ใบรับรองแพทย์สำหรับใช้เคลมประกัน

หนังสือรับรองแพทย์สำหรับใช้เคลมประกัน เป็นเอกสารที่ออกโดยแพทย์หรือสถานพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อยืนยันสถานะสุขภาพของผู้เอาประกันภัย เพื่อนำไปใช้ในการยื่นเคลมประกันภัยกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาจากสถานพยาบาลที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับบริษัทประกันเจ้าของกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันถืออยู่ เมื่อสิ้นสุดกระบวนการรักษาและมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ผู้เอาประกันภัยจึงต้องเป็นผู้สำรองจ่ายไปก่อน แล้วจึงค่อยนำหนังสือรับรองแพทย์และเอกสารอื่น ๆ ที่บริษัทประกันร้องขอ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วใบรับรองแพทย์สำหรับเคลมประกันจะมีลักษณะดังนี้

  • ระบุข้อมูลส่วนบุคคล : หนังสือรับรองแพทย์ เคลมประกันจะมีการระบุข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เอาประกันภัย เช่น ชื่อ, อายุ, เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น เพื่อให้บริษัทประกันภัยสามารถระบุตัวตนได้อย่างชัดเจน
  • ระบุผลการวินิจฉัย : ใบรับรองแพทย์จะมีระบุการวินิจฉัยของแพทย์เกี่ยวกับสถานะสุขภาพของผู้เอาประกันภัย เช่น โรคหรืออาการที่ผู้เอาประกันภัยกำลังเคลมประกันภัย เพื่อให้บริษัทประกันภัยตรวจสอบความเสี่ยงหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นว่าสอดคล้องกับเงื่อนไขการเคลมหรือไม่
  • ระบุวันที่และลายเซ็นแพทย์ : หนังสือรับรองแพทย์จะต้องมีการระบุวันที่ออกใบรับรองและลายเซ็นของแพทย์หรือผู้มีอำนาจออกใบรับรอง เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงด้านสุขภาพ ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือให้ผู้เอาประกันนำส่งกับบริษัทประกันภัย

ใบรับรองแพทย์สำหรับเคลมประกันภัยจะมีลักษณะเฉพาะตามนโยบายและข้อกำหนดของบริษัทประกันภัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจมีความหลากหลายตามประเภทของประกันภัยและรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลมเฉพาะในแต่ละกรณี


ทำไมต้องใช้ใบรับรองแพทย์ในการเคลมประกัน?

การใช้ใบรับรองแพทย์ในการเคลมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตรวจสอบและยืนยันสถานะสุขภาพของผู้เอาประกันภัยที่ยื่นเคลม คุณสามารถใช้ใบรับรองแพทย์ในการเคลมประกันได้ดังนี้

  • ยืนยันสถานะสุขภาพ : ใบรับรองแพทย์ช่วยยืนยันว่าผู้เอาประกันภัยมีสถานะสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับการเคลมประกันภัยที่เกี่ยวข้อง เช่น การยืนยันว่าผู้เอาประกันภัยไม่มีโรคหรืออาการที่เป็นอุปสรรคต่อการเคลม เพื่อป้องกันการเคลมที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานะสุขภาพของผู้เอาประกันภัย
  • เป็นเอกสารการตรวจสอบ : หนังสือรับรองแพทย์เป็นเอกสารที่บริษัทประกันภัยใช้ในกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของการเคลม โดยแพทย์จะตรวจสอบข้อมูลสุขภาพและการวินิจฉัยเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่รายงานเป็นความจริง
  • สร้างความเชื่อมั่น : การใช้หนังสือรับรองแพทย์ในการเคลมช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับบริษัทประกันภัยว่าความเสียหายหรือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากสถานะสุขภาพที่ผู้เอาประกันภัยมีอยู่ก่อนการเคลม
  • ป้องกันการฉ้อโกง : การใช้ใบรับรองแพทย์ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการฉ้อโกงในกระบวนการเคลม โดยการตรวจสอบและยืนยันสถานะสุขภาพของผู้เอาประกันภัยจะช่วยลดความเป็นไปได้ที่ผู้เอาประกันภัยจะแจ้งการเคลมที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานะสุขภาพของตน

ใบรับรองแพทย์เป็นเอกสารที่สำคัญในการเคลมประกันภัยเพื่อให้บริษัทประกันภัยสามารถตรวจสอบและยืนยันสถานะสุขภาพของผู้เอาประกันภัยได้เพื่อให้การเคลมเป็นไปตามข้อกำหนดและนโยบายที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย


https://rabbitcare.com/blog/lifestyle/what-you-should-know-about-medical-certificates

04.07.68

ความหมาย และความสำคัญของใบรับรองแพทย์

"ใบรับรองแพทย์" หรือ ใบแพทย์ เอกสารสำคัญที่ใช้เพื่อรับรองสุขภาพร่างกายและจิตใจ มักใช้ยื่นประกอบการพิจารณากฎเกณฑ์ต่างๆ เช่น ยื่นลาป่วย ยื่นสมัครงาน ยื่นเคลมประกันชีวิต และยื่นขอทำใบขับขี่ เป็นต้น ซึ่งใบรับรองแพทย์แต่ละประเภทก็อาจจะมีรายละเอียด และข้อกำหนดที่แตกต่างกัน จึงควรศึกษาข้อมูลก่อนจะยื่นขอใบรับรองแพทย์แต่ละประเภท


ความหมาย และความสำคัญของใบรับรองแพทย์

แพทยสภาให้ความหมายของใบรับรองแพทย์ ไว้ว่า เป็นเอกสารประเภทหนึ่ง โดยทั่วไปจะเขียนในกระดาษที่เป็นแบบฟอร์มเฉพาะ (ปัจจุบันหลายแห่งปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์) อาจมีคำว่าใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองใบแพทย์ หรือข้อความอื่นที่แสดงว่าเป็นเอกสารที่ออกจากแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ใบรับรองแพทย์ยังใช้ยืนยันว่า แพทย์ได้ทำการตรวจร่างกาย หรือตรวจโรคให้กับผู้หนึ่งผู้ใดแล้ว หลังจากนั้นจึงออกใบรับรองว่าได้ "มาตรวจจริงๆ" ซึ่งใบรับรองแพทย์แต่ละประเภทก็จะมีจุดประสงค์ในการใช้ที่แตกต่างกัน โดยจำแนกตามเหตุผลหลักๆ ที่ผู้ป่วยต้องการนำไปใช้ ยกตัวอย่างเช่น

1. เกี่ยวข้องกับการมาตรวจรักษา
2. เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่าย (ค่ารักษาพยาบาล)
3. เกี่ยวข้องกับการลางาน (ลาป่วย)
4. เกี่ยวข้องกับทางประกัน (เรียกร้องสิทธิ์ทางประกันภัยประเภทต่างๆ)
5. เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้อง หรือดำเนินการทางคดี 

อย่างไรก็ตาม ทางแพทยสภายังไม่มีการจำแนกประเภทของใบรับรองแพทย์ไว้อย่างชัดเจน โดยกำหนดให้เป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์เอง


https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2096621

04.07.68

 

เจ้าหน้าที่เวชระเบียน ในโรงพยาบาล ทำหน้าที่อะไรบ้าง




26.06.68

 

เวชสถิติ

เวชสถิติ (อังกฤษMedical Statistics, อ่านว่า เวด-สะ-ถิ-ติ) หมายถึง สถิติทางการแพทย์ หรือการกระทำกับหลักฐานที่เป็นข้อมูลทางการแพทย์ ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพในทางการแพทย์ โดยมีวิธีการกระทำได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูลทางการแพทย์ การนำเสนอข้อมูลทางการแพทย์ การวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์โดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ และการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์มาสรุป และเพื่อใช้ในการจัดทำรายงานทางการแพทย์ การศึกษาวิจัยต่าง ๆ ในทางการแพทย์ [1][2]

เวชสถิติในความหมายทั่วไปทางการแพทย์

เวชสถิติ (อังกฤษMedical Record Librarian, อ่านว่า เวด-สะ-ถิ-ติ) หมายถึง ตำแหน่งพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในงานเวชระเบียน ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดการงานทางด้านเวชระเบียนตามที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบสูงสุดทางด้านเวชระเบียนในสถานบริการสาธารณสุขมอบหมาย โดยงานต่าง ๆ เหล่านั้นอาจเป็นงานห้องบัตร งานสถิติทางการแพทย์ งานให้รหัสโรค งานบันทึกข้อมูลผู้ป่วย งานคัดกรองผู้ป่วย งานด้านคอมพิวเตอร์ หรืองานอื่น ๆ ทางด้านเวชระเบียนที่ได้รับมอบหมาย นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงชื่อโรงเรียนที่ทำการเรียนการสอนทางด้านพื้นฐานเวชระเบียน ซึ่งมีชื่อว่า โรงเรียนเวชสถิติ (อังกฤษMedical Record Librarian School) ซึ่งจะมีการเรียนทางด้านเวชระเบียน รหัสโรค สรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์ พื้นฐานทางคลินิก วิธีดำเนินการทางการแพทย์ ศัพท์แพทย์ และสถิติ เป็นวิชาหลัก ต่อมาได้มีการพัฒนาการศึกษาทางด้านเวชสถิติซึ่งจะมีการเรียนที่เปลี่ยนชื่อไปเป็น เวชระเบียน โดยมีการเปลี่ยนจากโรงเรียนเวชสถิติเดิมไปเป็นสาขาวิชาเวชระเบียน วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบันได้มีการพัฒนาหลักสูตรให้เป็นหลักสูตรในระดับปริญญาตรีด้านเวชระเบียนด้วย และมีการศึกษาต่อเนื่องในหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเวชระเบียน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีการศึกษาจากการปรับปรุงหลักสูตรเป็นหลักสูตร 4 ปี



26.06.68

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B


เวชระเบียน หมายถึง

.เวชระเบียน (อังกฤษ: medical record) หมายถึง เอกสารทางการแพทย์ทุกประเภท ที่ใช้บันทึกและเก็บรวบรวมเรื่องราวประวัติของผู้ป่วยทั้งประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัว ประวัติการแพ้ยา เอกสารการยินยอมให้ทำการรักษาพยาบาล ประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบัน ข้อมูลบ่งชี้เฉพาะของบุคคล การรักษาพยาบาล ค่ารักษาพยาบาล ผลจากห้องปฏิบัติการ ผลการชันสูตรบาดแผลหรือพลิกศพ ผลการบันทึกค่าทั้งที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพหรือเครื่องหมายอื่นใด จากอุปกรณ์ เครื่องมือในสถานบริการสาธารณสุขหรือเครื่องมือทางการแพทย์ทุกประเภท หรือเอกสารการบันทึกการกระทำใด ๆ ที่เป็นการสั่งการรักษา การปรึกษาเพื่อการรักษาพยาบาล การส่งต่อผู้ป่วยไปทำการรักษาที่อื่น การรับผู้ป่วยรักษาต่อ การกระทำตามคำสั่งของผู้มีอำนาจในการรักษาพยาบาลตามที่สถานบริการสาธารณสุขกำหนดไว้ เอกสารอื่น ๆ ที่ใช้ประกอบเพื่อการตัดสินใจทางการแพทย์ เพื่อการประสานงานในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย และเอกสารอื่นใดที่ทางองค์การอนามัยโลก หรือสถานบริการสาธารณสุขกำหนดไว้ว่าเป็นเอกสารทางเวชระเบียน หมายรวมถึงชื่อของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดทำเอกสารดังกล่าว การเก็บรวบรวม การค้นหา การบันทึก การแก้ไข การให้รหัสโรค การจัดทำรายงานทางการแพทย์ การนำมาจัดทำสถิติผู้ป่วย การนำมาเพื่อการศึกษาวิจัย หรือเพื่อการอื่นใดตามที่สถานบริการสาธารณสุขกำหนด นอกจากนี้ยังรวมถึงเอกสารทางการแพทย์ที่อยู่ในรูปแบบสื่อดิจิทัล หรือระบบอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Medical Record -EMR) ซึ่งเป็นรูปแบบของเวชระเบียนที่มีการพัฒนาขึ้นในปัจจุบัน[1]


เวชระเบียน
 หมายถึง การรวบรวมข้อเขียนหรือบันทึกที่เกี่ยวกับการเจ็บป่วย เป็นข้อมูลที่บันทึกเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยที่โรงพยาบาล คลินิค หรือสถานีอนามัย เวชระเบียนนั้นเป็นบันทึกขบวนการทุกอย่างงที่จัดกระทำกับผู้ป่วยซึ่งข้อมูลนั้น ๆ ควรจะต้องประกอบด้วยประวัติการเจ็บป่วยในอดีตรวมทั้งความคิดเห็น การค้นหา สืบสวนผลทางห้องปฏิบัติการและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วย เวชระเบียนเป็นเอกสารที่อาจมีหลายขนาดหลายรูปแบบ และหลายข้อมูล โดยการบันทึกของหลายบุคคลในหลาย ๆ วิธีการ แต่ตามรูปลักษณะทั่วไปแล้ว เวชระเบียนจะประกอบด้วยจำนวนแผ่นกระดาษ หรือบัตร ซึ่งอาจจะบรรจุอยู่ในแฟ้มหรือซอง และยิ่งนำสมัยมากไปกว่านี้ก็จะบันทึกในคอมพิวเตอร์หรือบันทึกลงแผ่นกระดาษแล้วถ่ายไว้ในไมโครฟิล์มก็ได้[2]

เวชระเบียน หมายถึง การรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วยและประวัติสุขภาพรวมถึงประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและในปัจจุบันและการรักษาซึ่งจดบันทึกไว้โดยแพทย์ผู้ดูแล เวชระเบียนจะต้องบันทึกตามเวลาที่ศึกษาดูแลผู้ป่วย และควรจะต้องมีข้อมูลที่เพียงพอที่จะต้องบอกให้ทราบถึงการพิเคราะห์โรค และการดูแลรักษาโรคได้ และต้องเป็นเอกสารที่ถูกต้องครบถ้วน[3]


26.06.68

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99

SOP คืออะไร?

 

SOP เป็นชื่อเรียกของคำเต็มที่ว่า Standard Operating Procedure โดย SOP คือชุดคำสั่งหรือแนวทางการทำงานที่ถูกกำหนดขึ้นให้เป็นมาตรฐานในกระบวนการต่าง ๆ ขององค์กร ทั้งงานกิจวัตร งานเพิ่มประสิทธิภาพ การควบคุมคุณภาพ ฯลฯ อย่างเป็นแบบแผน เป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้ทุกคนในองค์มีมาตรฐานการทำงานร่วมกัน โดยมักระบุว่า “ใคร” ต้องทำ “อะไร” “เมื่อไหร่” “อย่างไร” 

https://teachme-biz.com/blog/whatissop/


24.06.68

อายุการเก็บหนังสือ

 



อายุการเก็บหนังสือ
การเก็บหนังสือ โดยปกติให้เก็บไว้ ไม่น้อยกว่า 10 ปี เว้นแต่หนังสือ ดังต่อไปนี้
1. หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลับให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
- ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
- ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ
2. หนังสือที่เป็น
- หลักฐานทางอรรถคดีสำนวนของศาล หรือขอพนักงานสอบสวน
- หนังสืออื่นใดที่ได้มีกฎหมาย หรือระเบียบแบบแผนกำหนดไว้เป็นพิเศษ
ให้เก็บตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนว่าด้วยการนั้น
3. หนังสือที่มีคุณค่า
- คุณค่าทางประวัติศาสตร์
- คุณค่าต่อการศึกษา ค้นคว้า วิจัย
ให้เก็บไว้เป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติตลอดไป หรือตามที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรกำหนด
4. หนังสือที่ได้ปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้วและเป็นคู่สำเนาที่มีต้นเรื่อง ให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
5. หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 1 ปี
6. หนังสือหรือเอกสารเกี่ยวกับการเงิน
หากเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องเก็บไว้ถึง 10 ปี หรือ 5 ปี แล้วแต่กรณีให้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีอายุการเก็บหนังสือ โดยปกติให้เก็บไว้ตลอดไป เว้นแต่กรณีจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่จัดเก็บในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์หรือมีเหตุผลความจำเป็นอื่นใด
https://www.facebook.com/sharedsaradd/posts/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B

20.06.68