น
(7) กรณีอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดก็ได้แต่ต้องระบุไว้ด้วยว่าที่เปิดเผยไม่ได้เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใดและเพราะเหตุใดและให้ถือว่าการมีคำสั่งเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นดุลพินิจ โดยเฉพาะของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามลำดับสายการบังคับบัญชาแต่ผู้ขออาจอุทธรณ์ต่อ คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา 15)
เพื่อให้เกิดความชัดเจน ในทางปฏิบัติว่าข้อมูลข่าวสารของราชการจะเปิดเผยต่อบุคคลใดได้หรือไม่ภายใต้เงื่อนไขเช่นใดและสมควรมีวิธีรักษามิให้ รั่วไหลให้หน่วยงานของรัฐกำหนดวิธีการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารนั้น ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนดว่าด้วยการรักษา ความลับของทางราชการ (มาตรา 16) 4.7 เจ้าหน้าที่ของรัฐเห็นว่า ในกรณีที่การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของผู้ใด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแจ้งให้ผู้นั้นเสนอคำคัดค้านภายในเวลาที่กำหนด แต่ต้องให้เวลาอันสมควรที่ผู้นั้นอาจเสนอคำคัดค้านได้ซึ่งต้อง ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ผู้ที่ได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่ง หรือผู้ที่ทราบว่าการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการใด อาจจะกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของตน มีสิทธิคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นได้โดยทำเป็นหนังสือถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบ
ในกรณีที่มีการคัดค้าน เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบต้องพิจารณาคำคัดค้านและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้คัดค้าน ทราบโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่มีคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านเจ้าหน้าที่ของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นมิได้จนกว่าจะล่วงพ้น กำหนดเวลาอุทธรณ์ตามมาตรา 18 หรือจนกว่าคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้มีคำวินิจฉัยให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นได้แล้วแต่กรณี(มาตรา 17) 4.8 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารใดแม้จะเข้าข่ายต้องมีความรับผิดตามกฎหมายใดให้ถือว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ต้องรับผิด หากเป็นการกระทำโดยสุจริตในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ดำเนินการโดยถูกต้องตามระเบียบมาตรา 16
(2) ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับตามที่กำหนดในกฎกระทรวงมีคำสั่งให้เปิดเผยเป็นการทั่วไปหรือเฉพาะแก่บุคคลใดเพื่อประโยชน์อันสำคัญยิ่งกว่าที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ หรือชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรือประโยชน์อื่น ของบุคคล และคำสั่งนั้นได้กระทำโดยสมควรแต่เหตุในการนี้จะมีการกำหนดข้อจำกัดหรือเงื่อนไขในการใช้ข้อมูลข่าวสารนั้น ตามความเหมาะสมก็ได้
การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารข้างต้นไม่เป็นเหตุให้หน่วยงานของรัฐพ้นจากความรับผิดตามกฎหมาย หากจะพึงมีในกรณีดังกล่าว (มาตรา 20) 4.9 หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลต้องปฏิบัติเกี่ยวกับ การจัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ต้องจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเพียงเท่าที่เกี่ยวข้องและจำเป็นเพื่อการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐให้สำเร็จ ตามวัตถุประสงค์เท่านั้น และยกเลิกการจัดให้มีระบบดังกล่าวเมื่อหมดความจำเป็น
(2) พยายามเก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากเจ้าของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่จะกระทบถึงประโยชน์ได้เสียโดยตรงของบุคคลนั้น
(3) จัดให้มีการพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาและตรวจสอบแก้ไขให้ถูกต้องอยู่เสมอเกี่ยวกับสิ่ง ดังต่อไปนี้
(ก) ประเภทของบุคคลที่มีการเก็บข้อมูลไว้
(ข) ประเภทของระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
(ค) ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ
(ง) วิธีการขอตรวจดูข้อมูลข่าวสารของเจ้าของข้อมูล
(จ) วิธีการขอให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล
(ฉ) แหล่งที่มาของข้อมูล
(4) ตรวจสอบแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในความรับผิดชอบให้ถูกต้องอยู่เสมอ
(5) จัดระบบรักษาความปลอดภัยให้แก่ระบบข้อมูลข่าวสารตามความเหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้มีการนำไปใช้โดยไม่เหมาะสม หรือเป็นผลร้ายต่อเจ้าของข้อมูล
ในกรณีที่เก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากเจ้าของข้อมูลหน่วยงานของรัฐต้องแจ้งให้เจ้าของ ข้อมูลทราบ ล่วงหน้า หรือพร้อมกับการขอข้อมูลถึงวัตถุประสงค์ที่จะนำข้อมูลมาใช้ลักษณะการใช้ข้อมูลปกติ และกรณี ที่ขอ ข้อมูลนั้นเป็นกรณีที่อาจให้ข้อมูลได้โดยความสมัครใจหรือเป็นกรณีมีกฎหมายบังคับ
หน่วยงานของรัฐต้องแจ้งให้เจ้าของ ข้อมูลทราบในกรณีมีการให้จัดส่งข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไปยังที่ใดซึ่งจะเป็นผลให้บุคคลทั่วไปทราบข้อมูลข่าวสารนั้นได้เว้นแต่เป็นไปตามลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ (มาตรา 21)
"บุคคล" หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย และ บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย แต่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย(มาตรา 21) 4.10 สำนักข่าวกรองแห่งชาติสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นตาม ที่กำหนดในกฎกระทรวง อาจออกระเบียบโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่มิให้นำบทบัญญัติวรรคหนึ่ง (3) ของมาตรา 23 มาใช้บังคับกับข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ ในความควบคุมดูแลของหน่วยงานดังกล่าวก็ได้
หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นที่จะกำหนดในกฎกระทรวงนั้น ต้องเป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งการเปิดเผย ประเภทข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา 23 วรรคหนึ่ง (3) จะเป็นอุปสรรคร้ายแรงต่อการดำเนินการของหน่วยงานดังกล่าว (มาตรา 22) 4.11 หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของตนต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือ ผู้อื่น โดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูลที่ให้ไว้ล่วงหน้า หรือในขณะนั้นมิได้ เว้นแต่เป็นการเปิดเผย ดังต่อไปนี้
(1) ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของตนเพื่อการนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น
(2) เป็นการใช้ข้อมูลตามปกติภายใต้วัตถุประสงค์ของการจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลนั้น
(3) ต่อหน่วยงานของรัฐที่ทำงานด้านการวางแผน หรือการสถิติ หรือสำมะโนต่างๆ ซึ่งมี หน้าที่ต้องรักษาข้อมูลข่าวสารส่วน บุคคลไว้ให้ไม่ให้เปิดเผยต่อไปยังผู้อื่น
(4) เป็นการให้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยโดยไม่ระบุชื่อหรือส่วนที่ทำให้รู้ว่าเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับบุคคลใด
(5) ต่อหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตาม มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เพื่อการตรวจดูคุณค่าในการ เก็บรักษา
(6) ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อการป้องกันการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย การสืบสวน การสอบสวน หรือการฟ้องคดี ไม่ว่าเป็นคดีประเภทใดก็ตาม
(7) เป็นการให้ซึ่งจำเป็นเพื่อการป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของบุคคล
(8) ต่อศาล และเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอข้อเท็จจริงดังกล่าว
(9) กรณีอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตาม (3) (4) (5) (6) (7) (8) และ (9) ให้มีการจัดทำบัญชีแสดง การเปิดเผยกำกับไว้กับข้อมูลข่าวสารนั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง (มาตรา 24) 4.12 เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเปิดเผยรายงานการแพทย์ที่เกี่ยวกับบุคคลใดจะเปิดเผยต่อเฉพาะแพทย์ที่บุคคลนั้นมอบหมายก็ได้ถ้ากรณีมีเหตุอันสมควร (มาตรา 25 วรรค 2) 4.13 หน่วยงานของรัฐต้องส่งมอบข้อมูลข่าวสารของราชการที่ไม่ประสงค์จะเก็บรักษาหรือมีอายุครบกำหนดเวลา คือ ข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 14 เมื่อครบ 75 ปี หรือตามมาตรา 15 เมื่อครบ กำหนด 20 ปี นับตั้งแต่วันที่เสร็จสิ้น การจัดให้มีข้อมูลข่าวสารให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติกรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เพื่อคัดเลือกไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า
กำหนดเวลาดังกล่าวอาจขยายออกไปได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) หน่วยงานของรัฐ ยังจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารของราชการไว้เองเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย โดยต้องจัดเก็บและจัดให้ประชาชนได้ศึกษา ค้นคว้าตามที่จะตกลงกับหอจดหมายเหตุแห่งชาติกรมศิลปากร
(2) หน่วยงานของรัฐเห็นว่าข้อมูลข่าวสารของราชการนั้นยังไม่ควรเปิดเผย โดยมีคำสั่งขยายเวลา กำกับไว้เป็นการเฉพาะราย คำสั่งการขยายเวลานั้นให้กำหนดระยะเวลาไว้ด้วย แต่จะกำหนดเกินคราวละห้าปีไม่ได้
การตรวจสอบหรือทบทวนมิให้มีการ ขยายระยะเวลาไม่เปิดเผยจนเกินความจำเป็นให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
บทบัญญัติตามมาตรานี้มิให้ใช้บังคับกับข้อมูลข่าวสารของราชการตามที่คณะรัฐมนตรีออกระเบียบกำหนดให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐจะต้องทำลายหรืออาจทำลายได้โดยไม่ต้องเก็บรักษา (มาตรา 26)4.14 หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้อง ยินยอมให้คณะกรรมการหือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายเข้าตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองของตนได้ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยได้หรือไม่ก็ตาม (มาตรา 33 วรรค 2)
"เจ้าหน้าที่ของรัฐ" หมายความว่าผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ (มาตรา 4)
หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องดำเนินการและปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ดังนี้ 4.1 หน่วยงานของรัฐต้องจัดพิมพ์หรือจัดให้มีข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 9 ไว้เพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการจะได้กำหนด (มาตรา 42 วรรค 2)4.2 หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการตามที่กำหนดในมาตรา 7 ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา และรวบรวมและจัดให้มีข้อมูลข่าวสารดังกล่าวไว้เผยแพร่เพื่อขายหรือจำหน่ายจ่ายแจก ณ ที่ทำการของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นตามที่เห็นสมควร (มาตรา 7) 4.3 หน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการวางหลักเกณฑ์เรียกค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขอสำเนาหรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารของราชการก็ได้ในการนี้ให้คำนึงถึงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยประกอบด้วย ทั้งนี้เว้นแต่จะมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (มาตรา 9)
4.4 หน่วยงานของรัฐต้องจัดหาข้อมูลข่าวสารของราชการนอกจากที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาหรือจัดไว้ให้ประชาชนตรวจดูหรือที่จัดให้ประชาชนได้ค้นคว้า ตามมาตรา 26 ในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามสมควรให้ผู้ขอภายในเวลาอันสมควร เว้นแต่ผู้นั้นจะขอจำนวนมากหรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรและถ้าข้อมูลข่าวสารของราชการนั้นมีสภาพอาจบุบสลายได้ง่าย หน่วยงานของรัฐจะขอขยายเวลาในการจัดหาให้หรือจะจัดทำสำเนาอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูลข่าวสารนั้น
ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐจัดหาให้ข้างต้นต้องเป็นข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่แล้วในสภาพที่พร้อมจะให้ได้มิใช่เป็น การต้องไปจัดทำ วิเคราะห์ จำแนก รวบรวม หรือจัดให้มีขึ้นใหม่เว้นแต่เป็นการแปรสภาพเป็นเอกสารจากข้อมูลข่าวสารที่บันทึกไว้ในระบบการบันทึกภาพหรือเสียง ระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบอื่นใด ทั้งนี้ตามที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่ากรณีที่ขอนั้นมิใช่การแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า และเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพสำหรับผู้นั้นหรือเป็นเรื่องที่จะเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ หน่วยงานของรัฐจะจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้ก็ได้ บทบัญญัตินี้ไม่เป็นการห้ามหน่วยงานของรัฐที่จะจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการใดขึ้นใหม่ให้แก่ผู้ร้องขอหากเป็นการสอดคล้องด้วยอำนาจหน้าที่ตามปกติของหน่วยงานของรัฐนั้นอยู่แล้ว
ให้นำความในมาตรา 9 วรรคสอง วรรคสาม วรรคสี่ มาใช้บังคับแก่การจัดหาข้อมูลข่าวสารให้ตามมาตรานี้โดยอนุโลม(มาตรา 11)4.5 หน่วยงานของรัฐต้องแนะนำให้ผู้ขอข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 11 ที่อยู่ในความควบคุมดูแลของหน่วยงาน ส่วนกลางหรือส่วนสาขาของหน่วยงานแห่งนั้นหรือจะอยู่ในความควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นก็ตาม ให้ไปยื่นคำขอ ต่อหน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้นโดยไม่ชักช้า
ถ้าหน่วยงานของรัฐผู้รับคำขอเห็นว่าข้อมูลข่าวสารที่มีคำขอเป็น ข้อมูลข่าวสารที่จัดทำโดยหน่วยงานของรัฐแห่งอื่น และได้ระบุการห้ามเปิดเผยไว้ให้ส่งคำขอให้หน่วยงานของรัฐผู้ทำข้อมูลข่าวสารนั้นพิจารณาเพื่อมีคำสั่งต่อไป (มาตรา 12) 4.6 หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ก็ได้โดยคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชน ที่เกี่ยวข้องประกอบกัน
(1) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือความมั่นคงในทาง เศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
(2) การเปิดเผยจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ หรือไม่ อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ไม่ว่าจะเกี่ยวกับ การฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม การทดสอบ การตรวจสอบ หรือการรู้แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารหรือไม่ก็ตาม
(3) ความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการเรื่องหนึ่งเรื่องใดแต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงรายงานทางวิชาการรายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการทำความเห็นหรือคำแนะนำภายในดังกล่าว
(4) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของบุคคลหนึ่งบุคคลใด
(5) รายงานการแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร
(6) ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีกฎหมายคุ้มครองมิให้เปิดเผย หรือข้อมูลข่าวสารที่มีผู้ให้มาโดยไม่ประสงค์ให้ทางราชการนำไป เปิดเผยต่อผู้อื่น
(7) กรณีอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดก็ได้แต่ต้องระบุไว้ด้วยว่าที่เปิดเผยไม่ได้เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใดและเพราะเหตุใดและให้ถือว่าการมีคำสั่งเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นดุลพินิจ โดยเฉพาะของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามลำดับสายการบังคับบัญชาแต่ผู้ขออาจอุทธรณ์ต่อ คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา 15)
เพื่อให้เกิดความชัดเจน ในทางปฏิบัติว่าข้อมูลข่าวสารของราชการจะเปิดเผยต่อบุคคลใดได้หรือไม่ภายใต้เงื่อนไขเช่นใดและสมควรมีวิธีรักษามิให้ รั่วไหลให้หน่วยงานของรัฐกำหนดวิธีการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารนั้น ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนดว่าด้วยการรักษา ความลับของทางราชการ (มาตรา 16) 4.7 เจ้าหน้าที่ของรัฐเห็นว่า ในกรณีที่การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของผู้ใด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแจ้งให้ผู้นั้นเสนอคำคัดค้านภายในเวลาที่กำหนด แต่ต้องให้เวลาอันสมควรที่ผู้นั้นอาจเสนอคำคัดค้านได้ซึ่งต้อง ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ผู้ที่ได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่ง หรือผู้ที่ทราบว่าการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการใด อาจจะกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของตน มีสิทธิคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นได้โดยทำเป็นหนังสือถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบ
ในกรณีที่มีการคัดค้าน เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบต้องพิจารณาคำคัดค้านและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้คัดค้าน ทราบโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่มีคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านเจ้าหน้าที่ของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นมิได้จนกว่าจะล่วงพ้น กำหนดเวลาอุทธรณ์ตามมาตรา 18 หรือจนกว่าคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้มีคำวินิจฉัยให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นได้แล้วแต่กรณี(มาตรา 17) 4.8 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารใดแม้จะเข้าข่ายต้องมีความรับผิดตามกฎหมายใดให้ถือว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ต้องรับผิด หากเป็นการกระทำโดยสุจริตในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ดำเนินการโดยถูกต้องตามระเบียบมาตรา 16
(2) ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับตามที่กำหนดในกฎกระทรวงมีคำสั่งให้เปิดเผยเป็นการทั่วไปหรือเฉพาะแก่บุคคลใดเพื่อประโยชน์อันสำคัญยิ่งกว่าที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ หรือชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรือประโยชน์อื่น ของบุคคล และคำสั่งนั้นได้กระทำโดยสมควรแต่เหตุในการนี้จะมีการกำหนดข้อจำกัดหรือเงื่อนไขในการใช้ข้อมูลข่าวสารนั้น ตามความเหมาะสมก็ได้
การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารข้างต้นไม่เป็นเหตุให้หน่วยงานของรัฐพ้นจากความรับผิดตามกฎหมาย หากจะพึงมีในกรณีดังกล่าว (มาตรา 20) 4.9 หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลต้องปฏิบัติเกี่ยวกับ การจัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ต้องจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเพียงเท่าที่เกี่ยวข้องและจำเป็นเพื่อการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐให้สำเร็จ ตามวัตถุประสงค์เท่านั้น และยกเลิกการจัดให้มีระบบดังกล่าวเมื่อหมดความจำเป็น
(2) พยายามเก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากเจ้าของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่จะกระทบถึงประโยชน์ได้เสียโดยตรงของบุคคลนั้น
(3) จัดให้มีการพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาและตรวจสอบแก้ไขให้ถูกต้องอยู่เสมอเกี่ยวกับสิ่ง ดังต่อไปนี้
(ก) ประเภทของบุคคลที่มีการเก็บข้อมูลไว้
(ข) ประเภทของระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
(ค) ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ
(ง) วิธีการขอตรวจดูข้อมูลข่าวสารของเจ้าของข้อมูล
(จ) วิธีการขอให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล
(ฉ) แหล่งที่มาของข้อมูล
(4) ตรวจสอบแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในความรับผิดชอบให้ถูกต้องอยู่เสมอ
(5) จัดระบบรักษาความปลอดภัยให้แก่ระบบข้อมูลข่าวสารตามความเหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้มีการนำไปใช้โดยไม่เหมาะสม หรือเป็นผลร้ายต่อเจ้าของข้อมูล
ในกรณีที่เก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากเจ้าของข้อมูลหน่วยงานของรัฐต้องแจ้งให้เจ้าของ ข้อมูลทราบ ล่วงหน้า หรือพร้อมกับการขอข้อมูลถึงวัตถุประสงค์ที่จะนำข้อมูลมาใช้ลักษณะการใช้ข้อมูลปกติ และกรณี ที่ขอ ข้อมูลนั้นเป็นกรณีที่อาจให้ข้อมูลได้โดยความสมัครใจหรือเป็นกรณีมีกฎหมายบังคับ
หน่วยงานของรัฐต้องแจ้งให้เจ้าของ ข้อมูลทราบในกรณีมีการให้จัดส่งข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไปยังที่ใดซึ่งจะเป็นผลให้บุคคลทั่วไปทราบข้อมูลข่าวสารนั้นได้เว้นแต่เป็นไปตามลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ (มาตรา 21)
"บุคคล" หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย และ บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย แต่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย(มาตรา 21) 4.10 สำนักข่าวกรองแห่งชาติสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นตาม ที่กำหนดในกฎกระทรวง อาจออกระเบียบโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่มิให้นำบทบัญญัติวรรคหนึ่ง (3) ของมาตรา 23 มาใช้บังคับกับข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ ในความควบคุมดูแลของหน่วยงานดังกล่าวก็ได้
หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นที่จะกำหนดในกฎกระทรวงนั้น ต้องเป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งการเปิดเผย ประเภทข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา 23 วรรคหนึ่ง (3) จะเป็นอุปสรรคร้ายแรงต่อการดำเนินการของหน่วยงานดังกล่าว (มาตรา 22) 4.11 หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของตนต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือ ผู้อื่น โดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูลที่ให้ไว้ล่วงหน้า หรือในขณะนั้นมิได้ เว้นแต่เป็นการเปิดเผย ดังต่อไปนี้
(1) ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของตนเพื่อการนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น
(2) เป็นการใช้ข้อมูลตามปกติภายใต้วัตถุประสงค์ของการจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลนั้น
(3) ต่อหน่วยงานของรัฐที่ทำงานด้านการวางแผน หรือการสถิติ หรือสำมะโนต่างๆ ซึ่งมี หน้าที่ต้องรักษาข้อมูลข่าวสารส่วน บุคคลไว้ให้ไม่ให้เปิดเผยต่อไปยังผู้อื่น
(4) เป็นการให้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยโดยไม่ระบุชื่อหรือส่วนที่ทำให้รู้ว่าเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับบุคคลใด
(5) ต่อหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตาม มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เพื่อการตรวจดูคุณค่าในการ เก็บรักษา
(6) ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อการป้องกันการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย การสืบสวน การสอบสวน หรือการฟ้องคดี ไม่ว่าเป็นคดีประเภทใดก็ตาม
(7) เป็นการให้ซึ่งจำเป็นเพื่อการป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของบุคคล
(8) ต่อศาล และเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอข้อเท็จจริงดังกล่าว
(9) กรณีอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตาม (3) (4) (5) (6) (7) (8) และ (9) ให้มีการจัดทำบัญชีแสดง การเปิดเผยกำกับไว้กับข้อมูลข่าวสารนั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง (มาตรา 24) 4.12 เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเปิดเผยรายงานการแพทย์ที่เกี่ยวกับบุคคลใดจะเปิดเผยต่อเฉพาะแพทย์ที่บุคคลนั้นมอบหมายก็ได้ถ้ากรณีมีเหตุอันสมควร (มาตรา 25 วรรค 2) 4.13 หน่วยงานของรัฐต้องส่งมอบข้อมูลข่าวสารของราชการที่ไม่ประสงค์จะเก็บรักษาหรือมีอายุครบกำหนดเวลา คือ ข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 14 เมื่อครบ 75 ปี หรือตามมาตรา 15 เมื่อครบ กำหนด 20 ปี นับตั้งแต่วันที่เสร็จสิ้น การจัดให้มีข้อมูลข่าวสารให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติกรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เพื่อคัดเลือกไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า
กำหนดเวลาดังกล่าวอาจขยายออกไปได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) หน่วยงานของรัฐ ยังจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารของราชการไว้เองเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย โดยต้องจัดเก็บและจัดให้ประชาชนได้ศึกษา ค้นคว้าตามที่จะตกลงกับหอจดหมายเหตุแห่งชาติกรมศิลปากร
(2) หน่วยงานของรัฐเห็นว่าข้อมูลข่าวสารของราชการนั้นยังไม่ควรเปิดเผย โดยมีคำสั่งขยายเวลา กำกับไว้เป็นการเฉพาะราย คำสั่งการขยายเวลานั้นให้กำหนดระยะเวลาไว้ด้วย แต่จะกำหนดเกินคราวละห้าปีไม่ได้
การตรวจสอบหรือทบทวนมิให้มีการ ขยายระยะเวลาไม่เปิดเผยจนเกินความจำเป็นให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
บทบัญญัติตามมาตรานี้มิให้ใช้บังคับกับข้อมูลข่าวสารของราชการตามที่คณะรัฐมนตรีออกระเบียบกำหนดให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐจะต้องทำลายหรืออาจทำลายได้โดยไม่ต้องเก็บรักษา (มาตรา 26)4.14 หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้อง ยินยอมให้คณะกรรมการหือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายเข้าตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองของตนได้ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยได้หรือไม่ก็ตาม (มาตรา 33 วรรค 2)
สิทธิของประชาชนหรือเอกชน
พ.ร.บ. นี้ได้กำหนดสิทธิของประชาชนหรือเอกชนดังนี้ 5.1 สิทธิในการขอคำปรึกษาการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้กับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นหน่วยงานทางวิชาการและธุรการให้แก่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการและคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (มาตรา6) 5.2 สิทธิเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสารของราชการ
บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตามย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดู ขอสำเนา หรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารของราชการ ตามมาตรา 9 ได้
คนต่างด้าวจะมีสิทธิตามมาตรานี้เพียงใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง (มาตรา 9)
"คนต่างด้าว" หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทยและไม่มี ถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยและนิติบุคคลดังต่อไปนี้
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีทุนเกินกึ่งหนึ่งเป็นของคนต่างด้าว ใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือให้ถือว่าใบหุ้นนั้นคนต่างด้าวเป็นผู้ถือ
(2) สมาคมที่มีสมาชิกเกินกึ่งหนึ่งเป็นคนต่างด้าว
(3) สมาคมหรือมูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของคนต่างด้าว
(4) นิติบุคคลตาม (1) (2) (3) หรือนิติบุคคลอื่นใดที่มีผู้จัดการหรือกรรมการเกินกึ่งหนึ่งเป็นคนต่างด้าว
นิติบุคคลตามวรรค 1 ถ้าเข้าไปเป็นผู้จัดการหรือกรรมการ สมาชิก หรือมีทุนในนิติบุคคลอื่นให้ถือว่าผู้จัดการหรือกรรมการหรือสมาชิกหรือเจ้าของทุน ดังกล่าวเป็นคนต่างด้าว (มาตรา 4) 5.3 สิทธิขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการนอกจากข้อมูลข่าวสารของราชการที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว หรือที่จัดไว้ให้ ประชาชนเข้าตรวจดูได้แล้ว หรือที่มีการจัดให้ประชาชนได้ค้นคว้าตามมาตรา 26 แล้ว โดยคำขอนั้นได้ระบุข้อมูลข่าวสารที่ต้องการในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามสมควร (มาตรา 11) 5.4 สิทธิที่จะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับงานซึ่งหน่วยงานของรัฐจะต้องให้กับบุคคลนั้นหรือผู้กระทำแทนได้ตรวจดูหรือได้รับสำเนาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับบุคคลนั้น (มาตรา 25 วรรค1) 5.5 สิทธิในการดำเนินการแทนผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเจ้าของข้อมูลที่ถึงแก่กรรม ตามมาตรา 23 เกี่ยวกับการขอข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลหรือการแจ้งข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไปยังที่ใดของบุคคลดังกล่าว มาตรา 24เกี่ยวกับการให้ความยินยอมให้หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของตนเปิดเผยข้อมูลต่อ หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือผู้อื่น และมาตรา 25 เกี่ยวกับการได้รู้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน การขอให้แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่ไม่ถูกต้องตามที่เป็นจริง รวมทั้งมีสิทธิอุทธรณ์ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีคำสั่ง ไม่ยินยอมแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารนี้ (มาตรา 25 วรรค 5) 5.6 สิทธิในการร้องเรียนผู้ใดเห็นว่าหน่วยงานของรัฐไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 หรือไม่จัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ตามมาตรา 9 หรือไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ตนตามมาตรา 11 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า หรือเห็นว่าตนไม่ได้รับความสะดวกโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้นั้นมีสิทธิร้องเรียน ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เว้นแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 หรือคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านตามมาตรา 17 หรือคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา 25 (มาตรา 13) 5.7 สิทธิในการอุทธรณ์ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารใดตามมาตรา 14 หรือมาตรา 15 หรือมีคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านของผู้มีประโยชน์ได้เสียตามมาตรา 17 ผู้นั้นอาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งนั้น โดยยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ (มาตรา 18)
แต่ถ้าอุทธรณ์คำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารให้ตรวจตามที่มีคำขอ ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งโดยยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการไม่ว่ากรณีใดๆให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิร้องขอให้หน่วยงานของรัฐหมายเหตุคำขอของคนแนบไว้กับข้อมูลข่าวสารส่วนที่เกี่ยวข้อง
บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตามย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดู ขอสำเนา หรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารของราชการ ตามมาตรา 9 ได้
คนต่างด้าวจะมีสิทธิตามมาตรานี้เพียงใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง (มาตรา 9)
"คนต่างด้าว" หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทยและไม่มี ถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยและนิติบุคคลดังต่อไปนี้
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีทุนเกินกึ่งหนึ่งเป็นของคนต่างด้าว ใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือให้ถือว่าใบหุ้นนั้นคนต่างด้าวเป็นผู้ถือ
(2) สมาคมที่มีสมาชิกเกินกึ่งหนึ่งเป็นคนต่างด้าว
(3) สมาคมหรือมูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของคนต่างด้าว
(4) นิติบุคคลตาม (1) (2) (3) หรือนิติบุคคลอื่นใดที่มีผู้จัดการหรือกรรมการเกินกึ่งหนึ่งเป็นคนต่างด้าว
นิติบุคคลตามวรรค 1 ถ้าเข้าไปเป็นผู้จัดการหรือกรรมการ สมาชิก หรือมีทุนในนิติบุคคลอื่นให้ถือว่าผู้จัดการหรือกรรมการหรือสมาชิกหรือเจ้าของทุน ดังกล่าวเป็นคนต่างด้าว (มาตรา 4) 5.3 สิทธิขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการนอกจากข้อมูลข่าวสารของราชการที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว หรือที่จัดไว้ให้ ประชาชนเข้าตรวจดูได้แล้ว หรือที่มีการจัดให้ประชาชนได้ค้นคว้าตามมาตรา 26 แล้ว โดยคำขอนั้นได้ระบุข้อมูลข่าวสารที่ต้องการในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามสมควร (มาตรา 11) 5.4 สิทธิที่จะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับงานซึ่งหน่วยงานของรัฐจะต้องให้กับบุคคลนั้นหรือผู้กระทำแทนได้ตรวจดูหรือได้รับสำเนาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับบุคคลนั้น (มาตรา 25 วรรค1) 5.5 สิทธิในการดำเนินการแทนผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเจ้าของข้อมูลที่ถึงแก่กรรม ตามมาตรา 23 เกี่ยวกับการขอข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลหรือการแจ้งข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไปยังที่ใดของบุคคลดังกล่าว มาตรา 24เกี่ยวกับการให้ความยินยอมให้หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของตนเปิดเผยข้อมูลต่อ หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือผู้อื่น และมาตรา 25 เกี่ยวกับการได้รู้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน การขอให้แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่ไม่ถูกต้องตามที่เป็นจริง รวมทั้งมีสิทธิอุทธรณ์ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีคำสั่ง ไม่ยินยอมแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารนี้ (มาตรา 25 วรรค 5) 5.6 สิทธิในการร้องเรียนผู้ใดเห็นว่าหน่วยงานของรัฐไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 หรือไม่จัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ตามมาตรา 9 หรือไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ตนตามมาตรา 11 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า หรือเห็นว่าตนไม่ได้รับความสะดวกโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้นั้นมีสิทธิร้องเรียน ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เว้นแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 หรือคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านตามมาตรา 17 หรือคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา 25 (มาตรา 13) 5.7 สิทธิในการอุทธรณ์ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารใดตามมาตรา 14 หรือมาตรา 15 หรือมีคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านของผู้มีประโยชน์ได้เสียตามมาตรา 17 ผู้นั้นอาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งนั้น โดยยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ (มาตรา 18)
แต่ถ้าอุทธรณ์คำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารให้ตรวจตามที่มีคำขอ ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งโดยยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการไม่ว่ากรณีใดๆให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิร้องขอให้หน่วยงานของรัฐหมายเหตุคำขอของคนแนบไว้กับข้อมูลข่าวสารส่วนที่เกี่ยวข้อง
สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
สำนักคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการสังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานธุรการและวิชาการให้แก่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการและคณะกรรมการการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ประสานงานกับ หน่วยงานของรัฐและให้คำปรึกษาแก่เอกชนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ
คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
7.1 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ประกอบด้วยรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงกลางโหม ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนัก งบประมาณ และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกเก้าคนเป็นกรรมการ ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ข้าราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งเป็นเลขานุการ และอีกสองคนเป็นผู้ช่วยเลขา 7.2 คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) สอดส่องดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้
(2) ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ได้รับคำขอ
(3) เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกาและการออกกฎกระทรวงหรือระเบียบของคณะรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัตินี้
(4) พิจารณาและให้ความเห็นเรื่องร้องเรียนตามมาตรา13
(5) จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม แต่อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
(7) ดำเนินการเรื่องอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย (มาตรา 28) 7.3 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 27 มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีนับแต่วันที่ได้รับ แต่งตั้งผู้ที่พ้นจากตำแหน่งแล้วอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ (มาตรา 29) 7.4 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 27 พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) คณะรัฐมนตรีให้ออกเพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่อง หรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถ
(4) เป็นบุคคลล้มละลาย
(5) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(6) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (มาตรา 30) 7.5 การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด (มาตรา 31) 7.6 ให้คณะกรรมการ มีอำนาจเรียกให้บุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งวัตถุ เอกสารหรือพยานหลักฐานมาประกอบ การพิจารณาได้ (มาตรา 32) 7.7 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลข่าวสารตามที่มีคำขอไม่ว่าจะเป็นกรณี ตามมาตรา 11 หรือมาตรา 25 ถ้าผู้มีคำขอไม่เชื่อว่าเป็นความจริงและร้องเรียนต่อคณะกรรมการตามมาตรา 13 ให้คณะกรรมการมีอำนาจเข้าดำเนินการ ตรวจสอบข้อมูลข่าวสารของราชการที่เกี่ยวข้องได้และแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ร้องเรียนทราบ
หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐต้องยินยอมให้คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายเข้าตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองของตนได้ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยได้หรือไม่ก็ตาม (มาตรา 13) 7.8 คณะกรรมการจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้และให้นำความในมาตรา 31 มาใช้บังคับโดยอนุโลม (มาตรา 34) 7.9 ระยะเวลาการพิจารณาของคณะกรรมการต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องเรียน ในกรณีมีเหตุจำเป็นให้ขยายเวลาออกไปได้แต่ต้องแสดงเหตุผลและรวมเวลาทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 60 วัน (มาตรา 13 วรรค 2)
(1) สอดส่องดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้
(2) ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ได้รับคำขอ
(3) เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกาและการออกกฎกระทรวงหรือระเบียบของคณะรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัตินี้
(4) พิจารณาและให้ความเห็นเรื่องร้องเรียนตามมาตรา13
(5) จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม แต่อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
(7) ดำเนินการเรื่องอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย (มาตรา 28) 7.3 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 27 มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีนับแต่วันที่ได้รับ แต่งตั้งผู้ที่พ้นจากตำแหน่งแล้วอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ (มาตรา 29) 7.4 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 27 พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) คณะรัฐมนตรีให้ออกเพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่อง หรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถ
(4) เป็นบุคคลล้มละลาย
(5) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(6) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (มาตรา 30) 7.5 การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด (มาตรา 31) 7.6 ให้คณะกรรมการ มีอำนาจเรียกให้บุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งวัตถุ เอกสารหรือพยานหลักฐานมาประกอบ การพิจารณาได้ (มาตรา 32) 7.7 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลข่าวสารตามที่มีคำขอไม่ว่าจะเป็นกรณี ตามมาตรา 11 หรือมาตรา 25 ถ้าผู้มีคำขอไม่เชื่อว่าเป็นความจริงและร้องเรียนต่อคณะกรรมการตามมาตรา 13 ให้คณะกรรมการมีอำนาจเข้าดำเนินการ ตรวจสอบข้อมูลข่าวสารของราชการที่เกี่ยวข้องได้และแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ร้องเรียนทราบ
หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐต้องยินยอมให้คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายเข้าตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองของตนได้ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยได้หรือไม่ก็ตาม (มาตรา 13) 7.8 คณะกรรมการจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้และให้นำความในมาตรา 31 มาใช้บังคับโดยอนุโลม (มาตรา 34) 7.9 ระยะเวลาการพิจารณาของคณะกรรมการต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องเรียน ในกรณีมีเหตุจำเป็นให้ขยายเวลาออกไปได้แต่ต้องแสดงเหตุผลและรวมเวลาทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 60 วัน (มาตรา 13 วรรค 2)
คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
การแต่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งตามสาขาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของข้อมูลข่าวสารของราชการ เช่นความมั่นคงของประเทศ เศรษฐกิจ และการคลังของประเทศ หรือการบังคับใช้กฎหมาย(มาตรา 35) 8.2 คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารคณะหนึ่งๆประกอบด้วยบุคคลตามความจำเป็นแต่ต้องไม่น้อยกว่า สามคนและให้ข้าราชการที่คณะกรรมการแต่งตั้งปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ
ในกรณีพิจารณา เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของรัฐแห่งใด กรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารซึ่งมาจากหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นจะเข้าร่วมพิจารณาด้วยไม่ได้
กรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร จะเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการ ไม่ได้ (มาตรา 36) 8.3 ให้คณะกรรมการพิจารณาส่งคำอุทธรณ์ให้คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร โดยคำนึงถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแต่ละสาขา ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับคำอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้เป็นที่สุด และในการมีคำวินิจฉัยจะมีข้อสังเกต เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีใดตามที่เห็นสมควรก็ได้
ให้นำความในมาตรา 13 วรรคสอง คือข้อ 7.9 มาใช้บังคับแต่การพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดย อนุโลม (มาตรา 37) 8.4 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแต่ละสาขา วิธีพิจารณาและวินิจฉัย ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 38) ให้นำบทบัญญัติมาตรา 29 เกี่ยวกับวาระของคณะกรรมการคราวละ 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง มาตรา 30 เกี่ยวกับการพ้นตำแหน่ง มาตรา 32 เกี่ยวกับการเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือส่งวัตถุเอกสารหรือพยานหลักฐาน และบทกำหนดโทษที่ประกอบกับบทบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับกับคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยอนุโลม
บทกำหนดโทษ
9.1 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการที่สั่งตามมาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกิน ห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 40) 9.2 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกำหนดตามมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 41)
บทเฉพาะกาล
10.1 บทบัญญัติมาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 9 มิให้ใช้บังคับกับข้อมูลข่าวสารของราชการที่เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้หน่วยงานของรัฐจัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่ง หรือจัดให้มีข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่งไว้เพื่อ ประชาชนเข้าตรวจดูได้แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการจะได้กำหนด (มาตรา 42) 10.2 ให้ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติพ.ศ. 2517 ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการ ยังคงใช้ บังคับต่อไปได้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา 16 จะได้กำหนด เป็นอย่างอื่น (มาตรา 43)http://www.oic.go.th/statue/statuesum.asp
ให้หน่วยงานของรัฐจัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่ง หรือจัดให้มีข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่งไว้เพื่อ ประชาชนเข้าตรวจดูได้แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการจะได้กำหนด (มาตรา 42) 10.2 ให้ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติพ.ศ. 2517 ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการ ยังคงใช้ บังคับต่อไปได้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา 16 จะได้กำหนด เป็นอย่างอื่น (มาตรา 43)http://www.oic.go.th/statue/statuesum.asp
10.07.56
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)