- ประชาชนผู้มีสิทธิ ให้นําสําเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจําตัวประชาชนหรือหลักฐานของราชการที่ใช้แทนบัตรดังกล่าว ไปลงทะเบียน ณ สถานบริการที่เขาร่วมโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเขตที่อาศัยอยู่ได้แก่สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุขในเขตกทม.หรือโรงพยาบาล
- ให้ประชาชนกรอกแบบคําร้องขอลงทะเบียนสถานบริการประจําพร้อมเซ็นชื่อในแบบคําร้องด้วยตนเอง ยกเว้นกรณีเด็กหรือคนชราที่ไม่สามารถเดินทางมาขึ้นทะเบียนด้วยตนเองอนุโลมให้สามารถมอบอํานาจให้ผู้ดูแลเป็นผู้ทําการขึ้นทะเบียนแทนได้
- ให้สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุขในเขตกทม. หรือสถานบริการที่รับขึ้นทะเบียนสอบถามผู้ขอลงทะเบียนเกี่ยวกับสถานะของการทํางาน เพื่อป้องกันการขึ้นทะเบียนซ้ำซ้อนกับสิทธิในกองทุนอื่น จากนั้น จะต้องตรวจสอบหลักฐานการลงทะเบียนและบันทึกใบคําร้องการขอลงทะเบียนให้เรียบร้อย แล้วจึงส่งข้อมูลคําขอลงทะเบียนไปยังสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดซึ่งทําหน้าที่เป็นสํานักงานสาขา
กรณีประชาชนที่อยู่ในระหว่างการรับการรักษาในโรงพยาบาล (Admission) ไม่ให้มีการย้ายหน่วยบริการหลัก เนื่องจากจะมีปัญหาในการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์หากประชาชนมีความประสงค์จะขอย้ายหน่วยบริการหลัก ให้ดําเนินการได้หลังจากได้รับการจําหน่ายออกจากโรงพยาบาลแล้วเท่านั้น
เอกสารประกอบการขึ้นทะเบียนผู้มีสิทธิ์ แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. ผู้ที่อาศัยอยู่จริงตามทะเบียนบ้าน ผู้ที่ขอขึ้นทะเบียนบัตรประกันสุขภาพจะต้องไปแจ้งทําบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าในสถานบริการในเขตพื้นที่ที่อาศัยอยู่โดยใช้หลักฐาน คือ
สำเนาทะเบียนบ้าน
บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา
2. กรณีย้ายที่อยู่
2.1 กรณีย้ายที่อยู่และได้ย้ายทะเบียนบ้านตรงกับที่อยู่จริง
ผู้ที่ย้ายทะเบียนบ้านออกจากพื้นที่เดิม ต้องไปแจ้งทําบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าใหม่ในสถานบริการในเขตพื้นที่ย้ายไปอยู่โดยใช้หลักฐาน คือ
บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า(เดิม)
สำเนาทะเบียนบ้านใหม่
บัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนา
ซึ่งเจ้าหน้าที่จะยึดบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (เดิม)ไว้และพิมพ์บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าใหม่ให้
2.2 กรณีย้ายที่อยู่แต่ยังไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านให้ตรงกับที่อยู่จริง
2.2.1 กรณีที่มาอาศัยอยู่ในบ้านที่มีทะเบียนบ้านให้ขึ้นทะเบียน และออกบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ตามพื้นที่อาศัยอยู่จริง โดยใช้หลักฐานคือ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (เดิม)
บัตรประชาชนผู้ขอใช้สิทธิ หรือสำเนา
สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมลายมือชื่อรับรองของเจ้าบ้านที่มาอาศัยอยู่
กรณีที่เป็นการเช่าอาศัย ให้นำสัญยาการเช่าที่อยู่อาศัย เช่น สัญยาเช่าบ้านหรือคอนโดหรือแฟลต
มาประกอบการขึ้นทะเบียน
2.2.2 กรณีที่มาอยู่อาศัยในบ้านที่ไม่มีทะเบียนบ้าน ให้ขึ้นทะเบียนและอกกบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้ ตามพื้นที่ที่อาศัยอยู่จริง โดยใช้หลักฐานคือ
บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (เดิม)
บัตรประชาชนผู้ขอใช้สิทธิ หรือสำเนา
สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมลายมือชื่อรับรองของผู้นำชุมชน หรือ นายจ้าง
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
1. กรณีที่บุคคลไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านและ/หรือไม่มีบัตรประจําตัวประชาชน
1.1 กรณีมีชื่อในทะเบียนบ้าน แต่ไม่มีบัตรประจําตัวประชาชน ให้ไปติดต่อทําบัตร
ประจําตัวประชาชน ณ ที่ว่าการอําเภอ / สํานักงานเขตตามทะเบียนบ้าน ดังนี้ กรณีที่ทำบัตรครั้งแรก ให้ใช้สูติบัตรเป็นหลักฐานประกอบการยื่นคำขอทำบัตรประจำตัวประชาชน
กรณีบัตรประจำตัวประชาชนหาย ให้นำทะเบียนบ้าตัวจริงไปดำเนินการ
ทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตได้เลย โดยไม่ต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจเหมือนก่อ
1.2 กรณีมีบัตรประจําตัวประชาชนแต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านให้นําหลักฐาน เช่น สูติบัตร ทะเบียนบ้านและใช้พยานบุคคล เช่น บิดา มารดา กํานัน ผู้ใหญ่บ้านหรือ บุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น ข้าราชการสัญญาบัตร ฯลฯ ไปติดต่อขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ณ ที่ว่าการอําเภอ / สํานักงานเขตตามทะเบียนบ้าน
1.3 กรณีมีสัญชาติไทย แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน, ไม่มีบัตรประชาชน ให้ติดต่อขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านและทําบัตรประจําตัวประชาชนได้ ณ ที่ว่าการอําเภอ / สำนักงานเขต
กรณีบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าหายให้นำบัตรประชาชนไปดำเนินการทำบัตรใหม่ ณ สถานบริการที่เคยขึ้นทะเบียนไว้เดิม
http://www.thaikidneyclub.org/home/index.php?option=com_content&view=article&id=57:2009-07-04-05-42-59&catid=40:2009-06-27-16-46-00&Itemid=53
05.06.56