"วิสัยทัศน์" เป็นหน่วยงานเวชระเบียนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ความรู้ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน

ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว

กรุณาเตรียมเอกสารดังนี้
💟นายจ้าง
  • บัตรประชาชน+เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
💟ลูกจ้าง
  • สำเนาพาสปอร์ต
  • บัตรประจำตัวผู้ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย(บัตรชมพู)
  • บัตรสุขภาพโรงพยาบาลราชบุรี(บัตรเหลือง)[ถ้ามี]
  • บัตรประกันสังคมหรือเลขที่ประกันสังคม [ถ้ามี]






16.12.62

การขอสำเนาใบรับรองแพทย์

การขอสำเนาใบรับรองแพทย์  
ให้ติดต่องานเวชระเบียน ห้องเบอร์ 4 ในวันเวลาราชการ (เริ่ม 1 กย.2560)
มีค่าธรรมเนียม 50 บาท (มีใบเสร็จรับเงิน)

การประทับตราโรงพยาบาล และการสแกนเข้าระบบ HOSxP ให้ดำเนินการโดย 
เจ้าหน้าที่เวชระเบียนที่จุดบริการต่างๆ คือ เวชระเบียน-ออร์โธปิดิกส์, เวชระเบียน-ทันตกรรม, 
เวชระเบียน-จิตเวช,เวชระเบียน-นรีเวช,เวชระเบียน-เอ็กซเรย์, เวชระเบียน-ER , งานเวชระเบียน ห้องเบอร์4 




08.08.2562 

ลงทะเบียนผู้ป่วยนอก รพ.ราชบุรี





เกิดจากแนวความคิดที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้รับบริการ สามารถลงทะเบียนทำแฟ้มเวชระเบียนล่วงหน้าเพื่อ
  • ลดขั้นตอน ในการเข้ารับบริการ
  • ลดระยะเวลารอคอยของผู้รับบริการ
  • เพิ่มระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ
  • และเป็นกระบวนการหนึ่งของการลดความแออัดในสถานพยาบาล








ขอบเขตบริการ
1.เฉพาะผู้ป่วยที่ไม่เร่งด่วนและไม่ฉุกเฉินเท่านั้น
2.ลงทะเบียนล่วงหน้า 1 วันทำการ ก่อนเวลา 15.30 น.(ไม่เกิน 7 วัน)
3.จนท.เวชระเบียน จะจัดทำแฟ้มเวชระเบียนและส่งตรวจตามแผนกในระบบโปรแกรมของโรงพยาบาลได้เฉพาะในวันเวลาราชการ หากท่านลงทะเบียนหลังวันเวลาราชการ ท่านสามารถตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนได้ในวันทำการถัดไป เช่น ท่านลงทะเบียน วันศุกร์ หลังเวลา 15.30 น.ท่านจะสามารถตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนได้ในวันจันทร์
4.ท่านสามารถมาพบแพทย์ได้ตามวันที่ท่านกำหนด
**ยกเว้นแผนกทันตกรรม เฉพาะทำแฟ้มเวชระเบียนเท่านั้น ไม่มีการส่งตรวจล่วงหน้า






ด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(PDPA) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกสร้างมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล  การตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนในหน้า Web นี้ จึงไม่ได้แสดงข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ฉะนั้นท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียนของท่านจาก "วันที่ต้องการพบแพทย์และวันเดือนปีเกิดของผู้ป่วย" ตามที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้
.

วิธีปฏิบัติในวันที่มาพบแพทย์
ท่านสามารถมาพบแพทย์ได้ "ตามวันที่ท่านกำหนด" โดยปฏิบัติ ดังนี้
1.รับบัตรคิว ณ.จุดแจกคิว
-แผนกจักษุ อายุรกรรม ศัลยกรรม ประกันสังคม กุมาร นรีเวช สูติกรรม รับคิวที่จุดแจกคิว หน้าตึกอำนวยการ
-บางแผนกใช้คิวของแผนกเอง เช่น กระดูก จิตเวช ทันตกรรม หูคอจมูก กายภาพ เวชกรรมฟื้นฟู ท่านสามารถติดต่อที่แผนกได้โดยตรง
2.แสดงบัตรประชาชนที่หน่วยเวชระเบียน ตามแผนกและสถานที่ดังนี้
ห้องเวชระเบียน 101 (ห้องบัตร) ตึกอำนวยการชั้น 1 ช่องบริการที่ 8: ผู้ป่วยอายุรกรรม ศัลยกรรม ประกันสังคม กุมาร นรีเวช สูติกรรม
หน่วยเวชระเบียนทันตกรรม ตึกอำนวยการชั้น 2 : ผู้ป่วยทันตกรรม และ จักษุ
หน่วยเวชระเบียน ENT ตึกอำนวยการชั้น 2 : ผู้ป่วยหู คอ จมูก
หน่วยเวชระเบียนกระดูก ตึกกาญจนาฯ ชั้น 1 : ผู้ป่วยกระดูก กายภาพ เวชกรรมฟื้นฟู
หน่วยเวชระเบียนจิตเวช ตึกศรีนครินทร ชั้น 1 :ผู้ป่วยจิตเวช




20.06.62

การยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริการสุขภาพ







22.05.62

ระวัง ! เปิดเผยข้อมูลผู้ป่วย เข้าข่ายละเมิดสิทธิ

เหตุการณ์ละเมิดสิทธิในสังคมไทย ยังปรากฏเห็นอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดสิทธิสตรี ละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ ละเมิดสิทธิผู้ต้องหา และหนึ่งในนั้นยังมีเรื่องของการละเมิดสิทธิผู้ป่วย
วันนี้ เราขอยกเรื่องการ “ละเมิดสิทธิผู้ป่วย” มาทำความเข้าใจกันว่า สิทธิที่ผู้ป่วยควรได้รับมีอะไร และการกระทำแบบใดบ้างที่ถือว่าเป็น ละเมิดสิทธิผู้ป่วย และมีความผิดฐานใด

สิทธิที่ผู้ป่วยพึงมี

เป็นสิทธิที่ผู้ป่วยทุกคนพึงได้รับตามกระบวนการผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ทั้งเรื่องการรักษาพยาบาล การปกปิดข้อมูลหรือการรักษาความลับทางการแพทย์ของผู้ป่วย เพื่อประโยชน์โดยตรงของผู้ป่วยหรือตามกฎหมาย
สำหรับข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยนั้น หมายถึง ข้อมูลเวชระเบียน ประวัติผู้ป่วย หรือผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข อาทิ ข้อมูลทางคลินิกของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและตรวจรักษา ภาพถ่าย วิดีโอ เทปบันทึกเสียง หรือภาพอื่น ๆ ของผู้ป่วย เช่น ฟิล์มเอกซเรย์ เป็นต้น

การกระทำแบบใดที่เข้าข่าย “ละเมิดสิทธิผู้ป่วย”

– การเปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วย อาทิ ภาพถ่าย ข้อมูลสุขภาพ ผลเลือด หรือข้อมูลการรักษา ในสื่อสังคมออนไลน์
– ถ่ายภาพผู้ป่วย ไม่ว่าภาพดังกล่าวจะถูกนำมาเผยแพร่หรือไม่ก็ตาม
– ถ่ายภาพหมอ หรือพยาบาล ขณะทำการรักษาผู้ป่วย ฯลฯ

กรณี “ละเมิดสิทธิผู้ป่วย” ผิดกฎหมายหรือไม่

การนำข้อมูลของผู้ป่วยไปเปิดเผยไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่เจตนา ถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วยทั้งสิ้น และยังเข้าข่ายความผิดตามกฎหมาย 2 ฉบับ ตาม พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ 2550 และประมวลกฎหมายอาญา โดยกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ระบุความผิดไว้ว่า
พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ 2550
มาตรา 7 ที่ระบุว่า ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยและอาจทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นโดยตรง และไม่ว่าในกรณีใด ๆ ผู้ใดจะอาศัยอำนาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพของบุคคลไม่ได้
และมาตรา 49 ที่ระบุว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 7 หรือมาตรา 8 ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 323 ที่ระบุว่า ผู้ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่นโดยเหตุที่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ โดยเหตุที่ประกอบอาชีพเป็นแพทย์ เภสัชกร คนจำหน่ายยา นางผดุงครรภ์ ผู้พยาบาล นักบวช หมอความ ทนายความ หรือผู้สอบบัญชีหรือโดยเหตุที่เป็นผู้ช่วยในการประกอบอาชีพนั้นแล้วเปิดเผยความลับนั้นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้รับการศึกษาอบรมในอาชีพดังกล่าวในวรรคแรก เปิดเผยความลับของผู้อื่น อันตนได้ล่วงรู้หรือได้มาในการศึกษาอบรมนั้น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
นอกจาก พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ 2550 และประมวลกฎหมายอาญา ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทยยังต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมขององค์กรวิชาชีพด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ หากฝ่าฝืนจะถูกดำเนินการลงโทษทางจริยธรรมโดยแพทยสภา ที่ว่า
ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม 2549
ข้อ 27 ที่ระบุว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วย หรือผู้ป่วยที่เสียชีวิตแล้วซึ่งตนทราบมา เนื่องจากการประกอบวิชาชีพ เว้นแต่ได้รับความยินยอมโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือตามหน้าที่
อย่างไรก็ดี แม้กฎหมายจะระบุชัดเจนว่า ห้ามมิให้เปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วย แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นที่ทำให้สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ ในบางกรณี อาทิ
– กรณีที่ผู้ป่วยสละสิทธิดังกล่าว ด้วยการให้ความยินยอมแพทย์ในการเปิดเผยข้อมูลการรักษาของตนต่อบุคคลหรือสาธารณชน
– กรณีอาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยอื่น ตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต 2551 ซึ่งระบุไว้ใน
มาตรา 16 ที่ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยในประการที่น่าจะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วย เว้นแต่ในกรณีที่จะเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยหรือผู้อื่น หรือเพื่อความปลอดภัยสาธารณชน
พอเห็นแบบนี้แล้ว บอกได้ว่า หากบุคลากรทางการแพทย์ทำข้อมูลผู้ป่วยหลุดออกไปไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม อาจต้องรับโทษทั้งทางแพ่ง อาญา และทางวินัยเลยทีเดียว และในกรณีนี้ ยังรวมถึงบุคคลทั่วไปด้วย



22.05.2562

ครม. มีเห็นชอบให้หน่วยงานราชการออกเอกสารผ่านระบบดิจิทัล’เลิกใช้กระดาษภายในปี 2563


วันที่ 3 เม.ย.2562 วานนี้นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการตามที่สำนักงานพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ ให้การออกเอกสารหลักฐานของราชการผ่านระบบดิจิทัล โดยให้มีนำร่องในภารกิจของหน่วยงานที่มีผลกระทบต่อประชาชน ผู้ประกอบการ และนักลงทุนเป็นสำคัญก่อนตามความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรม หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความจำเป็นต้องออก ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าว ก็ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติมตามความเห็นของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)ส่วนกรณีที่หน่วยงานใด ไม่สามารถดำเนินการผ่านระบบดิจิทัล หรือไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบได้ ภายในปี 2562 หรือ ไม่สามารถพัฒนาบริการให้เป็นบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) หรือ ยกเลิกการใช้กระดาษ ได้ภายในปี 2563 ตลอดจนในกรณีที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ ให้หน่วยงานดังกล่าวเร่งประสานงานกับสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อพิจารณาขยายเวลาดำเนินการเป็นรายกรณี โดยจัดลำดับตามความสำคัญ เร่งด่วนและความพร้อมของหน่วยงาน รวมถึงระยะเวลาที่หน่วยงานนั้น ๆ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ โดยให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น (1) ความพร้อมของหน่วยงาน เพื่อรองรับการออกเอกสารผ่านระบบดิจิทัล เช่น ความพร้อมของระบบอินเทอร์เน็ต (2) การบูรณาการร่วมกันเพื่อการพัฒนาระบบและการเชื่อมโยงข้อมูล และ (3) ความปลอดภัยทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ไปพิจารณาให้ได้ข้อยุติและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปได้เมื่อการกำหนดมาตรฐานธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยการจัดทำใบอนุญาต หนังสือรับรองในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แล้วเสร็จ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและซักซ้อมความเข้าใจกับบุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนผู้รับบริการ เพื่อให้การพัฒนางานบริการภาครัฐให้เป็นระบบการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์และการออกเอกสารของทางราชการผ่านระบบดิจิทัลมีมาตรฐานในการดำเนินงานในแนวทางเดียวกันและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป



 https://workpointnews.com/2019/04/03/163%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B2/


22.05.62

แนวทางปฏิบัติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ

ระบบเวชระเบียนอิเลคทรอนิกส์

1 กันยายน 2560 โรงพยาบาลราชบุรี ประกาศใช้ระบบ OPD Card Scan โดยมีกระบวนการและขั้นตอนการรับบริการคล้ายระบบเดิม มีการเปลี่ยนแปลงบางส่วนเท่านั้น เช่น  
เปลี่ยนจากการพิมพ์ใบสั่งยา เป็น ใบขั้นตอนการรับบริการ
การค้นแฟ้มเวชระเบียน ยังค้นอยู่ในระยะ 6 เดือนแรก
แบบบันทึกการตรวจรักษา (OPD Card) เปลี่ยนแปลงจาก กระดาษ A5 เป็น A4
ข้อมูลการตรวจรักษา มีการบันทึกด้วย OPD Card แบบ A4 ไม่จัดเก็บใน OPD Card A5 
OPD Card A4 ส่ง Scan ที่งานเวชระเบียน

1 เมษายน 2562 งานเวชระเบียน ได้สแกน OPD Card ของผู้ป่วยทุกรายครบ100% ก้าวสู่ระบบเวชระเบียนอิเลคทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์แบบ









                                                                
02.04.2562