วงจรของเอกสารเวชระเบียนผู้ป่วยนอก
- ผู้ป่วยเข้ามาลงทะเบียนรับการให้บริการกับโรงพยาบาล
- สำหรับผู้ป่วยใหม่ เจ้าหน้าที่เวชระเบียนสร้างแฟ้มประจำตัวผู้ป่วยขึ้นนำส่งมาที่ห้องตรวจ
- สำหรับผู้ป่วยเก่า เจ้าหน้าที่เวชระเบียนจะค้นหาแฟ้มเพื่อนำส่งมาที่ห้องตรวจ
- ส่วนกรณีของการนัดหมายเพื่อติดตามอาการก็จะทำการค้นแฟ้มไว้ล่วงหน้า
- พยาบาลคัดกรองผู้ป่วย และบันทึกข้อมูลเบื้องต้นในเอกสารเวชระเบียน
- แพทย์ตรวจดูประวัติการรับบริการ บันทึกอาการ การส่งตรวจทางห้องปฎิบัติการต่างๆ ให้วิเคราะห์โรค วางแผนการรักษา สั่งทำหัตถาการ สั่งจ่ายยา นัดหมายเพื่อติดตามอาการ รวมไปถึงการรับผู้ป่วยไว้เป็นผู้ป่วยใน
- เจ้าหน้าที่รวบรวมเอกสารผู้ป่วยทั้งหมดจัดเรียงเข้าแฟ้มเวชระเบียน
- นำส่งแฟ้มเวชระเบียนคืนให้กับเจ้าหน้าที่เวชระเบียน
- นำแฟ้มเข้าจัดเรียงและจัดเก็บในตู้เก็บเอกสาร
ปัญหาที่พบในการบริหารจัดการแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยนอก
- การรอคอยการค้นหาแฟ้ม กรณีผู้ป่วยไม่ได้นัดหมายล่วงหน้า
- การค้นหาแฟ้มไม่พบ เนื่องจาก แฟ้มหาย หรืออยู่ระหว่างการถูกยืมเพื่อการตรวจสอบหรือการทำวิจัย
- เอกสารเสื่อมสภาพจากการใช้งาน
- เอกสารถูกทำลายโดยภัยธรรมชาติ เช่นไฟไหม้ น้ำท่วม แมลงกัดกินเอกสาร
- การรวบรวมเอกสารเข้าจัดเก็บในแฟ้มไม่ครบถ้วน
- ผู้ป่วยนำแฟ้มเวชระระเบียนออกจากโรงพยาบาล
- ปัญหาความรวดเร็วในการจัดเก็บ การเรียกใช้ ความยืดหยุ่นในการปรับแก้ รวมไปถึงเสถียรภาพของระบบ
ความต้องการ
http://www.bgcl.co.th/products/mris_exp2.php
09.04.59