"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

สิทธิบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ­

สิทธิบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ­  
       ขั้นตอนการใช้สิทธิ   
1. ใช้สิทธิที่โรงพยาบาลตามที่ระบุตามบัตร
 2. กรณีอุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ใช้สิทธิโรงพยาบาลอื่นไม่ได้ (ยกเว้นโรงพยาบาลตามบัตรรับผิดชอบ
 3. ใบส่งต่อ (กรณีบัตรโรงพยาบาลอื่น)
  
 2. เอกสาร ทร 38/1 หรือ บัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าว
เอกสารประกอบแสดงการใช้สิทธิ 
1. บัตรสุขภาพแรงงานต่างด้าว
    

 สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
1. การตรวจรักษาโรคและฟื้นฟูสภาพทั่วไป
-  การตรวจวินิจฉัยบำบัดรักษารวมทั้งการดูแลทารกแรกเกิดตั้งแต่วันคลอดจนถึงอายุ 28 วัน การฟื้นฟูสภาพทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษา ตลอดจนการแพทย์ทางเลือกที่ผ่านการรับรองของคณะกรรมการประกอบโรคศิลปะ
-  การถอนฟัน (รวมถึงการผ่าหรือถอนฟันคุด) การอุดฟัน การขูดหินปูน
-  บริการอาหารและห้องผู้ป่วยสามัญ
-  ยาและเวชภัณฑ์ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ
-  การจัดส่งต่อเพื่อการรักษาระหว่างสถานพยาบาล
2. บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรคที่ได้รับการคุ้มครอง
-  การจัดให้มีและใช้สมุดบันทึกสุขภาพประจำตัวในการดูแลสุขภาพแต่ละบุคคลอย่างต่อเนื่อง
-  การตรวจและดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ตลอดจนการให้บริการ ดูแลหลังคลอด
-  การตรวจสุขภาพกลุ่มเสี่ยง
-  การให้ยาต้านไวรัสเอดส์ กรณีเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากแม่สู่ลูก
-  การวางแผนครอบครัว
-  การเยี่ยมบ้าน (Home Visit) และการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home Health Care)
-  การให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้รับบริการในระดับบุคคลและครอบครัว
-  การให้คำปรึกษา (Couseling) สนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ
-  การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก แนะนำด้านทันตสุขภาพ การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ
- การควบคุมป้องกันโรค  

สิทธิประโยชน์ที่ไม่คุ้มครอง
1. โรคจิต
2. การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
3. ผู้ประสบภัยจากรถที่สามารถใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
4. ผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานที่สามารถใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537
5. การรักษาภาวะมีบุตรยาก
6. การผสมเทียม
7. การผ่าตัดแปลงเพศ
8. การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงาม โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
9. การตรวจ วินิจฉัย และรักษาใดๆ ที่เกินความจำเป็นและข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
10. โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยในเกิน 180 วันยกเว้นหากมีความจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
11. การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง
12. การรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยการล้างไต (Peritoneal Dialysis) และการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Haemodialysis)
13. ยาต้านไวรัสเอดส์ ยกเว้น กรณีเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากแม่สู่ลูก
14. การเปลี่ยนอวัยวะ (Organ Transplant)15.การทำฟันปลอม
ที่มา:ฝ่ายประกันสุขภาพ รพ.ราชบุรี