06.11.57
การแก้ไขข้อมูลในเวชระเบียน
การแก้ไขข้อมูลในเวชระเบียน
มีเกณฑ์การพิจารณา 2 กรณี ดังนี้
1. เกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่เวชระเบียน
เนื่องจากมีการพิมพ์ข้อมูลผู้ป่วยผิด
ทางเวชระเบียนจะแก้ไขให้โดยดูข้อมูลจากบัตรประชาชน โดยผู้ป่วยไม่ต้องแนบเอกสารผู้ป่วย
2. เกิดจากตัวผู้ป่วยเอง
เนื่องจากผู้ป่วยอาจมีการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล หรือข้อมูลทางสังคมอื่น
ๆ ให้ดำเนินการดังนี้
2.1)
ผู้ป่วยต้องแนบหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอแก้ไขข้อมูลในเวชระเบียน
คือ สำเนาบัตรประชาชน/บัตรข้าราชการ,สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ –
สกุล,สำเนาทะเบียนบ้าน,หลักฐานอื่นที่ราชการออกให้
อย่างใดอย่างหนึ่ง
2.2) ผู้ป่วยกรอกข้อมูลแบบคำร้องขอแก้ไขข้อมูลในเวชระเบียน(F-AQG-008)
2.3) เจ้าหน้าที่เวชระเบียนทำการแก้ไขข้อมูลผู้ป่วย ดังนี้
2.3) เจ้าหน้าที่เวชระเบียนทำการแก้ไขข้อมูลผู้ป่วย ดังนี้
2.3.1) ทำการแก้ไขข้อมูลผู้ป่วยในระบบคอมพิวเตอร์โปรแกรม HOSxP ให้ถูกต้องตรงตามเอกสารที่แนบ
2.3.2) ทำการแก้ไข OPD Card โดยแก้ด้วยมือ เฉพาะหน้าแรกของ OPD Card โดยขีดฆ่าข้อความเดิม และเขียนข้อความใหม่ที่ถูกต้อง พร้อมลงลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่เวชระเบียนและวันที่ทำการแก้ไข ข้อมูลผู้ป่วย
2.3.3) Print OPD Card ใหม่ โดยแนบหลักฐานที่ผู้ป่วยใช้เป็นหลักฐานในการแก้ไขข้อมูล และแบบคำ ร้องขอแก้ไขข้อมูลในเวชระเบียน(F-AQG-008) รวมไว้ที่ OPD Card เก่าให้เรียบร้อย
08.09.57
II-5 ระบบเวชระเบียน ปี 2559
สิ่งที่ชื่นชม
- มีการกำหนดเป้าหมายการบันทึกเวชระเบียนร่วมกันโดยสหสาขาวิชาชีพ
- มีแนวทางปฏิบัติในการบันทึกเพื่อให้ได้ข้อมูลผู้ป่วยที่เพียงพอครอบคลุม
- พัฒนาระบบยืนยันตัวบุคคล โดยใช้ภาพจาก ID Card
- มีระบบการรักษาความลับข้อมูลผู้ป่วยคดี OSCC ผลการตรวจ Anti-HIV
- จัดระบบยืม/คืน ติดตามเวชระเบียนกลับ ทำให้ค้นหาได้รวดเร็ว
- พร้อมจัดระบบ Scan เวชระเบียนผู้ป่วยเข้าสู่ระบบ HOSxP เพื่อสะดวกในการสืบค้นข้อมูล
เยี่ยมสำรวจ วันที่ 27-28 กรกฎาคม 2558
อนุมัติให้การรับรอง นับตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นเวลา 3 ปี
10.07.57
บัตรประกันสุขภาพแรงานต่างด้าวสำหรับผู้ติดตาม
บัตรประกันสุขภาพ ผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรอายุไม่เกิน 7 ปี(สัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา)
บัตรประกันสุขภาพแรงานต่างด้าวสำหรับผู้ติดตาม ค่าบัตร 365 บาท (ไม่ต้องตรวจสุขภาพ)
**สิทธิการรักษาตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขและวันหมด อายุของบัตรตามรอบของระเบียบกระทรวงสาธารณสุข**(เฉพาะผู้ที่มีอยู่ปัจจุบัน จ.ราชบุรีเท่านั้น)
ติดต่อฝ่ายประกันสุขภาพ (ห้องเบอร์29)
เอกสารประกอบการขึ้นทะเบียน
1. สำเนาสูติบัตรเด็กหรือสำเนา ทร.38/1 2 ฉบับ
2. สำเนาพาสปอร์ตของผู้ปกครอง 2 ฉบับ
3. สำเนาบัตรประกันสุขภาพของผู้ปกครอง 2 ฉบับ(ถ้ามี)
บัตรประกันสุขภาพแรงานต่างด้าวสำหรับผู้ติดตาม ค่าบัตร 365 บาท (ไม่ต้องตรวจสุขภาพ)
**สิทธิการรักษาตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขและวันหมด อายุของบัตรตามรอบของระเบียบกระทรวงสาธารณสุข**(เฉพาะผู้ที่มีอยู่ปัจจุบัน จ.ราชบุรีเท่านั้น)
ติดต่อฝ่ายประกันสุขภาพ (ห้องเบอร์29)
เอกสารประกอบการขึ้นทะเบียน
1. สำเนาสูติบัตรเด็กหรือสำเนา ทร.38/1 2 ฉบับ
2. สำเนาพาสปอร์ตของผู้ปกครอง 2 ฉบับ
3. สำเนาบัตรประกันสุขภาพของผู้ปกครอง 2 ฉบับ(ถ้ามี)
ขั้นตอนการใช้สิทธิ
1. ใช้สิทธิที่โรงพยาบาลตามที่ระบุตามบัตร
2. กรณีอุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ใช้สิทธิโรงพยาบาลอื่นไม่ได้
(ยกเว้นโรงพยาบาลตามบัตรรับผิดชอบ)
1. ใช้สิทธิที่โรงพยาบาลตามที่ระบุตามบัตร
2. กรณีอุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ใช้สิทธิโรงพยาบาลอื่นไม่ได้
(ยกเว้นโรงพยาบาลตามบัตรรับผิดชอบ)
เอกสารประกอบแสดงการใช้สิทธิ
1. บัตรสุขภาพแรงงานต่างด้าว
2. บัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าว / สำเนาพาสปอร์ต
3. ใบส่งต่อ (กรณีบัตรสุขภาพโรงพยาบาลอื่น)
1. บัตรสุขภาพแรงงานต่างด้าว
2. บัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าว / สำเนาพาสปอร์ต
3. ใบส่งต่อ (กรณีบัตรสุขภาพโรงพยาบาลอื่น)
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
1. การตรวจรักษาโรคและฟื้นฟูสภาพทั่วไป
1.1 การตรวจวินิจฉัยบำบัดรักษารวมทั้งการดูแลทารกแรกเกิด ตั้งแต่ วันคลอดจนถึงอายุ 28 วัน การฟื้นฟูสภาพทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษาตลอดจนการแพทย์ทางเลือกที่ผ่านการรับรองของ คณะกรรมการประกอบโรคศิลปะ
1.2 การถอนฟัน (รวมถึงการผ่าหรือถอนฟันคุด) การอุดฟัน การขูดหินปูน
1.3 บริการอาหารและห้องผู้ป่วยสามัญ
1.4 ยาและเวชภัณฑ์ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ
1.5 การจัดส่งต่อเพื่อการรักษาระหว่างสถานพยาบาล
2. บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรคที่ได้รับการคุ้มครอง
2.1 การจัดให้มีและใช้สมุดบันทึกสุขภาพประจำตัวในการดูแลสุขภาพแต่ละบุคคลอย่างต่อเนื่อง
2.2 การตรวจและดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ตลอดจนการให้บริการ ดูแลหลังคลอด
2.3 การตรวจสุขภาพกลุ่มเสี่ยง
2.4 การให้ยาต้านไวรัสเอดส์ กรณีเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากแม่สู่ลูก
2.5 การวางแผนครอบครัว
2.6 การเยี่ยมบ้าน (Home Visit)และการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home Health Care)
2.7 การให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ ผู้รับบริการในระดับบุคคลและครอบครัว
2.8 การให้คำปรึกษา (Couseling) สนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ
2.9 การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ได้แก่ การตรวจสุขภาพ ช่องปาก แนะนำด้าน ทันตสุขภาพการให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ
2.10 การควบคุมป้องกันโรค
1. การตรวจรักษาโรคและฟื้นฟูสภาพทั่วไป
1.1 การตรวจวินิจฉัยบำบัดรักษารวมทั้งการดูแลทารกแรกเกิด ตั้งแต่ วันคลอดจนถึงอายุ 28 วัน การฟื้นฟูสภาพทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษาตลอดจนการแพทย์ทางเลือกที่ผ่านการรับรองของ คณะกรรมการประกอบโรคศิลปะ
1.2 การถอนฟัน (รวมถึงการผ่าหรือถอนฟันคุด) การอุดฟัน การขูดหินปูน
1.3 บริการอาหารและห้องผู้ป่วยสามัญ
1.4 ยาและเวชภัณฑ์ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ
1.5 การจัดส่งต่อเพื่อการรักษาระหว่างสถานพยาบาล
2. บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรคที่ได้รับการคุ้มครอง
2.1 การจัดให้มีและใช้สมุดบันทึกสุขภาพประจำตัวในการดูแลสุขภาพแต่ละบุคคลอย่างต่อเนื่อง
2.2 การตรวจและดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ตลอดจนการให้บริการ ดูแลหลังคลอด
2.3 การตรวจสุขภาพกลุ่มเสี่ยง
2.4 การให้ยาต้านไวรัสเอดส์ กรณีเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากแม่สู่ลูก
2.5 การวางแผนครอบครัว
2.6 การเยี่ยมบ้าน (Home Visit)และการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home Health Care)
2.7 การให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ ผู้รับบริการในระดับบุคคลและครอบครัว
2.8 การให้คำปรึกษา (Couseling) สนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ
2.9 การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ได้แก่ การตรวจสุขภาพ ช่องปาก แนะนำด้าน ทันตสุขภาพการให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ
2.10 การควบคุมป้องกันโรค
สิทธิประโยชน์ที่ไม่คุ้มครอง
1.โรคจิต
2.การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
3.ผู้ประสบภัยจากรถที่สามารถใช้สิทธิตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
4.ผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานที่สามารถใช้สิทธิตามพ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537
5.การรักษาภาวะมีบุตรยาก
6.การผสมเทียม
7.การผ่าตัดแปลงเพศ
8.การกระทำใดๆเพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
9.การตรวจวินิจฉัยและรักษาใดๆที่เกินความจำเป็น และข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
10.โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยในเกิน 180 วัน ยกเว้นหากมีความ จำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
11. การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง
12.การรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยการล้างไต(Peritoneal Dialysis) และการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Haemodialysis)
13.ยาต้านไวรัสเอดส์ยกเว้นกรณีเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากแม่สู่ลูก
14.การเปลี่ยนอวัยวะ (Organ Transplant)
15.การทำฟันปลอม
1.โรคจิต
2.การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
3.ผู้ประสบภัยจากรถที่สามารถใช้สิทธิตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
4.ผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานที่สามารถใช้สิทธิตามพ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537
5.การรักษาภาวะมีบุตรยาก
6.การผสมเทียม
7.การผ่าตัดแปลงเพศ
8.การกระทำใดๆเพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
9.การตรวจวินิจฉัยและรักษาใดๆที่เกินความจำเป็น และข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
10.โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยในเกิน 180 วัน ยกเว้นหากมีความ จำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
11. การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง
12.การรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยการล้างไต(Peritoneal Dialysis) และการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Haemodialysis)
13.ยาต้านไวรัสเอดส์ยกเว้นกรณีเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากแม่สู่ลูก
14.การเปลี่ยนอวัยวะ (Organ Transplant)
15.การทำฟันปลอม
ที่มา:งานรักษาพยาบาลชุมชน เวชกรรมสังคม รพ.ราชบุรี
https://www.facebook.com/cocRatchburi/posts/22399153439177610.07.57
แผนพัฒนาคุณภาพ
-พัฒนาระบบการตรวจสอบความถูกต้องของการลงรหัสโรคเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลในระบบมีความน่าเชื่อถือ
1.จัดอบรมแก่แพทย์,พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการสรุปโรค โดยหาผู้เชี่ยวชาญมาให้บริการทางวิชาการ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจแนวทางการสรุปโรคลงในแบบฟอร์มเวชระเบียน เพิ่มเติมแก่บุคลากร
2.จัดให้เจ้าพักงานเวชสถิติซึ่งเป็นผู้มีความรู้และความสามารถในการให้รหัสโรคเป็นผู้ให้รหัสโรคและทำการบันทึกลงในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนตามมาตรฐานของการให้รหัสโรค
3.มีการจัดอบรม ฟื้นฟูและพัฒนาความรู้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ให้รหัสโรคเพื่อให้มีศักยภาพมากขึ้น
2.จัดให้เจ้าพักงานเวชสถิติซึ่งเป็นผู้มีความรู้และความสามารถในการให้รหัสโรคเป็นผู้ให้รหัสโรคและทำการบันทึกลงในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนตามมาตรฐานของการให้รหัสโรค
3.มีการจัดอบรม ฟื้นฟูและพัฒนาความรู้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ให้รหัสโรคเพื่อให้มีศักยภาพมากขึ้น
-PCT ทบทวนร่วมกับผู้มีหน้าที่บันทึกรหัสเพื่อประเมินปัญหาการปฏิบัติ
4.มีการทบทวนในส่วนของแพทย์และพยาบาลในแต่ละ PCT ร่วมกับผู้บันทึกรหัสโรค ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเมินปัญหาที่พบ และหาแนวทางแก้ปัญหา เพื่อนำไปสู่แนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกันทุกคน
-จัดตั้งทีมตรวจสอบความถูกต้องของการลงรหัสโรคและหัตถการ
มีการจัดตั้งทีม โดยมี แพทย์ พยาบาล และเจ้าพนักงานเวชสถิติ และบุคคลากรด้านสาธารณสุขอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องในการให้รหัสโรคและหัตถการ เพื่อให้รหัสโรคที่ได้มีความถูกต้อง ครบถ้วนตามมาตรฐานการให้รหัสโรค
-จัดประชุมวิชาการเรื่อง ICD&DRG&Claimingให้กับแพทย์ พยาบาล ทีมตรวจสอบความถูกต้องของการลงรหัส และผู้มีหน้าที่บันทึกรหัส
มีการจัดประชุมวิชาการ เรื่อง ICD&DRG&Claimingให้กับแพทย์ พยาบาล ทีมตรวจสอบความถูกต้องของการลงรหัส และผู้มีหน้าที่บันทึกรหัส ปีละครั้ง เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาความรู้ให้แก่บุคลากรและให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
-ประเมินคุณภาพในการให้รหัส
ได้มีการจัดส่งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องการให้รหัสโรคและหัตถการอบรมและศึกษาเพิ่มเติมเพื่อการให้รหัสอย่างถูกต้อง เป็นมาตรฐานสากล และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
-ประเมินประสิทธิภาพของระบบบริหารเวชระเบียนในด้านการเก็บและการยืมเวชระเบียนเพื่อสะท้อนเป้าหมายเรื่องการค้นหาและการสูญหายของเวชระเบียน
-จัดทำ/ ทบทวนนโยบายและแนวทางปฏิบัติ(คู่มือ) เกี่ยวกับเวชระเบียนผู้ป่วยให้ครอบคลุมในประเด็นต่อไปนี้
-การกำหนดผู้มีสิทธิบันทึกในเวชระเบียน
ผู้มีสิทธิบันทึกในเวชระเบียนผู้ป่วย
แพทย์ แพทย์มีหน้าที่ ซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อสั่งการรักษาหรือให้การรักษาโรค ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ ให้กับผู้ป่วย
เจ้าพนักงานเวชสถิติ เจ้าหน้าที่งานเวชระเบียน ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดการงานทางด้านเวชระเบียน โดยงานต่าง ๆ เหล่านั้นอาจเป็นงานห้องบัตร งานสถิติทางการแพทย์ งานให้รหัสโรค งานบันทึกข้อมูลผู้ป่วย งานคัดกรองผู้ป่วย งานด้านคอมพิวเตอร์ หรืองานอื่น ๆ ทางด้านเวชระเบียนที่ได้รับมอบหมาย
บุคลากรด้านสาธารณสุขอื่น ได้แก่ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ เทคนิคการแพทย์ เจ้าพนักงานสาธารณสุข นักวิชาการสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอื่นๆ
-การใช้สัญลักษณ์และคำย่อที่เป็นมาตรฐาน
การใช้สัญลักษณ์คำและคำย่อในการรักษานั้น ได้มีการกำหนดคำย่อโรคต่างๆ โดยทีมแพทย์ผู้ทำการรักษาและได้ทำข้อตกลงในการใช้คำย่อร่วมกัน เพื่อให้การสื่อสารระหว่างแพทย์,ผู้ให้รหัสโรคและผู้เกี่ยวข้อง มีความเข้าใจที่ตรงกัน ทำให้ข้อมูลที่ได้มีความเชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพ
-การบันทึกข้อมูลที่มีความสำคัญและแบบฟอร์มมาตรฐาน
การบันทึกข้อมูลที่มีความสำคัญ
ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการรักษา ได้แก่ การบันทึกประวัติส่วนตัวของผู้รับบริการ ที่สามารถยืนยันตัวบุคคล โดยมีการใช้เลข13หลักเป็นตัวบ่งชี้ รวมถึงการระบุชื่อบิดา-มารดา วันเดือนปีเกิด เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อน มีการบันทึกประวัติการเจ็บป่วยในอดีตที่สำคัญซึ่งอาจมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยในครั้งนี้
-การระบุชื่อผู้บันทึก วันที่และเวลาที่บันทึก
การระบุชื่อผู้บันทึก วันที่และเวลาที่บันทึก
เมื่อมีการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยรวมถึงการแก้ไขข้อมูลในเวชระเบียน ให้ดำเนินการได้เฉพาะผู้มีสิทธิเท่านั้น โดยต้องระบุชื่อผู้บันทึก วันที่บันทึก
-การบันทึกข้อมูลแต่ละประเภทในเวลาที่กำหนดไว้
การบันทึกข้อมูลภายในเวลาที่กำหนด
1.ข้อมูลประวัติส่วนตัวของผู้ป่วย กำหนดให้เจ้าหน้าที่เวชระเบียน เป็นผู้บันทึก และเมื่อผู้ป่วยต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลประวัติส่วนตัว ต้องมีเอกสารทางราชการออกให้มาประกอบคำขอ ซึ่งต้องดำเนินการทันที
2.การบันทึกข้อมูลการตรวจรักษาของผู้ป่วยนอก กำหนดให้แพทย์ผู้รักษา ต้องบันทึกด้วยตนเองทันที หรือกำกับให้มีการบันทึกให้ถูกต้อง พร้อมลงลายมือชื่อกำกับด้วย
3.การบันทึกข้อมูลการตรวจรักษาเมื่อจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล กำหนดให้แพทย์ต้องสรุปและบันทึกเอกสารดังนี้
1.การวินิจฉัยโรคขั้นสุดท้าย ประกอบด้วย : โรคหลัก โรคร่วม โรคแทรก สาเหตุการบาดเจ็บหรือได้รับพิษ (ถ้ามี)
2.สรุปผลการตรวจพบและเหตุการณ์สำคัญระหว่างการนอนพักรักษาในโรงพยาบาล ตลอดจนการรักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับ
3.สรุปการผ่าตัดและหัตถการที่สำคัญ ซึ่งต้องเรียงลำดับการวินิจฉัยและการผ่าตัดอย่างถูกต้อง
4.ผลลัพธ์จากการรักษา
5.สถานภาพผู้ป่วยเมื่อจำหน่ายจากสถานพยาบาล
6.คำแนะนำที่ให้แก่ผู้ป่วยหรือญาติ
7.เขียนให้อ่านง่ายและชัดเจน ไม่ใช้ตัวย่อที่ไม่เป็นสากล
สรุปให้ทันเวลา (ไม่เกิน 7 วัน หลังจำหน่ายผู้ป่วย)
-การแก้ไขบันทึกเวชระเบียน
แนวทางการแก้ไขข้อมูลในเวชระเบียน
1.ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติบุคคล ให้ดำเนินการได้เฉพาะเจ้าพนักงานเวชสถิติหรือเจ้าหน้าที่งานเวชระเบียนเท่านั้น โดยตรวจสอบหลักฐานประกอบการแก้ไข ตามความประสงค์ของผู้ขอแก้ไข ขีดฆ่าข้อความที่ผิดแก้ไขให้ถูกต้องพร้อมลงลายมือชื่อและวันที่แก้ไขกำกับ พร้อมบันทึกข้อมูลการแก้ไขในระบบคอมพิวเตอร์
2.ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาพยาบาล ให้บันทึกด้วยลายมือที่อ่านออกและชัดเจนโดยใช้ปากกา หากมีการแก้ไขความผิดพลาดให้ขีดฆ่ารายการเดิม แล้วเขียนรายการใหม่ พร้อมระบุชื่อผู้แก้ไข วันที่แก้ไข
3.ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด เด็ดขาด
-การจัดเก็บ การรักษาความปลอดภัย และการค้นหาเวชระเบียน
การจัดเก็บเวชระเบียน ด้วยระบบ Terminal digit filing system และมีแถบสีที่ OPD Card เพื่อป้องการเก็บผิดที่ มีการจัดเจ้าหน้าที่จัดเก็บโดยการกำหนดเลขรับผิดชอบที่ชัดเจน จัดเก็บในกำหนดเวลาภายใน20.30 น. ของวันนั้น ๆ มีระบบการรวม OPD Card โดยเรียงตามวันตรวจก่อนหลัง โดยไม่ล้มเลขที่ HN เพราะบาง HN ที่ Admit จะใช้ในการเชื่อมโยง (Link) ไปยัง IPD มีการจัดระบบแยกเก็บ OPD Cardสำหรับเจ้าหน้าที่ โดยใช้สีเฉพาะ
การรักษาความปลอดภัย มีการจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยทางอิเลกทรอนิกส์ด้วยโปรแกรมHOSxP มีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลโดยมีการกำหนดให้มีรหัสผ่านในการเข้าถึงข้อมูล ตามระดับหน้าที่การใช้งานของโปรแกรม และมีการสำรองข้อมูลกรณีฉุกเฉิน
การค้นหาเวชระเบียน
มีการค้นหาเวชระเบียนโดยเจ้าหน้าที่เวชระเบียน และไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่เวชระเบียนเข้ามาค้นเวชระเบียนเอง
-การเข้าถึงเวชระเบียนตามลักษณะงานที่รับผิดชอบ รวมทั้งการใช้เพื่องานวิจัย
การเข้าถึงเวชระเบียน
ผู้มีสิทธิเข้าถึงเวชระเบียน คือ เจ้าของเวชระเบียนเอง หรือ ผู้แทนที่ได้รับการที่ได้รับมอบอำนาจไว้ หรือผู้แทนโดยชอบธรรม ในกรณีเจ้าของเวชระเบียนเสียชีวิตหรือยังไม่บรรลุนิติภาวะ
*ผู้แทนโดยชอบธรรม หมายถึง ผู้ที่มีอำนาจทำนิติกรรมต่าง ๆ แทน เช่น บิดา,มารดา,คู่สมรส,บุตร
การเข้าถึงเวชระเบียน สามารถติดต่อด้วยตนเองที่งานเวชระเบียน
หลักฐานในการแสดงความจำนง
กรณีเจ้าของเวชระเบียน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นๆที่ทางราชการออกให้และมีรูปกำกับ ที่รับรองสำเนาถูกต้อง
กรณีผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจขอถ่ายสำเนาเวชระเบียน
- หนังสือยินยอมเปิดเผยประวัติหรือหนังสือมอบอำนาจที่เจ้าของเวชระเบียนทำไว้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นๆที่ทางราชการออกให้และมีรูปกำกับ ที่รับรองสำเนาถูกต้องแล้วของเจ้าของเวชระเบียนและของผู้ขอถ่ายสำเนาเวชระเบียน
กรณีผู้แทนโดยชอบธรรม
- หลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับเจ้าของเวชระเบียน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นๆที่ทางราชการออกให้และมีรูปกำกับ ที่รับรองสำเนาถูกต้องแล้วของเจ้าของเวชระเบียนและของผู้ขอถ่ายสำเนาเวชระเบียน
- ใบมรณะบัตรของเจ้าของเวชระเบียน ในกรณีเจ้าของเวชระเบียนเสียชีวิต
วิธีดำเนินการ
1.ผู้ขอถ่ายสำเนาเวชระเบียน กรอกแบบฟอร์มขอถ่ายสำเนาเวชระเบียน พร้อมแนบหลักฐานต่างๆยื่นที่ งานเวชระเบียน
2. เจ้าหน้าที่ลงทะเบียนรับเรื่อง พร้อมตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและตรวจสอบว่าต้องการที่จะใช้
เวชระเบียนส่วนใดบ้าง
3. เจ้าหน้าที่ค้นเวชระเบียนผู้ป่วยเสนอแพทย์เจ้าของเวชระเบียนผู้ป่วย
4. เมื่อแพทย์เจ้าของเวชระเบียนผู้ป่วยเซ็นรับทราบแล้วจึงนำเสนอผู้อำนวยการ โรงพยาบาล
5. เมื่อผู้อำนวยการโรงพยาบาลเซ็นอนุมัติ เจ้าหน้าที่นำเวชระเบียนไปถ่ายสำเนาเวชระเบียน
6. บันทึกข้อมูลรายละเอียดลงสมุดทะเบียน
กรณีแพทย์ / พยาบาล / เภสัชกร ฯลฯ ที่ขอเข้าดูข้อมูลผู้ป่วย ต้องมีการแจ้งความจำนงโดยการกรอกแบบฟอร์มการขอเข้าดู พร้อมทั้งระบุข้อมูลส่วนตัวของผู้ขอเข้าดู เพื่อการสืบสวนกลับเมื่อเกิดปัญหา และกำหนดเวลายืม-คืนเวชระเบียนที่ชัดเจนเพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบกรณีผู้อื่นต้องการ
กรณีศาล (ต้องมีหมายศาล) , บริษัทประกันฯ (ต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้แก่ผู้แทนของบริษัทให้สำเนาเอกสารหรือเข้าดูข้อมูล) , งานประกันสังคม, งานประกันสุขภาพ,กรมบัญชีกลาง ต้องทำหนังสือถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาล เมื่อผ่านการอนุมัติแล้วจะสั่งการให้แผนกเวชระเบียนดำเนินการต่อไป
กรณีผู้ที่ต้องการขอดูข้อมูลผู้ป่วยเพื่อทำการวิจัย ต้องทำบันทึกเพื่อเป็นหลักฐาน โดยผ่าน หัวหน้าฝ่ายเวชระเบียน และ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล เพื่อทำการอนุมัติ เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว หัวหน้าแผนกเวชระเบียนก็จะอำนวยความสะดวกในการขอเข้าดูข้อมูล เวชระเบียนจะจัดเตรียมแฟ้มผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยในตามที่ผู้ขอวิจัยขอเข้าดูข้อมูลล่วงหน้า 7 วัน
-การเก็บรักษาและการทำลายเวชระเบียน
การเก็บรักษาและการทำลายเวชระเบียน
มีเก็บรักษาเวชระเบียนไว้อย่างน้อยที่สุด 5 ปี นับจากวันที่ผู้ป่วยมาติดต่อรับการรักษาครั้งสุดท้าย ในส่วนเวชระเบียนที่เป็นคดีความเก็บไว้10ปี และก่อนที่สถานพยาบาลจะทำลายเวชระเบียนดังกล่าว ได้มีการประกาศเพื่อให้ผู้ป่วยที่ยังประสงค์จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลในเวชระเบียนดังกล่าวสามารถคัดค้านการทำลาย หรือทำการคัดลอก คัดสำเนาข้อมูลเฉพาะส่วนของตน เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
-การรับคำสั่ง การบันทึก และการรับรองคำสั่งการรักษาด้วยวาจา
การรักษาพยาบาลด้วยคำพูดหรือทางโทรศัพท์ - จะทำได้เฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยหรือในกรณีการรักษาที่ไม่ก่อให้เกิดผลร้ายต่อผู้ป่วย ทุกครั้งที่มีการสั่งการรักษาพยาบาลด้วยคำพูด หรือทางโทรศัพท์ แพทย์ผู้สั่งการรักษาต้องลงนามกำกับท้ายคำสั่งโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถดำเนินการได้ และอย่างช้าที่สุดไม่ควรเกิน 24 ชั่วโมง ภายหลังการสั่งการรักษาดังกล่าว
-การใช้รหัสการวินิจฉัยโรคและรหัสหัตถการที่เป็นมาตรฐาน
การใช้รหัสการวินิจฉัยโรคและรหัสหัตถการใช้หลักเกณฑ์มาตรฐานการให้รหัสโรคและรหัสหัตถการ (ICD-10, ICD-9 CM ) ตามมาตรฐานของ WHO โดยมีเจ้าหน้าที่เวชสถิติเป็นผู้ให้รหัสและบันทึกข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ ในส่วนของการให้รหัสโรคผู้ป่วยนอกได้มีการกำหนดให้คืนOPD Card ให้ห้องบัตรหลังจากทำการรักษาในวันนั้น เพื่อให้สามารถลงรหัสโรคได้ภายใน 1 วัน
สำรวจการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางปฏิบัติ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การสนทนากลุ่ม การสุ่มตรวจเวชระเบียน นำปัญหาที่พบมาปรับปรุงแนวทางปฏิบัติ หรือจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้มีการปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้
ประเมินประสิทธิภาพของระบบบริหารเวชระเบียน ในประเด็นต่อไปนี้
-ความเหมาะสมของแบบบันทึกต่างๆ เทียบกับเป้าหมายและความต้องการของผู้ใช้
-การตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในแง่ของเนื้อหา ความรวดเร็ว
-การปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่วางไว้
-ประสิทธิภาพของระบบการจัดเก็บการยืม และค้นหาเวชระเบียน (จุดเน้น)
กำหนดเวลา ให้หอผู้ป่วยต้องคืน OPD Card หลังจากผู้ป่วยจำหน่ายภายใน 48 ชั่วโมง และแฟ้มผู้ป่วยในภายใน 15 วันหลังผู้ป่วยจำหน่าย สำหรับผู้ป่วยนอกได้กำหนดให้ ห้องตรวจโรคต่าง ๆ ส่งบัตรคืนทุกวัน ภายใน 24 ชั่วโมง จัดเจ้าหน้าที่จัดเก็บโดยการกำหนดเลขรับผิดชอบที่ชัดเจน ภายในเวลาที่กำหนดภายใน20.30 น. ของวันนั้น ๆ ทำให้สามารถค้นหาพบ และบริการได้รวดเร็ว ในการบริการครั้งต่อไป มีระบบควบคุมการยืม-คืน OPD Card โดยโปรแกรมหลักของโรงพยาบาล(HOSxP)และมีการติดตามเมื่อครบกำหนดยืม ในกรณีผู้ป่วยนัดจัดให้มีการค้น OPD Card ก่อนล่วงหน้า 3 วัน
-ความปลอดภัยในการจัดเก็บเวชระเบียน
กำหนดให้เจ้าหน้าที่เวชระเบียนเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง โดยกำหนดเลขรับผิดชอบให้เจ้าหน้าที่จัดเก็บ ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่เวชระเบียนไม่มีสิทธิ์เข้าห้องเก็บเวชระเบียนโดยเด็ดขาด
-การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ
หัวหน้างานเวชระเบียนมีหน้าที่กำกับดูแลและติดตามการปฏิบัติตามระเบียบการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ประเมินผลตัวชี้วัดสำคัญที่บ่งบอกถึงการละเมิดระเบียบการปฏิบัติงาน
-วิเคราะห์ทางเดินของเวชระเบียนว่ามีโอกาสสูญหายในขั้นตอนใดบ้าง และดำเนินการปรับปรุง(จุดเน้น)
เวชระเบียนอาจมีการสูญหายเมื่อ
1.ผู้ป่วยถือเวชระเบียนเอง ในระหว่างที่ผู้ป่วยถืออยู่อาจทำหล่นหรือนำติดตัวกลับบ้าน
แก้ไขโดยการ ไม่ให้ผู้ป่วยถือประวัติเอง จัดให้มีเจ้าหน้าที่เดินประวัติหรือมีเจ้าหน้าที่มารับที่ห้องบัตร
2.เจ้าหน้าที่ยืมไป อาจลืมนำมาคืนทำให้เวชระเบียนสูญหาย
แก้ไขโดยการ มีระบบยืม-คืน ด้วยคอมพิวเตอร์และมีการติดตามเมื่อครบกำหนดคืน
วิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ว่ามีโอกาสที่ข้อมูลในเวชระเบียนจะสูญหาย เข้าถึง/ใช้/ถูกแก้ไขดัดแปลงโดยผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่หรือไม่ อย่างไร (จุดเน้น)
ข้อมูลผู้ป่วยจะถูกบันทึกลงในโปรแกรมHOSxP ซึ่งมีการกำหนดให้มีรหัสผ่านในการเข้าใช้โปรแกรมและเข้าถึงข้อมูลตามระดับหน้าที่การใช้งานของแต่ละบุคคล
รายงานอุบัติการณ์และดำเนินการปรับปรุงความเสี่ยงที่สำรวจ/ วิเคราะห์ได้
27.03.57
หลักฐานประกอบการใช้สิทธิการรักษาพยาบาล :กรณีผู้ป่วยใน
1.ข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ ต้นสังกัด:กรมบัญชีกลาง
· สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (เด็กที่ยังไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้าน)
· ใบแจ้งเลขที่อนุมัติ :กรณีผู้ป่วยใน (Claim code)
· หากไม่มีชื่อในฐานข้อมูล กรมบัญชีกลาง ให้ใช้ หนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาล จากต้นสังกัด
2.ข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ ต้นสังกัดอื่น ๆ : อบต.,อบจ.,เทศบาล,ครูเอกชน ฯลฯ
· สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (เด็กที่ยังไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้าน)
· ใบแจ้งเลขที่อนุมัติ :กรณีผู้ป่วยใน (Claim code)
· หากไม่มีชื่อในฐานข้อมูล ให้ใช้ หนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาล จากต้นสังกัด
3.พนักงานรัฐวิสาหกิจ : ไฟฟ้า ประปา ไปรษณีย์ การรถไฟ โทรศัพท์ ฯลฯ
· สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (เด็กที่ยังไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้าน)
· หนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาล จากต้นสังกัด
4.บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า รพ.ราชบุรี (ในเขต)
· สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (เด็กที่ยังไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้าน)
· ใบพิมพ์สิทธิการรักษาพยาบาล จาก website
5.บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า นอกเขตและต่างจังหวัด
· สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (เด็กที่ยังไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้าน)
· ใบพิมพ์สิทธิการรักษาพยาบาล จาก website
· หนังสือส่งตัวจากโรงพยาบาลเจ้าของบัตรที่ประทับตราให้เรียกเก็บ พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
6.บัตรสุขภาพแรงงานต่างด้าว รพ.ราชบุรี
· Passport หรือ เอกสาร ทร.38 หรือ บัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าว
· บัตรสุขภาพแรงงานต่างด้าว รพ.ราชบุรี
7.บัตรสุขภาพแรงงานต่างด้าว รพ.อื่น
· Passport หรือ เอกสาร ทร.38 หรือ บัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าว
· บัตรสุขภาพแรงงานต่างด้าง รพ.ราชบุรี
· หนังสือส่งตัวจากโรงพยาบาลเจ้าของบัตรที่ประทับตราให้เรียกเก็บ พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
04.02.57
เวชระเบียน (Medical Record)
เวชระเบียน (อังกฤษ: medical record) หมายถึง เอกสารทางการแพทย์ทุกประเภท ที่ใช้บันทึกและเก็บรวบรวมเรื่องราวประวัติของผู้ป่วยทั้งประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัว ประวัติการแพ้ยา เอกสารการยินยอมให้ทำการรักษาพยาบาล ประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบัน ข้อมูลบ่งชี้เฉพาะของบุคคล การรักษาพยาบาล ค่ารักษาพยาบาล ผลจากห้องปฏิบัติการ ผลการชันสูตรบาดแผลหรือพลิกศพ ผลการบันทึกค่าทั้งที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพหรือเครื่องหมายอื่นใด จากอุปกรณ์ เครื่องมือในสถานบริการสาธารณสุขหรือเครื่องมือทางการแพทย์ทุกประเภท หรือเอกสารการบันทึกการกระทำใด ๆ ที่เป็นการสั่งการรักษา การปรึกษาเพื่อการรักษาพยาบาล การส่งต่อผู้ป่วยไปทำการรักษาที่อื่น การรับผู้ป่วยรักษาต่อ การกระทำตามคำสั่งของผู้มีอำนาจในการรักษาพยาบาลตามที่สถานบริการสาธารณสุขกำหนดไว้ เอกสารอื่น ๆ ที่ใช้ประกอบเพื่อการตัดสินใจทางการแพทย์ เพื่อการประสานงานในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย และเอกสารอื่นใดที่ทางองค์การอนามัยโลก หรือสถานบริการสาธารณสุขกำหนดไว้ว่าเป็นเอกสารทางเวชระเบียน หมายรวมถึงชื่อของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดทำเอกสารดังกล่าว การเก็บรวบรวม การค้นหา การบันทึก การแก้ไข การให้รหัสโรค การจัดทำรายงานทางการแพทย์ การนำมาจัดทำสถิติผู้ป่วย การนำมาเพื่อการศึกษาวิจัย หรือเพื่อการอื่นใดตามที่สถานบริการสาธารณสุขกำหนด นอกจากนี้ยังรวมถึงเอกสารทางการแพทย์ที่อยู่ในรูปแบบสื่อดิจิตอล หรือระบบอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Medical Record -EMR) ซึ่งเป็นรูปแบบของเวชระเบียนที่มีการพัฒนาขึ้นในปัจจุบัน[1]
เวชระเบียน หมายถึง การรวบรวมข้อเขียนหรือบันทึกที่เกี่ยวกับการเจ็บป่วย เป็นข้อมูลที่บันทึกเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยที่โรงพยาบาล คลินิค หรือสถานีอนามัย เวชระเบียนนั้นเป็นบันทึกขบวนการทุกอย่างงที่จัดกระทำกับผู้ป่วยซึ่งข้อมูลนั้น ๆ ควรจะต้องประกอบด้วยประวัติการเจ็บป่วยในอดีตรวมทั้งความคิดเห็น การค้นหา สืบสวนผลทางห้องปฏิบัติการและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วย เวชระเบียนเป็นเอกสารที่อาจมีหลายขนาดหลายรูปแบบ และหลายข้อมูล โดยการบันทึกของหลายบุคคลในหลาย ๆ วิธีการ แต่ตามรูปลักษณะทั่วไปแล้ว เวชระเบียนจะประกอบด้วยจำนวนแผ่นกระดาษ หรือบัตร ซึ่งอาจจะบรรจุอยู่ในแฟ้มหรือซอง และยิ่งนำสมัยมากไปกว่านี้ก็จะบันทึกในคอมพิวเตอร์หรือบันทึกลงแผ่นกระดาษแล้วถ่ายไว้ในไมโครฟิล์มก็ได้[2]
เวชระเบียน หมายถึง การรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วยและประวัติสุขภาพรวมถึงประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและในปัจจุบันและการรักษาซึ่งจดบันทึกไว้โดยแพทย์ผู้ดูแล เวชระเบียนจะต้องบันทึกตามเวลาที่ศึกษาดูแลผู้ป่วย และควรจะต้องมีข้อมูลที่เพียงพอที่จะต้องบอกให้ทราบถึงการพิเคราะห์โรค และการดูแลรักษาโรคได้ และต้องเป็นเอกสารที่ถูกต้องครบถ้วน[3] http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99
04.02.57
มาตรฐานงานเวชระเบียน
1. มีอาคารสถานที่และอุปกรณ์ที่เหมาะสมและพร้อมสำหรับบริการสถานที่เก็บเวชระเบียนเป็นสัดส่วนไม่เสี่ยงต่ออันตรายจากสัตว์หรือปัจจัยทางกายภาพ
มีพื้นที่เพียงพอที่จะเก็บเวชระเบียนได้อย่างน้อย 5 ปี
2. มีเจ้าหน้าที่ที่มีคุณภาพในจำนวนที่เหมาะสม มีเจ้าหน้าที่มีความรู้และทักษะในการจัดเก็บเวชระเบียน
และควรมีการบันทึกรหัสโรค
3. มีระบบเวชระเบียนที่เหมาะสมและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1
มีความสมบูรณ์ของข้อมูลที่บันทึกในเวชระเบียนสำหรับผู้ป่วยใน ได้แก่
1. ข้อมูลประจำตัวผู้ป่วย
2.บันทึกการตรวจร่างกาย
3.การวินิจฉัยโรคและการสั่งการรักษา
4.รายงานสิ่งตรวจพบ
รายงานสิ่งตรวจพบจากการตรวจวินิจฉัยโรค
และการรักษาจะต้องได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนรายงานการผ่าตัดต้องประกอบด้วย
สิ่งที่พบเทคนิคการผ่าตัดชิ้นเนื้อที่ถูกตัดออกมา และการวินิจฉัยโรคหลังการผ่าตัด
5.รายงานสรุปมีการสรุปรายงานภายในระยะเวลาที่เหมาะสมการวินิจฉัยโรคแรกรับและวินิจฉัยโรคขั้นสุดท้ายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างอยู่ในโรงพยาบาลแผนการรักษาผู้ป่วยหลังจากการจำหน่าย
3.2
ข้อมูลที่บันทึกในเวชระเบียน
มีเพียงพอที่จะอธิบายเหตุผลในการสั่งการรักษาของแพทย์ทราบความเปลี่ยนแปลงทางคลีนิกที่สำคัญของผู้ป่วยและแพทย์ผู้อื่นสามารถให้การรักษาต่อได้
1.คำสั่งการรักษาเหมาะสม
2.มีบันทึกการเปลี่ยนแปลงสม่ำเสมอ
3.มีบันทึกการวินิจฉัยโรคที่ปรับปรุงตลอดเวลาเมื่อมีข้อมูลใหม่เพิ่มเติม
4.แพทย์ผู้อื่นสามารถให้การรักษาต่อได้
5.แพทย์ที่ได้รับการปรึกษาจะต้องบันทึกคำให้การปรึกษาเป็นลายลักษณ์อักษร
3.3
มีระบบการจัดเก็บและการค้นหาเวชระเบียนที่เหมาะสม
และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการให้บริการ
1.ระบบการจัดเก็บและการค้นหาเวชระเบียน
1.1.มีการทำระบบดัชนีเพื่อค้นหาเวชระเบียนที่ต้องการได้
1.2.สามารถค้นหาเวชระเบียนผู้ป่วยนอกโดยใช้ชื่อ
หรือเลขประจำตัวผู้ป่วยได้ภายใน 15 นาที
1.3.สามารถค้นหาเวชระเบียนผู้ป่วยในโดยใช้ชื่อเลขประจำตัวผู้ป่วยได้ ภายใน 30 นาที
1.4สามารถค้นพบเวชระเบียนผู้ป่วยทั้งนอกและในไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
2.การบันทึกสรุปและวิเคราะห์ข้อมูล
2.1มีการเก็บบันทึกสรุปผู้ป่วยใน
2.2มีการจัดทำระเบียนผู้ป่วยเสียชีวิตพร้อมการวินิจฉัยโรค
2.3มีการจัดทำรายงานต่อไปนี้
-จำนวนผู้ป่วยรับใหม่และจำหน่ายของแต่ละงานคลินิกบริการ
-จำนวนผู้ป่วยตามการวินิจฉัยโรคหรือกลุ่มโรค
-จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดประเภทต่าง ๆ
-ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลตามการวินิจฉัยโรค
3.มีการออกใบส่งตัวเมื่อผู้ป่วยต้องไปรักษาต่อที่อื่น
โดยมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการรักษาต่อ
ที่มา :
ชมรมเวชระเบียนและสถิติแห่งประเทศไทย
10.01.57
Competency List : งานเวชระเบียน
Competency List : งานเวชระเบียน
หัวข้อ
|
ความหมาย:
|
การให้ความสำคัญกับรายละเอียดของงานในทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่องและตรวจสอบความถูกต้อง แม่นยำของงานที่ปฏิบัติก่อนส่งมอบ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
| |
การติดต่อประสานงานแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความคิดเห็นต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน โดยวาจา และลายลักษณ์อักษร รวมทั้งการแสดงออกด้วยท่าทางที่เหมาะสม ทำให้เกิดผลดีกับทุกฝ่าย และบรรลุเป้าหมายของงาน
| |
ความเข้าใจ และตั้งใจที่จะให้บริการ รวมทั้งการสร้างความเป็นมิตรหรือความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น โดยการเริ่มต้นทักทาย สนับสนุน ช่วยเหลือ และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ให้เกียรติผู้อื่น เพื่อตอบสนองความต้องการ ความพึงพอใจของผู้ให้บริการทั้งภายในและภายนอก
| |
การจำแนกและประเมินอาการผู้ป่วยตามข้อเท็จจริง และสามารถจัดส่งผู้ป่วยไปตรวจรักษาได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย ทันเวลา
| |
มีความพยายามเรียนรู้ ศึกษา ค้นคว้า จดจำ การให้บริการด้านต่าง ๆ กฎ ระเบียบ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งภายในโรงพยาบาล และภายนอกโรงพยาบาล ตลอดจนมีความรู้รอบตัว เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าถึงการบริการได้สะดวก และสามารถให้ข้อมูลบริการได้ ณ จุดเดียว
| |
รู้และเข้าใจขั้นตอนกระบวนการ Admit / Discharge และเวชระเบียนที่แพทย์เจ้าของไข้บันทึกข้อมูลตามแบบบันทึกไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามมาตรฐานเวชระเบียนที่กำหนด
| |
ใบรับรองแพทย์ที่แพทย์ออกให้กับผู้ป่วยที่เป็นความฟ้องร้องตามขบวนการกฎหมายใบรับรองแพทย์จัดเป็นพยานเอกสารที่สำคัญ โดยสภาพความเป็นจริงที่สัมพันธ์กับกฎหมาย ถือว่า ใบรับรองแพทย์ที่ได้ออกไปนั้นเป็นใบชันสูตรบาดแผล/พลิกศพ
| |
มีความสามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยการแจกแจงแตกประเด็นออกเป็นส่วนย่อย ๆ รวมถึงการจัดหมวดหมู่ข้อมูลอย่างเป็นระบบ สามารถรายงานข้อมูล เปรียบเทียบแง่มุมต่าง ๆ ให้งานบรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
| |
การนำทักษะ ความรู้ ความสามารถ และเข้าใจในระบบหรือขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเอง และโปรแกรมสำเร็จรูปจากหน่วยงานภายนอกมาพัฒนาและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ากับการปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จ เพื่อพัฒนางานที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง
| |
มีความพยายามที่จะเข้าถึงประเด็น ปัญหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือจำเป็นต่องานในหน้าที่รวมถึงการสืบค้น เพื่อให้ได้ข้อมูลเฉพาะเจาะจงหรือตรงตามเงื่อนไขที่ต้องการ เพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมาย
| |
การนำความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการทำงานมาใช้ในการตรวจสอบ ฐานข้อมูลที่ตนเองรับผิดชอบ ให้ถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อนำไปสู่กระบวนการสืบค้น และรายงานข้อมูลที่แม่นยำ
| |
ความรู้ความชำนาญในการให้รหัสโรค ICD-10 และ รหัสหัตถการและการผ่าตัดICD-9-CMตามคู่มือการให้รหัส และคู่มือ Standard Coding Guidelineเพื่อให้ได้ข้อมูลทางคลินิกใช้ประกอบการเบิกจ่ายตามระบบ DRG อย่างมีประสิทธิภาพ
| |
การจัดกลุ่มโรคตามระบบ DRG และระเบียบกฎเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินผู้ป่วยโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผู้ป่วยสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ และผู้ป่วยประกันสังคม ตามแต่ละกองทุนกำหนด เพื่อให้คณะฯ ได้รับเงินคืนตาม DRG อย่างเหมาะสม
| |
ความสมบูรณ์ของเวชระเบียนประกอบด้วย แบบบันทึกของแพทย์เจ้าของไข้ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่กำหนดไว้ เพื่อให้เป็นเวชระเบียนที่ดี ใช้ประโยชน์ในการศึกษา, วิจัย, ประกอบการเบิกจ่ายเงินของแต่ละกองทุน และตรวจสอบคุณภาพจากภายในและภายนอก
| |
การให้ความสำคัญกับรายละเอียดของงานในทุกแง่มุมอย่างต่อเนื่องและการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลและปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดก่อนส่งมอบงาน
| |
ความสามารถในการจำแนก คัดกรอง แจกจ่าย คิดวิเคราะห์ สรุปประเด็น สาระสำคัญ จัดทำหนังสือราชการและรายงาน ตลอดจนติดตามงานจากหน่วยงานต่าง ๆ จัดระบบการจัดเก็บค้นหา ให้พร้อมใช้งาน รวมถึงการยืม การทำลายเอกสาร ได้ตามระเบียบงาน สารบรรณ
| |
การจัดสรรเวลา ในการจัดเรียงลำดับงานก่อน-หลัง ตามสถานการณ์ตามความเร่งด่วน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีผลกระทบต่อภาพรวมขององค์กร
| |
สนับสนุนงานของผู้บริหารเกี่ยวกับการนัดหมาย แจ้งเตือน ประสานงานติดต่อสื่อสาร การแก้ไขปัญหา จัดเตรียมเอกสนับสนุนการประชุม บริหารจัดการประชุม บันทึกและจดจำสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนจัดทำ จัดเก็บเอกสาร อำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ และการเก็บความลับ
| |
มีความรู้ความเข้าใจในงานที่ปฏิบัติ รวมทั้งขั้นตอน วิธีการทำงาน อย่างถ่องแท้ มีความชำนาญ และความสามารถประยุกต์ความรู้ และทักษะต่าง ๆในการปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
| |
รู้และเข้าใจมาตรฐาน หรือขั้นตอนการทำงาน รวมทั้งสามารถใช้ความรู้ และทักษะต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน
|
ความหมาย : การให้ความสำคัญกับรายละเอียดของงานในทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
และตรวจสอบความถูกต้อง แม่นยำของงานที่ปฏิบัติก่อนส่งมอบ ให้
เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
ระดับที่
|
· มองข้ามรายละเอียดของงานบางอย่าง
· งานที่ปฏิบัติมีข้อผิดพลาดบ่อยครั้ง
· ส่งมอบงานช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดบ่อยครั้ง
|
ระดับที่
|
· รู้และเข้าใจหลักการและมาตรฐานของงาน แต่ปฏิบัติได้ไม่ครบถ้วน
· ตรวจสอบงานที่นำส่งแต่มีข้อผิดพลาดในบางครั้ง
· ขอคำปรึกษาแนะนำจากเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน
· ส่งมอบงานช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดเป็นบางครั้ง
|
ระดับที่
|
· รู้และเข้าใจหลักการและมาตรฐานของงาน
· สามารถปฏิบัติงานได้อย่างละเอียดรอบคอบ และถูกต้องแม่นยำด้วยตนเอง
· ส่งมอบงานเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดทุกครั้ง
|
ระดับที่
|
· ประยุกต์ใช้หลักหรือวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสมในการตรวจสอบได้
· ให้คำปรึกษาแนะนำ และเป็นแบบอย่างแก่เพื่อนร่วมงานได้
· ส่งมอบงานเร็วกว่าระยะเวลาที่กำหนด
|
ระดับที่
|
· วางแผนและกำหนดมาตรฐาน ตลอดจนประเมินสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า
· สามารถถ่ายทอดประสบการณ์ ให้แก่เพื่อนร่วมงานและหน่วยงานภายนอก
|
ความหมาย : การติดต่อประสานงานแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความคิดเห็นต่าง ๆ ได้อย่าง ถูกต้อง ชัดเจน โดยวาจา
และลายลักษณ์อักษร รวมทั้งการแสดงออกด้วยท่าทางที่เหมาะสม ทำให้เกิดผลดีกับทุกฝ่าย
และบรรลุเป้าหมายของงาน
ระดับที่
|
· จัดลำดับความสำคัญและจับประเด็นของเนื้อหาไม่ชัดเจน
· สามารถสอบถามความคืบหน้าของงานได้จากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
· มีการประสานงาน และไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง
|
ระดับที่
|
· มีวิธีการสอบถามข้อมูลที่ต้องการจากบุคคลที่เข้ามาติดต่อด้วย เพื่อการติดต่อประสานงานในภายหลัง
· ระบุได้ถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมในการติดต่อประสานงานกับบุคคลต่าง ๆ
· มีการประสานงาน และสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานได้ ภายใต้คำแนะนำจากหัวหน้างาน/หน่วยงาน
|
ระดับที่
|
· รู้และเข้าใจบุคคลหรือหน่วยงานที่จะต้องติดต่อประสานงาน
· จัดลำดับความสำคัญและประเด็นของเนื้อหาที่ประสานงานได้ชัดเจน
· ประสานงานโดยให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริงได้อย่างถูกต้อง ตรงประเด็น
และเกิดผลดีกับทุกฝ่าย
· หาทางเลือกในการติดต่อประสานงานได้มากกว่า 1 ทางเลือก
|
ระดับที่
|
· มีเทคนิค และวิธีการในการติดต่อประสานงานกับบุคคลภายนอกองค์กร
· ให้ข้อเสนอแนะ และคำแนะนำในการติดต่อประสานงาน
|
ระดับที่
|
· เสนอความคิดเห็น และแนวทางแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ ให้กับบุคคล/ กลุ่มและให้คำแนะนำผู้อื่นเกี่ยวกับวิธีการ และแนวทางในการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ
· เป็นตัวแทนของหน่วยงานในการถ่ายทอดวิธีการในการติดต่อประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพให้กับผู้อื่น
|
ความหมาย : ความเข้าใจ และตั้งใจที่จะให้บริการ รวมทั้งการสร้างความเป็นมิตรหรือ
ความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น โดยการเริ่มต้นทักทาย สนับสนุน ช่วยเหลือ และ
พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ให้เกียรติผู้อื่น เพื่อตอบสนองความต้องการ
ความพึงพอใจของผู้ให้บริการทั้งภายในและภายนอก
ระดับที่
|
· มีกิริยา การแต่งกายที่เหมาะสม ยิ้มแย้มแจ่มใส การใช้ถ้อยคำสุภาพ แสดงความเป็นมิตรต่อผู้ใช้บริการ เต็มใจให้บริการ
· สามารถให้คำแนะนำการบริการของหน่วยงานตนเองได้ ภายใต้คำแนะนำของทีมงาน
|
ระดับที่
|
· สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้แต่ต้องขอคำปรึกษาจากทีมงานและหัวหน้างาน
· สามารถให้คำแนะนำการบริการของหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่นได้ โดยอาศัยข้อมูลประกอบ
· สามารถประสานงานภายในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่ถูกต้อง รวดเร็ว อย่างต่อเนื่อง
|
ระดับที่
|
· รับเป็นธุระ ช่วยแก้ปัญหาหรือหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ผู้ใช้บริการอย่างรวดเร็ว เต็มใจ
ไม่บ่ายเบี่ยง ไม่แก้ตัว หรือปัดภาระ
· คอยดูแลให้ผู้ใช้บริการได้รับความพึงพอใจ และนำข้อขัดข้องใด ๆ ในการให้บริการ ไปพัฒนาการบริการให้ดียิ่งขึ้น
|
ระดับที่
|
· สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาแก่ผู้ใช้บริการได้ด้วยตนเองโดยไม่มีข้อผิดพลาด
· คอยให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานที่กำลังให้บริการอยู่ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการ แม้ว่าผู้ใช้บริการจะไม่ได้ถามถึง หรือไม่ทราบมาก่อน
|
ระดับที่
|
· ปฏิบัติตนเป็นที่ปรึกษาของหน่วยงาน และผู้ใช้บริการไว้วางใจ ตลอดจนมีส่วนช่วยในการตัดสินใจของผู้ใช้บริการ
วิเคราะห์ถึงผลกระทบที่จะเกิดในพฤติกรรมนั้น ๆ ต่อระบบงาน และการวางแผนป้องกันล่วงหน้า
|
ความหมาย : การจำแนกและประเมินอาการผู้ป่วยตามข้อเท็จจริง และสามารถจัดส่งผู้ป่วยไปตรวจรักษา ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย ทันเวลา
ระดับที่
|
· คัดกรองผู้ป่วยโดยซักถามอาการ และใช้คู่มือการคัดกรองภายใต้การกำกับ ดูแล แนะนำ
· พยายามเรียนรู้ ศึกษา จดจำ อาการต่าง ๆ ว่าสมควรจัดส่งตรวจห้องตรวจใด
|
ระดับที่
|
· คัดกรองอาการและซักถาม และไม่ใช้คู่มือการคัดกรอง อยู่ในการกำกับ ดูแล แนะนำบางครั้ง
· คัดกรองผู้ป่วยฉุกเฉินได้ 2 ระดับ คือ ผู้ป่วย Emergency และ Urgent
|
ระดับที่
|
· คัดกรองผู้ป่วยที่รับ refer ได้ด้วยตนเองโดยมีความรู้เรื่องศัพท์แพทย์
· ประเมินอาการผู้ป่วยตามข้อเท็จจริงทั้งในเอกสารและอาการภายนอก
|
ระดับที่
|
· จัดส่งผู้ป่วยตรวจได้ถูกต้อง ทันเวลา มีความปลอดภัยในชีวิต
· ส่งเสริมสนับสนุนให้เพื่อนร่วมงานมีการเรียนรู้ ศึกษา ตลอดจนจัดเก็บรวบรวมโรคต่าง ๆ
ไว้เป็นคู่มือ
|
ระดับที่
|
· เป็นที่ปรึกษา สอนแนะ ให้ความรู้แก่เพื่อนร่วมงานได้อย่างถูกต้อง
· พัฒนาตนเอง เรียนรู้ ตลอดเวลา สามารถวิเคราะห์อาการผู้ป่วยที่ซับซ้อนได้
|
ความหมาย : มีความพยายามเรียนรู้ ศึกษา ค้นคว้า จดจำ การให้บริการด้านต่าง ๆ
กฎระเบียบ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งภายในโรงพยาบาล และภายนอก
โรงพยาบาล ตลอดจนมีความรู้รอบตัว เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าถึงการบริการได้
สะดวก และสามารถให้ข้อมูลบริการได้ ณ จุดเดียว
ระดับที่
|
· มีความรู้ตารางการออกตรวจของแพทย์โดยใช้คู่มือ
· มีความรู้การให้บริการภายในหน่วยงานที่สังกัด และอยู่ในการกำกับ ดูแล แนะนำ
|
ระดับที่
|
· มีความรู้ตารางการออกตรวจของแพทย์โดยไม่ใช้คู่มือ
· มีความรู้ ความเข้าใจในระบบ กฎระเบียบที่ปฏิบัติและเชื่อมต่อความรู้ดังกล่าวกับระบบงานอื่น ๆ ภายในองค์กรงานเวชระเบียน
· มีความรู้ ความเข้าใจระบบหรือขั้นตอนของหน่วยงานอื่น ๆ ภายในโรงพยาบาล
|
ระดับที่
|
· ตอบข้อซักถามการให้บริการต่าง ๆ ของทุกหน่วยบริการภายในโรงพยาบาลได้ถูกต้อง
· เป็นผู้แจ้งข้อมูล ข่าวสาร ที่มีการเปลี่ยนแปลงเร่งด่วนแก่เพื่อร่วมงานเพื่อความถูกต้องของข้อมูล
· เรียนรู้ ค้นคว้า พัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน และนำมาบอกเล่าเพื่อนร่วมงาน
|
ระดับที่
|
· มีการสั่งสมความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในข้อมูล ข่าวสาร นำมาจัดเก็บรวบรวมเพื่อประโยชน์ต่อเพื่อนร่วมงาน
· เป็นที่ปรึกษาแก่เพื่อนร่วมงาน
|
ระดับที่
|
· ตอบข้อซักถามได้ทุกคำถามที่ผู้รับบริการซักถาม ทั้งข้อมูลภายในและภายนอก รพ.
· เป็นศูนย์ข้อมูล ข่าวสาร ให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานภายในและทีมคร่อมสายงานได้
|
ความหมาย : การให้ความสำคัญกับรายละเอียดของงานในทุกแง่ทุกมุมอย่างต่อเนื่องและการตรวจสอบ
ความน่าเชื่อถือของข้อมูลและปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดก่อนส่งมอบงาน
ระดับที่
|
· ไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลหรืองานที่ปฏิบัติทำให้เกิดความผิดพลาดอยู่บ่อยครั้ง
· ข้อมูลหรืองานที่ปฏิบัติมีข้อผิดพลาดอยู่เสมอ
· ไม่คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดจากความผิดพลาดของตนที่มีต่อหน่วยงานอื่น
· ส่งมอบงานช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดอยู่บ่อยครั้ง
|
ระดับที่
|
· ขอคำปรึกษาแนะนำจากหัวหน้างานหรือสมาชิกในทีมในการจัดระบบการตรวจสอบข้อมูลหรืองานที่ปฏิบัติ
· ให้ความสนใจเฉพาะรายการที่ต้องตรวจสอบเท่านั้น
· ข้อมูลหรืองานที่ปฏิบัติมีข้อผิดพลาดบ้าง ซึ่งต้องได้รับการตรวจสอบซ้ำจากหัวหน้างาน
· ยอมรับฟังข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นและพยายามหาวิธีการแก้ไขอยู่เสมอ
· ส่งมอบผลงานช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดเป็นบางครั้ง
|
ระดับที่
|
· รู้และเข้าในหลักการและมาตรฐานการตรวจสอบ เลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับงานที่ตรวจสอบ
· ตรวจสอบรายละเอียดของข้อมูลหรือผลการปฏิบัติงานก่อนนำส่งทุกครั้ง โดยผลงานที่นำส่งถูกต้องแม่นยำ ไม่ต้องมีการตรวจสอบซ้ำจากหัวหน้างาน
· ค้นพบข้อผิดพลาดของข้อมูลหรือผลงานที่ปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
· ส่งมอบผลงานเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดทุกครั้ง
|
ระดับที่
|
· ตั้งข้อสงสัยกับข้อมูลที่ไม่ชัดเจน และนำข้อสงสัยไปหาข้อมูลเพิ่มเติม
· สามารถตรวจสอบข้อมูลหรืองานที่ละเอียดและซับซ้อนได้ โดยข้อมูลและผลงานที่ปฏิบัติมีความถูกต้องทุกครั้ง
· ตรวจสอบข้อมูลหรือผลการทำงานของทีมได้ และประเมินผลการตรวจสอบข้อมูลและผลงานที่ปฏิบัติอยู่เสมอ
· ส่งมอบงานเร็วกว่าระยะเวลาที่กำหนดเป็นบางครั้ง
|
ระดับที่
|
· พิจารณาแนวทางเลือกและเลือกแนวทางที่เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
· สามารถตรวจสอบข้อมูลความสัมพันธ์ ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่ผิดพลาด
· คิดหาแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงวิธีการในการตรวจสอบอยู่เสมอ ตรวจนอบข้อมูลหรือผลการทำงานของสมาชิกในทีมและนอกทีม
· ส่งมอบงานเร็วกว่าระยะเวลาที่กำหนดทุกครั้ง
|
ความหมาย : การจัดสรรเวลา ในการจัดเรียงลำดับงานก่อน-หลัง ตามสถานการณ์ ตาม
ความเร่งด่วน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดโดย
ไม่มีผลกระทบต่อภาพรวมขององค์กร
ระดับที่
|
· รู้แต่ไม่สามารถจัดเรียงลำดับงานก่อน – หลัง ตามสถานการณ์ ความเร่งด่วน และนำเสนอ หรือส่งมอบงานไม่ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
|
ระดับที่
|
· สามารถจัดเรียงลำดับงานก่อน - หลัง ตามสถานการณ์ ความเร่งด่วน สามารถทำงานได้สำเร็จในระยะเวลาที่กำหนดเป็นบางครั้งภายใต้การควบคุมดูแลของหัวหน้างาน
|
ระดับที่
|
· จัดสรรเวลา จัดเรียงลำดับงานก่อน – หลัง ตามสถานการณ์ ตามความเร่งด่วน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีข้อผิดพลาดและผลกระทบต่อภาพรวมขององค์กร ได้ด้วยตนเอง แต่ขอคำปรึกษา จากทีมงาน/หัวหน้างานบางครั้ง
|
ระดับที่
|
· จัดสรรเวลา จัดเรียงลำดับงานก่อน – หลัง ตามสถานการณ์ ความเร่งด่วน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายก่อนระยะเวลาที่กำหนดโดยสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาด พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อภาพรวมขององค์กร ได้ด้วยตนเอง
|
ระดับที่
|
· มีสมรรถนะในระดับที่ 4
· สามารถวางแผนจัดระบบ คู่มือการปฏิบัติงาน และตั้งข้อสังเกต ให้คำปรึกษาแนะนำ และถ่ายทอดความรู้ตลอดจนเป็นแบบอย่างแก่ทีมงาน
|
ความหมาย : รู้และเข้าใจขั้นตอนกระบวนการ Admit / Discharge และเวชระเบียนที่
แพทย์เจ้าของไข้บันทึกข้อมูลตามแบบบันทึกไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ตาม
มาตรฐานเวชระเบียนที่กำหนด
ระดับที่
|
· รู้และจำแนกแบบบันทึกเวชระเบียนตามข้อกำหนดโดยมีคู่มือ
· รู้และเข้าใจขั้นตอนกระบวนการ Admit/Discharge
· ตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดเบื้องต้นได้
|
ระดับที่
|
· จำแนกลายเซ็นแพทย์เจ้าของไข้และภาควิชาที่สังกัดได้ภายใต้การกำกับ ดูแล แนะนำ
· ลงทะเบียน Discharge ได้ภายใต้การกำกับ ดูแล แนะนำ
|
ระดับที่
|
· จำแนกลายเซ็นแพทย์เจ้าของไข้และภาควิชาที่สังกัดได้ด้วยตนเอง
· อธิบายขั้นตอนและกระบวนการเวชระเบียนค้างสรุปได้อย่างชัดเจน
· มีความรู้เรื่องเวชระเบียนค้างสรุปในภาพรวมเชื่อมต่อความรู้ดังกล่าวกับระบบงานอื่น ๆ ได้
|
ระดับที่
|
· มีทักษะ ความชำนาญอย่างเพียงพอ สามารถปฏิบัติงานที่ยุ่งยากซับซ้อนได้
· มีการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงาน พัฒนาศักยภาพ ความรู้ความสามารถ รู้จักพัฒนา ปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
|
ระดับที่
|
· ถ่ายทอด สอน แนะนำ ให้คำปรึกษาให้แก่บุคคล หน่วยงานภายใน/ภายนอกได้
|
ความหมาย : ใบรับรองแพทย์ที่แพทย์ออกให้กับผู้ป่วยที่เป็นความฟ้องร้องตาม
ขบวนการกฎหมายใบรับรองแพทย์จัดเป็นพยานเอกสารที่สำคัญ โดยสภาพ
ความเป็นจริงที่สัมพันธ์กับกฎหมาย ถือว่า ใบรับรองแพทย์ที่ได้ออกไปนั้นเป็น
ใบชันสูตรบาดแผล/พลิกศพ
ระดับที่
|
· มีความรอบรู้ในการใช้ใบชันสูตรบาดแผล/ใบชันสูตรพลิกศพ
· จัดเก็บสำเนาใบชันสูตรบาดแผล/ใบชันสูตรพลิกศพ อย่างเป็นระบบเพื่อสะดวกในการค้นหา
|
ระดับที่
|
· ส่งใบชันสูตรบาดแผล/ใบชันสูตรพลิกศพให้แพทย์เจ้าของไข้ได้ถูกคนและตรงตามภาควิชาที่สังกัด
· ตรวจสอบสถานะปัจจุบันของผู้ป่วย (OPD/IPD) ได้ถูกต้อง
|
ระดับที่
|
· ตรวจสอบรายละเอียดของข้อมูลการตรวจรักษาที่ซับซ้อนได้ เพื่อทราบชื่อแพทย์เจ้าของไข้
ในการสรุปใบชันสูตร
· ติดตามและประสานแพทย์เจ้าของไข้ได้
|
ระดับที่
|
· ตรวจสอบรายละเอียดของใบชันสูตรที่แพทย์ออกให้ครบถ้วนสมบูรณ์
· ให้ข้อมูลและคำแนะนำข้อมูลใบชันสูตรบาดแผล/พลิกศพ แก่บุคคล หน่วยงานภายใน/ภายนอกได้
|
ระดับที่
|
· มีความรู้ทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับคดี
· มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ใบชันสูตร
|
ความหมาย : มีความสามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
โดยการแจกแจงแตกประเด็นออกเป็นส่วนย่อย ๆ รวมถึงการจัดหมวดหมู่ข้อมูล
อย่างเป็นระบบ สามารถรายงานข้อมูล เปรียบเทียบแง่มุมต่าง ๆ ให้งาน
บรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
ระดับที่
|
· กำหนดที่มาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องไม่ถูกต้องและเพียงพอ
· ผลการรายงานข้อมูลคลาดเคลื่อน
· ต้องขอความช่วยเหลือจากผู้บังคับบัญชาอยู่เสมอ
|
ระดับที่
|
· กำหนดแหล่งข้อมูลได้อย่างเหมาะสม
· รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่กำหนดได้
· จัดกลุ่มของข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ
|
ระดับที่
|
· กำหนดวิธีการ แนวทาง และเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล
· นำเสนอรายงานข้อมูลได้อย่างเหมาะสม
|
ระดับที่
|
· เข้าใจความสัมพันธ์ของข้อมูลต่าง ๆ ในภาพรวมทั้งหมด
· สามารถนำเสนอข้อมูลได้ทันต่อเหตุการณ์
· วิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องตามกรอบและแนวคิดที่กำหนด
· ให้คำแนะนำผู้อื่นในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และรายงาน
|
ระดับที่
|
· สามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
· อธิบายกรอบแนวคิด และกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลให้กับบุคคลอื่นได้
|
ความหมาย : การนำทักษะ ความรู้ ความสามารถ และเข้าใจในระบบหรือขั้นตอนในการ
ทำงานของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเอง และโปรแกรมสำเร็จรูปจากหน่วยงาน
ภายนอกมาพัฒนาและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการ
ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ากับการปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จเพื่อพัฒนา
งานที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง
ระดับที่
|
· ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่เกี่ยวข้องในส่วนงานที่รับผิดชอบได้
· เข้าใจปัญหาหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่ผิดพลาด
· ปฏิบัติงานภายใต้คำสั่ง และ/หรือคำแนะนำ
|
ระดับที่
|
· ปฏิบัติงานในส่วนที่รับผิดชอบได้ด้วยตนเอง แต่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแล
· รับรู้การเปลี่ยนแปลง ระบบหรือขั้นตอนการทำงานใหม่ ๆ
|
ระดับที่
|
· ปฏิบัติงานในส่วนที่รับผิดชอบได้ด้วยตนเอง
· อธิบายขั้นตอนและกระบวนการในการทำงานได้อย่างชัดเจน
· แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือปัญหาหน้างานประจำวันได้
· แสวงหาความรู้/ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้สำเร็จ
|
ระดับที่
|
· มีความรู้ทั้งระบบในภาพรวม สามารถเชื่อมต่อความรู้ดังกล่าวกับระบบงานอื่น ๆ ได้
· ให้คำปรึกษาแนะนำแก่เพื่อนร่วมงานได้
· พัฒนาต่อยอดความรู้จากประสบการณ์ และความรู้จากแหล่งอื่นได้
|
ระดับที่
|
· ถ่ายทอดและให้ข้อเสนอแนะ ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่รับผิดชอบ และสามารถนำความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการวางแผน พัฒนางานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานได้
· เป็นวิทยากรแก่หน่วยงานภายในและภายนอกได้
|
ความหมาย : มีความพยายามที่จะเข้าถึงประเด็น ปัญหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
หรือจำเป็นต่องานในหน้าที่รวมถึงการสืบค้น เพื่อให้ได้ข้อมูลเฉพาะเจาะจงหรือ
ตรงตามเงื่อนไขที่ต้องการ เพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมาย
ระดับที่
|
· รู้ระบบข้อมูลและแหล่งที่ต้องการสืบค้น
· ให้ข้อมูลที่มีอยู่ หรือหาจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่แล้ว
|
ระดับที่
|
· สืบค้นข้อมูลอย่างง่าย โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
· มีความรู้เรื่อง ICD เบื้องต้น
· ใช้คำสั่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างง่าย
|
ระดับที่
|
· สามารถจำกัดขอบเขตของการสืบค้นให้ได้ข้อมูลตรงตามวัตถุประสงค์
· มีความรู้เรื่อง ICD สามารถให้รหัสโรค/ผ่าตัดและหัตถการที่ไม่ซับซ้อนได้
· ใช้คำสั่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน
|
ระดับที่
|
· สืบค้นข้อมูลที่ซับซ้อนมากขึ้นโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชั้นสูงช่วยในการสืบค้น
· จัดเก็บผลการสืบค้นอย่างเป็นระบบ
· วางระบบการสืบค้น เพื่อให้มีข้อมูลทันเหตุการณ์
· สามารถแนะนำความรู้เรื่อง ICD ได้
|
ระดับที่
|
· ประยุกต์ใช้ ICD ในการสืบค้นข้อมูล
· สามารถสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลภายนอก
· ถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ให้ผู้อื่นได้
|
ความหมาย : การนำความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการทำงานมาใช้ในการ
ตรวจสอบฐานข้อมูลที่ตนเองรับผิดชอบ ให้ถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อนำไปสู่
กระบวนการสืบค้น และรายงานข้อมูลที่แม่นยำ
ระดับที่
|
· ปฏิบัติงานผ่านโปรแกรมที่รับผิดชอบโดยใช้คู่มือ
· รู้โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลที่ตนเองรับผิดชอบ
|
ระดับที่
|
· ตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ของแฟ้มข้อมูลเบื้องต้น พร้อมแก้ไข ปรับปรุงภายใต้คำแนะนำ
|
ระดับที่
|
· ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแฟ้มข้อมูลพร้อมแก้ไขปรับปรุงได้ด้วยตนเอง
|
ระดับที่
|
· มีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
· เป็นที่ปรึกษาแก่เพื่อนร่วมงานได้
|
ระดับที่
|
· ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการตรวจสอบฐานข้อมูลให้กับบุคคลอื่นได้
|
ความหมาย : ความรู้ความชำนาญในการให้รหัสโรค ICD-10 และ รหัสหัตถการและการ
ผ่าตัดICD-9-CMตามคู่มือการให้รหัส และคู่มือ Standard Coding Guideline
เพื่อให้ได้ข้อมูลทางคลินิกใช้ประกอบการเบิกจ่ายตามระบบ DRG อย่างมี
ประสิทธิภาพ
ระดับที่
|
· มีความรู้พื้นฐานศัพท์แพทย์ ภาษาอังกฤษ และภาษาที่ใช้ใน ICD หรือผ่านการศึกษาหลักสูตรเวชสถิติ หรืออบรมหลักการใช้ ICD ระยะสั้น
· สามารถให้รหัส ICD อ่าน และเข้าใจเนื้อหาในเวชระเบียนอย่างง่ายได้ โดยอยู่ในการดูแล กำกับ แนะนำของผู้ให้รหัสระดับที่สูงกว่า
|
ระดับที่
|
· มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ให้รหัสระดับที่ 1 และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม หรือแตกต่าง คือ
· สามารถให้รหัส ICD ได้ด้วยตนเอง อ่านและเข้าใจเนื้อหาในเวชระเบียนได้บางส่วน อยู่ภายใต้การตรวจสอบความถูกต้องการให้รหัสของผู้ให้รหัสระดับที่สูงกว่า
|
ระดับที่
|
· สามารถอ่าน ค้นหา และเข้าใจเนื้อหาในเวชระเบียนผู้ป่วยทั้งหมด ให้รหัส ICD สำหรับโรคต่าง ๆ ที่ปรากฏในเวชระเบียน ตรงตามกฎการใช้รหัสแต่ละรหัส
· มีความสามารถปรับตัว ใช้รหัสในระบบที่แตกต่าง หรือใช้ระบบรหัสที่เปลี่ยนแปลงใหม่ได้
· มีความตั้งใจในการพัฒนาฝีมือการให้รหัส เพื่อยกระดับความถูกต้องของการให้รหัสให้สูงที่สุด
· มีความสามารถอ่านตำราทางการแพทย์ได้เข้าใจ และสามารถค้นหารายละเอียดของโรค สาเหตุของโรค พยาธิสภาพของโรคต่าง ๆ จากตำราทางการแพทย์ได้
· สามารถบอกข้อบกพร่องที่พบจากการตรวจบันทึกเวชระเบียนของแพทย์ได้
· สามารถสอบถามข้อสงสัย ข้อมูลที่ขาดตกบกพร่อง เพิ่มเติมจากแพทย์ผู้บันทึกเวชระเบียนได้
· สามารถเสนอแนะแนวทางการบันทึกข้อมูลที่ดี ให้กับแพทย์ผู้บันทึกเวชระเบียนได้
|
ระดับที่
|
· มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ให้รหัสระดับที่ 3 และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม หรือแตกต่าง คือ
· สามารถให้รหัส ICD ในกรณีผู้ป่วยโรคสลับซับซ้อนหรือเวชระเบียนที่มีข้อมูลมากได้ถูกต้อง
· สามารถจำแนกการบันทึกสาเหตุการตายที่ผิดพลาดและการบันทึกเวชระเบียนที่ผิดพลาดได้อย่างแม่นยำ และสามารถบอกสิ่งที่ผิดพลาดที่เกิดขึ้น เสนอแนวทางแก้ไขได้
· สามารถตรวจสอบการให้รหัสของผู้ให้รหัสระดับที่ 3 ตามกฎเกณฑ์ทุกข้อของ ICD
· มีความสามารถให้รหัสได้ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ โดยมีระดับความผิดพลาดน้อยมาก
· ควรมีประสบการณ์ทำงานให้รหัส ICD มาไม่น้อยกว่า 2 ปี
· มีความรู้พื้นฐานทางกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ และพยาธิวิทยาของโรคต่าง ๆ
|
ระดับที่
|
· มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ชำนาญการให้รหัสระดับที่ 4 และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม หรือแตกต่าง คือ
· สามารถให้รหัส ICD ในกรณีผู้ป่วยโรคเฉพาะทางต่าง ๆ หรือเวชระเบียนที่มีปัญหามากได้ถูกต้อง
· สามารถถ่ายทอดความรู้ เป็นครูสอนผู้ให้รหัสระดับที่ 3 ได้
· สามารถตรวจสอบคุณภาพการให้รหัสโรคของผู้ให้รหัสระดับ 3 หรือผู้ชำนาญการให้รหัสระดับกลางได้
· ควรมีประสบการณ์ทำงานให้รหัส ICD มาไม่น้อยกว่า 5 ปี
|
ความหมาย : การจัดกลุ่มโรคตามระบบ DRG และระเบียบกฎเกณฑ์การเบิกจ่ายเงิน
ผู้ป่วยโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผู้ป่วยสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล
ข้าราชการ และผู้ป่วยประกันสังคม ตามแต่ละกองทุนกำหนด เพื่อให้คณะฯ
ได้รับเงินคืนตาม DRG อย่างเหมาะสม
ระดับที่
|
· มีความรู้ ความเข้าใจในระบบ DRG และกฎเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินผู้ป่วยโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผู้ป่วยสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ และผู้ป่วยประกันสังคม ขั้นพื้นฐาน
|
ระดับที่
|
· มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับระดับที่ 1 และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม คือ
· มีประสบการณ์ เข้าใจในระบบ DRG และกฎเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินได้ดีขึ้น สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองโดยไม่จำเป็นต้องควบคุม
· มีทักษะ ความชำนาญ สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือปัญหาหน้าที่งานประจำวันได้
|
ระดับที่
|
· มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับระดับที่ 2 และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม คือ
· มีความเข้าใจระบบหรือขั้นตอนที่ปรับเปลี่ยนได้อย่างต่อเนื่อง
· มีทักษะ ความชำนาญอย่างเพียงพอ สามารถปฏิบัติงานที่ซับซ้อน ยุ่งยากได้
|
ระดับที่
|
· มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับระดับที่ 3 และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม คือ
· มีการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงาน พัฒนาศักยภาพ ความรู้ความสามารถ รู้จักพัฒนา ปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
· สามารถวิเคราะห์ข้อมูลการจัดกลุ่ม DRG เพื่อนำเสนอ อุทธรณ์ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
|
ระดับที่
|
· มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับระดับที่ 4 และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม คือ
· สามารถถ่ายทอด สอน แนะนำ ให้คำปรึกษาให้แก่หน่วยงานภายในและภายนอกได้
|
ความหมาย : ความสมบูรณ์ของเวชระเบียนประกอบด้วย แบบบันทึกของแพทย์เจ้าของไข้ที่
ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่กำหนดไว้ เพื่อให้เป็นเวชระเบียนที่ดี ใช้ประโยชน์ใน
การศึกษา, วิจัย, ประกอบการเบิกจ่ายเงินของแต่ละกองทุน และตรวจสอบ
คุณภาพจากภายในและภายนอก
ระดับที่
|
· รู้และจำแนกแบบบันทึกเวชระเบียนของทีมรักษาได้
· จัดเรียงเข้ารูปเล่มตามลำดับตามที่กำหนดได้
|
ระดับที่
|
· รู้และจำแนกเวชระเบียนสมบูรณ์และค้างสรุปได้
· รู้และเข้าใจรายงานผลทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญที่ต้องมี
· จำแนกลายเซ็นแพทย์เจ้าของไข้และภาควิชาที่สังกัดได้ภายใต้การกำกับ ดูแล แนะนำ
|
ระดับที่
|
· รู้และจำแนกเวชระเบียน ได้ถูกต้อง
· จำแนกลายเซ็นแพทย์เจ้าของไข้และภาควิชาที่สังกัดได้ด้วยตนเอง
· มีความรู้เรื่องเวชระเบียนในภาพรวมเชื่อมต่อความรู้ดังกล่าวกับระบบงานอื่น ๆ ได้
|
ระดับที่
|
· มีทักษะ ความชำนาญในเรื่องความสมบูรณ์ของเวชระเบียน
· มีการสั่งสมความเชียวชาญในงาน พัฒนาศักยภาพ ความรู้ความสามารถ รู้จักพัฒนา ปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
|
ระดับที่
|
· ถ่ายทอด สอน แนะนำ ให้คำปรึกษาให้แก่บุคคล หน่วยงานภายใน/ภายนอกได้
|
ความหมาย : ความสามารถในการจำแนก คัดกรอง แจกจ่าย คิดวิเคราะห์ สรุปประเด็น สาระสำคัญ จัดทำหนังสือราชการและรายงาน ตลอดจนติดตามงานจากหน่วยงานต่าง ๆ จัดระบบการจัดเก็บค้นหา ให้พร้อมใช้งาน รวมถึงการยืม การทำลายเอกสาร ได้ตามระเบียบงานสารบรรณ
ระดับที่
|
l การจำแนก คัดกรอง แจกจ่าย หนังสือราชกาการจำแนก คัดกรอง แจกจ่าย หนังสือราชการทั้งภายในและภายนอก สรุปประเด็น สาระสำคัญ โดยมีข้อมูล หรือเหตุผลประกอบ และติดตามงาน ตลอดจนจัดทำหนังสือราชการ ได้เพียงบางส่วน แต่ไม่สามารถสรุปรายงานการประชุมได้
|
ระดับที่
|
l การจำแนก คัดกรอง แจกจ่าย หนังสือราชการทั้งภายในและภายนอก สรุปประเด็น สาระสำคัญ โดยมีข้อมูล หรือเหตุผลประกอบ และติดตามงาน ตลอดจนจัดทำหนังสือราชการ และรุปรายงานการประชุม รวมทั้งสามารถจัดเก็บ ค้นหา ข้อมูลสำหรับอ้างอิงได้โดยขอคำแนะนำจากทีมงาน หรือหัวหน้างาน
|
ระดับที่
|
l การจำแนก คัดกรอง แจกจ่าย หนังสือราชการทั้งภายในและภายนอก คิดวิเคราะห์ สรุปประเด็น สาระสำคัญ โดยมีข้อมูล หรือเหตุผลประกอบ และติดตามงาน ตลอดจนจัดทำหนังสือราชการ สรุปรายงานการประชุม วางแผนจัดระบบและรวบรวมข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลสำหรับอ้างอิงให้เป็นปัจจุบันรวมทั้งสามารถพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดจากข้อผิดพลาดได้ด้วยตนเอง
|
ระดับที่
|
l การจำแนก คัดกรอง แจกจ่าย หนังสือราชการทั้งภายในและภายนอก คิดวิเคราะห์ สรุปประเด็น สาระสำคัญ โดยมีข้อมูล หรือเหตุผลประกอบ และติดตามงาน ตลอดจนจัดทำหนังสือราชการ สรุปรายงานการประชุม วางแผนจัดระบบและรวบรวมข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลสำหรับอ้างอิงให้เป็นปัจจุบันรวมทั้งสามารถพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเองและไม่มีข้อผิดพลาด
l ตั้งข้อสังเกตถึงข้อมูลที่ผิดปกติในรายงานหรือหนังสือราชการที่ได้รับจากหน่วยงานอื่นได้
l เสนอวิธีการ เทคนิคและขั้นตอนใหม่ ๆ ในการปรับปรุงงานได้
|
ระดับที่
|
l ปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องแม่นยำจนเป็นแบบอย่างและ สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่นได้
l สามารถปรับระบบงานและประยุกต์ให้เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ได้
|
ความหมาย : สนับสนุนงานของผู้บริหารเกี่ยวกับการนัดหมาย แจ้งเตือน ประสานงาน
ติดต่อสื่อสาร การแก้ไขปัญหา จัดเตรียมเอกสารสนับสนุนการประชุม
บริหารจัดการประชุม บันทึกและจดจำสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนจัดทำ จัดเก็บ
เอกสาร อำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ และการเก็บความลับ
ระดับที่
|
l สามารถนัดหมาย แจ้งเตือน ประสานงาน ติดต่อสื่อสาร จัดเตรียมเอกสารสนับสนุนการประชุม
l มีความรู้ ความสามารถ ด้านโปรแกรม คอมพิวเตอร์พื้นฐาน (MS Office)
l มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม
|
ระดับที่
|
l สามารถนัดหมาย แจ้งเตือน ประสานงาน ติดต่อสื่อสาร จัดเตรียมเอกสารสนับสนุนการประชุม มีทักษะในการบันทึกและจดจำสิ่งต่าง ๆ รวมถึงการจัดทำ จัดเก็บเอกสาร และจัดลำดับความสำคัญของงานได้ โดยขอคำปรึกษาจากทีมงานและหัวหน้างาน
l มีความรู้ ความสามารถ และทักษะด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์
l มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม และเก็บความลับได้บางส่วน
|
ระดับที่
|
l สามารถนัดหมาย แจ้งเตือน ประสานงาน ติดต่อสื่อสาร จัดเตรียมเอกสารสนับสนุนการประชุม มีทักษะในการบันทึกและจดจำสิ่งต่าง ๆ รวมถึงการจัดทำ จัดเก็บเอกสาร การแก้ไขปัญหา และจัดลำดับความสำคัญของงานได้ด้วยตนเอง แต่มีข้อผิดพลาดบ้าง
l มีความรู้ ความสามารถ และทักษะด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี
l มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม อดทน และสามารถเก็บความลับได้เป็นอย่างดี
|
ระดับที่
|
l สามารถนัดหมาย แจ้งเตือน ประสานงาน ติดต่อสื่อสาร จัดเตรียมเอกสารสนับสนุนการประชุม บริหารจัดการประชุม มีทักษะในการบันทึกและจดจำสิ่งต่าง ๆ รวมถึงการจัดทำ จัดเก็บเอกสาร การแก้ไขปัญหา และจัดลำดับความสำคัญของงานได้ด้วยตนเอง โดยไม่มีข้อผิดพลาด
l คิดวางแผนการปฏิบัติงานด้วยวิธีการใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงผลการปฏิบัติงาน
|
ระดับที่
|
· สามารถนัดหมาย แจ้งเตือน ประสานงาน ติดต่อสื่อสาร จัดเตรียมเอกสารสนับสนุนการประชุม บริหารจัดการประชุม มีทักษะในการบันทึกและจดจำสิ่งต่าง ๆ รวมถึงการจัดทำ จัดเก็บเอกสาร การแก้ไขปัญหา และจัดลำดับความสำคัญของงาน ผลงานเป็นที่ยอมรับของผู้บริหารและผู้รับบริการ จนเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นที่ปรึกษาแก่ทีมงานได้ โดยไม่มีข้อผิดพลาด
|
ความหมาย : มีความรู้ความเข้าใจในงานที่ปฏิบัติ รวมทั้งขั้นตอน วิธีการทำงาน อย่างถ่อง
แท้ มีความชำนาญ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ และทักษะต่างๆ ในการ
ปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จได้อย่าง มีประสิทธิภาพ
ระดับที่
|
§ ไม่มีความเข้าใจในระบบ ขั้นตอน หรือมาตรฐาน การทำงานที่รับผิดชอบ ไม่สามารถอธิบายได้ถึงปัญหาหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่ผิดพลาด หลีกเลี่ยงการรับรู้ การเปลี่ยนแปลงระบบ หรือขั้นตอนการทำงานใหม่ๆ
|
ระดับที่
|
§ มีความรู้ในระบบ ขั้นตอน หรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน แต่ต้องซักถามหัวหน้างานหรือสมาชิกในทีมอยู่เสมอ และพยายามทำความเข้าใจในระบบหรือขั้นตอนการทำงานใหม่ๆ
|
ระดับที่
|
§ เข้าใจ และสามารถอธิบายได้ถึงกระบวนการ ระบบ ขั้นตอน หรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
ที่รับผิดชอบ และประยุกต์ใช้ความรู้ที่มีในการปฏิบัติงานให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง
|
ระดับที่
|
§ มีความรู้ ความชำนาญในงานที่รับผิดชอบเป็นอย่างดี สามารถนำความรู้ ประสบการณ์มาพัฒนาและปรับปรุงการทำงานได้
|
ระดับที่
|
§ สามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่มีให้กับเพื่อนร่วมงานได้
§ ผลการปฏิบัติงานสูงกว่ามาตรฐาน
§ เข้าใจปัญหาและผลที่เกิดขึ้นในการทำงานของหน่วยงานที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์กร
|
ความหมาย : รู้และเข้าใจมาตรฐาน หรือขั้นตอนการทำงาน รวมทั้งสามารถใช้ความรู้ และ
ทักษะต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน
ระดับที่
|
ไม่รู้และไม่เข้าใจในมาตรฐาน หรือขั้นตอนการทำงานที่รับผิดชอบ และหลีกเลี่ยงการรับรู้การเปลี่ยนแปลงมาตรฐาน หรือขั้นตอนการทำงานใหม่ ๆ
|
ระดับที่
|
รู้และพยายามทำความเข้าใจ เกี่ยวกับมาตรฐาน/ ขั้นตอนการทำงานและปฏิบัติได้ถูกต้อง
|
ระดับที่
|
เข้าใจมาตรฐาน หรือกระบวนการ/ ขั้นตอนการทำงานที่รับผิดชอบเป็นอย่างดี และสามารถใช้ความรู้ที่มีในการปฏิบัติงานให้สำเร็จได้
|
ระดับที่
|
มีความรู้ความชำนาญ ในมาตรฐานการปฏิบัติงาน และสามารถใช้ความรู้พัฒนา ปรับปรุงมาตรฐานกระบวนการ/ ขั้นตอนการทำงาน ที่รับผิดชอบเป็นอย่างดี
|
ระดับที่
|
ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่มีแก่ผู้ร่วมงาน เป็นแบบอย่าง และสามารถกระตุ้น/ โน้มน้าวให้ผู้ร่วมงานปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่กำหนด
|
http://medinfo2.psu.ac.th/medrec/commonpeten.htm
10.01.57
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)